Network engineer ต้องเรียนอะไร

บทความงาน > บทความตามสายงาน > System Engineer ทำอะไร ต่างจากงานไอทีอย่างไรบ้าง

System Engineer ทำอะไร ต่างจากงานไอทีอย่างไรบ้าง

  • 28 August 2021

Network engineer ต้องเรียนอะไร
Network engineer ต้องเรียนอะไร
Network engineer ต้องเรียนอะไร
Network engineer ต้องเรียนอะไร
Network engineer ต้องเรียนอะไร
Network engineer ต้องเรียนอะไร
Network engineer ต้องเรียนอะไร

           ในยุคดิจิทัลแบบนี้ ส่งผลให้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคนไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นด้านเครือข่ายต่างๆ ระบบสารสนเทศ รวมไปถึงการผลิตสินค้าและการให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงเป็นเหตุผลให้บุคลากรด้าน IT เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก หลายคนอาจได้ยินชื่อตำแหน่ง system engineer กันมาบ้างว่าเป็นตำแหน่งในสายงานของ IT ส่วนใครที่ยังสับสนว่าตำแหน่งนี้คือตำแหน่งอะไร ทำงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง แตกต่างจากงาน IT Support ยังไง และมีความสำคัญในองค์กรหรือบริษัทอย่างไรบ้าง วันนี้ JobsDB มีข้อมูลมาฝากกัน

Network engineer ต้องเรียนอะไร

ทำความรู้จักกับ “วิศวกรระบบ”

           System Engineer หรือ วิศวกรระบบ บางทีอาจเรียก System Integrator (SI) เป็นตำแหน่งที่เป็นหัวใจของงานด้านไอทีในทุกองค์กร เนื่องจากต้องรับผิดชอบและดูแลภาพรวมของระบบ ดูแลเรื่องการวางแผนเครือข่ายพื้นฐาน (Network) และการจัดการระบบของหน่วยงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หน้าที่หลัก ๆ คือ เน้นการออกแบบ ติดตั้ง และดูแลระบบ Server หรือ Infrastructure ต่าง ๆ ที่ใช้ภายในองค์กร และหน่วยงานทั้งหลาย

           คนที่ทำตำแหน่งนี้จะมีทักษะในการใช้งาน Hardware, ระบบปฏิบัติการ (OS), ระบบเครือข่าย (Network) ต่างๆ นอกจากนี้ความสำคัญของตำแหน่งนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาระบบในทีมงานฝ่ายวิศวกรรมระบบ โดยให้เป็นไปตามขอบเขต งบประมาณ เวลา เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อองค์กรอีกด้วย โดยอาชีพนี้มีฐานรายได้เริ่มต้นเฉลี่ยที่ 15,000 บาท และอาจสูงถึง 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับทักษะ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละคน

           ถึงตำแหน่งนี้จะเป็นตำแหน่งงานที่ดูแลระบบและเครือข่ายขององค์กร แต่ก็ไม่ได้มีแค่ตำแหน่งเดียวที่ดูแลในด้านนี้ หากเป็นองค์กรใหญ่จะมีชื่อตำแหน่งย่อย ๆ ที่รับผิดชอบสายงานนี้อีก เช่น Software Tester, Software QA, Hardware Engineer, Solution Architect, Program Analyst, Network Engineer, Network Administrator, System Administrator, Business System Analyst เป็นต้น ซึ่งแต่ละตำแหน่งจะช่วยแบ่งหน้าที่การดูแลที่ยิบย่อยและลงดีเทลของงานลงไปเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ความแตกต่างของวิศวกรระบบ (System Engineer) กับ ผู้สนับสนุนไอที (IT Support)

  • หน้าที่การทำงานต่างกัน  

           เพื่ออธิบายความต่างของหน้าที่การทำงานของทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ให้เข้าใจมากขึ้น 3 คำหลัก ๆ ที่ใช้ในงาน IT ที่ควรรู้ ไว้มีดังนี้

1.Server คือ เครื่องผู้ให้บริการ หรือ เครื่องแม่

2.Network คือระบบเครือข่ายภายในของบริษัทที่เป็นตัวกลางให้ Server กับ Client ได้เชื่อมต่อกัน

3.Client คือ เครื่องผู้ใช้บริการ หรือ เครื่องลูก

           การทำงานของวิศวกรระบบ – จะทำงานที่เกี่ยวกับเครื่อง Server และระบบ Network เป็นหลัก

หากเป็น Network จะต้องรู้และต้องทำหลักๆเกี่ยวกับ DNS DHCP Gateway ในส่วนของการดู Server ต้องรู้และทำแทบทุกอย่างของ ระบบปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็น Linux Unix Window Server

           การทำงานของผู้สนับสนุนไอที – จะทำงานและดูแลเกี่ยวกับ User หรือ Client เป็นหลัก

โดยจะต้องรู้และต้องทำเกี่ยวกับ Software OS Firewall ของ OS รวมถึงการติดตั้งโปรแกรม การแก้ไข ป้องกันไวรัสและ malware ต่าง ๆ

 

  • ความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการทำงานต่างกัน  

           เนื่องจากตำแหน่งวิศวกรระบบ เป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ที่ครอบคลุมและลงลึกกว่าตำแหน่ง IT Support คนที่จะมาทำหน้าที่นี้นอกเหนือจากจะต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมที่กล่าวไปแล้วยังต้องมีความรู้ในเรื่องของการวางแผน และการมองภาพให้ออกตั้งแต่ภาพเล็กไปจนถึงภาพของการใช้งานเครือข่ายขนาดใหญ่อีกด้วย เนื่องจากต้องพัฒนาและซ่อมแซมระบบให้มีประสิทธิภาพที่สุดต่อองค์กร แต่ถ้าเป็นตำแหน่ง IT Support จะไม่จำเป็นต้องมีความรู้ที่ลงดีเทลลึกขนาดนั้นก็สามารถทำได้  หากเป็นคนที่สนใจในด้าน IT แล้วได้มีการเรียนรู้หรือเข้าคอร์สอบรมจนมีรู้และประสบการณ์ด้าน IT ก็สามารถสมัครและทำงานในด้านนี้ได้ ถึงความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการทำงานจะต่างกัน  การรับคนเข้ามาทำงานทั้ง 2 ตำแหน่งนี้จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ระบุไว้ของแต่ละองค์กร ว่าต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถขนาดไหนเพื่อมาดูแลตำแหน่งนั้น

 

                จากข้อมูลที่เรานำมาฝากกันเชื่อว่าหลายคนเริ่มรู้แล้วว่าแต่ละตำแหน่งงานมีความแตกต่างกันอย่างไรและมีความสำคัญต่อองค์กรในด้านไหนอย่างไรบ้าง ใครที่สนใจอยากทำงานด้านนี้ สามารถค้นหาตำแหน่งที่เหมาะกับตัวเราได้ที่แอปพลิเคชัน JobsDB ดาวน์โหลดฟรีได้เลยตั้งแต่วันนี้

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

Network engineer ต้องเรียนอะไร

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

Silicon Valley หุบเขาแห่งเทคโนโลยี แหล่งผลิตคนไอที หัวกะทิ
เช็กด่วน! แหล่งอัปเดต เทรนด์ไอที ที่คนไอทีควรติดตาม
งานไอที อาชีพสุดปังในโลกยุคใหม่ที่ทุกบริษัทต้องการ
Blockchain เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกยุคดิจิทัลที่คนไอทีต้องรู้
จบสายไอที ทำงานอะไรในธุรกิจ E-commerce ได้บ้าง

it support  System Engineer  การทำงานไอที

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023System Engineer ทำอะไร ต่างจากงานไอทีอย่างไรบ้าง

Network engineer ต้องเรียนอะไร

Work From Home vs. Hybrid Work องค์กรใหญ่ควรเลือกระบบไหนในปี 2023

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

Network engineer ต้องเรียนอะไร

ปีใหม่ต้องงานใหม่! 10 ข้อดีของการหางานใหม่ตั้งแต่ต้นปี

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

Network engineer ต้องเรียนอะไร

แนวทางพัฒนาตัวเองในยุค AI

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก จนบางครั้งมนุษย์อย่างเราๆ ก็ตามโลกดิจิทัลกันแทบไม่ทัน แต่นั่...

เรียน Network ต้องรู้อะไรบ้าง

8 ทักษะที่ Network Engineer ต้องเรียนรู้ในปี 2017.
1. Application Flows. ... .
2. Cybersecurity. ... .
3. SD-WAN. ... .
4. DNS. ... .
5. Internet of Things. ... .
6. การ Virtualize อุปกรณ์เครือข่ายและบริการต่างๆ ... .
7. Network Automation. ... .
8. Hyperconverged Systems..

Network Engineer มีอะไรบ้าง

1. บริหารจัดการ Server เช่น AD, DNS, DHCP, MAIL, File , IIS การจัดการบริหาร Internet ของ User ให้สามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์หรือระบบ Network ได้ 2. บริหารจัดการ Router, internet link, switch, vlan, wan และอื่นๆทุกอย่าง 3. ออกแบบ Network Infrastructure ไปจนถึง End devices.