หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน คือ

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทเดียว คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนจะเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด และหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะมีคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจดทะเบียน ถ้าไม่จดทะเบียนถือว่าเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ

เมื่อจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของกรมสรรพากรด้วย

สำหรับชื่อห้างหุ้นส่วน ถ้าจะนำชื่อไปใช้ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย หรือเอกสารอย่างอื่นที่ใช้ในธุรกิจของห้างหุ้นส่วน ต้องมีคำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” หรือ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบชื่อ ถ้าใช้เป็นอักษรต่างประเทศ

หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน คือ



ต้องใช้คำที่มีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” หรือ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบชื่อ เช่น ถ้าใช้ชื่อเป็นอักษรภาษาอังกฤษต้องมีคำว่า “Registered Ordinary Partnership” หรือ “Limited Partnership” ประกอบชื่อ เป็นต้น

ถ้าไม่จัดทำมีความผิด ปรับ 
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง


ต้องมีที่ตั้งสำนักงานซึ่งถือเป็นภูมิลำเนาของห้างหุ้นส่วนที่สามารถติดต่อได้

หน้าที่ของห้างหุ้นส่วนจำกัด

จัดทำบัญชี

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยจะให้หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นๆ เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังนี้

1. จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่น ตามความจำเป็นแก่การทำบัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน

ถ้าไม่จัดทำบัญชีมีความผิด ปรับ
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
● หุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีก ไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

2. ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วน ซึ่งอาจเป็นพนักงาน ผู้รับจ้างทำบัญชี อิสระ หรือสำนักงานบริการรับทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำบัญชี ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท 

สามารถให้ผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำบัญชีก็ได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนจะต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

ถ้าไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีมีความผิด ปรับ
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
● หุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

3. ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ให้แก่ผู้ทำบัญชี ให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
● หุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

4. ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันเริ่มทำบัญชี และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ได้รับอนุญาต ให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีแล้ว อาจปิดบัญชี ก่อนครบรอบ 12 เดือนก็ได้

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
● หุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

5. จัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงินงบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน

ถ้าไม่จัดทำมีความผิด ปรับ
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินห้าหมื่นบาท
● หุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท

และต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็น

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินสองหมื่นบาท
● หุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่เกินสองหมื่นบาท

เว้นแต่ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงิน อย่างไรก็ตาม ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด. 50) ต่อกรมสรรพากร ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

ยังคงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด. 50) พร้อมรายงานการตรวจสอบ และรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือผู้สอบบัญชีภาษีอากรด้วย

6. เมื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินแล้ว ให้นำส่งงบการเงินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินห้าหมื่นบาท
● หุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่เกินห้าหมื่นบาท

7. ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ที่สำนักงานแห่งใหญ่ หรือสถานที่ที่ใช้ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี เว้นแต่ จะได้ รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น 

แต่ถ้าบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชี สูญหายหรือเสียหาย ต้องแจ้งสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหายหรือเสียหาย โดยทั้งหมดนี้ ให้ยื่นเรื่องผ่านระบบงาน การอนุญาต (DBD e-Permit)

ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ
● ห้างหุ้นส่วน ไม่เกินห้าพันบาท
● หุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่เกินห้าพันบาท

การเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน

เมื่อห้างหุ้นส่วนจะเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ชื่อของห้างหุ้นส่วน ตัวผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา วัตถุประสงค์ ตราของห้างหุ้นส่วนรายการอื่นๆ ที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องตกลงให้ความยินยอมด้วยกันทุกคน แล้วให้หุ้นส่วนผู้จัดการยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม

รายการที่เปลี่ยนแปลงนั้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องไปยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง

หุ้นส่วนชนิดใดที่สามารถเป็น “หุ้นส่วนผู้จัดการ” ได้

- กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนสามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ - กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมีหุ้นส่วนทั้ง 2 จำพวก คือ 1)หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด 2)หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และหุ้นส่วนผู้จัดการ คือ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น

หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเป็นอย่างไร

หุ้นส่วนผู้จัดการต้องบริหารงานและตัดสินใจด้วยความสุจริต โดยให้ความสำคัญกับห้างหุ้นส่วนก่อน การดำเนินงานและตัดสินใจต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของห้างหุ้นส่วนเป็นหลัก ความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดประเด็นขึ้นเมื่อมีการตัดสินใจจากหุ้นส่วนผู้จัดการ จะต้องไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวนั้นเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หุ้นส่วนผู้จัดการตัดสินใจ ...

หุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นได้กี่คน

ในการจดทะเบียน หจก. กฎหมายกำหนดว่าต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการอย่างน้อย 1 ท่าน ทำหน้าที่บริหารงาน กิจการห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น นั่นคือจะมี 1 ท่าน หรือ 2 ท่าน หรือ 3 ท่าน หรือมากกว่าก็ได้ โดยหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้นและในทางกลับกันก็คือหุ้นส่วนไม่จำกัดความ ...

ข้อใดคือห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ