สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มข

ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

ประสบการณ์ในการสอนระดับอุดมศึกษา

1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10 ปี
2. University of Toronto: Teaching Assistant
2.1 ANT102H5: Introduction to Sociocultural and Linguistic Anthropology (University of Toronto Mississauga - Fall/2006, 2007, 2008; Summer/2008)
2.2 ANTA02H3: Introduction to Anthropology: Society, Culture and Language (University of Toronto Scarborough - Winter/2008, 2009)

งานอื่นๆ

  1. หัวหน้าสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  2. คณะกรรมการประจาคณะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  4. กรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา
  5. กรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา
  6. กรรมการประกันคุณภาพของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  7. กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นคณะที่ 3 (KKU EC panel 3)
  8. คณะกรรมการฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิลปวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  9. คณะกรรมการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  10. ที่ปรึกษาชุมนุมสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การฝึกอบรม

  1. Visual Anthropology Workshop. จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน), 2 – 12 เม.ย. 2555.
  2. Professional Development Programme in Methodology, Mentoring and Teaching Practice. จัดโดย สานักงานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ Institute of Continuing and TESOL Education, University of Queensland, 8 – 19 ตุลาคม 2555.
  3. The United States Rotation of the MFES Global Fellowship Training. จัดโดย Middleton Foundation for Ethical Studies Global Fellowship Program for Developing Capacity in Ethical Review. 8 พ.ค. – 4 มิ.ย. 2558 ณ เมือง Olympia รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
  4. The 14th Nagasaki International Course on Research Ethics. จัดโดย NagasakiUniversity. 28 – 30 มิ.ย. 2558 ณ เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

ทุนการศึกษา/เกียรติประวัติ

  1. ทุนโครงการส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2537 – 2543)
  2. ทุนรัฐบาล (ก.พ.) ให้ไปศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาวิชามานุษยวิทยา ณ University of Toronto ประเทศแคนาดา (2545 – 2550)
  3. The School of Graduate Studies Research Travel Grant, University of Toronto (2550)
  4. The McCuaig-Throop Bursary, School of Graduate Studies, University of Toronto (2551)

พัฒนาหลักสูตรเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงาน และดำรงตนอยู่ได้ในสภาพสังคมปัจจุบัน ภายใต้แนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทักษะการวิจัย ธรรมะวิจัย และทักษะการปฏิบัติงานภาคสนาม โดยดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

แนะนำภาควิชา

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นและเริ่มเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนมาพร้อม ๆ กับการสถาปนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 สังคมวิทยา (Sociology) และ มานุษยวิทยา (Anthropology) เป็นวิชาความรู้ที่พัฒนาขึ้นมาจากบริบทประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกสมัยใหม่ ซึ่งย้อนกลับไปกว่า 50 ปีที่แล้ว จึงถือว่าเป็นสาขาวิชาใหม่สำหรับสังคมไทย

นานกว่า 5 ทศวรรษที่ผ่านมา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มุ่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน งานวิจัย และงานบริการวิชาการ ที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ ทั้งตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัยและของประเทศ และสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก การเรียนการสอนจึงมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ รู้จักคิด กล้าวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์ สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และประยุกต์ใช้ทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพ และในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนได้อย่างสันติ มีความสุข และสำนักรับผิดชอบต่อสังคม

สังคมวิทยา คือ ศาสตร์ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในฐานะสมาชิกของสังคม เนื้อหาของสังคมวิทยาจึงกินความกว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่ร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก การปะทะสังสรรค์ในชีวิตประจำวันไปจนถึงกระบวนการทางสังคมในระดับโลก

สังคมวิทยามุ่งสร้างความเข้าใจกระบวนการดังกล่าวอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายทั้งในระดับทฤษฎีและการวิจัยเชิงประจักษ์

มานุษยวิทยา ปรารถนาจะทำความเข้าใจมนุษย์ ทั้งในแง่ที่มนุษย์เป็นผลผลิตของระบบวัฒนธรรมที่เขามีชีวิตอยู่และในแง่ที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ ควบคุมและเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตรอบๆ ตัว

เนื้อหาของมานุษยวิทยา มีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งทางด้านกายภาพ วิถีชีวิต พฤติกรรม ความคิด ความเข้าใจ การให้ความหมายตลอดไปจนถึงอารมณ์ความรู้สึก มีวิธีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันก็เจาะลึกเฉพาะเรื่อง เฉพาะกลุ่มทั้งในระดับปัจเจกและชุมชน

เส้นทางบัณฑิตสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

บัณฑิตสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รวมถึงบัณฑิตด้านการวิจัยทางสังคม สามารถทำงานในด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งานที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชานี้โดยตรง ได้แก่ งานวิชาการ งานวิจัย งานด้านประมวลผลข้อมูลสถิติ งานด้านการวางแผน วิเคราะห์นโยบาย งานด้านผังเมือง งานด้านการพัฒนา ผู้บริหารงานวัฒนธรรมหรือปฏิบัติงานในองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น

ส่วนงานอื่นๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภายใต้หลักปรัชญาการศึกษาของคณะฯ คือ “เข้าใจ (มนุษย์และสังคมในหลายมิติ) , เคารพ (ความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม) , เปลี่ยนแปลง (สังคมให้มีความเสมอภาค) ” ทำให้บัณฑิตสามารถเข้าทำงานในด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง อาทิ งานบริหารองค์กร งานฝึกอบรม งานด้านการตลาด งานด้านสื่อสารมวลชน การท่องเที่ยว งานโฆษณา งานด้านการแสดง ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ งานสร้างสรรค์กิจกรรมทางวัฒนธรรมหรือการจัดแสดงนิทรรศการ และนักเขียนสารคดี โดยเฉพาะในมิติที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในด้านต่างๆ

หน่วยงานราชการ

เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักฑัณฑวิทยา นักพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

  • กรมประชาสัมพันธ์
  • สำนักงานคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภค
  • ศูนย์สรรหาและคัดเลือกสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  • สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงแรงงาน
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • กระทรวงยุติธรรม

  • หน่วยงานเอกชน

    นักวิจัยการตลาด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล,เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม,ผู้สื่อข่าว,คอลัมนิสต์,เจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ สามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์รวมแหล่งงานต่อไปนี้

  • เว็บไซต์ Job Thai
  • เว็บไซต์ JobsDB
  • เว็บไซต์ Thai Best Jobs
  • เว็บไซต์ JobTH
  • เว็บไซต์ Job Top Gun

  • องค์การมหาชน

    ตำแหน่งนักวิจัย,เจ้าหน้าที่โครงการ,นักวิชาการ,เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์,ภัณฑารักษ์


    องค์กรพัฒนาเอกชน

    เช่น เจ้าหน้าที่วิจัยภาคสนาม เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ด้านสังคมสงเคราะห์ สามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์รวมแหล่งงานองค์กรพัฒนาเอกชน