ขันธ์ 5 มีองค์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง

รูปขันธ์ คือ กองแห่งธรรมชาติที่จะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น เช่น หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีด ย่อมแตกสลายไป

รูป คือ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาบ้าง เห็นไม่ได้ด้วยตาบ้าง ซึ่งก็คือร่างกายและสิ่งที่อาศัย เกิดจากกาย รูปบางอย่างเป็นรูปทิพย์ มีความละเอียดมาก เห็นได้ด้วยตาทิพย์ เช่น รูปของเทวดา พรหม เป็นต้น

รูป หรือร่างกาย มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 อย่าง คือ

1. มหาภูตรูป 4 แปลว่า รูปที่เป็นใหญ่ปรากฏชัดเจน ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

ลักษณะของธาตุทั้ง 4 คือ

ธาตุดิน มีลักษณะ แข็ง

ธาตุน้ำ มีลักษณะ ไหลหรือเกาะกุม

ธาตุไฟ มีลักษณะ ร้อนและเย็น มี 5 อย่าง ได้แก่

1.อุสฺมาเตโช มีประจำอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย

2.สนฺตปฺปนเตโช มีความร้อนมาก

3.ทหนเตโช มีความร้อนสูงจัด สามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตได้

4.ชิรณเตโช ทำให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง

5.ปาจกเตโช ทำหน้าที่ย่อยอาหาร

 ธาตุลม มีลักษณะ เคร่งตึงและเคลื่อนไหว มี 6 อย่าง ได้แก่

1.อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นสู่เบื้องบน

2.อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง

3.กุจฺฉิฏฺฐวาโย ลมที่พัดอยู่ในช่องท้อง

4.โกฏฺฐาสยวาโย ลมที่พัดอยู่ในลำไส้ใหญ่

5.องฺคมงฺคานุสารีวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย

6.อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าออก

ซึ่งลักษณะและหน้าที่ของธาตุ 4 ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องจตุธาตุววัตถาน

2. อุปาทายรูป หมายถึง รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด(คุณสมบัติที่มีอยู่ในรูป) ถ้าไม่มีมหาภูตรูป อุปาทายรูปก็มีไม่ได้

อุปาทายรูป 24 ประกอบด้วย จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ หทยรูป ชีวิตรูป อาหารรูป กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ปริจเฉทรูป รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา อุปจยรูป รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา แต่ละอย่างสามารถแบ่งเป็นหมวดได้ดังนี้

ปสาทรูป 5 คือ รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์ ได้แก่

1.จักขุปสาทรูป คือ ประสาทตา เป็นอวัยวะที่เห็นรูป เมื่อรูปกระทบอวัยวะนี้จะเกิดจักขุวิญญาณขึ้น จักขุปสาทที่อาศัยดวงตาซึ่งมีชิ้นเนื้อเล็กๆ 3 ชั้นอยู่รอบๆ ดวงตาดำและตาขาว และตาที่อยู่ในเนื้อเดียว 5 ชั้นของเนื้อ เลือด ลม เสมหะ และน้ำเหลือง จักขุปสาทมีขนาดเท่าเมล็ดฝิ่นครึ่งเมล็ด มีลักษณะคล้ายศีรษะเล็นสร้างขึ้นโดยธาตุ 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ในที่ซึ่งมีธาตุไฟมากกว่า เรียกว่า จักขุปสาท

2.โสตปสาทรูป คือ ประสาทหู เป็นอวัยวะที่ฟังเสียง เสียงเมื่อกระทบอวัยวะนี้จะเกิดโสตวิญญาณขึ้น โสตประสาทตั้งอยู่ภายในช่องหูทั้งสอง ที่ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาล อาศัยเยื่อแผ่นมีลักษณะคล้ายๆ ก้านเมล็ดถั่วเขียวซึ่งสร้างขึ้นด้วยธาตุ 4 ตามกรรมในอดีต และเป็นที่มีอากาส- ธาตุมากกว่า เรียกว่า โสตปสาท

3.ฆานปสาทรูป คือ ประสาทจมูก เป็นอวัยวะที่สูดดมกลิ่น เมื่อกลิ่นกระทบอวัยวะนี้จะเกิดฆานวิญญาณขึ้น ฆานประสาทตั้งอยู่ภายในจมูก มีลักษณะคล้ายดอกทองหลาง สร้างขึ้นโดยมหาภูตรูปทั้ง 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ในที่ที่มีวาโยธาตุมากกว่า เรียกว่า ฆานปสาท

4.ชิวหาปสาทรูป คือ ประสาทลิ้น เป็นอวัยวะรู้รส เมื่อรสชาติต่างๆ กระทบกับอวัยวะนี้ จะเกิดชิวหาวิญญาณขึ้น ชิวหาปสาทมีลักษณะคล้ายดอกอุบล ซึ่งตั้งอยู่ภายในชิ้นเนื้อของลิ้น สร้างขึ้นโดยธาตุทั้ง 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ในที่ที่มีอาโปธาตุมากกว่า เรียกว่า ชิวหาปสาท

5.กายปสาทรูป คือ ประสาทกาย เป็นอวัยวะที่รู้การกระทบสัมผัสด้วยอวัยวะนี้แล้วกายวิญญาณจึงเกิดขึ้น กายประสาทนี้ตั้งอยู่ทั่วๆ ไปในร่างกาย ยกเว้นที่ผม ขน เล็บ ฟัน และส่วนอื่นในร่างกายที่ปราศจากความรู้สึก สร้างขึ้นโดยมหาภูตรูปทั้ง 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ในที่ที่มีปฐวีธาตุมากกว่า เรียกว่า กายประสาท

โคจรรูป หรือวิสยรูป 4 คือ รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอายตนะ ได้แก่

1.วัณณรูป หรือ รูปสี (รูปารมณ์)

2.สัททรูป หรือ รูปเสียง (สัททารมณ์)

3.คันธรูป หรือ รูปกลิ่น (คันธารมณ์)

4.รสรูป หรือ รูปรส (รสารมณ์)

 ภาวรูป 2 คือ รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ ได้แก่

1.อิตถีภาวรูป คือ รูปที่แสดงถึงความเป็นหญิง

2.ปุริสภาวรูป คือ รูปที่แสดงถึงความเป็นชาย

หทยรูป 1 คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก

ชีวิตรูป 1 คือ รูปที่เป็นชีวิต ได้แก่ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม

อาหารรูป 1 คือ โอชาที่มีอยู่ในอาหาร

ปริจเฉทรูป 1 คือ รูปที่กำหนดเทศะ ได้แก่ อากาสธาตุ ช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป

วิญญัติรูป 2 คือ รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย ได้แก่

1.กายวิญญัติรูป ได้แก่ การเคลื่อนไหวกาย

2.วจีวิญญัติรูป ได้แก่ การกล่าววาจา

การรูป 3 คือ อาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ ได้แก่

1.ลหุตารูป ได้แก่ ความเบาแห่งรูป

2.มุทุตารูป ได้แก่ ความอ่อนสลวยแห่งรูป

3.กัมมัญญตารูป ได้แก่ ความควรแก่การงาน ความใช้การได้แห่งรูป

ลักขณรูป 4 คือ รูปที่เป็นลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด ได้แก่

1.อุปจยรูป คือ ความก่อตัวหรือเติบโตของรูป

2.สันตติรูป คือ ความสืบต่อแห่งรูป

3.ชรตารูป คือ ความทรุดโทรมแห่งรูป

4.อนิจจตารูป คือ ความปรวนแปรแตกสลายแห่งรูป เมื่อมหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูปอาศัยซึ่งกันและกันแล้ว มหาภูตรูป 4 จึงเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าอุปาทายรูปจะเกิดขึ้นเพราะอาศัยมหาภูตรูป 4 แต่ว่ามหาภูตรูป 4 ไม่ได้อาศัยอุปาทายรูปเกิดขึ้น และอุปาทายรูป ถ้าปราศจากมหาภูตรูป 4 เสียแล้วจะเกิดขึ้นไม่ได้ อุปมาว่าด้วยไม้ 3 อัน คือ มหาภูตรูป 4 อุปมาเหมือนไม้ 3 อันค้ำกัน อุปาทายรูปเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยมหาภูตรูป 4 ควรเปรียบเสมือนเงาที่แผ่กระจายไปโดยไม้ 3 อันที่ค้ำกันอยู่นี้เป็นความแตกต่างกันระหว่าง รูปทั้ง 2

4.3.2 เวทนาขันธ์

เวทนาขันธ์ หมายถึง การเสวยอารมณ์ การรับอารมณ์ การรู้อารมณ์

เวทนาเมื่อแยกแบ่งได้ 3 อย่าง คือ

1.สุขเวทนา เป็นความรู้สึกสุข คือ สบายกาย สบายใจ

2.ทุกขเวทนา เป็นความรู้สึกทุกข์ คือ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

3.อทุกขมสุขเวทนา เป็นความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เฉยๆ

เวทนาเกิดจากการที่มีวัตถุภายนอกมากระทบประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วส่งไปให้ใจ ใจรับเอาไว้แล้วจึงเกิดเป็นความรู้สึกขึ้นมา เช่น มีรูปมากระทบ ประสาทตาส่งไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ คือ เห็น เมื่อเห็นแล้วก็เกิดความรู้สึกว่า รูปนี้สวย จึงเกิดความสบายใจ หรือไปเห็นสุนัขเน่า ทั้งตัว จึงไม่สบายใจ เป็นทุกข์ หรือเห็นคนที่หน้าตาธรรมดา จึงเกิดความรู้สึกเฉยๆ

เมื่อมีเสียงมากระทบหู ประสาทหูส่งไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ เรียกว่า ได้ยิน เมื่อได้ยินแล้วก็อาจจะสุข เพราะว่าเสียงนั้นเป็นเสียงชม อาจจะทุกข์ เพราะว่าเป็นคำนินทา อาจจะเฉยๆ เพราะว่าไม่รู้ว่าเขาพูดเรื่องอะไร

เมื่อมีกลิ่นมากระทบจมูก ประสาทจมูกส่งไปให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ เรียกว่า ได้กลิ่น เมื่อได้กลิ่นแล้วก็เกิดเวทนา เช่น ถ้าหอมก็เกิดความสบายใจ ถ้าเหม็นก็เกิดความทุกข์ หรือมีกลิ่นนิดๆ หน่อยๆ จึงไม่ได้รู้สึกอะไร เฉยๆ

เมื่อรสมากระทบลิ้น ประสาทลิ้นก็ส่งไปให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ เรียกว่า ลิ้มรส เมื่อลิ้มรสก็เกิดเวทนาขึ้นทันที ถ้าอร่อยสุขเวทนาก็เกิดทันที ถ้าเผ็ดหรือขมปี๋ ทุกขเวทนาก็เกิดหรือไม่ก็เฉยๆ

เมื่อมีวัตถุมากระทบกาย ประสาทกายส่งให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ เมื่อรับเอาไว้ก็เกิดเวทนาขึ้นมาว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง นิ่ง กระด้าง

 4.3.3 สัญญาขันธ์

สัญญาขันธ์ หมายถึง ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำสัมผัส เกิดขึ้นเพราะกลไกการทำงานของใจที่สามารถจำหรือบันทึกข้อมูลไว้ได้ ทั้งภาพ ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งสัมผัสทางกาย และบันทึกได้แม้กระทั่งอารมณ์ที่เกิดกับใจ พูดง่ายๆ ว่าเพราะใจมีกลไกในการจำ หรือบันทึกข้อมูลได้ จึงเกิดสัญญาความจำได้ หรือระลึกถึง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ที่เคยประสบมาได้2)

4.3.4 สังขารขันธ์

สังขารขันธ์ หมายถึง ความคิดปรุงแต่ง คือ เมื่อรูปกระทบตา ประสาทตาก็รับเอาไว้ ก่อให้เกิดเวทนา การรับอารมณ์แล้วส่งไปให้ส่วนจำอารมณ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงส่งมาให้ส่วนที่ทำหน้าที่คิด ปรุงแต่งจิตให้คิดไปในเรื่องต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.ความคิดดี เรียกว่า กุศลสังขาร

2.ความคิดชั่ว เรียกว่า อกุศลสังขาร

3.ความคิดไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลางๆ เรียกว่า อัพยากตสังขาร

สังขารขันธ์มีความสำคัญต่อความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์มาก เป็นตัวสำคัญในพวกเจตสิก เพราะมีอานุภาพปรุงแต่งให้คนเป็นไปได้ต่างๆ จิตของคนจะดีจะชั่วก็เพราะสังขารเป็นตัวปรุงแต่ง3)

สังขารขันธ์มีดังนี้ คือ ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ชีวิตินทรีย์ การละนิวรณ์ อโลภะ อโทสะ หิริ โอตตัปปะ ปัสสัทธิ ฉันทะ อธิโมกข์ อุเบกขา มนสิการ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา โกสัชชะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และเจตสิกธรรมอื่นๆ ยกเว้นเวทนาและสัญญาแล้ว นอกจากนั้นเป็นสังขารขันธ์ เพราะเวทนาและสัญญาเป็นส่วนที่อยู่ในขันธ์ 5 เช่นเดียวกับสังขาร รวมความแล้วสังขารจะหมายถึงเฉพาะกิเลสและคุณธรรมทั้งปวง

4.3.5 วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความรับรู้เรื่องราว ต่างๆ ได้ คือ ความรู้แจ้งทางทวารทั้ง 6 ได้แก่ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ หรือเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน

วิญญาณมีอยู่ 2 อย่าง คือ วิญญาณธาตุ และวิญญาณขันธ์

วิญญาณธาตุ หมายถึง จิต

วิญญาณขันธ์ หมายถึง อาการของจิต

ดังนั้น วิญญาณในขันธ์ 5 จึงหมายถึง การรับรู้อารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มีอยู่ 6 อย่าง เรียกชื่อตามช่องทางที่ผ่านเข้ามาดังนี้

1.รู้รูปโดยอาศัยตา เรียกว่า จักขุวิญญาณ

2.รู้เสียงโดยอาศัยหู เรียกว่า โสตวิญญาณ

3.รู้กลิ่นโดยอาศัยจมูก เรียกว่า ฆานวิญญาณ

4.รู้รสโดยอาศัยลิ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ

5.รู้สัมผัสโดยอาศัยกาย เรียกว่า กายวิญญาณ

6.รู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ เรียกว่า มโนวิญญาณ

นักศึกษาจะเห็นแล้วว่า ส่วนประกอบต่างๆ ของสรรพสิ่งทั้งหมดในโลกนี้ล้วนประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ สิ่งที่ไม่มีชีวิต ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ สิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะคนและสัตว์ประกอบด้วยธาตุ 6 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาสธาตุ และวิญญาณธาตุเราทุกคนที่อยู่ในโลกนี้ล้วนมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ก็ประกอบด้วย 5 ขันธ์ทั้งนั้น ซึ่งก็คือ รูป 4 นาม 1 เหมือนกัน

ขันธ์ 5 คืออะไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้างพร้อมระบุความหมาย

ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ 5 หรือขันธ์ทั้ง 5 ได้แก่ รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป

ขันธ์ 5 เป็นแบบไหน

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในตัวเรานี้เพื่อสมาทานพระกรรมฐานขณิกสมาธิ เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าเป็นต้น ในเบื้องต้นของกรรมฐานจึงเรียกว่า สมาทานตลอดชีวิต ยึดเหนี่ยวคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นรูปฉบับสมาทานแปลว่า สมาทานขอรับขันธ์ ๕ รูป นาม เป็นอารมณ์ของข้าพเจ้า ขอให้อารมณ์กรรมฐาน ...

ขันธ์ 5 แยกออกเป็น 2 ส่วน คืออะไรบ้าง

1. รูปขันธ์ หมายถึง กองรูป ส่วนที่เป็นร่างกาย พฤติกรรม คุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย และส่วนประกอบที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด 2. เวทนาขันธ์ หมายถึง กองเวทนา ส่วนที่เป็นความรู้สึกทุกข์ สุข ดีใจ พอใจ

ขันธ์ 5 ข้อใดมีองค์ประกอบเป็น ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม *

รูป หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปธรรมในร่างกาย ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมทั้งอากาศ ประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ก่อให้เกิด รูป รส กลิ่น เสียง เป็นอาภรณ์ 4. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งเกิดจากประสาททั้ง 5.