คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

MED CU หรือที่เรารู้จักกันในนามของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Faculty of Medicine) ประกอบไปด้วย 21 ภาควิชา ซึ่งมีการบูรณาการในทุกด้านให้เหมาะสมกับนิสิต ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางคลินิก การปฏิบัติทางคลินิก โดยมีหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับชั้นปริญญาตรี 3 รูปแบบ ดังนี้

Show

MED หรือ Doctor of Medicine แพทยศาสตรบัณฑิต

เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาเรียน 6 ปี และนิสิตแพทย์ในระดับชั้นปีที่ 1, 3 และ 6 จะได้รับโอกาสในการวิจัยขั้นพื้นฐานและทางคลินิกเฉพาะทางทั้งในโรงพยาบาลชุมชนหรือโครงการด้านการแพทย์ระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีเปิดรับสมัคร 3 รอบด้วยกัน คือ

รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (โครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความนัดทางภาษาอังกฤษ)

รอบที่ 2 โควตา แบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อย

  • โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน
  • โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ
  • โครงการโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา)

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกับ กสพท

  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ

 

CU-MEDi (Doctor of Medicine – International Program) – หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาเรียนเพียง 4 ปี ซึ่งในหลักสูตรนี้อยู่ในขั้นตอนการประเมินจากแพทยสภาเพื่อสอดคล้องกับมาตรฐานของ World Federation of Medical Education ผู้ที่จบหลักสูตรนี้จะเป็นแพทย์ที่มีความรู้ระดับนานาชาติ และความเป็นผู้นำจากทักษะเดิมที่มีอยู่มาช่วยพัฒนาให้เพียบพร้อมมากขึ้น โดยแบ่งการเรียนเป็น 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้

  • ช่วงที่ 1 Pre-clerkship เรียนพื้นฐานทางการแพทย์จนถึงการเรียนรู้ปัญหาของผู้ป่วย ซึ่งเน้นการเรียนแบบกลุ่มย่อย ศึกษาด้วยตนเอง และการปฏิบัติในสถานการณ์จำลองในการดูแลใกล้ชิดโดยอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงมีรายวิชาเน้นการเริ่มทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางแพทย์
  • ช่วงที่ 2 Clerkship เริ่มฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย โดยมีอาจารย์ชาวต่างชาติร่วมในการเรียนการสอนด้วย
  • ช่วงที่ 3 Externship เป็นการฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยทั้งในประเทศและต่างประเทศระยะเวลา 2 เดือน รวมถึงสามารถศึกษาวิจัยในสาขาที่สนใจเพิ่มเติมระยะเวลา 4 เดือน

 

MDCU Dual Degree Programs

หลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช (หลักสูตร 2 ปริญญา) เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาเรียน 6 ปี โดยมุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการแพทย์ และวิศวกรรมชีวเวช ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวิชาการต่างๆ รวมถึงนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการในระดับสากล

 

คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ MED CU มีอะไรบ้าง ?

ทางสถาบันของเราได้สรุปคร่าวๆ มาเป็นตารางดังนี้ว่าคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ MED CU ต้องมีคะแนนอะไรบ้างมาดูกันเลย

 

คุณสมบัติของผู้สมัครMEDMEDiระดับการศึกษา
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • ระดับ Grade 12 ตามระบบการศึกษาอเมริกัน
  • ระดับ Year 13 ตามระบบการศึกษาอังกฤษ
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายของปริญญาตรี หรือ
สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีคะแนนที่ใช้สมัครรอบแฟ้มสะสมผลงาน
  • TOEFL iBT หรือ IELTS หรือ CU-TEP & Speaking
  • แฟ้มสะสมผลงาน
  • BMAT
  • เกรดเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.50
  • TOEFL iBT หรือ IELTS
  • MCAT
  • Statement of Purpose
  • Curriculum Vitae
  • Letter of Recommendation
รอบโควตา
  • วิชาสามัญ (คณิตศาสตร์, เคมี, ชีววิทยา, ฟิสิกส์, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา)
  • วิชาเฉพาะ กสพท.
รอบรับตรงร่วมกับ กสพท.

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ดูในส่วนของรายวิชาและคะแนนที่ต้องใช้เตรียมตัวสอบแล้วอย่าเพิ่งเริ่มท้อกันนะคะ ทางสถาบันจุฬาติวเตอร์ของเราก็มีเปิดสอนในรายวิชาดังกล่าวเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งสามารถออกแบบคอร์สเรียนได้เอง มีความยืดหยุ่นสูง ด้วยการสอนสไตล์ easy to be expert ไม่เก่งก็สามารถเรียนได้ หรือหากต้องการปรึกษาเพิ่มเติมสามารถทักไลน์มาได้นะค่าที่ LINE ID : @chulatutor (มี @ ด้านหน้าด้วยนะ )

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง
ปริญญาตรี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย views 410,457

แพทยศาสตร์

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

แพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รีวิวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษาขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทย

ในการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตของนิสิตแพทย์นั้น ในปี 1 เทอม 1 จะมีวิชาเรียนประมาน 8 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษพื้นฐานซึ่งจะะเรียนเหมือนๆ กันทั้งมหาวิทยาลัย เว้นแต่คณะอักษรศาสตร์, ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพแพทย์ จะเป็นอังกฤษอีกตัวที่น้องๆ จะต้องเรียนสิ่งที่จะได้เรียนเทอมแรกจะเป็นการฟัง และพูด จะมีการสอบซักประวัติ จะมีศัพท์ใหม่ๆทางการแพทย์มากมายให้น้องๆ ได้เรียนรู้, เคมีสำหรับนิสิตแพทย์ วิชานี้เราจะได้เรียนทั้งเคมีอินทรีย์และอนินทรีย์, วิชาฟิสิกส์สำหรับนิสิตแพทย์ จะเรียนถึงเรื่องการเคลื่อนไหว สมดุลกล ความดัน กฎของไหลต่างๆ, วิชาแพทย์กับสังคม  วิชานี้คล้ายๆวิชาสังคมจะได้เรียนถึงประวัติศาสตร์การแพทย์ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การเป็นแพทย์ที่ดี ปี 1 เทอม 2 ถือว่าเรียนไม่เยอะและก็ไม่ยาก อย่างเช่น วิชาปฏิบัติการเคมีสำหรับนิสิตแพทย์ เป็นวิชาการทำแล็ปเกี่ยวกับกับเคมีอินทรีย์  เป็นการทดสอบหมู่ฟังก์ชันของสารและการทดสอบหาสารที่ไม่รู้จัก, เซลล์ชีววิทยาสำหรับนิสิตแพทย์

ในส่วนปี 2 เทอม 1 นั้นส่วนมากวิชาที่เรียนน้องๆ จะได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่เป็นส่วนมากทั้งเทอมตั้งแต่กระดูก กล้ามเนื้อ และระบบต่างๆของร่างกาย และก็จะได้เรียนวิชา Medical Ethics and Critical Thinking  ซึ่งเป็นวิชาที่เราจะได้เรียนเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมทางการแพทย์ ทำให้ได้ฝึกคิดและตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ปี 2 เทอม 2 จะไม่ได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ ส่วนมากวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย

ปี 3 เทอม 1 เรียนเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายได้เรียนเกี่ยวกับเชื้อโรคต่างๆ ทั้งไวรัส, แบคทีเรีย, เชื้อราต่างๆ ส่วนปี 3 เทอม 2 นี้จะเรียนเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายเช่นเดิมเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบต่างๆในร่างกาย ในปี3เราก็ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือที่เป็นความรู้ชั้นพรีคลินิกทั้งหมดเพื่อสอบ ในปี4 น้องๆ จะได้เวียนไปตามวอร์ดต่างๆ 4 วอร์ด คือสูติศาสตร์,  ศัลยศาสตร์, อายุรศาสตร์ และ กุมารเวชศาสตร์ เรียนกันแบบไม่มีปิดเทอมเลย ก็จะผลัดเปลี่ยนจนครบ 4 วอร์ด โดยการไปเรียนนี้ก็ยังคงมีเรียนเลกเชอร์จะมีการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละประมาณ 10 คน มีอาจารย์ ปี 5 ก็คล้ายๆ ปี 4 แต่ปี 5 จะไม่ขึ้นวอร์ด จะขึ้นวอร์ดรอง เรียกว่า วอร์ดไมเนอร์ ก็คือวอร์ดย่อยในโรงพยาบาล เช่น นิติเวช และในปี 6 เหมือนได้เป็นหมอเต็มตัว ที่เรียกกันว่า extern 
 

จบมาทำงานอะไร

แพทย์วิชาชีพ

สมัครเรียนทำอย่างไร

ระบบรับตรงผ่าน กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย)
- ต้องจบแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เท่านั้น
- ต้องมีคะแนน O-NET รวม 5 กลุ่มสาระวิชา (วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, สังคม, ภาษาไทย) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
- สอบวิชาเฉพาะ 30%
- สอบ 9 วิชาสามัญ ใช้ 5 วิชา 70% (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ 40%, คณิตศาสตร์ 20%, ภาษาอังกฤษ 20%, สังคม 10%, ภาษาไทย 10%)

ระบบรับตรง 3 โครงการ (กันยายน)
โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
- เคยศึกษา ม.1 - 3 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใน 9 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ, ชลบุรี, จันทบุรี, ระยอง, ตราด, นครนายก, พระนครศรีอยุธยา, สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นม.6
- ไม่กำหนด ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)

โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
- เป็นผู้อยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก โดย
- เป็นผู้ที่ศึกษา ม.4 - 6 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัคร
- กำลังศึกษา ม.6 ปีการศึกษา 2558 ในสถานศึกษาจังหวัดที่สมัคร
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า 3.50

โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกรมแพทย์ทหารอากาศ
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม.6
- ไม่กำหนดผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในการสมัคร

  • คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง
  • คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง
  • คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง
  • คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง
  • คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

252, 000 บาท

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

21, 000 บาท/เทอม

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

แพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.comหลักเกณฑ์การให้คะแนน

ชื่อคณะ

 

5 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.4 ดีมาก 

2

2

1

0

0

 

แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

+1

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

GOOGLE MAP

ข้อมูลติดต่อ

หมายเลขติดต่อ

02-2564183 , 02-2564462

เว็บไซต์

http://www.chula.ac.th/

Facebook

Chulalongkorn University

คณะแพทย์ จุฬา มีสาขาอะไรบ้าง

410K VIEWS

759 SHARES

ให้คะแนนความน่าสนใจ

คณะแพทยศาสตร์ มช มีสาขาอะไรบ้าง

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ Department of Anatomy..
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ Department of Pediatrics..
ภาควิชาจักษุวิทยา Department of Ophthalmology..
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ Department of Psychiatry..
ภาควิชาจุลชีววิทยา Department of Microbiology..
ภาควิชาชีวเคมี Department of Biochemistry..
ภาควิชานิติเวชศาสตร์ ... .
ภาควิชาปรสิตวิทยา.

หมอมีอะไรบ้าง

สาขาของแพทย์เฉพาะทาง.
อายุรแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์.
สูตินรีแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชวิทยา.
ศัลยแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม.
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยกรรมกระดูกและข้อ).
จักษุแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา.

คณะแพทย์มีมหาลัยอะไรบ้าง

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Med คือคณะอะไร

MED หรือ Doctor of Medicine แพทยศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาเรียน 6 ปี และนิสิตแพทย์ในระดับชั้นปีที่ 1, 3 และ 6 จะได้รับโอกาสในการวิจัยขั้นพื้นฐานและทางคลินิกเฉพาะทางทั้งในโรงพยาบาลชุมชนหรือโครงการด้านการแพทย์ระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีเปิดรับสมัคร 3 รอบด้วยกัน คือ