กิจการเจ้าของคนเดียว มีอะไรบ้าง

กิจการเจ้าของคนเดียว มีอะไรบ้าง

นับว่าเป็นปัญหาสุดคลาสสิคของคนที่อยากเริ่มทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ ต้องเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่าหากจะก่อตั้งธุรกิจขึ้นมา ควรจะทำธุรกิจคนเดียวหรือควรทำธุรกิจกับเพื่อน เพราะกลัวว่าทำคนเดียวแล้วจะไม่รอด แต่ก็กลัวทำกับเพื่อนแล้วจะมีปัญหา มีข้อสงสัยในเรื่องของการแบ่งหุ้นหรือแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน หากคุณกำลังลังเลใจ ว่าควรทำแบบนี้ไหนดี เพราะการทำธุรกิจคนเดียว หรือการมีเพื่อนธุรกิจช่วยคิด ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน ซึ่งในบทความนี้ Credit OK จะมาบอกข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว ไปอ่านและหาคำตอบให้ตัวเองกันเลยดีกว่าค่ะ 

รูปแบบของธุรกิจ 3 ประเภท

กิจการเจ้าของคนเดียว มีอะไรบ้าง

  1. กิจการเจ้าของคนเดียว คือ การเป็นเจ้าของที่ลงทุนโดยไม่มีหุ้นส่วนและต้องรับผิดชอบหนี้สิน ตัดสินใจแต่เพียงคนเดียวเท่านั้น
  2. ห้างหุ้นส่วน คือ การดำเนินงานที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และจะร่วมบริหารธุรกิจด้วยกันคือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  3. บริษัทจำกัด คือ การดำเนินงานที่มีกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการ ตกลงเข้าร่วมทุนโดยกำหนดทุนออกเป็นหุ้น รวมถึงกำหนดมูลค่าหุ้นไว้ด้วย ระดมทุนในรูปหุ้นส่วนและผู้ถือหุ้นทุกคนมีความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการแบบจำกัดโดยไม่เกินจำนวนเงินลงทุนหรือมูลค่าหุ้นที่ตนถือครองอยู่

กิจการเจ้าของคนเดียว มีอะไรบ้าง

ข้อดีของกิจการเจ้าของคนเดียว

  • จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย

ธุรกิจที่เหมาะสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียวต้องเป็นธุรกิจที่ขนาดเล็ก ที่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ง่าย ใช้เงินลงทุนน้อย

  • มีอิสระในการตัดสินใจ

เนื่องจากดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว สามารถตั้งเป้าหมายที่อยากให้ธุรกิจเป็นได้เอง  ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการดำเนินงาน และหากอยากเลิกกิจการก็ทำได้ง่าย

  • มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย

ในทางกฎหมายกิจการเจ้าของคนเดียวไม่ถือเป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นเจ้าของ และในทางบัญชีถือเป็นหน่วยงานอิสระหนึ่งหน่วยที่แยกออกจากผู้เป็นเจ้าของ

  • ไม่มีปัญหาเรื่องเงินและความสัมพันธ์

ประเด็นเรื่องเงินหรือการแบ่งกำไรกันนั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ๆ ยิ่งถ้ามีหลายคนอาจมีปัญหาในเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เมื่อทำคนเดียวแล้วก็ไม่ต้องกังวลในส่วนนี้ แต่ก็ควรที่จะมีบัญชีส่วนตัวและบัญชีธุรกิจแยกส่วนกัน ไม่รวมไว้ที่บัญชีเดียวกัน 

  • ไม่ต้องแบกความคาดหวังของคนอื่น

การทำธุรกิจร่วมกับคนอื่น หรือมีคนมาร่วมลงทุนกับธุรกิจของเรา ย่อมมีความคาดหวังในสิ่งที่อยากให้ธุรกิจเป็น การทำธุรกิจอาจไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิดซึ่งเมื่อเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว ทำให้ความกดดันอาจจะน้อยลงกว่ามีคนอื่นมาคอยกดดันเรา

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว

  • การขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก 

เนื่องจากเงินทุนมีจำกัด หากเราเริ่มต้นทำธุรกิจเองคนเดียวก็จะมีงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัด สภาพคล่องก็จะน้อยกกว่าการมีเพื่อนมาร่วมทำธุรกิจ ที่ทำให้ธุรกิจมีทุนเพิ่มขึ้น ไม่ต้องควักกระเป๋ามาลงทุนทุกอย่างเองทั้งหมด และถ้าต้องการกู้ยืมเงินจากภายนอกจะทำได้ยากเพราะขาดหลักประกัน

  • ไม่มีผู้ช่วยแบกรับความเสี่ยง

เพราะหากธุรกิจที่เราลงทุนไปนั้นไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีตามที่ตั้งเป้าไว้ เท่ากับว่าเราต้องแบกรับสภาพขาดทุนเองทั้งหมด ซึ่งก็อาจเกิดความตึงเครียดจากการแบกรับความเสี่ยงคนเดียวได้ อีกทั้งยังไม่มีคนคอยช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ต่าง ๆ ให้เราอีกด้วย

  • การตัดสินใจอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่าย

เนื่องจากการตัดสินใจเพียงคนเดียว ไม่มีคนร่วมคิดหรือร่วมแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน ทำให้เราอาจมองพลาดปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจจะยังนึกไม่ถึง และความสามารถในการคิดและบริหารงานมีจำกัด เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว

  • รับผิดชอบทุกอย่างคนเดียว

ถ้ามีผลขาดทุน ผู้ประกอบการรับผลขาดทุน และรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวนเพียงคนเดียว แต่เมื่อมีกำไรผู้ประกอบการก็ได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว ระยะเวลาดำเนินงานก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ ถ้าเจ้าของกิจการป่วยหรือเสียชีวิตอาจหยุดชะงักหรือเลิกกิจการ

การจดจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียวธุรกิจเจ้าของคนเดียวมีสถานะทางกฎหมายเป็นบุคคลธรรมดาเจ้าของกิจการต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้าหากธุรกิจเข้าข่ายที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย โดยมีขั้นตอนการเตรียมตัวและเอกสารสำคัญ ดังนี้

  1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาสัญญาเช่าพื้นที่ไปยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงานพาณิชย์ในพื้นที่ประกอบการเมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบแล้วจะออก ใบทะเบียนพาณิชย์ ให้เจ้าของกิจการ  ยกเว้นกิจการบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  ได้แก่
  • การค้าเร่ การค้าแผงลอย
  • พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  • พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  • พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
  • พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  • พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
  1. ต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เริ่มประกอบการ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทและปรับต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้จดทะเบียน การจดทะเบียนพาณิชย์ต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท

เมื่ออ่านจบแล้วคุณได้คำตอบแล้วยังคะ ว่าอยากเริ่มกิจกาารคนเดียวหรือควรหาหุ้นส่วนทางธุรกิจ หลังจากที่คุณเริ่มมีกิจการเป็นของตัวเองแล้ว ในช่วงแรกคุณควรที่จะลงมือทำเองทุกอย่างเพื่อที่จะได้รู้และเข้าใจปัญหาของธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง  ต้องเรียนรู้เรื่องการตลาดและการขาย แต่หลังจากธุรกิจเติบโตมากขึ้นจนทำเองไม่ไหวก็อาจต้องหาคนไว้ใจได้มาช่วยเหลือได้ คุณต้องรู้จักการสร้างระบบ การกระจายงาน สร้างทีมที่คุณสามารถเชื่อใจได้ และสุดท้ายอย่าลืมที่จะสร้างหลักประกันให้กับธุรกิจของคุณด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ “การทำประกันธุรกิจ” เพราะธุรกิจทุกประเภทมีความเสี่ยง ยิ่งถ้าคุณเลือกจะเป็นเจ้าของคนเดียวแล้ว ทุนของคุณอาจจะมีไม่เยอะมาก หากเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา หรืออยู่ ๆ วันนั้นเป็นวันที่โชคไม่ดีกับร้านของคุณ คุณก็อาจไม่ต้องควักเงินทุนฉุกเฉินในกระเป๋าออกมาใช้ก่อน

ที่มา www.dbd.go.th

#จดทะเบียนบริษัท #บริษัท #ห้างหุ้นส่วนจำกัด #หุ้นส่วนทางธุรกิจ #เจ้าของคนเดียว