มาตรฐานฝีมือแรงงานหมายถึงใด

"มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ( Occupational Skill Standard)  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของบุคคลในการปฏิบัติงานงานอาชีพหนึ่งๆ โดยองค์กรที่เชื่อถือได้เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยคำนึงถึงเกณฑ์มาตรฐานของสากล  และกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในขณะนั้น

             องค์ประกอบสำคัญของมาตรฐานฝีมือแรงงาน
                       1. ความรู้ (Technical Knowledge) ซึ่งจำเป็นที่จะใช้ทำงานนั้นๆ  ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
                       2. ทักษะ(Skill) เป็นการสะสมประสบการณ์จนเกิดเป็นความชำนาญมีความสามารถเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ตามข้อกำหนดและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้
                       3. นิสัยอุตสาหกรรม หรือทัศนคติ (Attitude) มีจิตสำนึกในการทำงานที่ดี เช่นการประหยัด วัสดุ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร และตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน

             เกณฑ์ประเมินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
                       1. ความปลอดภัยในการทำงาน (ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
                       2. การใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ (ใช้เครื่องมือถูกต้อง ปลอดภัย ดูแลรักษาเป็นอย่างดี
                       3. วิธีการปฏิบัติงาน (ถูกต้องตามขั้นตอนของการปฏิบัติงานที่ดี)
                       4. การใช้วัสดุ (ใช้ถูกต้อง ประหยัด)
                       5. ระยะเวลา (ทำงานเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด)
                       6. ผลสำเร็จของงาน (ตรงตามข้อกำหนด ใช้การได้ดี แข็งแรง ประณีต สวยงาม)

             ประโยชน์ของมาตรฐานฝีมือแรงงาน
                       1. สถาบันการศึกษาหรือฝึกอาชีพและสถานประกอบการ ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรหรือระบบการฝึกฝีมือแรงงาน   ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
                       2. เปิดโอกาสให้ช่างฝีมือที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาหรือฝึกอบรมจากสถาบันใดๆ อาจรวมถึงผู้ที่จบการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ ได้รับการทดสอบฝีมือเพื่อทราบระดับฝีมือของตน และพัฒนาตนเองไปสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น
                       3. แรงงานใหม่หรือผู้ที่เป็นลูกจ้างอยู่แล้วจะมีโอกาสในการได้งานทำ   หรือใช้ประกอบการพิจารณาค่าจ้าง และการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน
                       4. เพื่อให้นายจ้างสามารถคัดเลือกคนเข้าทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม  รวมทั้งการกำหนดอัตราเงินเดือน และเลื่อนขั้นโดยยุติธรรม รวมทั้งใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรของตน ทำให้ผลผลิตได้มาตรฐานและได้กำไร
                       5. เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้บริโภค  ให้มีความมั่นใจว่าได้บริการจากช่างฝีมือที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ลดความเสียหายของสินค้าและบริการลงได้ ทำให้เศรษฐกิจโดยภาพรวมดีขึ้น
                       6. ส่วนราชการสามารถใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานประกอบการวางแผนพัฒนากำลังคนระดับชาติ

มาตรฐานฝีมือแรงงานหมายถึงใด
การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

          การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็น การทดสอบความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ผู้ทดสอบผ่านจะได้รับหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระบุ ชื่อ นามสกุล สาขาและระดับที่ผ่านการทดสอบเป็นหลักฐานยืนยันในทักษะ ฝีมือของตน 

เกณฑ์การพิจารณาประเมินผลการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จะคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
         – ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน
         – ความปลอดภัยในการทำงาน
         – ขั้นตอนวิธีการทำงานที่เหมาะสม
         – การใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง
         – การเลือกและใช้วัสดุอย่างประหยัด
         – เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีความเหมาะสม
         – ผลงานสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ

มาตรฐานฝีมือแรงงานหมายถึงใด
หน่วยทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

         ผู้ที่สนใจเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของตน สามารถขอรับการทดสอบฯ ได้ที่หน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ที่ได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดตั้งเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยมีอัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าทดสอบ ดังนี้
         1. หน่วยงานภายใต้สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทดสอบในอัตรา ดังนี้
             ระดับ 1  จำนวน  100 บาท
             ระดับ 2  จำนวน  150 บาท
             ระดับ 3  จำนวน  200 บาท
         2. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นที่ได้รับอนุญาตเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สามารถเรียกเก็บค่าทดสอบฝีมือ ในอัตรา 500 – 2,000 บาท ในแต่ละสาขาอาชีพ และแต่ละระดับ ตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

มาตรฐานฝีมือแรงงานหมายถึงใด
ลักษณะการทดสอบ

การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จะแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ภาค คือ
        1. ภาคความรู้ เป็นการทดสอบความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานที่จำเป็น ลักษณะของข้อทดสอบ จะเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวนข้อทดสอบประมาณ 50 – 100 ข้อ ใช้เวลาประมาณ 1- 1.30 ชั่วโมง คะแนนคิดเป็นร้อยละ 20 – 30 ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบในแต่ละสาขาอาชีพ และแต่ละระดับ
        2. ภาคความสามารถ เป็นการทดสอบทักษะ ความชำนาญงาน รวมถึงทัศนคติในการทำงานที่ดี ลักษณะของข้อทดสอบจะเป็นการทดสอบการปฏิบัติงานจริงตามแบบและเวลาที่กำหนด ใช้เวลาประมาณ 3 – 6 ชั่วโมง คะแนนคิดเป็นร้อยละ 70 – 80 ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบในแต่ละสาขาอาชีพ และแต่ละระดับ

มาตรฐานฝีมือแรงงานหมายถึงใด
เกณฑ์การทดสอบผ่าน

        ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องเข้ารับการทดสอบทั้งสองภาค โดยแต่ละภาคจะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดของแต่ละภาค และเมื่อรวมคะแนนทั้งสองภาคแล้วจะต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าคะแนนที่กำหนดไว้หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบในแต่ละสาขาอาชีพ และแต่ละระดับ ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ร้อยละ 70

มาตรฐานฝีมือแรงงานหมายถึงใด
คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ

        1. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์นับถึงวันสมัครเข้ารับการทดสอบ และ
        2. มีประสบการณ์การทำงานหรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาที่จะทดสอบ หรือ
        3. ผ่านการฝึกฝีมือแรงงานหรือฝึกอาชีพ และมีประสบการณ์จากการฝึกหรือปฏิบัติงานในกิจการในสาขาที่เกี่ยวช้อง หรือ
        4. เป็นผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้อง
        5. กรณีต้องการทดสอบในระดับที่สูงขึ้น จะต้องมีประสบการณ์การทำงาน หรือประกอบอาชีพ หรือได้คะแนนรวมในสาขาอาชีพและระดับที่เคยทดสอบผ่านมาแล้ว ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานประกาศกำหนด

มาตรฐานฝีมือแรงงานหมายถึงใด
หลักฐานการสมัครเข้ารับการทดสอบ

        1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้
        2. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
        3. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานหรือการประกอบอาชีพ หรือสำเนาวุฒิการศึกษา
        4. สำเนาหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (กรณีทดสอบฯ ระดับสูงขึ้น)
        5. ค่าธรรมเนียม/ค่าทดสอบ

กรณีทดสอบกับหน่วยงานสังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
        – ระดับ 1 จำนวน 100 บาท
        – ระดับ 2 จำนวน 150 บาท
        – ระดับ 3 จำนวน 200 บาท

กรณีทดสอบกับศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ที่ได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตรา 500 – 2,000 บาท ในแต่ละสาขาอาชีพ และแต่ละระดับ ตามประกาศของคณะ กรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน โทร. 0-2245-1707 ต่อ 316, 0-2247-6606 โทรสาร 0-2643-4990 หรือ http://www.dsd.go.th/