โครงงานวิทยาศาสตร์ สํารวจแมลง

แมลงกินได้ แหล่งสารอาหารตามธรรมชาติ โครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ที่ได้รับรางวัลและตีพิมพ์เป็นหนังสือ

ปัจจุบันเยาวชนไทยไม่สนใจในด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเข้าใจผิดว่า เนื้อหามีความยาก แต่สำหรับหนังสือ โครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสำรวจ แมลงกินได้และ แหล่งสารอาหารตามธรรมชาติ ที่ได้รับรางวัลและตีพิมพ์เป็นหนังสือ  ถือว่า เป็นการจุดประกายการเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสำรวจ ที่จะทำให้เยาวชนไทยสนใจวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น 

หนังสือโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสำรวจ แมลงกินได้ และแหล่งสารอาหารตามธรรมชาติ เป็นผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ โดยสาวน้อยวัย 16 ปี นางสาวพริมา ยนตรรักษ์  ดีกรีเยาวชนดีเด่นที่ทำชื่อเสียงให้ประเทศชาติ ปี 2556 จากกระทรวงศึกษาธิการ 

เจ้าของผลงาน เล่าว่า จากการลงพื้นที่เป็นอาสาสมัครช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสในโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน เธอได้ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมชาวอีสานถึงไม่ขาดสารอาหาร ทั้งที่ไม่มีพื้นที่ติดกับทะเล และจากการสอบถามจากเด็กนักเรียนจึงได้รับคำตอบคือ พวกเขากินแมลง เธอจึงใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลและลงพื้นที่มากว่า 2 ปี จนกลายเป็นหนังสือเล่มนี้

ภายในหนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมแมลงกินได้กว่า 10 ชนิด โดยบรรยายถึงลักษณะพฤติกรรม วงจรชีวิต วิธีเพาะเลี้ยง รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการของแมลงกินได้ เช่น ตั๊กแตนปาทังกา มดแดง กบ กิ้งก่า และ หนูนา เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านในการศึกษาและเพาะเลี้ยงเองด้วย  ซึ่งผลการศึกษาของเธอ สอดคล้องกับรายงานของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ที่ระบุว่า การบริโภคอาหาร จำพวกแมลงจะช่วยบรรเทาความหิว และเป็นอาหารที่ให้โปรตีน ไขมันและแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่สูง เหมาะสำหรับเด็กที่ขาดสารอาหาร

ประธานสาขาครูวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่า หนังสือเล่มนี้  ถือเป็นผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ที่แท้จริง โดยเชื่อมโยงชีวิตจริงกับวิถีธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสำรวจ 

ที่ใช้ความสงสัยเป็นตัวตั้ง เพื่อนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า หาคำตอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ไม่จำกัดอยู่ในกรอบ  โดยปัจจุบันนักเรียนคิดว่าการเขียนโครงงานเป็นเรื่องที่ยาก จึงทำให้ปฏิเสธในการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

ผลงานเล่มนี้ เป็นการจุดประกายให้เยาวชนไทยมีความคิดริเริ่มและลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง นำไปสู่การมีคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ที่ดีในอนาคต และยังเป็นแนวทางให้ผู้ปกครองและครู ส่งเสริมให้เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติรู้จักคิดตัดสินใจและมีจิตสำนึกที่ดีเพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาประเทศในอนาคต

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ปัจจุบันนี้ กระแสของการอนุรักษ์กำลังมาแรง คนส่วนมากจะนึกถึงแต่การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร ภูเขา ชายทะเล ป่าชายเลน และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ อีกมากมาย จะมีสักกี่คนที่คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนหน้าดอนและในดิน สิ่งมีชีวิตดังกล่าว ก็มีบทบาทไม่ใช่น้อย เพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบนิเวศ

            เนื่องจาก สัตว์เหล่านี้ ต่างก็มีหน้าที่ตามธรรมชาติ บางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ที่ตายลง ทำให้เน่าเปื่อยผุพังจนกระทั้งกลายเป็นโมเลกุลที่เล็กลง โดยอาศัยผู้ย่อยสลายตามลำดับชั้น สิ่งมีชีวิตบางชนิดทำหน้าที่เป็นสัตว์ตัวห้ำ ซึ่งหมายถึงมันจะกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร หรือบางชนิดก็จะทำหน้าที่เป็นตัวเบียนตัวเบียนจะอาจจะทำให้สัตว์อื่นที่มันไปอาศัยอยู่ด้วยเกิดโรคขึ้นได้ และในเวลาเดียวกันตัวเบียนก็อาจจะเป็นอาหารของสัตว์ที่มี่ขนาดใหญ่กว่าก็ได้  การทำหน้าที่ของสัตว์ดังกล่าวจะทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ เป็นการหมุนเวียนถ่ายทอดพลังงานภายใต้วงจรของห่วงโซ่อาหาร (food chain) และสายใยอาหาร (food web) สัตว์หน้าดินและสัตว์ในดิน รวมทั้งแมลงจึงเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศอย่างหนึ่ง เช่น แมลงหางดีดเป็นดัชนีชี้วัดว่าพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีสารเคมีอันตรายปนเปื้อนอยู่ในดิน พื้นที่การเกษตรที่มีการใช้สารเคมีอย่างมากเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชมักจะไม่พบแมลงหางดีด  ด้วงมูลสัตว์เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า จะพบว่าพื้นที่ที่มีด้วงมูลสัตว์น้อย แสดงให้เห็นว่าพืชพันธุ์ไม้ในป่านั้นๆ มีน้อย สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่านั้น มีอาหารกินน้อยจึงถ่ายมูลออกมาน้อยเช่นกัน ด้วงมูลสัตว์ซึ่งต้องใช้มูลสัตว์เป็นที่สำหรับการเจริญเติบโตแพร่ขยายพันธุ์ ก็จะแพร่พันธุ์ได้น้อยตามไปด้วย การได้พบตัวชีปะขาวในยามค่ำคืนก็จะเป็นการบอกให้ทราบว่าแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ ยังเป็นแหล่งน้ำสะอาดปราศจากมลภาวะ เพราะว่าตัวอ่อนของชีปะขาวจะเจริญเติบโตได้เฉพาะในแหล่งน้ำที่สะอาดเท่านั้น

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับแมลงหน้าดิน

        2. เพื่อให้บอกกลุ่มและชนิดของแมลงหน้าดิน

        3. เพื่อให้ทราบว่าแมลงหน้าดินมีข้อดีอย่างไง

ขอบเขต

                สถานที่ โรงเรียนจ่านกร้อง พิษณุโลก

                ระยะเวลา ใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น ประมาณ 1 เดือน โดยให้นำเสนอเป็นตารางดังนี้ 

ระยะเวลาการดำเนินงาน

             เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2560-30มกราคม 2561  รวมเวลา  48 วัน

สถานที่ดำเนินงาน  

            บ้านเลขที่ 888/4 หมู่ 2 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

งบประมาณ  ไม่มี

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.  กำหนดหัวข้อเรื่อง ที่สนใจ

2.  กำหนดจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าโครงงาน

3.  กำหนดขอบเขตของการทำโครงงาน

4.  วางแผนและดำเนินโครงงาน

5.  รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแมลงหน้าดินมากขึ้น

2.สามารถตอบคำถามได้

3.สามารถนำความรู้เรื่องแมลงหน้าดินมาใช้ได้