ทรัพยากรในการบริหาร 8M มีอะไรบ้าง

กระบวนการวางแผนการสื่อสารการตลาด 8M's by Suays Chumsiri
ทรัพยากรในการบริหาร 8M มีอะไรบ้าง

1. Market

1.1. การกำหนดประชากรกลุ่มเป้าหมาย

1.2. แยกตามความต้องการบริการพฤติกรรมการใช้บริการ

1.3. ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างในความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม

2. Mission

2.1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

2.2. ระบุผลลัพท์ที่ต้องการจากการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาดให้ชัดเจน

2.3. สามารถวัดผลและประเมินความสำเร็จได้

3. Message

3.1. การออกแบบวิธีการสื่อสาร โดยการกำหนดเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร และวิธีการใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้

3.1.1. Message Strategy

Show

3.1.1.1. จะสื่อสารเนื้อหาอะไร (What to say)

3.1.2. Creative Strategy

3.1.2.1. จะสื่อสารอย่างไร (How to say)

3.1.3. Message Source

3.1.3.1. จะให้ใครเป็นผู้สื่อสาร (Who should say it)

4. Media

4.1. การเลือกช่องทางการสื่อสาร

4.2. ควรเลือกใช้หลายรูปแบบผสมกัน

4.3. จัดการให้ทุกรูปแบบมีความสอดคล้องประสานกัน

5. Money

5.1. การกำหนดงบประมาณในการสื่อสาร

5.2. วิเคราะห์ประมาณการงบประมาณที่ต้องใช้

5.3. เปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้

5.4. นำเสนอให้ผู้มีอำนาจยินยอมอนุมัติให้ดำเนินการ

6. Mix

6.1. การกำหนดส่วนผสมของการสื่อสารทางการตลาด

6.2. เลือกใช้วิธีการสื่อสารการตลาดหลายรูปแบบตามความเหมาะสม

6.3. ใช้หลายรูปแบบร่วมกันอย่างลงตัว ไม่ขัดแย้งกันเอง

7. Mesurement

7.1. การวัดผลลัพธ์ของการสื่อสารทางการตลาด

7.2. ประเมินทั้งทรัพยากรที่ใช้ไป

7.3. ผลที่ได้ทั้งในระดับ outputs outcomes และ revenues เปรียบเทียบกับที่คาดไว้ในวัตถุประสงค์

8. Management

8.1. การบริหารและประสานงาน

8.2. ดูแลการใช้ช่องทางการสื่อสารต่างๆ ให้มีส่วนผสมที่เหมาะสม สอดคล้อง

8.3. เสริมพลังซึ่งกันและกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

2. กระบวนการการตลาด หมายถึง กระบวนการทางการจัดการในการบ่งชี้ วิเคราะห์ คัดเลือก และเสาะแสวงหาโอกาสทางการตลาด เพื่อที่จะสามารถทำให้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผู้ขายหรือผู้ผลิต ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ คือ การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด การแบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมาย การพัฒนากลยุทธ์การตลาด การพัฒนาระบบข้อมูลและบุคลากรเพื่อการควบคุมและสนับสนุนทางการตลาด ซึ่งอาจแสดงขั้นตอนกระบวนการทางการตลาด 2.1 การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด 2.2 การแบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมาย 2.3 การพัฒนากลยุทธ์การตลาด 2.4 พัฒนาระบบข้อมูลและบุคลากรเพื่อการควบคุมและสนับสนุนทางการตลาด

3. 6.

3.1. Mix

3.1.1. การกำหนดส่วนผสมของการสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication Mix) เลือกใช้วิธีการสื่อสารการตลาดหลายรูปแบบตามความเหมาะสม และใช้หลายรูปแบบร่วมกันอย่างลงตัว ไม่ขัดแย้งกันเอง

4. 2.

4.1. Mission

4.1.1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ระบุผลลัพท์ที่ต้องการจากการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาดให้ชัดเจน สามารถวัดผลและประเมินความสำเร็จได้

5. 1.

5.1. Market

5.1.1. การกำหนดประชากรกลุ่มเป้าหมาย แยกตามความต้องการบริการ พฤติกรรมการใช้บริการ และปัจจัยต่าง ที่ทำให้เกิดความแตกต่างในความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม

6. 3.

6.1. Message

6.1.1. การออกแบบวิธีการสื่อสาร โดยการกำหนดเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร และวิธีการใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้ o Message Strategy : จะสื่อสารเนื้อหาอะไร (What to say) o Creative Strategy : จะสื่อสารอย่างไร (How to say) o Message Source : จะให้ใครเป็นผู้สื่อสาร (Who should say it)

7. 5.

7.1. Money

7.1.1. การกำหนดงบประมาณในการสื่อสาร วิเคราะห์ประมาณการงบประมาณที่ต้องใช้ เปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้ นำเสนอให้ผู้มีอำนาจยินยอมอนุมัติให้ดำเนินการ

8. 4.

8.1. Media

8.1.1. การเลือกช่องทางการสื่อสาร ควรเลือกใช้หลายรูปแบบผสมกัน และจัดการให้ทุกรูปแบบมีความสอดคล้องประสานกัน

9. 7.

9.1. Mesurement

9.1.1. การวัดผลลัพธ์ของการสื่อสารทางการตลาด ประเมินทั้งทรัพยากรที่ใช้ไป และผลที่ได้ทั้งในระดับ outputs outcomes และ revenues เปรียบเทียบกับที่คาดไว้ในวัตถุประสงค์

10. 8.

10.1. Management

10.1.1. การบริหารและประสานงาน ดูแลการใช้ช่องทางการสื่อสารต่างๆ ให้มีส่วนผสมที่เหมาะสม สอดคล้อง เสริมพลังซึ่งกันและกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ให้ความหมายของการบริหารไว้ว่า เป็นเทคนิคการทำงาน คือ การตัดสินใจของกลุ่มโดยมีความมุ่งหมายและจุดประสงค์

            The Reader's Digrst Encyclopaedia Dictionary (1964) เขียนว่า การบริหาร หมายถึง การบริหารของธุรกิจหรือการเข้าทำงานของส่วนราชการ

           เบนซ์ (Brench,1967) กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง เป็นกระบานการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบกับการดำเนินการขององค์การธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

           เลน และคณะ (Lane and Oters, 1967) ให้ความหมายว่าการบริหารเป็นศิลปะผู้บริหารที่มีศิลปะเท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จในการทำงาน

          แฮร์โรลด์ คูนต์ (Harold Koontz, 1972) กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

          เออร์เนสต์ เดล (Ernest Dale, 1973) บอกว่า การบริหาร คือ กระบวนการการจักองค์การและการใช้ทรัพยากรต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

         สมคิด บางโม (2552 : 61) การบริหาร คือ ศิลปะในการใช้คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ขององค์การและนอกองค์การ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

         วิรัช สวนวงศ์วาน (2554 : 2) การบริหาร คือ สิ่งที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารต้องปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับการประสานงานและการดูและงานและกิจกรรมต่างๆของผู้อื่น

        สรุป ารบริหาร หมายถึง กระบวนการการดำเนินงานอย่างมีศิลปะในการใช้คนและทรัพยากรต่างๆเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


                         ประโยชน์ของการบริหาร

                 การบริหารเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน  หากนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานหลายประการดังนี้

1. ประหยัด 

     ประหยัด หมายถึง มีการใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดแต่ได้ผลงานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินลงทุน ใช้คน หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

2. ประสิทธิผล

    ประสิทธิผล หมายถึง ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3. ประสิทธิภาพ

    ประสิทธิภาพ หมายถึง เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างต้นทุนหรือทรัพยากรที่ใช้กับผลงานที่ออกมา ถ้าทรัยากรที่ใช้ซึ่งเรียกว่า ต้นทุน (Cost) น้อย แต่ผลงานที่ได้ออกมา (Benefit) มีมากก็เรียกว่าการทำงานหรือการบริหารมีประสิทธิภาวะ

4. ความเป็นธรรมต่อทุกคนในองค์การ

     ไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงานหรือผู้ร่วมทุนหากกิจกรรมที่ร่วมทุนมีจำนวนมากก็จะได้รับผลตอบแทนมากขึ้น

5. มีเกียรติชื่อเสียง

    หากบริหารงานดีจำทำให้องค์การเจริญก้าวหน้าและได้รับการยกย่องจากสังคม


       ระดับและหน้าที่ของผู้บริหาร

ระดับและหน้าที่ของผู้บริหาร  โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น  3  ระดับ ดังนี้

1. ผู้บริหารระดับสูง (Top  Manager)

    เป็นผู้บริหารที่อยู่ในตำแหน่งบริหารสูงสุดขององค์การ ได้แก่ ประธาน รองประธาน หัวหน้า สำนักงานบริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการอำนวยการ ผู้จัดการอาวุโส

    -หน้าที่ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่บริหารงานโดยตลอดทั้งองค์การใช้เงลาส่วนใหญืไปในการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ กำหนดกลยุทธ์ กำหนดนโยบาย และวางแผนระยะยาว รวมถึงการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีความสำคัญ เช่น การผลิตสินค้าใหม่ การลดหรือเพิ่มราคาสินค้า การดำเนินงานในต่างประเทศ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้ความสนใจสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การมากกว่าสภาพสิ่งแวดล้อมภายในองค์การ


ทรัพยากรในการบริหาร 8M มีอะไรบ้าง

รูปที่ 3.1 ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี พี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


 2. ผู้บริหารระดับกลาง  (Middle  Manager)

     เป็นผู้บริหารที่อยู่ระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับต้น ได้แก่ ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ หรือหัวหน้างานต่างๆ

    -หน้าที่ผู้บริหารระดับกลาง
       มีหน้าที่รับนโยบายจากผูบริหารระดับสูงไปปฏิบัติรับผิดชอบในฝ่ายของตนเอง วางแผนและจัดระเบียบวิธีปฏิบัติงานเฉพาะอย่างเพื่อให้งานในความรับผิดชอบประสบความสำเร็จตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูง

3. ผู้บริหารระดับต้น  (First – Level Manager)

    เป็นผู้บริหารที่อยู่ส่วนล่สงขององค์การและทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ปฏิบัตงาน ได้แก่ ผู้ควบคุม หัวหน้างาน หัวหน้าแผนก

    - หน้าที่ผู้บริหารระดับต้น
       มีหน้าที่กำกับดูแลและสั่งการโดยตรงต่อพนักงาน ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจในระยะสั้นวันต่อวันหรือสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ต้องรับรายงานโดยตรงจากพนักงานและเสนอรายงานต่อผู้บริหารระดับกลางและสูงต่อไป


                บทบาทของผู้บริหาร

             บทบาทของผู้บริหาร (Management  Rotes)   นักวิชาการด้านการจัดการชื่อ Henry  Mintzbery ได้

ศึกษาการทำงานของผู้บริหารแต่ละวัน  พบว่าบทบาทของผู้บริหาร  มี  3  ด้าน  ดังนี้

1. ด้านผู้ประชาสัมพันธ์ มีบทบาทดังนี้

     1. เป็นผู้แถลงข่าว โดยประกาศประชาสัมพันธ์ หรือให้เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน และผลการดำเนินงานไปยังองค์การอื่นๆ

     2. เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล โดยให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ให้กับพนักงานและหน่วยงานต่างๆในองค์การ

     3. เป็นผู้รับข้อมูล ติดตาม เก็บข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์การ

2. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

    1. เป็นผู้นำ ให้การส่งเสริม พัฒนา หรือจูงใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา

    2. เป็นหัวโขน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนหน่วยงาน เช่น เป็นประธานเปิดงาน ปิดงาน ร่วมงานต่างๆ เป็นต้น

    3. ผู้ประสานงาน ทั้งภายในและภายนอก

3. ด้านการตัดสินใจ

    1. ผู้จัดทรัพยากร ให้แก่งานต่างๆภายในองค์การอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

    2. ผู้เจรจาต่อรอง กับพนกงาน หรือกับองคฺการอื่นๆ

    3. ผู้ประกอบการ เริ่มงาน หรือแสวงหาโอกาสใหม่ๆ


               ทักษะของผู้บริหาร

         Robert  L. Katz  นักวิชาการด้านการบริหารได้กล่าวว่าทักษะของผู้บริหารว่า  ผู้บริหารจะต้องมีทักษะ  ดังนี้

1.ทักษะด้านการทำงาน  (Technical  Skills)

    ทักษะด้านการทำงาน หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติ ความชำนาญในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ วิธีการ และเทคนิคต่างๆ สำหรับปฏิบัติงานประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้บริหารระดับต้น จะต้องมีทักษะด้านเทคนิคมากกว่าผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง เพราะผู้บริหารระดับต้นมักจะต้องให้คำแนะนำหรือฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานต่างๆ อยู่เสมอ

2. ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์   (Human Skill)

    ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์  หมายถึง ความสามารถในการติดต่อกับผู้อื่น มีความชำนาญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สามารถจูงใจผู้อื่น สร้างความรู้สึกที่ดี และสร้างความจงรักภักดีต่อองค์การให้เกิดขึ้นกับคนงาน

3. ทักษะด้านความคิด  (Comceptuat Skill)  หรือความคิดรวบยอด

    มีความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็วฉับไว เข้าใจขอบข่ายของงานอย่างแท้จริง เมื่อพบปัญหาสามารถแก้ไขและตัดสินใจอย่างรวดเร็วถูกต้อง มีความชำนาญในการวางแผน สั่งการ ควบคุม และสามารถสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ผู้บริหารระดับสูงมีความจำเป็นต้องมีทักษะด้านนี้มาก


                  ทรัพยากรในการบริหาร

           การบริหารกิจการต่างๆ  ต้องใช้ทรัพยากรอันเป็นปัจจัยที่จำเป็นซึ่งในปัจจุบันทรัพยากร องการบริหารยุคใหม่ประกอบด้วยสิ่งที่สำคัญ   8  ประการ  คือ  8M  ได้แก่

1. คน (Man) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

2. เงิน (Money) สำหรับเป็นค่าจ้างและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

3. วัสดุสิ่งของ (Material)  ได้แก่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ และอาคารสถานที่

4. การจัดการ (Management) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ

5.  ตลาด (Market) เป็นที่จำหน่ายสินค้าและบริการ

6. เครื่องจักร (Machine)  ใช้สำหรับผลิตสินค้าและบริการ

7. วิธีการทำงาน  (Method) หมายถึง วิธีหรือขั้นตอนในการทำงาน

8. เวลา (Minute) หมายถึง เวลาในการดำเนินงาน


                    หน้าที่การบริหาร

                   เป็นการแสดงให้เห็นว่า  ผู้บริหาร  มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง  มีงานอะไรบ้าง  จะต้องทำและควรจะทำอะไรก่อนหลัง  นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้บริหารที่จะได้ยึดเป็นหลักในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ  อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการด้านบริหารได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่การบริหาร  ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปดังนี้

1.หน้าที่การบริหารเฮนรี่  ฟาโยล์ (Henri Fayol)

            เฮนรี่  ฟาโยล์  เป็นบุคคลแรกที่วิเคราะห์ถึงองค์ประกอบมูลฐานของการบริหารว่ามี  5  ประการดังนี้

            1. p= การวางแผน (planning) คือการศึกษาข้อมูลในปัจจุบันและคาดการณ์เป็นอนาคต แล้ววางเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติไว้

            2. o= การจัดองค์การ (organizing) คือ การจัดโครงสร้างของหน่วยงานหรือองค์การออกแบบเป็นหน่วยงานย่อยๆ กำหนดหน้าหน้าที่ความของหน่วยงาน การจัดสรรคนเข้าทำงานในตำแหน่งต่างๆ

            3. c= การสั่งการบังคับบัญชา (commanding) คือ การสั่งให้คนทำงานตามที่หมอบหมายให้ทำบังคับบัญชาพนักงานให้ทำงานตามภารกิจของหน่วยงาน

            4. c= การประสานงาน (coordinating) คือ การจัดทะเบียนการทำงานไม่ให้ก้าวก่ายกันติดต่อประสานงานให้หน่วยงานย่อยต่างๆ ขององค์การและประสานคนให้ทำงานโดยราบรื่นไม่ให้ขัดแย้งกัน

           5. c= การควบคุม (controlling)คือ กรควบคุมให้พนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือควบคุมให้ทำงานตามระเบียบข้อบังคับที่วางไว้

2. หน้าที่การบริหารของกูลิกและเออร์วิก

            ลูเทอร์ กูลิก และลินดอลล์ เออร์วิก (Luther Gulick and Lyndall Urwick) ได้นำหลักการจัดการ

ของฟาโยล์มาปรับปรุงประยุกต์กับการบริหารราชการ เขาได้เสนอแนะการจัดหน่วยงานในทำเนียบแก่ประธานาธิบดีสหัฐอเมริกา เพื่อให้ตอบคำถามที่ว่า อะไรคืองานของประธานาธิบดีหรัฐอเมริกา ในที่สุดได้

คำตอบสั้นๆ คือ POSDCOR ซึ่งหมายถึงหน้าที่การบริหาร 7 ประการ

           1. P = Planning หมายถึง การจัดวางโครงการและแผนงานปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

           2. O = Organizing หมายถึง การจัดองค์การ กำหนดเป้าหมายโครงสร้างของหน่วยงาน การแบ่งส่วนงาน การจัดสายงายตำแหน่งต่างๆ

           3. S = Staffing หมายถึง การจัดตัวบุคคล เป็นการบริหารงานด้านบุคลากรอันได้แก่ การจัดอัตรากำลัง การสรรหา เป็นต้น

          4. D =  Directing หมายถึง การอำนวยการ  เป็นภาระกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership)  มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) การจูงใจ (Motivation)  และการตัดสินใจใจ (Decision making) เป็นต้น

         5. Co = Coordinating หมายถึง การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการทำงานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และราบรื่น

         6. R =  Reporting หมายถึง การรายงานเป็นกระบวนการและเทคนิคของการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยที่มีีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสาร (Communication)  ในองค์การอยู่ด้วย

        7. B = Budgeting หมายถึง การงบประมาณเป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทำบัญชีการควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง


ทรัพยากรในการบริหาร 8M มีอะไรบ้าง

รูปที่ 3.2 การนำเสนอข้อมูล


3. หน้าที่การบริหารของเออร์เนสต์ เดล (Ernest Dale)

     เออร์เนสต์ เดล ได้จำแนกหน้าที่ของผู้บริหารไว้ 7 ขั้นตอน คือ POSDCIR เห็นพ้องกับคูนต์ 5ขั้นตอนแรก และได้เพิ่มเข้ามาอีก 2 ขั้นตอน ดังนี้

        1. Planning การวางแผน

        2. Organizing การจัดองค์การ 

        3. Staffing การจัดตัวบุคคล

        4. Directing การอำนวยการ

        5. Coordinating การประสานงาน  

        6. Reporting การรายงาน

        7. Budgeting การงบประมาณ

4. หน้าที่การบริหารของ George R.Terry

    เขากล่าวถึงหน้าที่การบริหารคือ POAC ได้แก่

        1. Planning การวางแผน

        2. Organizing การจัดองค์การ 

        3. Actuating การอำนวยการ

        4. Controlling การควบคุมการทำงาน

5. ในปัจจุบันเอกสารด้านการบริหารส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าหน้าที่ของผู้บริหารมี 4 ประการ คือ POLC

               1. P = Planning การวางแผน คือ การกำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์ รวมถึงการรวบรวมและประสานการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

               2. O = Organizing การจัดองค์การ คือ การกำหนดหน้าที่ จัดโครงสร้างองค์การ รวมถึงจัดกลุ่มงานและกำหนดสายการบังคับบัญชา

               3. L = Leading การทำ หมายถึง การจูงใจและสั่งการให้บุคคลทุกคนทำง่นร่วมกันอย่างเต็มความสามารถ

               4. C = Controlling การควบคุมการ การตรวจสอบการดำเนินงานถึงถึงประเมินผลงานที่ปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด 


ทรัพยากรในการบริหาร 8M มีอะไรบ้าง

รูปที่ 3.3 การประชุมการวางแผน


   สรุปสาระสำคัญ

         การบริหาร หมายถึง กระบวนการดำเนินงานอย่างมีศิลปะในการใช้คนและทรัพยากรต่างๆเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

         ประโยชน์ของการบริหาร ทำให้ประหยัด มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ เกิดความเป็นธรรมต่อทุกคนและมีเกียรติยศชื่อเสียง

         ระดับและหน้าที่ของผู้บริหาร มี 3 ระดับ ดังนี้ ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่กำหนดนโยบายและตัดสินใจแก้ปัญหาที่สำคัญ ส่วนผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาปฎิบัติในฝ่ายที่รับผิดชอบ และผู้บริหารระดับต้น มีหน้าที่กำกับดูแลและสั่งการโดยตรงต่อพนักงาน

ทรัพยากรในการจัดการ 7m มีอะไรบ้าง

7 Ms of Data Strategy.
1. Missions. ... .
2. Man. ... .
3. Materials. ... .
4. Machines. ... .
5. Methods. ... .
6. Money. ... .
7. Minutes..

ทรัพยากรในการบริหารมีอะไรบ้าง

ทรัพยากรในการบริหาร ที่สำคัญคือ 4 Ms ได้แก่ คน(Man) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ ( Material) และการจัดการ ( Management)

ปัจจัยพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจ (8M) ที่สำคัญที่สุดคือข้อใด

1. ทรัพยากรมนุษย์ (Man) คือ คนงาน พนักงาน หรือบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการทำธุรกิจหรือดำเนินการใดๆ จะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคน ทั้งในด้านความคิด การวางแผน การดำเนินการ หรือจัดการทำให้เกิดผลทางธุรกิจทุกรูปแบบ การพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการ ...

4M คืออะไร มีอะไรบ้าง

สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณาและวิเคราะห์อย่างละเอียด ก็คือ หลัก 4M ซึ่งประกอบด้วย Material, Man, Machine และ Method โดยทั้ง 4 ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการผลิต ที่จะต้องบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตให้ต่ำที่สุด และเป็นตัวช่วยในการเพิ่มผลผลิตให้กับผู้ประกอบการได้ด้วย ...