ผลกระทบของ fintech ที่มีต่อธนาคารและอุตสาหกรรมอื่น

ทุกวันนี้ นอกจากชีวิตประจำวันของเราที่ย้ายไปสู่โลกออนไลน์มากขึ้น ความต้องการบริการด้านการเงินดิจิทัลและบริการด้านเทคโนโลยีการเงินในรูปแบบอื่นๆก็เพิ่มขึ้นด้วย ชีวิตวิถีใหม่ที่เป็นผลจากการแพร่ระบาดก่อให้เกิดโอกาสมากมาย รวมถึงการเข้ามามีบทบาทของอุตสาหกรรม Fintech

ผลกระทบของ fintech ที่มีต่อธนาคารและอุตสาหกรรมอื่น

ขณะที่ทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาด เราจำเป็นต้องแน่ใจว่านวัตกรรม Fintech มุ่งช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด รวมทั้งแก้ไขปัญหาสำคัญๆที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นภารกิจสำคัญ2-3 เรื่อง ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ที่มีจำนวนมากขึ้น และกระตุ้นการปรับใช้เทคโนโลยีในวงกว้าง

สิ่งสำคัญที่สุดคือหลังการแพร่ระบาด เราสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม Fintech เพื่อ:

  • ส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด
  • ดำเนินการอย่างจริงจังมากขึ้นในการสร้างพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่าน Green Finance ทั้งในระดับองค์กรธุรกิจและบุคคลทั่วไป 
  • เพิ่มความไว้วางใจต่อกัน และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างธุรกิจภาคส่วนต่างๆ ในทุกประเทศทั่วโลก

ส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน

สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลให้มีการปรับใช้โซลูชั่นดิจิทัลกันอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง แม้กระทั่งในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท ทั้งนี้เพราะความจำเป็นในการใช้ช่องทางดิจิทัลเพื่อเข้าถึงบริการธนาคารในช่วงการบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเข้มงวด

ตัวอย่างเช่น ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท มีเพียง 50% เท่านั้นที่มีบัญชีธนาคาร ผู้ให้บริการด้านการเงินผ่านมือถือ bKash จึงได้นำเสนอบริการโอนเงินที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่สามารถโอนเงินผ่านระบบดิจิทัลไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทได้อย่างปลอดภัยและสอดรับกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม  นอกจากนี้ bKash ยังร่วมมือกับรัฐบาลของบังคลาเทศในการส่งเงินช่วยเหลือเยียวยาผ่านระบบดิจิทัลไปให้แก่ประชาชนหลายล้านคนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ 400,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด

ในปี 2564 เราคาดว่าจะมีการบูรณาการมากขึ้นระหว่างระบบการเงินดิจิทัลและระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยธนาคารและสถาบันการเงินจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการให้บริการจากรูปแบบออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์ เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันไปใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น  เมื่อเดือนธันวาคม 2563 ธนาคารกลางสิงคโปร์ออกใบอนุญาตการดำเนินธุรกิจธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบแก่ผู้ประกอบการ 4 ราย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการออกใบอนุญาตดังกล่าวในประเทศสิงคโปร์ และนั่นหมายความว่าผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ธนาคารจะสามารถจัดหาบริการที่เหมือนธนาคารได้เช่นกัน ทั้งนี้เป็นที่คาดการณ์ว่าธุรกิจดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า และจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก

สร้างพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนของผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจ

การเงินสีเขียว (Green Finance) เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพราะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยตอบสนองความต้องการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจแนวทุนนิยม โดย Fintech จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเขียวเพื่อแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน

ผลการศึกษาที่ดำเนินการร่วมกันโดยสถาบัน Paulson Institute และมหาวิทยาลัยชิงหวา ระบุว่า จีนมีบทบาทเป็นผู้นำในการทดสอบนวัตกรรมด้านการเงินสีเขียวที่ขับเคลื่อนด้วย Fintech รวมถึงโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นำไปสู่การปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  ตัวอย่างเช่น โครงการ Ant Forest ที่เปิดตัวบนแอพอาลีเพย์ (Alipay) ให้รางวัลแก่ผู้ใช้ในรูปแบบของ “คะแนนสะสมพลังงานสีเขียว” (Green Energy Points) ในแต่ละครั้งที่ผู้ใช้ดำเนินการบางอย่างเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ขี่จักรยานไปทำงาน ลดการใช้กระดาษ และซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คะแนนสะสมดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการปลูกต้นไม้เสมือนจริงบนแอพของผู้ใช้ ขณะที่อาลีเพย์จะให้การสนับสนุนด้วยการปลูกต้นไม้จริงหรือการคุ้มครองพื้นที่อนุรักษ์ โดยร่วมมือกับองค์กรเอ็นจีโอในท้องถิ่น

เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน แอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2573  นอกเหนือจากการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีสีเขียวอื่นๆ แล้ว บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมในการส่งเสริมการเงินสีเขียวอีกด้วย

เสริมสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือ

ขณะที่บริษัทต่างๆ ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่รูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น การเสริมสร้างความไว้วางใจต่อกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างปลอดภัยได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ

เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ที่สามารถป้องกันการปลอมแปลง ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในสภาพแวดล้อมดิจิทัลมากขึ้น ในปี 2563 ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกครองสัดส่วนราว 19.3% ของยอดใช้จ่ายในเทคโนโลยีบล็อกเชนทั่วโลก โดยมีการใช้งานหลักๆ ใน 3 ด้าน ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ บริการธุรกรรมระหว่างประเทศและการชำระเงินหลังการซื้อขาย และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ 

การลงทุนอย่างต่อเนื่องจะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาต่อยอดสำหรับเทคโนโลยีบล็อกเชน และนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม Fintech ที่รองรับความร่วมมือทางด้านดิจิทัลระหว่างภาคส่วนต่างๆ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน และบริษัท Fintech ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เราได้เห็นการดำเนินการดังกล่าวบน Trusple ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการทางการเงินและการค้าระหว่างประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AntChain ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากบล็อกเชน ก่อนนี้ธนาคารต้องใช้เวลามากในการตรวจสอบติดตามและยืนยันคำสั่งซื้อสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งยังต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลไม่ได้ถูกแก้ไขปลอมแปลง โดยกระบวนการดังกล่าวต้องใช้แรงงานคนและทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ธนาคารไม่สามารถเสนอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ค้าระหว่างประเทศได้

ในทางกลับกัน แพลตฟอร์ม Trusple สร้าง Smart Contract หลังจากที่ผู้ซื้อและผู้ขายอัพโหลดคำสั่งซื้อไปยังแพลตฟอร์ม กระบวนการแบบอัตโนมัตินี้นอกจากจะช่วยให้ธนาคารลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก และลดเวลาในการตรวจสอบติดตามคำสั่งซื้อในรูปแบบเดิมๆแล้ว ยังทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่รับส่งไม่ได้ถูกแก้ไขปลอมแปลง  หลังจากที่หนึ่งในธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของเอเชียได้ทำธุรกรรมการเงินเพื่อการค้าบนแพลตฟอร์ม Trusple เป็นครั้งแรก เราจึงเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนมีศักยภาพที่ดีเยี่ยมในการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบการค้า 

อุตสาหกรรม Fintech มีศักยภาพสูงมากในการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบการทำงาน และการใช้ชีวิตของเรา ตั้งแต่การสร้างความน่าเชื่อถือด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ไปจนถึงการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการด้านการเงินผ่านระบบดิจิทัล Fintech จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการและแก้ไขปัญหาสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เราพบเห็นทุกที่ทั่วโลก และยังช่วยสร้างสรรค์อนาคตที่ดียิ่งขึ้นในหลายปีนับจากนี้

Is fintech a good investment?

There's no question that the fintech sector is growing rapidly and that the space has some exciting investment opportunities. Investors are attracted to ETFs, fintech-focused and otherwise, because they enable you to put your money to work in a basket of stocks with just a single investment.

Why to invest in fintech?

Why investing in fintech during an economic downfall is a good idea

  • 5 reasons to invest in fintech. ...
  • Online transactions are booming. ...
  • Fintech supplements online commerce. ...
  • Fintech is more affordable than ever. ...
  • Lower labor costs. ...
  • The competition is weaker. ...
  • Key Tips for Successful Fintech Investing. ...
  • Research the market. ...
  • Pinpoint target audiences undisturbed by the crisis. ...
  • Gather a team of skilled developers and marketers. ...

More items...

Is fintech a good major?

Fintech will have positive effects for consumers, including more competition, faster service, more privacy, lower prices and generally wider access to financial services for people often underserved. The growth of Fintech in recent years has been dramatic, and professionals with this type of degree will be very well served and enjoy a great career.

What does fintech stand for?

What Is Fintech? Fintech is a portmanteau for “financial technology.” It’s a catch-all term for any technology that’s used to augment, streamline, digitize or disrupt traditional financial services.