ทักษะในศตวรรษที่ 21 3R8C มีอะไรบ้าง

เมื่อศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่โลกใบเดิมที่เราคุ้นเคยอีกต่อไป โลกเทคโนโลยีกำลังเข้ามาแทนที่ AI กำลังเข้ามามีบทบาทและทำงานแทนมนุษย์ในทุกๆ อุตสาหกรรม ครูยุคใหม่จะสอนนักเรียนอย่างไร เพื่อสร้างทักษะให้นักเรียนเติบโตไปในสังคมอนาคต 20-30 ปีข้างหน้า และเพื่อสร้างผู้ใหญ่รุ่นใหม่ที่ต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้พัฒนาและก้าวทันนานาประเทศ รวมถึงสร้างให้พวกเขาคิดเป็น ทำงานเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็น และมีความสุขเป็น ซึ่งทักษะและกรอบความคิดเดิมๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป

.


.

มารู้จัก 3R x 8C ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ “ครูฟา” ต้องรู้
เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้นักเรียนของเรา

.

3R คือ ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) เป็นทักษะสำคัญในชีวิต และเพียงต่อการดำรงชีวิต ได้แก่

.

1. Reading : สามารถอ่านออกได้ แต่ไม่ใช่แค่การอ่านท่องจำ แต่อ่านจับใจความได้ เน้นที่การอ่านหลากหลาย อ่านในด้านที่สนใจจริงๆ เพื่อเกิดความสนุกและรักในการอ่าน จนเกิดความเข้าใจในบริบท อ่านจับใจความสำคัญได้ วิเคราะห์ได้ ไม่ใช่อ่านแล้วเชื่อเลย หรืออ่านแล้วทำตามเลย เพราะข้อมูลในอินเตอร์เน็ตปัจจุบันมีการบิดเบือน สื่อบางอย่างไม่มีความเป็นจริง ดังนั้นการอ่านที่ดีต้องเกิดการคิดเป็นจับใจความเป็น วิเคราะห์เป็น เพื่อมีสติในการเข้าถึงสื่อและข้อมูลต่างๆ

.

2. (W)Riting : สามารถเขียนเพื่อการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ แสดงถึงความคิด ความรู้สึก อารมณ์ และถ่ายทอดตัวตนของผู้เขียนในเชิงบวกได้ 

.

3. (A)Rithmetics : มีทักษะการคำนวณ คิดเลขเป็น เพื่อเพียงพอในการใช้ชีวิต มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) โดยเป็นการเชื่อมโยงระหว่างความคิด กับข้อมูลที่สำคัญ และยังเชื่อมโยงกับจิตใจด้วย เช่น Fibonacci กับธรรมชาติ โดยการขยายขนาด หรือขยายการเจริญเติบโตของต้นไม้และสัตว์ในธรรมชาติ รวมถึงการแพร่พันธุ์ต่างๆ ล้วนอธิบายได้ด้วยตัวเลข Fibonacci ตัวอย่างเช่น การจัดวางเมล็ดของดอกทานตะวัน หรือดอกเดซี่ ซึ่งมีการจัดวางเมล็ดเป็นแบบวนก้นหอย เป็นต้น เช่นนี้เองจะทำให้ผู้เรียนเกิดการคิดเชื่อมโยงถึงคณิตสาสตร์และการคำนวณในชีวิตประจำวันได้

.


.

8C คือ ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills)
ยิ่งฝึกฝนและพัฒนา จะทำให้ผู้เรียนเกิด Growth Mindset ที่ดีและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ได้แก่

.

1. Critical thinking and problem solving 
คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และสามารถแก้ไขปัญหาได้

เพื่อสร้างนักเรียนให้มีความคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้ มีความช่างสังเกต เห็นปัญหา ตั้งคำถามเป็น ประเมินและตัดสินใจจากสิ่งที่สังเกตเห็น หาข้อมูลและหลักฐานเพื่อพิสูจน์และแก้ปัญหา มีมุมมองที่หลากหลาย และมองภาพรวมเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย สามารถประยุกต์การแก้ไขปัญหาเดิมกับเรื่องใหม่ได้ สามารถถอดบทเรียนรู้ ข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรพัฒนาจากประสบการณ์

.

2. Creativity and innovation 
คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม

เพื่อสร้างนักเรียนให้มีความคิดนอกกรอบ คิดต่อยอดเป็นและสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้ มีความคิดเปิดกว้าง มองหาโอกาส สร้างความเป็นไปได้ ตลอดจนสื่อสารความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ และยอมรับความคิดผู้อื่น

.

3. Cross-cultural understanding 
คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม

เพื่อสร้างนักเรียนให้ยอมรับตัวตนเองตัวเองและผู้อื่น สร้างความทัดเทียมในสังคม ชื่นชมและรับรู้ในคุณค่าของตัวเองและของผู้อื่นได้ โดยไม่มีอคติในเพื่อนมนุษย์ และลดความเป็นศูนย์กลางของตนเองลง

.

4. Collaboration teamwork and leadership 
คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ

เพื่อสร้างนักเรียนให้ยอมรับความแตกต่าง ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ยืดหยุ่นและปรับตัวในการทำงานตามสถานการณ์ และมีทักษะบริหารเวลาในการทำงาน มีภาวะผู้นำและผู้ตามเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

.

5. Communication information and media literacy 
คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ

เพื่อสร้างนักเรียนให้มีทักษะในการสื่อสาร ทั้งการพูด อ่าน เขียน และสื่อสารภาษากายได้ตามวัตถุประสงค์ รับข้อมูลและตีความข้อมูลได้ รวมถึงการนำเสนอได้ชัดเจน ปรับใช้สื่อและเทคโนโลยีได้เหมาะสม 

.

6. Computing and IT literacy 
คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี

เพื่อสร้างนักเรียนให้เลือกใช้ไอทีและสื่อดิจิตอลได้อย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อ การใช้เครื่องมือไอทีและการรับสื่อดิจิตอล สามารถควบคุมเวลาหน้อจอของตนเองได้ การเข้าถึงข้อมูล การป้องกันข้อมูลส่วนตัว และการรักษาความปลอดภัยบนโลกดิจิตอลได้

.

7. Career and learning skills 
คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้

เพื่อสร้างนักเรียนให้มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Resilience) คิดและลงมือทำแบบผู้ประกอบการ ตื่นตัวต่อสถานการณ์แบบผู้ประกอบการ โดยฝึกการคิดมองภาพใหญ่เป็น มีบุคลิกแบบผู้ประกอบการในการทำงานและเข้าสังคม รวมถึงกล้าคิด กล้าสร้างเครือข่ายของตนเอง

.

8. Compassion 
คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย

เพื่อสร้างนักเรียนให้เข้าใจตนเอง มีทักษะทางอารมณ์และสังคม โดยมีคุณลักษณะเบื้องต้น คือ

– การจดจ่อใส่ใจ : มีสมาธิจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง 

– การควบคุมอารมณ์ : สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

– การประเมินตนเอง : สะท้อนความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตนเอง สามารถประเมินงาน เพื่อหาข้อบกพร่องและแนวทางการพัฒนาให้ดีขึ้นได้

โดยการสร้าง Compassion นี้ สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการทำ Morning Circle เพื่อให้นักเรียนเกิดการรับรู้ เข้าใจอารมณ์ และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมนี้ได้ก่อนเริ่มการเรียนการสอนต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมนักเรียนก่อนเริ่มเรียนอีกด้วย

.

ดังนั้น ทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือ 3R x 8C นี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการสร้างนักเรียนสู่การเป็นผู้ใหญ่ในสังคมโลกแห่งความจริง แต่ยังสร้างนักเรียนรู้ตลอดชีวิต มี Growth Mindset ที่ดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคม และเอาตัวรอดได้ในศตวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่เปลี่ยนถ่ายยุคจากอุตสาหรรมสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ 


.

“ครูฟา” คือใคร?
ทำไมต้องมี “ครูฟา” ในโรงเรียน?

ครูยุคใหม่จึงต้องมีทักษะในการสร้างเด็ก จึงต้องยอมลดบทบาทความเป็นครู (Teacher) ของตัวเองลง แล้วหันมาเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ เป็น ครูฟา หรือครูกระบวนกร (Facilitator) แทน โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากที่สุด เก่งที่สุด หรือประสบการณ์มากที่สุด แต่ต้องเป็นผู้ที่ “เข้าใจ” และ “เข้าถึง” เด็กๆ ได้มากที่สุด ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อให้เด็กๆที่มีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน สามารถเรียนร่วมกันได้อย่างสนุกสนาน สามารถสร้างความไว้วางใจ ความมั่นใจ และแรงบันดาลใจในการที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้กับศิษย์ได้

.

คำว่า ครูฟา หมายถึงว่า จะไม่ได้เป็นเพียง “ครู” ผู้ให้ความรู้ แต่จะเป็น “ฟา” (Facilitator) ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วย สิ่งสำคัญที่ ครูฟา ต้องมีก็คือ

1. เปิดโอกาสให้เด็กๆแสดงความคิด และมองหาจังหวะสอดแทรกการเรียนรู้ไปในประสบการณ์ของเด็กๆ

2. เปิดโลกอันกว้างใหญ่ในการเข้าถึงข้อมูลของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าจากอินเตอร์เนท หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ

3. เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กๆ และจำเป็นต้องปล่อยให้เด็กๆพลาด เพื่อการเรียนรู้ เพราะการพลาดการล้ม คือส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อไปสู่การประสบความสำเร็จในการเรียน

.

การเป็น ครูฟา เป็นความท้าทายหนึ่งที่เกิดขึ้นกับครูทุกคน แต่ผลลัพธ์ที่จะเกิด คือเด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ และในตอนท้ายเด็กๆ ก็จะกลายเป็น “นักเรียนรู้ตลอดชีวิต” ซึ่งนั่นจะทำให้ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน เด็กๆ เหล่านั้นก็จะอยู่รอดอย่างแข็งแรง ปลอดภัย และมีความสุขได้เพราะเค้าเข้าใจตัวเองนั้นเอง

ทักษะ 3R สําคัญอย่างไร

โดยที่ทั้ง 3R จัดเป็นทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) พื้นฐานที่ทุกคนต้องมี ทั้งการอ่านออกเขียนได้ จัดเป็นทักษะที่จะสามารถนำไปสื่อสาร เรียนรู้ และต่อยอดความรู้ในด้านอื่น ๆ ที่มีอยู่ให้พัฒนามากยิ่งขึ้น ส่วนทักษะ Arithmetic หรือการคิดเลขเป็นนั้น ถือว่าเป็นทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยส่งเสริมระบบความคิดให้มีตรรกะที่ดีขึ้น มี ...

ทักษะในศตวรรษที่ 21 กับการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21.
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คิดสร้างสรรค์ ใส่ใจนวัตกรรม มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น สื่อสารดี ... .
2. ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี อัพเดตทุกข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันสื่อ รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉลาดสื่อสาร.
3. ทักษะชีวิตและอาชีพ มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว ริเริ่มสิ่งใหม่ ใส่ใจดูแลตัวเอง.

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 25 มีอะไรบ้าง

Analytical thinking and innovation - ทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะด้านนวัตกรรม (อันดับ 1) Complex problem-solving - ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (อันดับ 3) Critical thinking and analysis - ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (อันดับ 4) Creativity, originality and initiative - ทักษะความคิดสร้างสรรค์และการริเริ่มสิ่งใหม่ (อันดับ 5)

ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะชีวิตแบบใด

1. Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้ 2. Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม 3. Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม