การเขียนทัศนียภาพต้องมีลักษณะสำคัญอย่างไร

               พื้นฐานเบื้องต้น เกี่ยวกับการเขียนทัศนียภาพแบบภายในและภายนอก 











 การออกแบบตกแต่งภายใน (Interior Design)
                   
                 หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งแสดงถึงรูปแบบ และสไตล์ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ และมีความละเอียดมาก อีกทั้งต้องมีรูปแบบที่สวยงาม สอดคล้องกับตัวอาคาร การออกแบบเครื่องเรือง (Furniture) ต้องออกแบบจัดวางให้เหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้องการกำหมดโครงสี การกำหนดรูปทรง รวมถึงการจัดวางสิ่งประดับของตกแต่ง เพื่อให้ได้ถึงประโยชน์การใช้งานอย่างเหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ตู้โชว์ พรมปูพื้น เครื่องเคลือบดินเผา ผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม การจัดวางพรรณไม้ต่างๆ เป็นต้น
               
                             เครื่องเรือน ตามความหมายของงานตกแต่งภายใน หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ เช่น ตู้โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ตั้งแต่อดีตมามนูษย์ได้ออกแบบเครื่องเรือนรูปแบบหลากหลาย เพื่อตอบสนองความเป็นอยู่อย่างไม่หยุดนิ่งเครื่องเรือนจึงมีความสำคัญมากในการตกแต่ง และช่วยให้ตีบนั้นดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น และไม่ควรลืมของตกแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย

   







 หลักการออกแบบเครื่องเรือนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้





1. ประโยชน์ใช้สอย (Function) หมายถึง การออกแบบเครื่องเรือนให้ตรงกับประโยชน์การใช้สอย และเหมาะสมกับโอกาศในแต่ล่ะพื้นที่





2. ความสวยงาม (Aesthetics) หมายถึง ความเรียบร้อยของชิ้นงาน เราหมายถึงกระดาษทั้งแผ่นนั้นแหละ
ต้องมีความสะอาด สวยงาม และถูกต้อง มุมไม่เพี้ยน






3. โครงสร้าง (Construction) หมายถึง โครงสร้างภายในอาคารนั้นก็เป็นเสน่ห์แต่ล่ะสไตล์ของการออกแบบ เช่น สไตล์ลอฟท์ ที่เป็นการโชว์โครงสร้าง หรือ อาจเป็นสไตล์อื่นก็ได้ เอาที่สบายใจ และดูไม่น่าเกลียดจนเกินไป






4. วัสดุ (Materail) หมายถึง การสามารถบอกได้ถึงวัสดุอุปกรณ์ นั้นได้อย่างชัดเจนหรืออาจใกล้เคียงมากที่สุด ว่าวัสดุนั้นคืออะไร เช่น ไม้ก็ควรจะเป็นไม้ พื้นเซรามิคก็ควรมีลักษณะเด่นของพื้น เป็นต้น ดังนั้นการลงสีจึงเป็นอีกเทคนิคสำคัญที่ช่วยทำให้วัตถุชิ้นนั้น ชัดเจนยิ่งขึ้น






5. ความเหมาะสม (Reasonableness) หมายถึง เราสามารถทำเรื่อง ตลก ๆ ได้ในตีบนั้นเลยทีเดียว หากวางเครื่องเรือน หรือของตกแต่ง ผิดที่ การหาตำแหน่งที่วางจึงเป็นอีกนึงสิ่งสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม เช่น จะพิเลนเอาหมอนข้างไปวางในห้องน้ำนี่ก็หนักอยู่ ระวัง ๆ ด้วย (ผมนี่ทำประจำ แก้เซงดี พอจะลงเส้นจริง ค่อยลบออก)

           



 สรุปเอาง่ายๆ ทุกหัวข้อสำคัญหมด เราต้องจบงานโดยไม่ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง งานถึงจะออกมาคบองค์ประกอบ แต่เรื่องเส้นและสี นี่คงต้องหัดกันเยอะ ๆ เพราะถึงแม้ว่าเราจะสามารถเรียนรู้วิธีเขียนได้ แต่ประเด็นสำคัญคือการฝึกฝน เราจะทุ่มสองทุ่มไม่ได้ เราต้องทุ่มล่ะก็เทให้หมดเลย (มุขควาย 555+)









เครื่องเรือนสามารถแบ่งได้ออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้






            1. เครื่องเรือนประเภทติดอาคาร (Build - in Furniture) หมายถึง เครื่องเรือนที่ได้ออกแบบมาเฉพาะสถานที่นั้น หรือมุมนั้น ไม่สามารถยกย้ายไปที่อื่นได้ โดยมีเนื้อที่จำกัดขนาดอยู่ เช่น ออกแบบเครื่องเรือนห้องนอน มีตู้เสื้อผ้า โต๊ะเครื่องแป้ง ตู้ติดผนัง ฯลฯ
         



          2. เครื่องเรือนประเภทลอยตัว (Floating Furniture) หมายถึง เครื่องเรือนที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โดยไม่คำนึงถึงขนาดเนื้อที่จัดวาง เป็นเครื่องเรือนที่สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวก เช่น โต๊ะเก้าอี้ โซฟา เตียงนอน ฯลฯ




          3. เครื่องเรือนประเภทตกแต่ง (Decorative Furniture) หมายถึง เครื่องเรือนที่ใช้ประดับตกแต่ง บ้านเรือน อาคาร สำนักงาน เช่น ภาพวาด โคมไฟ พรม ผ้าม่าน เครื่องเซรามิค รูปปั้น เป็นต้น


     



       การจัดวางเครื่องเรือน (Placement of Furniture) ควรคำนึงถึงพื้นที่การใช้งาน พื้นที่ว่าง มุมมองที่สวยงาม ปัญหาในเรื่องพื้นที่คับแคบ ควรจัดวางเครื่องเรือนให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น มีหลักการการจัดวาง ดังต่อไปนี้




 1. การจัดวางให้มีประธาน (Principle Unit) หมายถึง การจัดวางให้มีจุดเด่น จุดรอง และองค์ประกอบ ควรจัดวางเครื่องเรือนชิ้นใหญ่หรือที่มีรูปแบบพิเศษไว้ในที่เด่นสะดุดตา




2.การจัดวางให้เป็นกลุ่ม (Island Type) หมายถึง การจัดวางเครื่องเรือนทั้งเล็กและใหญ่ไว้กลางห้อง หรือมุมใดมุมหนึ่งของห้อง ในกรณีที่บรเวณห้องนั้นมีหน้าต่างมาก หรือมีผนังเป็นกระจกรอบโดยจัดวางให้พื้นที่ด้านผนังเป็นทางเดิน




3. การจัดวางแบบธรรมดา (General Type) หมายถึง การจัดวางเครื่องเรือนให้ชิดผนัง หรือการจัดวางเครื่องเรือนที่มุมใดมุมหนึ่งของห้อง หรือจัดวางทำแยงมุม เพื่อให้มีพื้นที่ทางเดินกว้างขึ้น









 การออกแบบตกแต่งภายนอก (Exterior Design)
      
        หมายถึง การตกแต่งพื้นที่ภายนอกตัวอาคาร ภายนอกบ้าน การจัดสวน รวมถึงการตกแต่งหน้าร้านตกแต่งบูธ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดความน่าสนใจ ความสวยงาม เชื่อมความสัมพันธ์ด้วยสถานที่กับวัสดุที่นำมาตกแต่งได้อย่างสอดคล้องลงตัว

      การกำหนดโครงสี (Colour Scheme) หมายถึง การออกแบบการใช้สีให้ตรงจุดประสงค์ของอาคารนั้นสถานที่แห่งนั้น ซึ่งมีข้อแตกต่างกันตามลักษณะ และรูปแบบของอาคาร มีหลักการใช้สี ดังนี้





ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point of Perspective)
ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 2 จุด คือการเขียนภาพมห้มีจุดรวมสายตา 2 จุด บนเส้นระดับสายตา(H.L.)
จุดทั้งสองจะอยู่ข้างซ้าย และข้างขวาของภาพ วัตถุที่อยู่ใกล้สายตาจะมีขนาดใหญ่ แล้วสองข้างจะเล็กลงเมื่อเส้นทั้งสองวิ่งเข้าหาจุดรวมสายตาทั้งซ้ายและขวา
  จากภาพแสดงให้แสดงให้ถึงการเขียนเส้นระดับสายตา แลำกำหนดจุด V.P.1 และ V.P.2  ถ้าวัตถุเป็นรูปทรงลูกบาศก์ เมื่อมองวัตถุในแนวตรง จะเห็นวัตถุนั้นมีเส้นตั้งฉาก ส่วนด้านข้างเป็นเส้นเฉียง และเมื่อลากเส้นแนวเฉียงจะไปรวมกันที่จุดรวมสายตาทั้ง 2 จุด ทั้งซ้ายและขวา ภาพด้านข้างก็เล็กลงไปในทิศมางเดียวกันไปสู่จุดรวมสายตา (V.P.1 และ V.P.2)







แบบที่ 1 ห้องนอน การเขียนทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 2 จุด มีวิธีการ ดังนี้

1. ลากเส้นระดัยสายตา(H.L.)ให้เป็นแนวยาวตลอด
2. กำหนดจุดรวมสายตาทั้ง2 จุด (V.P.1 และ V.P.2) ด้านซ้ายและขวา บนเส้นระดับสายตา(H.L.)เส้นที่ลากจะวิ่งแนวเฉียงไปหาจุดรวมสายตาทั้ง2 จุด
3. ลากเส้นเฉียงจากจุด V.P.1 และ V.P.2 เป็นผนังห้อง และจุดที่ตัดกันให้ลากเส้นฐานของวัตถุ หรือฐานของเตียงนอน และตู้โชว์ ก็จะได้ความกว้าง และความยาวของรูปทรงเฟอร์นิเจอร์
4. ลากเส้นแนวเฉียงต่างๆ ของวัตถุตามตำแหน่งในรูปแปลน ไปยังจุด V.P.1 และ V.P.2 จุดที่ตัดกันนี้ให้ลากเส้นตั้งของวัตถุก็จะได้ตความสูง ลักษณะเป็นกล่อง เพื่อแสดงความเหมือนจริง หรือ ลักษณะเป็นรูปทรงภาพ 3 มิติ การกำหนดความสูงของวัตถุทุกชิ้นให้กำหนดขึ้นเองตามความเหมาะสมหรือให้ได้สัดส่วนตามแปลน
5. เริ่มใส่รายละเอียดของวัตถุทุกชิ้น และตกแต่งรายละเอียดต่างๆ ของภาพให้เรียบร้อย







แบบที่ 2 ห้องรับแขก การเขียนทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 2 จุด มีวิธีการดังนี้

1. ลากเส้นระดับสายตา (H.L.) ให้เป็นแนวยาวตลอด
2. กำหนดจุดรวมสายตาทั้ง 2จุด(V.P.1 และ V.P.2) ด้านซ้ายและขวา บนเส้นระดับสายตา(H.L.)เส้นที่ลาก
จะวิ่งแนวเฉียงไปหาจุดรวมสายตาทั้ง 2จุด
3. ลากเส้นเฉียงจากจุด V.P.1 และ V.P.2 เป็นผนังห้อง และจุดที่ตัดกันให้ลากเส้นฐานของวัตถุ หรือฐานของโซฟา เก้าอี้ และตู้โชว์ ก็จะได้ความกว้าง และความยาวของรูปทรงเฟอร์นิเจอร์
4. ลากเส้นแนวเฉียงต่างๆ ของวัตถุ ตามตำแหน่งในรูปแปลน ไปยังจุด V.P.1 และ V.P.2 จุดที่ตัดกันนี้ให้ลากเส้นตั้งของวัตถุก็จะได้ความสูง ลักษณะเป็นกล่อง เพื่อแสดงความเหมือนจริง หรือ ลักษณะเป็นรูปทรงภาพ 3 มิติ การกำหนดความสูงของวัตถุทุกชิ้นให้กำหนดขึ้นเองตามความเหมาะสมหรือให้ได้สัดส่วนตามแปลน
5. เริ่มใส่รายละเอียดของวัตถุทุกชิ้น และตกแต่งรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพให้เรียบร้อย









ทัศนีภาพแบบจุดรวมสายตา 3 จุด (Three Points of Perspective)
         
     ทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 3 จุดคือ การเขียนภาพที่กำหนดให้มีจุดรวมสายตา 3 จุดโดย 2 จุดแรกอยู่บนเส้นระดับสายตา (H.L.)และจุดที่ 3 อยู่ระหว่าง 2 จุดแรก แต่ไม่ได้วางอยู่บนเส้นระดับสายตา อาจจะอยู่สูงหรือต่ำกว่าเส้นระดับสายตา อาจจะอยู่สูงหรือต่ำกว่าเส้นระดับสายตาก็ได้ โดยจะอยู่ตรงข้ามกับตำแหน่งของตามองวัตถุ
     
            จากภาพแสดงให้เห็นถึงการเขียนเส้นระดับสายตา (H.L.) และการกำหนดจุดรวมสายตา(V.P.)ทั้ง 3 จุด การเขียนทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 3จุด โดยทั่วไปจะใช้กับการเขียนแบบทัศนียภาพที่มีขนาดใหญ่ เช่น ตึกสูง หรือตึกขนาดใหญ่ วิธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนทัศนียภาพ 2 จุด แต่มีการกำหนดจุดรวมสายตา(V.P.3) ด้านบนหรือล่างของภาพ เพิ่มขึ้นเป็นจุดที่ 3 โดยอยู่ในแนวเดียวกับเส้นตั้ง และเส้นตั้งนี้จะตั้งฉากกับเส้นระดับสายตาและทุกเส้นที่เป็นเส้นตั้งจะมารวมที่จุดรวมสายตาที่ 3 (V.P.3)
     
          ถ้ามองวัตถุจากมุมต่ำ จุดที่สามจะอยู่สูงกว่าเส้นระดับสายตา และถ้ามองวัตถุจากมุมสูง จุดที่สามก็
จะอยู่ต่ำกว่าเส้นระดับสายตา เมื่อทิศทางของเส้นวิ่งเข้าหาจุด V.P.3 ขนาดของภาพก็ค่อยๆ เล็กลง


การเขียนทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 3 จุด มีวิธีการดังนี้

1. ลากเส้นระดับสายตา (H.L.) ให้เป็นแนวยาวตลอด
2. กำหนดจุดรวมสายตาทั้ง 2จุด (V.P.1 และ V.P.2) ด้านซ้ายและขวา บนเส้นระดับสายตา(H.L.) และกำหนดจุดรวมสายตาจุดที่ 3 (V.P.3) อาจให้อยู่สูงกว่าเส้นระดับสายตา หรือต่ำกว่าเส้นระดับสายตาก็ได้โดยให้จุดV.P.3 อยู่ระหว่างจุด V.P.1 และจุด V.P.2
3. กำหนดจุดใกล้สายตามากที่สุด ให้อยู่ระหว่างจุด V.P. ทั้ง 3 จุด จากนั้นให้ลากเส้นเฉียงจากจุดV.P.1 และจุด V.P.2 ไปยังจุดใกล้สายตาที่กำหนดขึ้นมา
4. ลากเส้นตั้งฉากจาก V.P.3 ไปยังจุดใกล้สายตา และลากเส้นเฉียงจากจุด V.P.1 และ V.P.2 ไปตัดที่เส้นตั้ง จุดที่ตัดกันนี้ให้ลากเส้นตั้งของวัตถุไปยังจุด V.P.3 ก็จะได้ความสูงลักษณะโครงสร้างเป็นกล่อง การกำหนดความสูงของวัตถุให้กำหนดขึ้นเองตามความเหมาะสม หรือให้ได้สัดส่วนตามแปลน
5. ลากเส้นละเอียดต่างๆ ทั้งเส้นตั้ง และเส้นเฉียง
6. เริ่มใส่รายละเอียดของวัตถุ ตึก หรืออาคารสูง และตกแต่งรายละเอียดต่างๆ ของภาพให้เรียบร้อย










ศิลปะการตกแต่ง (Decorative Arts)
      ศิลปะการตกแต่งในที่นี้ หมายถึง การออกแบบเพื่อใช้ในการตกแต่งอาคารทั้งภายนอก ภายใน การจัดสวน และการตกแต่งหน้าร้าน หรือร้านค้า สำนักงานต่างๆ การออกแบบอาคารสถานที่ โดยพื้นฐานถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ และประโยชน์การใช้สอยที่แตกต่างกันออกไป การออกแบบที่ดีจึงต้องคำนึงถึงลักษณะ รูปทรง การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบริเวณ และโดยรอบ ย่อมแตกต่างกันออกไป

      ลักษณะที่แตกต่างกันของสถานที่แต่ละประเภท มีวัตถุประสงค์การใช้งานไม่เหมือนกัน การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยมาเป็นตัานำความคิด อย่างเช่นนี้ที่อยู่อาศัยที่มีขนาดต่างกัน รสนิยมของผู้อยู่อาศัยก็ต่างกัน สิ่งจำเป็นในการออกแบบที่อยู่อาศัย ผู้ออกแบบตกแต่งควรต้องศึกษาเรียนรู้ถึงนิสัยใจคอรสนิยม และข้อมูลอื่น ๆ ของผู้อยู่อาศัยด้วย ซึ่งผู้ตกแต่งจะต้องนำต้องนำเอาข้อมูลต่าง ๆ มาเป็นแนวการออกแบบเพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้อาศัย และผู้ออกแบบตกแต่งต้องนำความรู้ที่ร่ำเรียนมา ถ่ายทอดความคิดให้เป็นรูปธรรม นำเสนอความต้องการตามวัตถุประสงค์ ให้เกิดประโยชน์การใช้สอยอย่างเหมาะสมและสวยงาม












การตกแต่งสวน (Garden Decoration)
   สวนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร ช่วยสร้างบรรยากาศให้สิ่งแวดล้อมตัวอาคารดูสดชื่น ร่มรื่นสวยงาม และน่าอยู่ การจัดและตกแต่งสวนมีหลักการ ดังนี้

1. จัดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity) หมายถึง ความเป็นเอกภาพ หรือการประสานกลมในการจัดสวนต้องจัดส่วนต้นไม้ กลุ่มหิน โดยการจัดให้มีทั้งกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ แต่โดยแล้วทั้งกลุ่มหินและกลุ่มต้นไม้ ต้องประสานกลมกลืนกัน แต่ที่สำคัญการจัดเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยต้องอย่าให้กระจาย และต้องจัดให้มีจุดที่น่าสนใจ หรือจุดเด่น อาจใช้หินก้อนใหญ่ หรือพรรณไม้ที่มีสีสันต่างกันก็ได้

2. ดุลยภาพ (ฺBalance) หรือ ความสมดุล หมายถึง การจัดกลุ่มหิน กลุ่มต้นไม้ให้อยู่ในสถานที่สมดุล ความสมดุลอาจเกิดขึ้นได้จากการจัดวางวัตถุ การจัดโครงสี และขนาดของวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาตกแต่งหลักการคือต้องคำนึงถึงขนาดพื้นที่กับการจัดวางตำแหน่งต้นไม้ การวางหิน และส่วนประกอบต่างๆ ให้สมดุลกัน โดยจัดให้มีที่ว่างที่เหมาะสม ดุลยภาพมีความหมายรวมไปถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของสิ่งต่างๆ

3. จุดเด่น (Dominance) หมายถึง การเน้นส่วนที่สำคัญให้เป็นจุดเด่นมากกว่าส่วนอื่น ๆ ในการจัดสวนจะต้องคำนึงถึงความเด่นสะดุดตา อาจจะรวมถึงขนาด หรือสีที่ต่างจากจุดอื่น เช่น สีของต้นไม้ใบไม้ดอกไม้ กรวด หิน ดินทราย รูปปั้น ตุ๊กตาปูน เป็นต้น

4. พื้นที่ว่าง (Space) หมายถึง การกำหนดจุดพักสายตา การกำหนดตำแหน่ง การปลูกต้นไม้ และการจัดวางสิ่งตกแต่งอื่น ๆ โดยไม่ให้แน่นหรือกรุงรังจนเกินไป การจัดวางตำแหน่งพื้นที่ว่างต้องออกแบบอย่างเหมาะสม ลงตัว และสวยงาม โดยพื้นที่ว่างนี้อาจจะใช้ประโยชน์หรือไม่ใช้ประโยชน์ก็ได้ ซึ่งต้องคำนึงถึงความหมายสวยงานที่สัมพันธ์กันได้อย่างลงตัว

  นอกจากหลักการในการจัดสวนแล้ว ยังมีส่วนประกอบอย่างอื่นอีกที่ผู้ออกแบบจัดสวนไม่ควรมองข้ามซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งเหล่านี้

 1. ความสวยงาม เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ สิ่งที่แสดงถึงความสุขใจ ร่มรื่น ความพึงพอใจ ความสวยงามที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องสรรหาด้วยราคาที่แพง

 2. ความเป็นส่วนตัว เป็นการใช้ประโยชน์ของสวนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การนั่งเล่น นอนเล่น อ่านหนังสือ ทำงาน ซึ่งต้องการความเป็นส่วนตัว และต้องการความสงบเงียบ