ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา

หนึ่งในอาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่ “Content Creator” หรือนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Youtube Facebook  IG  Tiktok หลายคนมีไอดอลเป็นเหล่าพี่ๆน้องๆในวงการที่ประสบความสำเร็จ สร้างรายได้จากช่องและรับงานโฆษณาได้ต่ออีกมากมาย เชื่อว่าคงจะหันกลับมาคิดกับตัวเองว่า “เราทำบ้างดีไหมนะ?” 

ถ้าอยากจะเป็น Content Creator ให้ปังต้องพกพาทักษะอะไรไว้บ้าง

1.
Storytelling

ทักษะการเล่าเรื่อง คือการใช้เทคนิคการเล่าและลำดับเรื่องราวอย่างไรให้สนุกและน่าติดตาม บางคนโชคดีมีทักษะนี้ติดตัวมาธรรมชาติ เล่าเรื่องทีไรเพื่อนให้ความสนใจ อยากฟัง ตลก และอินด้วยตลอด แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยเก่งในการเล่าเรื่องก็สามารถพัฒนาได้จากการอ่าน ฟังและดู Content ของ Creator ท่านอื่นเยอะๆ และเสพสื่ออื่นๆที่เหนือความสนใจของตนเองบ้าง เช่น ลองดูหนังแนวใหม่ๆ หรือฟังพอตแคสท์ช่องที่ไม่เคยฟังมาก่อนแต่ได้รับความนิยม เพื่อสั่งสมคลัง “วิธีการเล่าเรื่อง” ไว้ในหัว

2. Creative thinking

หลายคนกลัวคำนี้เพราะคิดว่าปกติตัวเองไม่ค่อยได้ทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่ความจริงทักษะนี้เป็นทักษะที่ฝึกฝนได้อย่างแน่นอนไม่ว่าคุณจะเรียนด้านใด หรือทำอาชีพใดก็ตาม จุดสำคัญที่จะพัฒนา Skill นี้คือต้องมีทั้ง Input และ Output คือเราต้องเสพงานเยอะๆ และหลากหลาย เมื่อสมองมีวัตถุดิบเพียงพอ ต้องฝึกนำมาใช้คิดไอเดียออกมาด้วย โดยสมองจะนำทุกอย่างมาผสมผสาน สร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมาเอง โลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็น Orginal อย่างแท้จริง ทุกอย่างล้วนเกิดจากการต่อยอด แนะนำให้พกสมุดจดเล็กอันหนึ่งไว้สำหรับจดความคิดที่เราคิดว่าเจ๋งไว้ เพื่อใช้ดูเมื่อต้องคิดไอเดีย

3. Planning & Managing

การทำ Content Creator ที่จะประสบความสำเร็จได้จาก Content ที่มีคุณภาพจริงๆ โดยไม่อาศัยความฟลุ๊คซึ่งเป็นเรื่องควบคุมได้ยาก ทักษะที่ขาดไม่ได้คือเรื่องการวางแผน และจัดการคอนเทนต์ และตารางเวลาของตนเอง อาทิ กำหนดช่วงเวลาการลงคอนเทนท์ ช่องทางการลง เนื้อหา หากบางคนทำงานประจำอยู่ด้วยก็ต้องบริหารเวลาการทำงานและพักผ่อนดีๆด้วย แนะนำว่าควรมีแอปฯจัดการตารางงาน หรือปฏิทินงานไว้เป็นตัวช่วย

4. Communication

หลายเว็บไซต์มักพูดถึง Writing skill ที่ใช้ในการติดต่อ และสื่อสาร แต่จริงๆแล้วถ้าให้ครอบคลุมกว่าคือ “ทักษะการสื่อสาร” ที่รวมทั้ง Verbal (ทักษะการพูด) และ Non-verbal (ทักษะการสื่อที่ไม่ใช่การพูด อาทิ สีหน้า ท่าทาง) เพื่อทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบลื่น ไม่เกิดความเข้าใจผิด หรือเกิดดราม่าจนดับซะก่อนที่จะดัง และการมีทักษะการสื่อสารที่ดี ยังช่วยสร้าง Engagement ได้ด้วย เช่นการเรียน Caption หรือ Title ที่น่าสนใจ

5.
Networking 

เดี๋ยวนี้มีให้เห็นตัวอย่างการ Collab ข้ามเพจ ข้ามช่อง กันเยอะมาก การทำ Collab นอกจากจะช่วยเพิ่มยอดวิว เรียกกระแสได้ดี ยังเปิดโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆมากขึ้นด้วย แต่การจะไป Collab กับช่องอื่นได้ เราต้องมีทักษะการสร้างมิตรภาพ อาทิ เข้าร่วม Meeting หรือสัมนาต่างๆที่มีคนในวงการที่เราสนใจเข้าร่วม เพื่อเปิดโอกาสให้ได้พบปะคน และต่อยอดเป็น Connection ที่ดีได้ ทักษะนี้ขอกาดอกจันตัวโตๆว่า *สำคัญ* เพราะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ Content เราเข้าถึงคนดูได้เร็ว และเยอะมากขึ้นยิ่ง หาก Content ดีจริง รับรองว่าปังเร็วแน่นอน!

6. Up to date & Insightful

หูตาต้องไว รู้ข่าว รู้เทรนด์ และหา Insight จากคนรอบตัวเก่ง ทักษะนี้คนที่ชอบเสพข่าว หรือติดตามโลกโซเชียลตลอดอาจจะได้เปรียบ เพราะเข้าถึงทุกอย่างได้เร็ว แต่สำหรับ Content Creator แค่นั้นยังไม่พอ คุณต้อง “ดูให้ออก” และ “จับให้ถูก” กระแสด้วย จึงจะปัง 

บทความงาน > การทำงาน > เทคนิคการทำงาน > 9 อาชีพสร้างรายได้ดีในยุคดิจิทัล

9 อาชีพสร้างรายได้ดีในยุคดิจิทัล

  • 18 December 2017

ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา
ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา
ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา
ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา
ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา
ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา
ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา

ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา

          เมื่อยุคทองของโลกดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางเทคโนโลยีมาถึง อาชีพใหม่ ๆ หรืออาชีพต่อยอดจากเดิม ก็ถือกำเนิดขึ้นตาม พร้อมทำเงินได้อย่างมหาศาล เป็นที่ต้องการของตลาดสูง เรียกว่าอยู่ในกระแสขาขึ้นอย่างแท้จริง jobsDB มีรีวิว 9 อาชีพสร้างรายได้ดีในยุคดิจิทัลมาฝาก ตามไปแชร์กันได้เลย

1. Digital Designer

          นักออกแบบดิจิทัล ผู้รับออกแบบทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถนำไปวางและใช้สื่อสารบนโลกดิจิทัลได้อย่างเห็นผล ปัง ๆ โดน ๆ อยู่ในกระแส ทั้งสื่อโฆษณา สื่อสร้างภาพลักษณ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ทุกประเภท ขยันปล่อย ขยันอัปเดต รับรองเข้าตาลูกค้าและโดนใจชาวโซเชียลได้ตลอดเวลา

2. Website Designer

          ยุคดิจิทัลแบบนี้ ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยย่อมไม่มีใครที่ยอมตกยุค ไม่มีเว็บไซต์หรือเว็บเพจเป็นของตัวเอง เพราะถือเป็นหน้าร้านเป็นหน้าเป็นตาให้กับองค์กรอีกช่องทางหนึ่ง นักออกแบบเว็บไซต์จึงต้องถูกตามตัวเรียกใช้บริการ เพื่อสร้างเว็บไซต์ที่หน้าตาสวยงาม เน้นการนำเสนอที่น่าสนใจ ใช้งานง่าย ค้นหาสะดวก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสบการณ์เเปลกใหม่ให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ใครเป็นมืออาชีพสายนี้มีงานเพียบแน่นอน

3. Mobile Application Developer

          ยุคนี้ใคร ๆ ก็ต้องมีสมาร์ตโฟน กลายเป็นปัจจัยชีวิตอันดับต้น ๆ ที่ขาดไม่ได้ ยิ่งคนยุคใหม่ก็แทบจะเรียกได้ว่าเกิดมาก็รู้จักสมาร์ตโฟนเป็นอย่างดี หลากหลายองค์กรและภาคธุรกิจจึงต้องตอบรับวิถีชีวิตยุคใหม่ ด้วยการเชื่อมโยงรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนจึงเป็นอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้น และเป็นที่ต้องการตัวในตลาดสูง เปิดมิติใหม่ให้สมาร์ตโฟนสามารถรองรับทุกความต้องการของผู้คนในยุคดิจิทัล

4. นักวาดสติ๊กเกอร์สำหรับแอปพลิเคชั่นการแชทพูดคุย

         กระแสความนิยมของแอปพลิเคชั่นการแชทพูดคุย ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม เป็นที่นิยมมากในบ้านเรา นักวาดสติ๊กเกอร์จึงเป็นอาชีพใหม่ที่น่าจับตา เพราะเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่มีความสามารถในการวาดและออกแบบสติ๊กเกอร์ขายผลงานของตัวเองได้ผ่านช่องทางออนไลน์ หากผลงานได้รับความนิยมในการดาวน์โหลด ก็อาจต่อยอดไปต่อได้ เข้าตาลูกค้าแบรนด์ใหญ่ให้มีงานอย่างต่อเนื่อง

5. Drone Specialist

          การนำเสนอภาพของสื่อในยุคปัจจุบันต้องไม่ธรรมดาแบบเดิม ๆ อีกต่อไป ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ “โดรน” อาชีพนักถ่ายภาพอากาศยานไร้คนขับจึงเปิดตัวได้อย่างสวยงาม รายได้งาม มีผลงานสร้างชื่อได้ และด้วยลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญในการถ่ายภาพมุมสูง การรับมือกับความกดดันและสถานการณ์เฉพาะหน้าหลากหลายรูปแบบ ก็ยิ่งได้คะแนนความยากเพิ่ม เรียกค่าตัวได้สูงลิ่ว

6. ผู้เชี่ยวชาญ SEO (Search Engine Optimization)

          ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลที่จะทำให้เว็บไซต์ของผู้ว่าจ้างติดอยู่ใน list อันดับต้น ๆ ของ Search Engine ยอดนิยมอย่าง Google, Yahoo, Bing ฯลฯ ด้วยกระบวนการปรับแต่งเว็บไซต์ ออกแบบ การเลือกใช้เครื่องมือในการทำงาน การเขียนโปรแกรมสนับสนุน ไปจนถึงการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ให้มีความสอดคล้องกับระบบการทำงานของ Search Engine ถือเป็นการโปรโมทโฆษณาองค์กรที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากสามารถเข้าถึงผู้คนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา ระยะทาง และยังตรงกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ว่าจ้างต้องการ

7. Digital Marketer

          อาชีพนักการตลาดที่เรารู้จักกันดียังต้องปรับตัวตามกระแส เพิ่มความเป็นดิจิทัลลงไป เสริมทักษะให้แข็งแกร่งทั้งสายงานการตลาดและเทคโนโลยียุคใหม่ จะทำอาชีพนี้ได้ต้องมีความเชี่ยวชาญหลากหลายทั้ง Social Media, Search Engine, E-mail Marketing การเลือกใช้สื่อออนไลน์ที่เหมาะสม การวางเเผนการตลาดออนไลน์ แม้ขอบเขตของงานจะกว้าง แต่ค่าตอบแทนก็คุ้มค่าน่าพึงพอใจเช่นเดียวกัน

8. Digital Copywriter

          นักออกแบบดิจิทัลก็มาแล้ว Digital Copywriter ก็ต้องมาด้วย ถือเป็นบุคคลที่ทำงานสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เพราะ content ยังเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ต่าง ๆ ต้องการสื่อสารไปถึงผู้บริโภค ไม่ว่าช่องทางการสื่อสารจะเปลี่ยนรูปแบบไปเพียงใดก็ตาม นักเขียนสำหรับสื่อออนไลน์จึงต้องมีความสามารถในการเลือกใช้คำที่สร้างสรรค์ เหมาะสม และโดนใจกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ควบคู่กันไปด้วย

9. นักกีฬา E-Sports

          เมื่อบรรดา Gamer ผันตัวมาเป็น “นักกีฬาอิเล็กทรอนิกส์” แบบจริงจัง เปลี่ยนเรื่องเล่น ๆ ให้กลายเป็นเรื่องไม่เล่นอีกต่อไป พร้อมทำเงินได้มหาศาล อาชีพนี้ไม่มีข้อจำกัดด้านร่างกาย เพศ อายุ เน้นใช้ทักษะด้านสมอง และความคล่องแคล่วของมือ ควบคู่ไปกับการมีวินัยฝึกซ้อม หาข้อมูล ศึกษาคู่แข่ง และคิดค้นกลยุทธ์การเล่นใหม่ ๆ รายได้น่าสนใจ ใครมีความสามารถหาตัวจับยาก อาจทำได้ถึงหลักแสนบาทต่อเดือนเลยทีเดียว

          9 อาชีพกระแสใหม่ สร้างรายได้งามที่ยกตัวอย่างมา เป็นอย่างไรบ้าง … ใช่คุณหรือไม่ หรือตรงกับความสามารถที่คุณมีอยู่ในตัวกันบ้างหรือเปล่า รู้แล้วก็อย่ารอช้า หมั่นพัฒนา ฝึกฝนฝีมือ อัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่แน่ว่านี่อาจเป็นแนวทางสร้างอาชีพเสริม หรือจะต่อยอดให้เป็นอาชีพหลักที่มั่นคงได้ ให้คุณได้มีอิสระในการใช้ชีวิตได้ตามใจต้องการ

แหล่งข้อมูล : favforward.com

                     admissionpremium.com

Increase your chances of getting hired. Create a jobsDB profile

Increase your chances of getting hired. Update your jobsDB profile

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

7 งานฟรีแลนซ์ทำเงินควบคู่กับการเป็นมนุษย์เงินเดือน

คุณคือมนุษย์เงินเดือนสายไหน ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตให้ดี

สร้างรายได้ยุคดิจิตอล  สร้างรายได้ยุคดิจิทัล  อาชีพยุคดิจิตอล  อาชีพยุคดิจิทัล  อาชีพสร้างรายได้  อาชีพสร้างรายได้ยุคดิจิทัล

บทความยอดนิยม

ข้อใดถือเป็นอาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา

ช้อปดีมีคืน 2566 รวมทุกเรื่องต้องรู้! ช้อปแบบไหนถึงมี (เงิน) คืน

มาตรการลดหย่อนภาษีประจำปี “ช้อปดีมีคืน” ของทางภาครัฐกลับมาอีกครั้ง ชาวไทยผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจึงพากันให้ความสนใจโครง...

Creators คืออะไร

[n.] ผู้ประดิษฐ์ ผู้สร้างสรรค์ [syn.] inventor,producer,originator. [n.] ผู้สร้างโลก พระเจ้า

Content Editor หมายถึงอาชีพใด

Content Editor ทำอะไรบ้าง? งานที่ Content Editor ทำนั้นจัดอยู่ในส่วนของการ Pre Production กับ Post Production เป็นส่วนมากสิ่งที่ทำหลักๆ คือ วางแผนและตัดสินใจสร้างสื่อโฆษณา ตามวัตถุประสงค์ของแคมเปญ คิดกลยุทธ์ในการสร้างยอดขายร่วมกับ Ad Specialist ได้

Content Creator มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

Content Creator มีหน้าที่อะไรบ้าง การคิดค้นเนื้อหา content ที่สร้างสรรค์ มีความเหมาะสมกับแบรนด์หรือธุรกิจที่รับผิดชอบ ให้ออกมาตามแผนที่วางเอาไว้ โดยมีเอกลักษณ์ที่สื่อสารออกไปอย่างชัดเจน การจัดการโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่ดูแล

Content Creator มีใครบ้าง

5 Next Gen Content Creator แนะนำนักสร้างสรรค์คอนเทนท์รุ่นใหม่ ในงาน iCreator Conference 2020.
ว่านไฉ (อาสาพาไปหลง) ... .
Untitled Case. ... .
บูม ธริศร ... .
เฟื่องลดา ... .
Pigkaploy..