เรียนปริญญาตรี ออนไลน์ ราม คํา แหง Pantip

โซเชียลชื่นชม! นายศตพัฒน์ แขกเพ็ง หรือ "ตวง" บัณฑิต Pre-degree จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สอบได้อันดับ 1 เตรียมบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ด้วยวัย 25 ปี หลังการสอบครั้งแรก

วันนี้ (12 มิ.ย.2563) เฟซบุ๊กเพจ PR Ramkhamhaeng University เผยแพร่ข้อความ ระบุว่า นายศตพัฒน์ แขกเพ็ง หรือ "ตวง" เข้าเรียนระบบ Pre-degree คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขณะเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี เมื่อจบ ม.ปลาย สะสมหน่วยกิตได้จำนวน 120 หน่วยกิต และเทียบโอนมาเรียนชั้นปริญญาตรี อีกเพียง 1 ภาคการศึกษาก็จบชั้นปริญญาตรี ด้วยอายุเพียง 18 ปี จากนั้นจบเนติบัณฑิตยสภา อายุ 20 ปี โดยสอบได้ที่ 3 จากผู้เข้าสอบทั้งประเทศ และล่าสุด หลังจากอายุ 25 ปี ตามระเบียบฯ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ได้เข้าสอบสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่น 73 สามารถสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษา และมีคะแนนสูงเป็นอันดับที่ 1 จากจำนวน 171 คน โดยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ได้ออกประกาศ เรื่อง ผลการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำปี พ.ศ.2562

มีผู้สอบได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา 171 คน 75 ลำดับ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่บัณฑิตจากหลักสูตร Pre-degree ประสบความสำเร็จในการเรียน การสอบแข่งขัน เข้าสู่สายงานอาชีพได้อย่างสง่างาม สะท้อนถึงประสิทธิภาพการสอนที่มีคุณภาพของมหาวิทยาลัย เป็นความสำเร็จที่จับต้องได้จริง สำหรับการเรียนในระบบ Pre-degree ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงควบคู่กับการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

นายศตพัฒน์ แขกเพ็ง ระบุว่า ดีใจและภาคภูมิใจมากที่ลงสนามสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาครั้งแรก สามารถสอบผ่านและได้คะแนนเป็นอันดับที่ 1 ด้วย จากนี้จะตั้งใจเรียนรู้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้พิพากษาที่ดี โดยใช้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรม จะไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว มั่นฝึกฝนและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

ทั้งนี้ นายศตพัฒน์ ระบุว่า อยากให้น้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และอยากรู้จุดหมาย ความถนัดของตนเอง ให้มาเรียนในหลักสูตร Pre-degree ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาค้นหาตนเอง ซึ่งสามารถเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ตนเองชื่นชอบได้ และหากสิ่งที่เลือกไปแล้วไม่ใช่ก็สามารถเปลี่ยนไปเรียนในสาขาวิชาอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่

ขอแค่อย่าคิดว่าตนเองไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเรียนควบคู่กับปริญญาตรี แค่น้องๆรู้จักแบ่งเวลาในการเรียน และตั้งเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน รวมทั้งมีความมุมานะ พยายามอย่างเต็มที่ก็จะสามารถไปสู่ความสำเร็จที่ตั้งไว้ได้ในทุกๆสาขาวิชาชีพอย่างแน่นอน

ผมเข้าไปดู เอกสารหลักสูตร จากเว็บไซต์ คณะมุนษยศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๑ ก็พบว่า แตกต่างไปจากที่ผมเรียนเมื่อก่อนเยอะมาก แต่ก็พอจะเข้าใจได้ว่า

คุณจะเลือก วิชาโทภาษาอังกฤษทั่วไป โดยในโครงสร้าง มี โทบังคับ อยู่ ดังนี้

3.3.1 วิชาโทภาษาอังกฤษทั่วไป 24 หน่วยกิต

3.3.1.1 วิชาโทบังคับ 12 หน่วยกิต นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และคณะอื่นๆ ที่เรียนภาษาอังกฤษต่อเนื่องกัน 4 กระบวนวิชาเป็นวิชาศึกษาทั่วไปแล้ว ให้เลือกเรียนกระบวนวิชาต่อไปนี้ โดยไม่ต้องเลือก EN 201 และ EN 202 หน่วยกิต

**EN 201 การอ่านเอาความภาษาอังกฤษ 3

**EN 202 การอ่านตีความภาษาอังกฤษ 3

**EN 203 การออกเสียงภาษาอังกฤษ 3

**EN 205 การเขียนประโยคและอนุเฉทภาษาอังกฤษสั้นๆ 3

**EN 206 การเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษชนิดต่างๆ 3

**EN 305 การเขียนความเรียงและย่อความภาษาอังกฤษ 3

**EN 306 การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการวิเคราะห์ 3

**EN 204 การสนทนาภาษาอังกฤษในลักษณะที่กำหนดให้ และ **EN 309 การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 1 (เลือก ๑ จาก ๒)

**EN 230 ความรู้เบื้องต้นในเรื่องวรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน และ **LI 200 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา (เลือก ๑ จาก ๒)

วิชาโทเลือก 12 หน่วยกิต ให้นักศึกษาเลือกเรียนกระบวนวิชาใดๆ ในหมวดวิชาภาษาอังกฤษทั่วไปและหมวดวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะด้าน ยกเว้น EN 101, EN 102, EN 201 และEN 202 โดยเลือกเรียนกระบวนวิชาในหมวดเดียวกันหรือสองหมวดรวมกันก็ได้แต่ทั้งนี้ เมื่อนับรวมกับกระบวนวิชาในวิชาโทบังคับแล้ว ต้องเป็นกระบวนวิชาในระดับ 300 – 499 จำนวนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต (ประมาณ ๓ เล่ม ๆ ละ ๓ หน่วยกิต)

4.3 หมวดวิชาวรรณคดี

4.3.1 หมวดวรรณคดีอังกฤษและอเมริกันโดยแบ่งตามประเภท

**EN 230 ความรู้เบื้องต้นในเรื่องวรรณคดีอังกฤษและวรรณคดีอเมริกัน 3

**EN 250 ร้อยแก้วอังกฤษและอเมริกันประเภทพรรณนาและบรรยาย 3

**EN 352 กวีนิพนธ์อังกฤษและอเมริกัน 3

**EN 355 เรื่องสั้นอังกฤษและอเมริกัน 3 (EN253) วิชาเดียวกัน ห้ามเลือกซ้ำ

**EN 357 นวนิยายอังกฤษและอเมริกัน 3

**EN 358 ละครอังกฤษและอเมริกัน 3(EN256) วิชาเดียวกัน ห้ามเลือกซ้ำ

4.3.2 หมวดวรรณคดีอังกฤษ

**EN 330 วรรณคดีสมัยแองโกลแซกซันและสมัยกลาง 3

**EN 331 วรรณคดีสมัยอลิซาบีธัน 3

**EN 338 วรรณคดีอังกฤษสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 3

**EN 339 วรรณคดีอังกฤษสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 3

**EN 341 วรรณคดีอังกฤษสมัยโรแมนติก 3

**EN 342 วรรณคดีสมัยวิคตอเรียนและสมัยเอ็ดเวอร์เดียน 3

**EN 441 นักประพันธ์สตรีอังกฤษ 3 (EN361) วิชาเดียวกัน ห้ามเลือกซ้ำ

**EN 442 วรรณคดีอังกฤษสมัยใหม่ 3(EN445) วิชาเดียวกัน ห้ามเลือกซ้ำ

* EN 443 วรรณคดีอังกฤษร่วมสมัย 3

* EN 444 บทละครของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ 3

4.3.3 หมวดวรรณคดีอเมริกัน

**EN 370 วรรณคดีอเมริกันสมัยอาณานิคมและสมัยก่อสร้างประเทศ 3

**EN 371 วรรณคดีอเมริกันสมัยโรแมนติก 3

**EN 372 วรรณคดีอเมริกันสมัยสัจนิยมและธรรมชาตินิยม 3

* EN 470 วรรณคดีอเมริกันสมัยใหม่ 3

**EN 473 วรรณคดีอเมริกันร่วมสมัย 3(EN373) วิชาเดียวกัน ห้ามเลือกซ้ำ

**EN 477 วรรณกรรมอเมริกันยอดนิยม 3

**EN 478 นักประพันธ์สตรีอเมริกัน 3

**EN 480 นิทานพื้นบ้านอเมริกัน 3

**EN 481 วรรณกรรมของนักประพันธ์แอฟริกัน-อเมริกัน 3

**EN 482 วรรณกรรมอเมริกันภาคใต้ 3

4.3.4 หมวดวรรณคดีโลก

**EN 291 เทพนิยายอันเป็นพื้นฐานของวรรณคดี 3

**EN 391 วรรณกรรมสำหรับเด็ก 3

**EN 392 วรรณคดียุโรป 3

**EN 394 วรรณกรรมของนักเขียนเอเชีย 3

**EN 395 วรรณกรรมของนักเขียนรางวัลโนเบล 3

**EN 491 วรรณคดีวิจารณ์ 3

**EN 492 วรรณกรรมวิจารณ์สังคม 3

**EN 493 วรรณกรรมเอกของโลก 3

**EN 494 วรรณกรรมสะท้อนทัศนคติทางศาสนา 3

เข้าไปดู เพิ่มเติมได้ที่ http://joomla.ru.ac.th/human/curricurum/cur_eng.doc