ตําแหน่งงานคลังสินค้า มีอะไรบ้าง

หน้าที่ของคลังสินค้า (WAREHOUSE) หมายถึง หน้าที่ในการรับสินค้า (Receiving) โดยการตรวจสอบจำนวน คุณลักษณะในการที่จะแยกแยะ จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ โดยการจัดการที่มีระบบการตรวจสอบและตรวจนับความถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับปริมาณ ,จำนวน ,สภาพ และคุณภาพ คลังสินค้าทุกประเภทจะทำหน้าที่ในฐานะผู้ทรงสิทธิในความเป็นเจ้าของสินค้าชั่วคราว ซึ่งหมายถึง ความรับผิดชอบที่จะมีต่อตัวสินค้า

หน้าที่ของคลังสินค้าในการควบคุมและรับผิดชอบต่อสินค้าที่จัดเก็บอยู่ในคลัง ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการ ทั้งการใช้เทคนิค เทคโนโลยีในการเก็บเพื่อความคุมคุณภาพของสินค้า รวมถึงการจัดเตรียม , เครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงประเภทต่างๆ เช่น รถยก , ชั้นหรือหิ้งสำหรับวางสินค้า , การควบคุมบรรยากาศ อุณหภูมิ และสภาพแวดล้อม

ในคลังให้เหมาะสมกับสินค้าแต่ละประเภทรวมถึงอาศัยระบบและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Automated Robot System (ระบบหุ่นยนต์) ,ระบบ Bar Code หรือ RFID รวมถึงระบบการสื่อสารอิเล็กโทรนิกส์

โดยกิจกรรมในการควบคุมสินค้านี้จะเกี่ยวข้องกับการคัดแยกสินค้า , การบรรจุ , การแบ่งบรรจุ , การคัดเลือก , การติดป้าย และที่สำคัญและเป็นหัวใจของคลังสินค้า คือ การควบคุมทางด้านเอกสาร ทั้งที่เกี่ยวกับรายงาน (Status) การเคลื่อนไหว การรับและการเบิก-จ่าย ที่เรียกว่า Inventory Report และการควบคุมทางบัญชี

หน้าที่ของคลังสินค้าในการส่งมอบจ่ายแจกสินค้า เป็นการส่งมอบสินค้าให้กับฝ่ายผลิตหรือลูกค้า หรือผู้ที่มาเบิกหรือตามคำสั่งของผู้ฝากสินค้าซึ่งจะต้องส่งมอบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้รับ ทั้งจำนวน , สภาพ , สถานที่และเวลา (The right thing at the right place in the right time) ซึ่งจะต้องมีกระบวนการคัดเลือกสินค้าและระบบการจัดส่งให้กับลูกค้า ด้วยหน้าที่นี้ทำให้คลังสินค้าสามารถแยกออกตามลักษณะของภารกิจ ได้แก่ คลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บ (Storage Warehouse) ,คลังสินค้าสำหรับจำหน่าย , ศูนย์ขนส่งสินค้า , คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded) , ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross Dock Warehouse) และศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ฯลฯ

วิธีจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ

1. แยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้า

ทำการแยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้าและติดป้าย Label หรือ Barcode (ถ้ามี)ให้กับสินค้าทุกชิ้น และทำการอ้างอิงให้ตรงกับรายการสินค้าที่ลงขายในร้านค้าออนไลน์

2. แยกประเภทสินค้าด้วยความเร็วในการขาย

แยกประเภทสินค้าที่ขายเร็ว-ช้าออกจากกัน และจัดให้สินค้าขายเร็ว อยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้สะดวกในการนำสินค้ามาบรรจุหีบห่อ

3. จัดการ Stock Keeping Unit (SKU)

กำหนด Stock Keeping Unit (SKU) ให้กับสินค้าที่ขายให้มีความแตกต่างกันชัดเจน เพื่อความสะดวกสำหรับคนจัดสินค้าให้สามารถจัดสินค้าที่ผู้ซื้อสั่งได้ถูกต้องตรงตามรายการสั่งซื้อ และช่วยให้การจัดการสต๊อคในระบบหลังร้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. กำหนดจำนวนสินค้าในคลัง

ระบุจำนวนสินค้าแต่ละประเภทที่มีในคลังสินค้าจริง โดยส่วนใหญ่ร้านค้าจะสามารถจัดส่งสินค้าที่มีในคลังได้รวดเร็ว จึงทำให้ร้านสามารถกำหนดระยะเวลาเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่งในระบบได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ดีให้กับผู้ซื้อที่ต้องการสินค้าเร็ว

5. รู้ระยะเวลาจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิต

กำหนดระยะเวลาในการสั่งสินค้าแต่ละตัว ในกรณีมีรายการสั่งซื้อเข้ามาเกินจำนวนสินค้าในคลังจริง และยังมีความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ร้านค้าสามารถปรับเพิ่มจำนวนสินค้าในคลังที่ระบบหลังร้าน เพื่อให้ลูกค้ายังสามารถสั่งซื้อได้ แต่ควรปรับเพิ่มระยะเวลาเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่งให้สอดคล้องกับวันที่สินค้าจากผู้ผลิตจะมาส่งที่ร้านค้า เพื่อไม่ให้การจัดส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อขอคืนเงินหรือให้คะแนนความพึงพอใจในระดับต่ำได้

6. จัดระเบียบให้กับสถานที่เก็บสินค้า

6.1 ทำรายการสถานที่เก็บสินค้าทุกชิ้น เช่น สถานที่ตั้งคลังสินค้า เลขที่ชั้นวางสินค้า

6.2 ทำป้ายกำกับชั้นวางสินค้า โดยมีเลขที่ชั้นวางสินค้ากำกับในทุกชั้น

6.3 ทำรายการสินค้าทั้งหมดที่วางอยู่ในชั้นวางสินค้าแต่ละชั้นพร้อมบอกจำนวนชิ้นทั้งหมด

6.4 หากมีการนำสินค้าออกจากชั้นวาง ให้ทำการหักจำนวนสินค้าออกจากรายการที่หน้าชั้นวางและหักจากรายการสินค้าที่บันทึกไว้ด้วย เพื่อการตรวจสอบสต๊อกสินค้าในภายหลัง

7.ตรวจสอบคลังสินค้าประจำ

ร้านค้าควรกำหนดวันที่ต้องเช็คสต๊อก เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน เพื่อเป็นการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงคลัง เปรียบเทียบกับจำนวนสินค้าที่ขายได้ และนำมาคำนวณยอดรายได้ กำไร และวางแผนการสั่งซื้อสินค้าต่อไป

นิยามอาชีพ ผู้ปฏิบัติงานผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk ทำงานเกี่ยวกับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า การดูแล การเก็บ และ การควบคุมสินค้า อาจร่วมกันทำงานเกี่ยวกับการนำเข้า และส่งออกสินค้า การลงบันทึกเกี่ยวกับสินค้าและ การจดบันทึกสินค้าคงคลัง ลักษณะของงานที่ทำ ผู้ปฏิบัติงานผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk ทำหน้าที่ควบคุมดูแลจดบันทึกประเภท และจำนวนสินค้า การรับ การเก็บ การจัดการตรวจสอบสินค้า หรือวัตถุดิบตามระบบการควบคุมสินค้าที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันสินค้า หรือวัตถุดิบเสียหายก่อนจัดส่งถึงมือลูกค้าหรือผู้ใช้ อาจทำการจัดระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่เรียกว่า Vendor Management Inventory ( VMI) เพื่อสะดวกในการตรวจสอบสินค้าคงคลัง โดยปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ทำการตรวจรับสินค้า โดยการเปิดหีบห่อตรวจนับ และจดบันทึกว่าเป็นของที่อันตรายในการจัดเก็บหรือไม่ หรือมีความเสียหาย หรือสภาพชำรุดหรือไม่
2. เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขายสินค้า หรือบริษัทขนส่ง หรือบริษัทประกันภัย
3. จัดสถานที่ให้เหมาะสมกับสินค้าในการจัดวาง และเก็บรักษา
4. จัดทำบัญชีหมวดหมู่ และดัชนีรายการของสินค้า หรือสิ่งของที่จัดเก็บเพื่อง่ายต่อการเข้าถึง และการดูแล
5. ต้องทราบสถานะ และสภาพอุณหภูมิของสินค้า และวัตถุดิบที่จัดเก็บ
6. จัดเก็บสินค้าที่ยังไม่สามารถนำส่งไว้ต่างหาก
7. ดูแลความปลอดภัยของสถานที่ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสินค้า หรือวัตถุดิบ
8. เคลื่อนย้ายสินค้าเข้า หรือออกโดยได้รับอนุมัติจากผู้ที่มีอำนาจหน้าที่
9. ตรวจตราดูแลทุกส่วน และพื้นที่ของที่จัดเก็บสินค้ารวมทั้งการทดสอบอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ก่อนและหลังการใช้ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย รวมทั้งทำการบันทึกการตรวจสอบด้วย
10. ทำบันทึกรายงานถึงผู้บริหารคลังสินค้าทุกขั้นตอน เตรียมพร้อมจัดการ ป้องกันแก้ไขเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
11. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ เช่นฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งสินค้า ประกันภัย ชิปปิ้งฝ่ายระบบควบคุมคุณภาพ ลูกค้า ผู้แทนจำหน่าย เป็นต้น สภาพการจ้างงาน สำหรับผู้ประกอบผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk ที่ไม่มีประสบการณ์จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาสวัสดิการ ผลประโยชน์ และสิทธิอื่นๆ ส่วนโบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัท อาจจะได้รับเป็นเงินเท่ากับ 1 ถึง 3 เท่าของเงินเดือนทำงานวันละ 8-9 ชั่วโมง และทำงานเป็นกะ สภาพการทำงาน ปฏิบัติงานในบริเวณสถานที่ทำงาน ทั้งในส่วนสำนักงานทั่วไป และในสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร และเครื่องมือในการยก หรือย้ายของ อาจมีการทำงานที่ต้องยกของโดยใช้เครื่องมือทุ่นแรงในการยกของหนัก เช่น รถยก รถเข็น อาจต้องสวมใส่อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคล เมื่อตรวจรับของ หรือพัสดุที่เป็นสารเคมี หรือมีสารเคมีเจือปน สภาพแวดล้อมที่ทำงานอาจมีความเสี่ยงในเรื่องของฝุ่นละออง หรือความร้อน คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ ผู้ประกอบผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerkต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาประโยควิชาชีพจนถึงปริญญาตรี สาขาการจัดการ หรือบริหาร
2. มีความละเอียดรอบคอบ ปฏิบัติตนตามกฎ อย่างเคร่งครัด
3. มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย
4. สามารถทำงานเป็นกะ และทำงานล่วงเวลาได้
5. สมารถจัดเก็บเอกสาร และข้อมูลข่าวสารอีเลกทรอนิกส์ ได้
6. มีความรู้ภาษาอังกฤษพอใช้
7. มีความสามารทำงานเป็นทีม สามารถทำตัวเป็นผู้นำ และผู้ตามได้
ผู้ประกอบผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : เมื่อสำเร็จการศึกษาตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว ควรเข้ารับการฝึกอบรมภาษาอังกฤษระดับสื่อสารได้ และหลักสูตรการจัดระบบการจัดการสินค้าคงคลัง ตลอดจนการใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมที่ใช้กับระบบงาน โอกาสในการมีงานทำ ปัจจุบันได้มีการทำพาณิชยกรรมอิเลกทรอนิกส์กันมากขึ้นทั้งในระดับประเทศ และทั่วโลกประเทศไทย ก็ก้าวเข้าสู่ยุค " เศรษฐกิจใหม่ " เช่นกัน มีการสั่งสินค้าออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านอินเตอร์เน็ต และการสร้างเว็บไซต์มาใช้ปรับปรุงระบบโครงสร้างขององค์กรไม่ว่าจะเป็น การส่งผ่านข้อมูลไปยังโรงงานผลิต หรือการส่งข้อมูลจำนวนสินค้าคงคลังให้กับผู้แทนจำหน่ายสินค้าของบริษัท เพื่อให้การตรวจสินค้า การจัดส่ง และการสั่งสินค้าได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น ดังนั้น คลังสินค้าขององค์กรธุรกิจต่างก็ปรับตัว และปรับปรุงระบบการสั่งสินค้าจากลูกค้าระบบจัดการสินค้าคงคลัง และระบบการผลิตให้เป็นไปตามแนวคิดของการดำเนินงานบริหารการผลิตที่เรียกว่า Just -In-Time ( JIT) ให้มีประสิทธิภาพคือ การผลิตสินค้า หรือเก็บสินค้าให้มีปริมาณพอดีกับที่ลูกค้าสั่ง จะทำให้สินค้าคงคลังมีจำนวนน้อยมากจะได้ไม่ต้องมีต้นทุนในการ จัดเก็บสินค้า หรือค่าจัดเก็บและสั่งซื้อวัตถุดิบทำให้ต้องการบุคลากรผู้สำเร็จการศึกษารุ่นใหม่ที่มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเข้าร่วมทำงานด้วยเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่บริการการจัดส่งสินค้า และการดำเนินงานคลังสินค้า(Logistics Service and Warehouse Operation) ให้กับองค์กรธุรกิจ หรือสถานประกอบกิจการที่ต้องการการบริหารเฉพาะธุรกิจหลักโดยไม่ต้องการบริหารงานคลังสินค้าที่ต้องใช้การจัดการ และบุคลากรมากมาย อีกทั้งระบบการผลิตแบบ JIT นั้นเป็นการช่วยลดการเก็บสินค้าคงคลัง ทำให้องค์กรธุรกิจประเภทนี้ หันมาใช้บริการคลังสินค้าและจัดส่งอิสระกันมากขึ้น ซึ่งทำให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ปีละ 10-15% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ปัจจุบันมีองค์กรที่บริการด้านการจัดส่งสินค้าและคลังสินค้าระดับนานาชาติที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศไทยถึง 7 องค์กร ทั้งจากประเทศยุโรป ออสเตรเลีย และมีการจ้างงานประมาณแห่งละ 180 - 200 คน มีองค์กรธุรกิจที่ใช้บริการนี้ประมาณแห่งละ 80-100 องค์กร ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ตลาดธุรกิจนี้จะมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะประเทศไทยมีสาธารณูปโภคในด้านการคมนาคม และการสื่อสารดีมาก และกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์การจัดส่งที่ดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากแนวโน้มที่มีการบริการคลังสินค้าอิสระมากขึ้น ดังนั้น โอกาสในการจ้างงาน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลังสินค้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ ผู้ที่มีความสามารถ อาจได้รับการส่งเสริมเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับบริหาร เช่น ผู้จัดการ หรือผู้อำนวยการ เมื่อมีประสบการณ์ในการทำงานผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk และรู้จักแหล่งสินค้า และเส้นทางขนส่งดี อาจเปิดธุรกิจชิ้ปปิ้ง หรือร่วมทุนเปิดบริการคลังสินค้า และการให้บริการการจัดส่งสินค้าของตนเองได้ อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เจ้าหน้าฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่บริการจัดส่งสินค้า พนักงานขาย ชิปปิ้ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด แหล่งข้อมูลอื่น ๆ หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์จัดหางาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สถานประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับบริการจัดส่ง สินค้าและการดำเนินงานคลังสินค้า; Logistics Service and Warehouse Operation การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

คลังสินค้า มีตําแหน่งอะไรบ้าง

หน้าที่ความรับผิดชอบของงานคลังสินค้ามีหลายตำแหน่ง เช่น หัวหน้าฝ่ายคลังสินค้า ผู้จัดการคลังสินค้า หรือเจ้าหน้าคลังสินค้า ผู้ประกอบการคลังสินค้า และเจ้าหน้าที่บริหารงานคลังสินค้า พนักงานคลังสินค้าแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

แผนกคลังสินค้าทำอะไรบ้าง

หน้าที่ของคลังสินค้า (WAREHOUSE) /วิธีจัดการคลังสินค้าให้มี....
1. แยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้า ... .
2. แยกประเภทสินค้าด้วยความเร็วในการขาย ... .
3. จัดการ Stock Keeping Unit (SKU) ... .
4. กำหนดจำนวนสินค้าในคลัง ... .
5. รู้ระยะเวลาจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิต ... .
6. จัดระเบียบให้กับสถานที่เก็บสินค้า ... .
7.ตรวจสอบคลังสินค้าประจำ.

Warehouse Officer ทําหน้าที่ใดในกิจกรรมคลังสินค้า

หน้าที่ของคลังสินค้า ในการควบคุมและรับผิดชอบต่อสินค้าที่จัดเก็บอยู่ในคลัง ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการ ทั้งการใช้เทคนิค เทคโนโลยีในการเก็บเพื่อความคุมคุณภาพของสินค้า รวมถึงการจัดเตรียม , เครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงประเภทต่างๆ เช่น รถยก , ชั้นหรือหิ้งสำหรับวางสินค้า , การควบคุมบรรยากาศ อุณหภูมิ และสภาพแวดล้อม

คลังสินค้าแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

จะมีอยู่ด้วยกัน 6 ประเภทได้แก่ 1. คลังสินค้าแบบส่วนตัว (Private Warehouse) โกดังสินค้าประเภทนี้เป็นแบบส่วนตัวซึ่งอาจดูแลจัดการโดยผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย อาจเป็นโกดังที่ตั้งอยู่ติดกับส่วนที่ผลิตสินค้าในโรงงานโดยตรงของผู้ผลิตโดยตรง 2.โกดังสินค้าแบบสาธารณะ (Public Warehouse)