กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

กลยุทธ์การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

บริษัทฯ มีการดำเนินงานภายใต้นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนและนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการผ่านโครงการพัฒนาสังคมและชุมชนในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางในการดำเนินธุรกิจขององค์กร รวมทั้งมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีส่วนได้เสียรอบพื้นที่การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

GPSC CSR Strategy (2022 - 2026)

คู่มือการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนสัมพันธ์

แนวทางการบริหารจัดการเพื่อการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน

กรอบกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะเชื่อว่าการที่ธุรกิจจะพัฒนาอย่างยั่งยืนได้นั้น ชุมชนและสังคมจะต้องเติบโตไปพร้อมกัน ดังนั้น บริษัทฯ จัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในทุกพื้นที่การดำเนินงาน (ร้อยละ 100) เพื่อรับฟังข้อกังวัลและความสนใจและนำมาพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานในพื้นที่และอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ มีกรอบกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยผนวกความเชี่ยวชาญทางธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปในกระบวนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสำคัญของชุมชนและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

กลยุทธ์ในการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทฯ ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ

  • เป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับภารกิจองค์กรและเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
  • เป็นการใช้ความเชี่ยวชาญ ทักษะและสมรรถนะหลักขององค์กร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และต่อยอดไปสู่การพัฒนาชุมชน
  • คำนึงถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีส่วนได้เสียรอบพื้นที่การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ด้านการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

บริษัทฯ มีส่วนสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์และกิจกรรมด้านประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาที่จัดโดยชุมชนอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นประจำ เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ และสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในรูปแบบต่างๆ ภายใต้โครงการเคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมคณะกรรมการไตรภาคี การประชุมคณะกรรมการตรวจติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring) การพบปะเยี่ยมเยือนชุมชน กิจกรรมเปิดบ้าน (Open House) การรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) เป็นต้น ซึ่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกระบวนการมีส่วนร่วมเหล่านี้เป็นข้อมูลสำคัญที่บริษัทฯ นำมาพัฒนา เป็นกลยุทธ์การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนและสังคม เพื่อให้มีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและยั่งยืน ตลอดจนมีการติดตามผลลัพธ์และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกลยุทธ์ที่กำหนด

*รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน

กิจกรรม CSR ที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญและกำหนดเป็นกรอบกลยุทธ์แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

  • การเข้าถึงพลังงาน
  • คุณภาพชีวิต
  • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • นวัตกรรมที่ยั่งยืน

การเข้าถึงพลังงาน

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยบริษัทฯ ในฐานะแกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. มีความมุ่งมั่นที่จะนำทักษะ ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบไฟฟ้า มาใช้เพื่อส่งมอบพลังงานสะอาดให้กับชุมชน สอดรับกับทิศทางพลังงานโลกและแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ของไทยที่มุ่งไปสู่พลังงานสะอาด และเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

โครงการ Light for a Better Life

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

SDG 7: AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY

โครงการ Light for a Better Life (LBL) เป็นโครงการดูแลช่วยเหลือสังคมชุมชนโดยใช้ความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะของบริษัทฯ และพนักงานในกลุ่มบริษัทฯ เพื่อดูแลระบบไฟฟ้าให้กับชุมชน สังคม สะท้อนการเป็นบริษัทแกนนำนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. โดยใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของพนักงาน (Expertise) เพื่อดูแลผู้คนในชุมชน สังคม และประเทศชาติ (People of the Planet) ใน 4 ด้านหลัก ๆ คือ ความปลอดภัย (Safety) ความประหยัด (Saving) ความมั่นคงทางพลังงาน (Security) และ เศรษฐกิจ-สังคม (Socio-Economic)

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

Safety

ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าให้กับสาธารณสถาน อาทิ โรงเรียน วัด สถานพยาบาลท้องถิ่น เพื่อลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการเกิดเพลิงไหม้ ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต รวมถึงการซ่อมแซมและฟื้นฟูระบบไฟฟ้าให้กับหน่วยงานราชการท้องถิ่นกรณีประสบภัยพิบัติ

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

Saving

ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัดพลังงาน รวมถึงการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถนำเงินที่ประหยัดได้ไปพัฒนาหรือทำกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

Security

ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานทางเลือกในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้คนในชุมชนและสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดอุปสรรคในการใช้ชีวิต รวมถึงเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า เช่น การติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ให้แก่ โรงพยาบาล สถานบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล และสถานศึกษา เป็นต้น

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

Socio-economic

สร้างและส่งเสริมอาชีพ "หมอไฟฟ้า" ให้กับคนในชุมชน โดยการฝึกอบรมคนในชุมชนให้มีทักษะอาชีพสามารถเป็นช่างไฟฟ้าพื้นฐาน ดูแลครัวเรือนชุมชนของตนเองและก่อให้เกิดรายได้เสริม หรืออาจพัฒนาเป็นรายได้หลักให้กับตนเองต่อไป

โครงการ LBL ถือว่าเป็นโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากสอดคล้องกับธุรกิจและความเชี่ยวชาญขององค์กร รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) และทิศทางด้านพลังงานของโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบไฟฟ้า ติดตั้งและส่งมอบระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลและชุมชนที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง มาแล้วกว่า 20 โครงการ ในพื้นที่ 8 จังหวัด เพื่อสร้างความมั่นคงและความเท่าเทียมทางด้านพลังงาน ให้กับประชาชน โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้ปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้กับโรงเรียนในพื้นที่ดำเนินธุรกิจจำนวน 2 แห่ง และดำเนินโครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อีก 3 โครงการ ดังนี้

No.โครงการ / สถานที่ติดตั้งประเภทkWpปริมาณ CO2 ที่ลดได้หมายเหตุ
1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว (จ.สระแก้ว) On-grid 30 46,743.61
2 สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) จำนวน 8 แห่ง (อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่) Off-grid 24.29* 24,071.97 ร่วมกับมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน
3 โครงการ Smart Farming
(อ.เขาชะเมา จ.ระยอง และ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน)
Off-grid 4 6,289.13 ร่วมกับปตท.
รวมทั้งสิ้น 58.29 77,104.71

*ตามสัดส่วนงบประมาณ

ซึ่งทำให้ปริมาณการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของส่วนกิจการเพื่อสังคม เพิ่มขึ้นจาก 181.98 kWp ในปี 2563 เป็น 240.27 kWp ในปี 2564 จากเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ให้ชุมชนสามารถเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนได้ 1,000 kWp ภายในปี 2569 ทั้งนิ้ โครงการ LBL ทั้ง 3 โครงการในปี 2564 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 77,104.71 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ผลลัพธ์ทางธุรกิจของโครงการ LBL ในปี 2564

  • มีพนักงานเข้าร่วมโครงการ 30 คน
  • ชั่วโมงเข้าร่วมโครงการของจิตอาสา 120 ชั่วโมง
  • กำลังการผลิตติดตั้ง 75 kWh
  • ผลสำรวจความพึงพอใจของชุมชนอยู่ที่ระดับ 75%
  • ไม่มีการร้องเรียนอย่างเป็นทางการจากชุมชนหรือหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น

คุณค่าต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ของโครงการ LBL

  • ติดตั้งและส่งมอบระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานและระบบกักเก็บพลังงานให้กับสถานบริการสาธารณสุขชุมชน จำนวน 8 แห่ง สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 46,855 kWh ต่อปี และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 24,071.94 KgCO2e
  • รายได้ (จากค่าไฟที่ประหยัดได้) จากการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว 252,000 บาท
  • ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยเฉลี่ย 10,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 171,159 KgCO2e ต่อปี
  • รายได้ของนักศึกษาที่มาร่วมปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้กับโรงเรียน 2 แห่ง ในพื้นที่ 126,000 บาท
  • ค่าไฟที่ประหยัดได้จากการเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับโรงเรียน 2 แห่ง ในพื้นที่ 10,257 บาท ต่อปี

ค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)

  • โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้กับโรงเรียนมาบเตย = 2.55
  • โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้กับโรงเรียนวัดกระเฉด = 2.62
  • โครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว = 2.32
  • โครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับสถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) อำเภออมก๋อย (เฉลี่ย 8 แห่ง) = 5.14

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ด้านคุณภาพชีวิต

  • สมาชิกชุมชนมีความสบายใจมากขึ้นในการเข้าถึงสาธารณสุข
  • บุคลากรของสสช. มีความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น
  • บุคลากรของสสช. มีเวลาในการใช้ชีวิตกับครอบครัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากลดการทํางานล่วงเวลา

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ด้านเศรษฐกิจ

  • สมาชิกชุมชนลดรายจ่ายและค่าเสียโอกาสในการเดินทางไปโรงพยาบาลในอําเภออมก๋อย
  • สาธารณสุขอําเภอลดค่าใช้จ่ายในด้านเวชภัณฑ์ การขนส่ง เชื้อเพลิงในการป็นไฟสํารอง และการทํางานล่วงเวลาของบุคลากร
  • สาธารณสุขอําเภอลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยอาการสาหัสที่สามารถหลีกเลี่ยงได้

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • สสช. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาด
  • สมาชิกชุมชนและสาธารณสุขอําเภอ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทาง เช่น สมาชิกชุมชนลดการเดินทางไปกลับโรงพยาบาลอําเภออมก๋อย และสาธารณะสุขลดการขนส่งวัคซีนหรือผู้ป่วยที่มีอาการสาหัส เนื่องจาก สสช. ทั้ง 8 แห่ง มีระบบไฟฟ้าที่สามารถให้บริการประชาชนได้ตลอด 24 ชั่วโมง

คุณภาพชีวิต

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

บริษัทฯ มีนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนและสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ มีอาชีพรองรับ มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงมีสุขภาพใจและกายที่สมบูรณ์ ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น โครงการ GPSC ร่วมใจ รวมไทย ช่วยชาติ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์COVID-19 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ กิจกรรมพัฒนาเยาวชน รวมถึงการส่งเสริมการเล่นกีฬา โครงการชมรมผู้สูงอายุ โครงการ Smart Farming โครงการวิสาหกิจชุมชนธนาคารขยะและการแปรรูปขยะ เป็นต้น

โครงการ "GPSC ร่วมใจ รวมไทย ช่วยชาติ"

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

SDG 3: GOOD HEALTH AND WELL-BEING

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ส่งผลให้ในปี 2564 บริษัทฯ ต้องปรับแผนการดำเนินงานด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินโครงการ GPSC ร่วมใจ รวมไทย ช่วยชาติ มาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2562 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเข้าสู่ระยะที่ 4 ของการระบาด โดยได้แบ่งการดำเนินกิจกรรมออกเป็น 4 รูปแบบหลักๆ คือ

  • การบริจาคเงินสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19
  • การบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของจำเป็นต่างๆ
  • การสนับสนุนนวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาการระบาดของCOVID-19 และ
  • การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนโครงการ GPSC ร่วมใจ รวมไทย ช่วยชาติ นี้ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 38.78 ล้านบาท

กิจกรรมช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์ COVID-19

โครงการ GPSC Smart Farming

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

SDG 3: GOOD HEALTH AND WELL-BEING

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม บริษัทฯร่วมกับกลุ่ม ปตท. ได้ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ PTT Group Smart Farming ภายใต้โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ ดังนี้

  • นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีของบริษัทฯ และกลุ่ม ปตท. มาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อยกระดับกระบวนการเพาะปลูกและการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร
  • พัฒนาธุรกิจด้านเกษตรกรรมสมัยใหม่ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการบริหารจัดการแบบองค์รวม
  • มุ่งเน้นการพัฒนาโดยใช้พลังงานชุมชนและความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ และกลุ่ม ปตท.
  • เพื่อเพิ่มรายได้จากความสามารถในการผลิต พร้อมลดรายจ่าย และลดเวลาทำงาน รวมถึงเพิ่มผลผลิตของชุมชนด้วยเกษตรกรรมสมัยใหม่ เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ โครงการ Smart Farming มีกลุ่มเป้าหมายซึ่งประกอบด้วย เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ด้อยโอกาส โดยมีโครงสร้างการทำงานซึ่งประกอบด้วย ผู้จัดการพื้นที่ที่เป็นพนักงานในกลุ่ม ปตท. และพนักงานจากโครงการ Restart Thailand จำนวน 6 คน/พื้นที่ โดยกลุ่ม ปตท. ได้คัดเลือกนักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่ประกอบอาชีพและส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ เข้ามาอบรมพื้นฐานความรู้ด้านการเกษตรและเทคโนโลยีเพื่อทำงานในโครงการนี้โดยเฉพาะ

สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของบริษัทฯ มีด้วยกัน 2 พื้นที่ คือ บ้านสวนต้นน้ำ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และบ้านห้วยขาบ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่บริษัทฯดำเนินโครงการกิจการเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดระยะเวลา 1 ปี น้องๆ จากโครงการ Restart Thailand ทั้ง 12 คน ได้ลงไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหาและพัฒนาแผนงานที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยมีพนักงานของบริษัทฯ และกลุ่ม ปตท. คอยให้คำแนะนำและสนับสนุนในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกลุ่มมาพัฒนาต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาด้านการเกษตรให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยรายละเอียดของการใช้นวัตกรรมในแต่ละพื้นที่ มีดังนี้

1) บ้านสวนต้นน้ำ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
- โรงเรือนอัจฉริยะพร้อมระบบ IoT ขนาด 6x12 เมตร จำนวน 2 หลัง
- ระบบโซลาร์เซลล์แบบ On-grid ขนาด 3 กิโลวัตต์
2) บ้านห้วยขาบ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
- โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 8x16 เมตร จำนวน 1 หลัง
- โรงเรือนอัจฉริยะพร้อมระบบ IoT ขนาด 8x20 เมตร จำนวน 2 หลัง

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

"โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท." มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ปี 2564-2566) โดยปี 2564 ในส่วนของ Smart Farming นั้น จะมีการดำเนินงานใน 25 พื้นที่ 20 จังหวัดทั่วประเทศไทย

สำหรับแนวทางการดำเนินงานในปี 2565 บริษัทฯ มีแผนความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานมาช่วยผลักดันต่อยอดโครงการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นโดยดูจากความเหมาะสมของพื้นที่ สภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน

โครงการ Smart Farming อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

คุณค่า/ประโยชน์ต่อองค์กรของโครงการ Smart Farming

  • สร้างภาพลักษณ์ในการเป็นแกนนำนวัตกรรมด้านพลังงานของบริษัทฯ

คุณค่า/ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมของโครงการ Smart Farming

  • ลดรายจ่าย สร้างรายได้กับชุมชนในพื้นที่
  • สร้างทักษะอาชีพให้คนในชุมชน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียงกับพื้นที่ดำเนินการของบริษัทฯ โดยดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สร้างสมดุลของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด อาทิ โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ โครงการปะการังเทียม โครงการบำรุงสวนป่า 34 ไร่ โครงการปลูกป่าและสร้างฝายชะลอน้ำบนเขาภูดร-ห้วยมะหาด โครงการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร โครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น

โครงการ Zero Waste Village

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

SDG 12: RESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTION

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

SDG 13: CLIMATE ACTION

โครงการ Zero Waste Village มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและรณรงค์ให้คนในชุมชนคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างคุณค่าให้กับขยะและสิ่งของเหลือใช้ อีกทั้งช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้กับชุมชน โดยโครงการ Zero Waste Village นี้ เป็นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่จะพัฒนาต่อยอดในเชิงธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise ก่อให้เกิดรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและสร้างความยั่งยืนภายในสังคมและชุมชนด้วยตนเอง

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

บริษัทฯ ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะให้กับชุมชนบ้านไผ่ ต.หนองตะพาน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง มาตั้งแต่ปี 2561 และดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร การแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Recycle & Upcycling) และพัฒนาเป็นสินค้าประจำชุมชน รวมทั้งเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ชุมชนบ้านไผ่ ต.หนองตะพาน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ไม่สามารถเปิดดำเนินการในส่วนของธนาคารขยะออมทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบได้ ส่งผลให้ขยะที่เคยเป็นแหล่งรายได้ให้กับชุมชนมีการหมุนเวียนน้อยลงและขยะภายในชุมชนมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น บริษัทฯ เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงร่วมมือกับสมาคมเพื่อนชุมชนนำนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เข้ามาช่วยทั้งในเรื่องการวางแผนการตลาด การทำบัญชี การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและสวยงามมากขึ้น โดยหนึ่งในนั้นได้แก่ หมอนหลอดรีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ "Tayla เทฬา" ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายให้กับชุมชนได้มากขึ้นกว่าหมอนหลอดรูปแบบเดิม

ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านไผ่ จังหวัดระยอง ภายใต้แบรนด์ "Tayla เทฬา"

เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ต่อยอดไอเดียของหมอนจากหลอดพลาสติกใช้แล้วของชุมชน โดยทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น สืบเนื่องจากปัญหาหลอดพลาสติกที่ใช้แล้วในศูนย์การเรียนรู้มีปริมาณมาก และไม่สามารถนำไปขายได้ ต้องนำไปทิ้งหรือแปรรูปเท่านั้น ดังนั้น ชุมชนบ้านไผ่จึงระดมหลอดพลาสติกจากร้านค้าภายในชุมชนและสร้างองค์ความรู้ในการนำกลับมาใช้ใหม่ให้กับชุมขน จากหมอนหลอดพลาสติกแปรรูปธรรมดาที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้กันเองและไม่สามารถขายได้ กลายเป็นหมอนหลอดพลาสติกที่สร้างมูลค่าและขายให้ประชาชนทั่วทั้งประเทศภายใต้แบรนด์ "Tayla เทฬา"

ผลิตภัณฑ์หมอนจากหลอดพลาสติกที่ใช้แล้วของแบรนด์ "Tayla เทฬา" มีวางจำหน่ายเริ่มต้น 2 รุ่น คือ หมอนมะเฟืองและหมอนเต่าตนุ โดยได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างแบรนด์จากปัญหาหลอดพลาสติกที่หลุดลอยลงสู่ท้องทะเลและสร้างปัญหาให้กับเหล่าสัตว์น้ำน้อยใหญ่ เช่น ปลา เต่า หอย เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ Tayla เทฬา มีส่วนช่วยในการนำเอาหลอดพลาสติกที่เราทิ้งมาใช้เป็นวัสดุทดแทนใยสังเคราะห์หรือเม็ดโฟม โดยหลอดพลาสติก 400 - 1,600 เส้น มีขนาดเท่ากับใยสังเคราะห์หรือเม็ดโฟม 0.5 - 2 กิโลกรัม

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

สำหรับกระบวนการผลิตนั้นต้องอาศัยฝีมือการตัดเย็บที่ประณีต โดยชาวบ้านในชุมชนจะใช้เวลาว่างมานั่งรวมกันยัดไส้หมอนหลอดเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับตัวเองและธนาคารขยะออมทรัพย์บ้านไผ่ ไม่เพียงเท่านั้น ชุมชนยังคำนึงถึงการเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก (Eco Product) โดยไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มที่เป็นพลาสติก แต่ใช้กระดาษ ผูกด้วยเชือก ห้อยปลาตะเพียนจากใบเตยเพิ่มความหอมสดชื่น พร้อมกับการ์ดขอบคุณที่ร่วมกันลดการใช้พลาสติก

เรื่องความสะอาดเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่บริษัทฯ และน้องๆ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อความปลอดภัยของชุมชนและผู้ซื้อ โดยหลอดที่นำมาใช้นั้นต้องผ่านกระบวนการซักล้างด้วยน้ำยาซักและน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างละ 1 รอบ และแช่น้ำทิ้งไว้ หลังจากนั้นจึงนำไปฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนในเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนจะนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ในเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย ปัจจุบันหมอนหลอด Tayla เทฬา มีวางจำหน่ายอยู่บน Facebook และที่ศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะชุมชนบ้านไผ่ หมู่ 1 ต.หนองตะพาน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านไผ่ จังหวัดระยอง แบรนด์ "Tayla เทฬา" ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ ในการส่งต่อหลอดพลาสติกที่ใช้แล้วจากทั่วประเทศมาเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ โดยยอดการผลิตและจำหน่ายขึ้นอยู่กับปริมาณหลอดพลาสติกใช้แล้วที่ได้รับ

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ในปี 2564 ชุมชนบ้านไผ่ จังหวัดระยอง สามารถสร้างคุณค่าจาก แบรนด์ "Tayla เทฬา" ได้ ดังนี้

ยอดจำหน่ายหมอนหลอดพลาสติกที่ใช้แล้ว 232 ชิ้น
จำนวนขยะจากหลอดพลาสติกลดลง 196 กิโลกรัม
รายได้ของชุมชนเพิ่มขึ้น 73,174 บาท

*ข้อมูลเริ่มจำหน่ายตั้งแต่เดือน มิถุนายน - พฤศจิกายน 2564

คุณค่า/ประโยชน์ต่อองค์กรของโครงการ Zero Waste Village

  • ผลสำรวจความพึงพอใจชุมชนอยู่ที่ระดับ 75%
  • สร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนในพื้นที่
  • การคัดแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะมูลฝอยที่มาจากชุมชน มีประสิทธิภาพ
  • ชั่วโมงเข้าร่วมโครงการของพนักงานจิตอาสา 45 ชั่วโมง

คุณค่า/ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมของโครงการ Zero Waste Village

  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 7,655 kgCO2e
  • สร้างความตระหนักด้านการจัดการขยะให้กับชุมชน และนักเรียนในพื้นที่
  • ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ลดปริมาณขยะในชุมชนได้ 170,000 ตันต่อปี
  • ส่งเสริมให้ชุมชนประกอบอาชีพเสริมและเกิดรายได้เพิ่มเติม ในปี 2564 ประมาณ 131,588 บาท เพิ่มขึ้นจาก 25,000 บาทในปี 2563
  • ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SORI) = 1.12

ผลลัพธ์หรือผลประโยชน์ทางสังคมของโครงการ Zero Waste Village

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ด้านเศรษฐกิจ

  • สมาชิกธนาคารขยะสามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการขายขยะรีไซเคิล เช่น พลาสติก แก้ว โลหะ และผลิตภัณฑ์จากขยะ เช่น หมอนจากหลอดพลาสติก แบรนด์ "Tayla เทฬา" ตะกร้า กระเป๋าใส่เหรียญ เป็นต้น
  • สมาชิกธนาคารขยะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการอบรมและถังสําหรับการทําปุ๋ย
  • ประธานกลุ่มธนาคารขยะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางเพื่อไปของบประมาณ สนับสนุนโครงการตามหน่วยงานราชการต่างๆ
  • ผู้รับซื้อขยะสามารถสร้างรายได้มากขึ้น จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขยะ
  • อบต.หนองตะพาน สามารถประหยัดงบประมาณได้มากขึ้น เนื่องจากจํานวนขยะในชุมชน มีปริมาณลดลง และชุมชนได้รับการสนับสนุนด้านการอบรมจาก บริษัทฯ

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • ชุมชนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการเดินทางไปอบรมเรื่องการบริหารจัดการและแปรรูปขยะ
  • ชุมชนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการฝังกลบขยะ
  • ชุมชนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการนําขยะมาเพิ่มมูลค่า ซึ่งทําให้เกิดการลดการใช้วัตถุดิบตั้งต้นสําหรับการผลิต (Virgin Material) เช่น พลาสติก แก้ว โลหะ

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ด้านคุณภาพชีวิต

  • ประธานกลุ่มธนาคารขยะมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเดินทางไปของบประมาณ สนับสนุนโครงการตามหน่วยงานราชการต่างๆ

นวัตกรรม

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ในฐานะที่เป็นแกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมต่อการพัฒนาองค์กร และส่งเสริมให้มีการนำนวัตกรรมมาใช้ทั้งในเชิงธุรกิจและสังคมเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกในยุคปัจจุบัน โดยบริษัทฯ เชื่อว่านวัตกรรมทางสังคม หรือ Social Innovation ซึ่งกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน จะสามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาสังคมเพื่อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยนำเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้

โครงการ GPSC Young Social Innovator

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

SDG: 9: INDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTURE

โครงการ GPSC Young Social Innovator เริ่มต้นขึ้นในปี 2561 ในรูปแบบของค่ายอบรมและแข่งขันนวัตกรรมของเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าระดับภูมิภาคตะวันออก มีทีมสมัครเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 39 ทีม แต่จากความสำเร็จของผลงานเยาวชนที่ได้รับรางวัล 1 เหรียญเงิน และ 1 special award จากการแข่งขันนวัตกรรมระดับนานาชาติเวที Seoul International Invention Fair (SIIF) ทำให้ในปีถัดมาคือปี 2562 โครงการ GPSC Young Social Innovator ได้ขยายกลุ่มเป้าหมายเยาวชน โดยยกระดับจากการแข่งขันระดับภูมิภาคเป็นการแข่งขันระดับประเทศ ส่งผลให้ในปีที่ 2 นี้ มีเยาวชนจำนวน 158 ทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยผลงานของเยาวชนรุ่นที่ 2 นี้เป็นที่ประจักษ์ชัดยิ่งขึ้น เพราะถึงแม้จะประสบกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 จนทำให้การแข่งขันนวัตกรรมนานาชาติที่เป็นเป้าหมายของการแสดงฝีมือและศักยภาพของเยาวชนไทยเกือบทุกเวทีถูกยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบออนไลน์ แต่ถึงกระนั้น ผลงานของเยาวชนโครงการ GPSC Young Social Innovator ยังคงเป็นที่ประจักษ์ในเวทีระดับนานาชาติ โดยได้รับ 1 เหรียญทอง 1 special award จาก International British Inventions, Innovation Exhibition (IBIX) และ 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 3 special award จาก World Invention Innovation Contest (WIC)

จากความสำเร็จเป็นอย่างมากของโครงการ GPSC Young Social Innovator season 2 ในปี 2562 บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะยกระดับโครงการให้เป็นค่ายอบรมบ่มเพาะทักษะด้านนวัตกรรม ปลุกปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ ให้กับประเทศไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศโครงการ GPSC Young Social Innovator 2563 ให้เป็นรางวัลใหญ่ของการแข่งขันในปีที่ 3 ทำให้โครงการยิ่งได้รับความสนใจจากเยาวชนทั่วประเทศและมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการอย่างล้นหลามถึง 303 ทีม

และปัจจุบันโครงการ GPSC Young Social Innovator อยู่ระหว่างการดำเนินงานในปีที่ 4 โดยปรับประเภทของนวัตกรรมที่เข้าแข่งขันเป็น 3 ประเภทคือ ผลิตภัณฑ์, สิ่งประดิษฐ์ และกระบวนการและบริการ ซึ่งมีเยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 447 ผลงาน และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศโครงการ GPSC Young Social Innovator 2564 เป็นรางวัลใหญ่ของแต่ละประเภทผลงาน รวมทั้งสิ้น 3 ถ้วยรางวัล

ภาพรวมของโครงการ GPSC Young Social Innovator ที่ผ่านมานอกเหนือจากการมีเยาวชนสนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกๆปี เยาวชนที่เข้าร่วมยังสามารถพัฒนาผลงานเพื่อยื่นจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรได้ถึง 7 ผลงาน ยังได้รับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติมากกว่า 15 รางวัล และจากการประเมินผลตอบแทนทางสังคม หรือ SROI ของโครงการตลอด 3 ปีมีค่า SROI ที่ 1.62 ซึ่งมีผลเป็นที่น่าพึงพอใจ

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการแข่งขันไม่ใช่เป้าหมายหลักที่แท้จริงของโครงการ GPSC Young Social Innovator แต่อย่างใด บริษัทฯมีความมุ่งหวังและเป้าหมายที่จะผลักดันให้เยาวชนเห็นคุณค่าของชุมชนสังคม ด้วยการนำนวัตกรรมที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมานั้นไปพัฒนาสังคมของตนเองให้มีคุณภาพในยุค 4.0 นี้ และจาก 4 ปีของการดำเนินโครงการ GPSC Young Social Innovator นอกจากรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมนานาชาติซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนถึงฝีมือ ความมุ่งมั่น และทักษะทางวิชาการของเยาวชนไทยแล้ว เยาวชน GPSC Young Social Innovator ยังได้นำนวัตกรรมเหล่านั้นไปถ่ายทอดและขยายผลไปสู่ชุมชนอีกด้วย อาทิ

  • การเพิ่มมูลค่าของข้าวฮางงอกเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดกลิ่นต่างๆ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยใช้วัตถุดิบตั้งต้นจากชุมชนเอง มีการจัดจำหน่าย สร้างรายได้ สร้างอาชีพทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับคนในชุมชน
  • การแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรเป็นกระดาษและพัฒนาต่อยอดเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากการถ่ายทอดองค์ความรู้และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักเรื่องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับคนในชุมชนทางอ้อมอีกด้วย
  • การแปรรูปของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตสินค้าอาหารของชุมชน (น้ำหมักปลาส้ม) เป็นน้ำกรดสำหรับกระบวนการเก็บผลผลิตยางพาราที่ช่วยลดการใช้สารเคมีที่มีอันตรายและยังช่วยเพิ่มน้ำหนักยางพาราให้มากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ยางพารามีคุณภาพดีขึ้น สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อว่าการเป็นคนเก่งนั้นควรจะต้องเป็นคนดีควบคู่กันไปด้วย เช่นเดียวกับการเป็นนวัตกรที่ดีนั้น จะต้องสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ สามารถช่วยเหลือชุมชน สังคม ประเทศชาติได้ด้วยเช่นกัน

คุณค่าต่อองค์กร
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับชุมชนในพื้นที่
  • สร้างบุคลากรในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • PR Value 2.96 ล้านบาท

คุณค่าต่อชุมชนและสังคม
  • การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา
  • คุณภาพทางการศึกษาดีขึ้น
  • ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของประเทศให้ดีขึ้น

การแปรรูปของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตสินค้าอาหารของชุมชน (น้ำหมักปลาส้ม) เป็นน้ำกรดสำหรับกระบวนการเก็บผลผลิตยางพารา

เป็นผลงานชนะเลิศจากโครงการ GPSC Young Social Innovator 2563 จากโรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ จ.นครพนม ซึ่งเป็นผลงานโดดเด่นที่สร้างสรรค์ขึ้นผ่านกระบวนการ Design thinking และโจทย์ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ซึ่งจัดจำหน่ายปลาส้มเป็นสินค้า OTOP ทำให้เกือบทุกหลังคาเรือนมีการทิ้งของเสียจากกระบวนการหมักปลาส้ม (น้ำจากกระบวนการหมัก) ไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสภาวะความเป็นกรดของน้ำหมักปลาส้ม เยาวชนจึงต้องแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุจึงนำน้ำจากการหมักปลาส้มดังกล่าวมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และได้ผลลัพธ์ว่ากรดดังกล่าวมีความเข้มข้นพอเหมาะ ใกล้เคียงกับกรดสำหรับหยดยางพาราก่อนทำการเก็บเกี่ยวน้ำยาง จึงได้ทำการทดลองและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในการแปรรูปน้ำทิ้งจากการหมักปลาส้มมาแปรรูปเป็นน้ำกรดสำหรับหยดยางพารา ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นกรดจากธรรมชาติ ลดอันตรายจากการใช้สารเคมีของเกษตรกรสวนยางพาราแล้ว น้ำกรดที่พัฒนาขึ้นยังช่วยให้ยางพาราก้อนที่เก็บเกี่ยวมีความหนาแน่นมากขึ้น น้ำหนักมาขึ้น ส่งผลให้ยางพาราก้อนมีคุณภาพดี เกษตรกรสามารถจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้นอีกด้วย

โดยในปัจจุบันผลงานดังกล่าวได้ยื่นจดสิทธิบัตร และเข้าแข่งขันนวัตกรรมในระดับนานาชาติ ได้รับเหรียญทองและ KIA Special Award จากเวที World Invention Innovation Contest หรือWiC 2021 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี และรางวัลเหรียญเงิน จากเวที International Invention, Innovation & Technology Exhibition หรือ ITEX 2021 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย รวมถึงได้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านทางช่องทางออนไลน์ และที่สำคัญที่สุดเยาวชนได้รวบรวมเพื่อนๆ ในโรงเรียนลงพื้นที่ชุมชนเพื่อถ่ายทอดกระบวนการและแนวทางการผลิตน้ำกรดอย่างง่ายให้กับชุมชนเกษตรกรสวนยางพาราที่อยู่โดยรอบโรงเรียนสามารถผลิตเพื่อใช้เองในชุมชนอีกด้วย

เป้าหมาย ปี 2565 - 2569

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ผลการดำเนินงาน ปี 2564

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ในปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าผลสำรวจความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อบริษัทอยู่ที่ระดับร้อยละ 75 สัดส่วนการบริจาคเพื่อการกุศลอยู่ที่ร้อยละ 24.02 (ไม่เกิน 30%) และมีการประเมินค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ใน 12 โครงการ/กิจกรรม โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 1.73 - 5.79 ประกอบด้วย

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

จากผลการดำเนินงานในภาพรวมดังกล่าวถือว่ามีความก้าวหน้ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ และบริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวให้ได้ภายในปี 2565 เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของ บริษัทฯที่จะก้าวไปสู่การเป็นองค์กรชั้นนำด้านนวัตกรรมที่ยั่งยืนในธุรกิจไฟฟ้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

รูปแบบการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม

หน่วยปี 2564

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (Cash Contributions) THB 2,800,000

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

มูลค่าเวลา - พนักงานที่อาสาสมัครระหว่างเวลาทำงาน (Time: employee volunteering during paid working hours) THB 58,825

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

การบริจาคในรูปแบบของสิ่งของและบริการ (In-kind Giving) THB 2,999,147

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ค่าบริหารจัดการสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม (Management Overheads) THB 12,056,429

รูปแบบการลงทุนและการบริจาคเพื่อสังคม

กิจกรรม ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มี อะไร บ้าง

ปรับปรุง ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565

เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดย The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance)