หลักการสำคัญของการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 มีกี่ประการ

ISO 9000:2008 และหลักการบริหารงานคุณภาพ 8 ประการ

ISO ย่อมาจากคำว่า "International Organization for Standardization" (องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน) เป็นองค์กรสากลทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหรือปรับมาตรฐานนานาชาติเกือยทุกชนิดประเภท(ยกเว้นด้านไฟฟ้า เป็นหน้าที่ของ IEC) เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลกสามารถใช้มาตรฐานเดียวกันได้

ISO 9000 คือ มาตรฐานสากลสำหรับระบบบริหารงานคุณภาพอันเกี่ยวกับการจัดการทางด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ เป็นระบบบริหารประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานที่มีความมุ่งหมายที่จะให้ระบบคุณภาพเท่าเทียมกันระหว่างองค์กรต่างๆและประเทศต่างๆ

ประโยชน์จากการนำระบบคุณภาพ ISO 9000 มาใช้สามารถพัฒนาบุคลากร พัฒนาที่ทำงานและเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารภายในองค์ สามารถลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิตตลอดจนความสูญเสียต่างๆอันเกิดจากการผลิต ทั้งนี้เพราะระบบคุณภาพISO 9000 สร้างจิตสำนึกในการทำงานให้กับพนักงาน มีการทำงานที่มีระบบ มีแนวปฏิบัติชัดเจน สามารถควบคุมตรวจสอบได้ง่ายขึ้นและที่สำคัญคือสามารถเพิ่มผลผลิตและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร นับเป็นประกาศเกียรติคุณอีกทางหนึ่งด้วย

อนุกรมของมาตรฐาน ISO 9000 ประกอบด้วย

- ISO 9000 :2005 ระบบบริหารงานคุณภาพ : หลักการพื้นฐานและคำศัพท์

- ISO 9001:2008 ระบบบริหารงานคุณภาพ : ข้อกำหนด

- ISO 9004:2009 ระบบบริหารงานคุณภาพ : แนวทางสำหรับปรับปรุงสมรรถนะ

ISO 9001:2008 ระบบบริหารงานคุณภาพ : ข้อกำหนด เป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพราะจะต้องนำไปปฏิบัติและนำไปพิจารณาเพื่อตรวจประเมิน

โครงสร้างของมาตรฐานISO 9001:2008 มีโครงสร้างพื้นฐาน สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องวงจรการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง คือ P-D-C-A

P=Plan     = วางแผน

D=Do       = ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

C=Check  = ตรวจสอบ

A=Action  = ปรับปรุง,แก้ไข

หลักการที่จะทำให้การบริหารงานระบบคุณภาพประสบผลสำเร็จ คือ หลักการบริหารงานคุณภาพ 8 ประการ

หลักการที่ 1 : องค์กรที่ให้ความสำคัญแก่ลูกค้า

องค์กรต้องพึ่งพิงลูกค้าเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าทั้งในส่วนปัจจุบันและอนาคต และทำให้บรรลุความต้องการเหล่านั้น รวมถึงการพยายามที่จะทำให้ได้เกินความคาดหวังของลูกค้า

หลักการที่ 2 : ความเป็นผู้นำ

ผู้นำเป็นผู้กำหนดความเป็นเอกภาพของวัตถุประสงค์และทิศทางขององค์กร  ผู้นำต้องเป็นผู้สร้างและธำรงไว้ซึ่งปัจจัยเกื้อหนุนภายในที่สนับสนุนให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและส่งเสริมการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วย

หลักการที่ 3: การมีส่วนร่วมของบุคลากร

พนักงานทุกระดับถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรและการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่และเต็มความสามารถของพนักงานทุกคน ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร

หลักการที่ 4: การบริหารเชิงกระบวนการ

ผลลัพท์ที่ต้องการสามารถบรรลุได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อทรัพยากรและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับการบริหารจัดการอย่างเป็นกระบวนการ

หลักการที่ 5: การบริหารเป็นระบบ

การบ่งชี้ การทำความเข้าใจ และการบริหารการจัดการในเชิงระบบที่ประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร

หลักการที่ 6: การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องควรได้รับการกำหนดให้เป็นวัตถุประสงค์ถาวรขององค์กร

หลักการที่ 7: การตัดสินจากข้อมูลที่เป็นจริง

การตัดสินใจที่ทรงประสิทธิภาพ ควรดำเนินการบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ

หลักการที่ 8: ควาสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วม

องค์กรและผู้ส่งมอบต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและการมีความสัมพันธ์ในเชิงผู้เกื้อกูลผลประโยชน์จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการสร้างคุณค่าของทั้งสองฝ่าย

ISO 9000:2015

 ...............................เรียบเรียงโดย ธันย์ชนก     ช่วยสงค์    5810121083

 ISO 9000 คือ มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ

เป็นมาตรฐานระบบการบริหารงานขององค์กร ซึ่งมุ่งเน้นด้านคุณภาพ ที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้การยอมรับและนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เกิดขึ้นมาจากสถาบันมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมันนี (DIN) ในปี 1978 โดยมีแนวคิดพื้นฐานว่า ควรมีการนำระบบมาตรฐานของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกันมารวมให้เป็นมาตรฐานประเภทเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้า ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตรงกับหลักการขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization-ISO) ในระยะต่อมาองค์การ ISO จึงได้ตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิค (TECHNICAL COMITTEE) ขึ้นมาชุดหนึ่งที่รู้จักกันในนามของ ISO/TC 176 หรือ คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 176 (ISO/TC 176 : Quality Management and Quality Assurance) เพื่อทำหน้าที่พัฒนาระบบคุณภาพขึ้นมาใช้ประโยชน์สำหรับวงการพาณิชย์ อุตสาหกรรม การบริการและอื่นๆ โดยมีต้นแบบมาจากมาตรฐานแห่งชาติของอังกฤษ คือ BS 5750 เป็นแนวทาง ISO 9000 และตัวเลข 9000 หมายถึงชุดมาตรฐานกลุ่มหนึ่ง

โดยในกลุ่มมาตรฐาน ISO 9000 นี้ จะแบ่งออกได้อีกดังนี้

ISO 9001:2015: Quality management systems - Requirements

ISO 9000:2015: Quality management systems - Fundamentals and vocabulary (definitions)

ISO 9004:2009: Quality management systems – Managing for the sustained success of an organization (continuous improvement)

ISO 19011:2011: Guidelines for auditing management systems
          ซึ่งแต่ละมาตรฐานก็จะมีข้อกำหนด และหลักการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันโดยในแต่ละองค์กรจะเลือกมาตรฐานต่างๆที่เหมาะสม เพื่อนำมาตรฐานเหล่านี้ มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร

ISO 9000 ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1987 โดยองค์การระหว่างประเทศ International Standardization and Organization  (ISO) โดยจะมีการอัพเดทเปลี่ยนแปลงมาตรฐานอยู่ทุกๆ 5 ปีซึ่งล่าสุดฉบับปัจจุบันของ ISO 9000 ที่ถูกตีพิมพ์ในกันยายน 2015 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน ISO ตลอดทำให้การขอมาตรฐานเหล่านี้  ต้องมีการขอใหม่อยู่เสมอเพื่อให้ตรงต่อความต้องการ และเป็นไปตามข้อกำหนดของ ISO ในปัจจุบัน


          ISO 9000 นั้นเป็นชุดของมาตรฐานสากลในการ บริหารจัดการที่มีคุณภาพ และเป็นการประกันคุณภาพการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ โดยเป็นการให้แนวคิดพื้นฐานและหลักการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนา ระบบการจัดการคุณภาพ (QMS)  ทั้งในด้านของ เอกสาร องค์ประกอบต่างๆของระบบคุณภาพ การดำเนินงานเพื่อรักษาระบบคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ โดยจะเป็นเครื่องมือที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับอุตสาหกรรมใดเป็นหลัก และสามารถนำไปใช้กับองค์กรที่มีขนาดใดก็ตามได้

          ISO 9000 สามารถช่วยให้ บริษัท ตอบสนองความต้องลูกค้าของตนได้ ทั้งในด้านกฎระเบียบและบรรลุวัตถุประสงค์ มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดย ในการจัดการคุณภาพมาตรฐาน ISO 9000: 2015 และ ISO 9001: 2015 นั้นจะอยู่บนพื้นฐานของหลักการการจัดการ 7 อย่าง ที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงองค์กรดังต่อไปนี้

1.Customer focus

2.Leadership

3.Engagement of people

4.Process approach

5.Improvement

6.Evidence-based decision making

7.Relationship management

จากการพัฒนามาตรฐานในด้านต่างทำให้  ISO  เป็นสัญลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ต่างๆ ซึ่งถูกรับรองว่ามีมาตรฐานสากล และมีคุณภาพต่อลูกค้า แสดงถึงศักยภาพในการบริหารงาน การผลิตสินค้าขององค์กร ที่มีต่อบุคคลภายนอก  รวมทั้งยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น หากมีสัญลักษณ์ของ ISO นั่นหมายถึงมีความได้เปรียบทางการแข่งขันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน

อ้างอิง

1.http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/shmt/div_knowledgesdetail.asp?div_id=28&kl_id=9

 2.http://asq.org/learn-about-quality/learn-about-standards/

  1. http://asq.org/learn-about-quality/iso-9000/overview/overview.html

4.https://www.iso.org/obp/ui/#iso:std:45481:en

 5.http://www.iso.org/iso/selection_and_use_of_iso_9000_family_of_standards_2016_en.pdf