งาน supply chain ทําอะไรบ้าง

อาชีพฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์

แนะนำอาชีพฝ่ายฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ว่าต้องทำอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร เพื่อนๆจะได้เอาไปเป็นความรู้ประกอบการอาชีพที่เหมาะสมและสนใจ ซึ่งการเลือกเรียน สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในสาขาของ คณะบริหารธุรกิจ ในที่นี้เราพูดถึง ม.เอกชน ก็คือ ม.รังสิต หรือ มหาวิทยาลัยรังสิตนั่นเอง ปัจจุบันสาขาการจัดการโลจิสติกส์กำลังมาแรงเลยทีเดียว มีคนเรียนเป็นจำนวนมาก

"Supply Chain Management" คือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขั้นตอนการทำงานทั้งหมด (managing flows) เพื่อลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาคุณภาพและระดับสินค้าคงคลัง ซึ่งหมายถึงการประสานข้อมูลจากลูกค้า ผ่านกระบวนการผลิต และจัดการสายการผลิตของสินค้าจนเสร็จสมบูรณ์ 

ระบบซัพพลายเชนอาศัยขบวนการทำงานร่วมจำนวนมากเพื่อผลิตสินค้าที่ถูกต้องตามความต้องการของลูกค้า ให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกจำนวน จึงต้องอาศัยการประสานงานที่ดีจากหน่วยการผลิตต่างๆ การขาย การตลาด การเงิน และการพัฒนาสินค้า

งาน supply chain ทําอะไรบ้าง
โลจิสติกส์

ระบบซัพพลายเชนต้นทาง (upstream supply chain) (วัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จ อุปกรณ์และชิ้นส่วน) มีความแตกต่างจากระบบซัพพลายเชนปลายทาง (downstream supply chain) (สินค้าที่เสร็จสมบูรณ์) เรารวมการทำงานทั้งหมดเป็นซัพพลายเชนRDI (RDI supply chain) ในการจัดการสินค้าสำหรับโครงการพัฒนาใหม่ๆ ความซับซ้อนของระบบซัพพลายเชนต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีเพื่อประมวลข้อมูลจำนวนมากได้ และยังต้องอาศัยความสามารถและประสิทธิภาพของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

จุดประสงค์ของระบบโลจิสติกส์ คือ การจัดการขบวนการทางกายภาพของสินค้าทั้งในและต่างประเทศทั้งหมดโดยแบ่งตามทวีป เน้นการเก็บรักษาและขนส่งสินค้าให้แก่ทุกหน่วยธุรกิจ เช่น วัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จ และสินค้าที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว เป็นต้น

ระบบโลจิสติกส์ทำงานภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจและเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการบริการ และดำเนินการตามกำหนดการขั้นตอนความปลอดภัยและสวัสดิภาพ งานด้านโลจิสติกส์ส่วนใหญ่จะถูกส่งต่อให้บริษัทผู้เป็นพันธมิตรกับเราดำเนินการ หน้าที่ภายในองค์กรด้านนี้จึงมีเพียง การจัดการ ประสานงาน ศึกษา จัดระบบ และการใช้ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

โอกาสด้านอาชีพในแผนกซัพพลายเชน (Supply Chain)

·         การคาดการณ์ความต้องการ (Demand forecasts)

·         วางแผนการผลิต – วางแผนโรงงาน จัดซื้อวัตถุดิบ จัดการขนส่ง/จัดเก็บ วางแผนด้านกลยุทธ์และกำลังการผลิต

·         วางแผนธุรกิจ “แผนงานการขายและดำเนินการ” S&OP

·         วางแผนกระจายสินค้า การทดแทนสินค้า และทีมจัดหาสินค้า

·         หน่วยสนับสนุน ด้านสินค้าคงคลัง วิศวกรรมด้านซัพพลายเชน สารสนเทศ และการจัดการข้อมูล

·         ด้านโกดังสินค้า  - จัดการและดำเนินการ รับมอบ ถ่ายเทและจัดเก็บสินค้า เช็คสต็อก และขนส่งไปยังลูกค้า

·         ขนส่ง – ต่อรองทางด้านสัญญา จัดการการขนส่งทั้งทางบกและทางเรือ

·         นำเข้า / ส่งออก – กฏระเบียบทางศุลกากร ประสานงานด้านการขนส่ง

·         จัดกำลัง – ประสานงานระหว่างหน่วยงานและโลจิสติกส์แผนกต่างๆ ในการวางแผนการขนส่งเพื่อกำหนด         

”แผนการขนส่ง” ด้านโลจิสติกส์ เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด

·         สนับสนุน – ศึกษาวิธีการจัดการโลจิสติกส์แบบใหม่ๆ ที่ได้ผลดี รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานระบบสารสนเทศ และการจัดการข้อมูล

แหล่งที่มา : http://www.michelincareers.com/th/tha/สาขาอาชีพที่น่าสนใจ/ซัพพลายเชน-และ-โลจิสติกส์

ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) เทียบกับ Conductor ในวงออเคสตร้า

งาน supply chain ทําอะไรบ้าง

ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) เทียบกับ Conductor ในวงออเคสตร้า 

ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) หมายถึง ผู้มีหน้าที่บริหารและจัดการในส่วนของงานด้านชัพพลายเชน ซึ่งมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำได้แก่ ผู้ผลิต (ผู้ให้บริการ) ผู้ซื้อ (ผู้รับบริการ) และผู้ขายวัตถุดิบปัจจัยในการผลิต (ผู้ขาย) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการ โดยกระบวนการชัพพลายเชนเริ่มตั้งแต่ กระบวนการวางแผน (Plan) กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) การจัดจำหน่าย (Distribution) ตลอดจนการขนส่ง (Transportation) การรับคืน (Return) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ซึ่งมีผลสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

บทบาท ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager)

1. จัดการวางแผนยกระดับความสามารถในการบริหารในชัพพลายเชนเช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพ หรือการลดความสูญเปล่าอย่างไร

2. จัดการส่งเสริมเพื่อสร้างความเติบโตของธุรกิจเช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ๆการสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้นอย่างไร

3. จัดการส่งเสริมให้มีความยั่งยืนของธุรกิจเช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ฯลฯ อย่างไร

เทียบผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) กับคอนดัชเตอร์ในวงออเคสตร้า จะช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าผู้จัดการด้านชัพพลายเชน จะต้องเป็นผู้ที่ส่งสัญญานและประสานการทำงานร่วมกันในองค์กร ให้เกิดเป็นรูปแบบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันไปได้อย่างสมบูรณ์ โดยแบ่งการมองออกเป็น

- ผู้นำ หากเทียบผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) กับคอนดัชเตอร์ มีหน้าส่งสัญญานการทำหน้าที่ให้แก่กลุ่มเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่มจะเล่นตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้เสียงดนตรีที่ไพเราะ ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน ก็จะประสานให้แต่ละกลุ่มงานในองค์กรดำเนินการงานประสานกันได้อย่างราบรื่นมีประสิทธิภาพดีที่สุด ในความเหมาะสมกลมกลืนกันตลอดโซ่อุปทาน

- หน้าที่ กลุ่มงานต่างๆ ในชัพพลายเชน เทียบได้กับกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีการจัดรวมกันไว้ในแต่ละจุด ดนตรีแต่ละประเภทจะต้องเล่นตามสัญญษนที่คอนดัชเตอร์ ส่งสัญญานให้เล่น ดังเบา ช้าเร็ว หรือตามจังหวะเวลา ในส่วนงานชัพพลายเชนจะมีกลุ่มงานในชัพพลายเชนที่แยกการทำงานตามเป้าหมายในงานของตนเช่น ฝ่ายแผน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่ง ฯลฯ แต่ละฝ่ายจะมีความสามารถและเป้าหมายในการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งในส่วนนี้ผู้จัดดการชัพพลายเชนจะเป็นผู้ส่งสัญญานให้แต่ละหน่วยงานได้ทำทั้งเรื่อง จังหวะการทำ ระยะเวลา จำนวนมากน้อย หากแต่ละกลุ่มมีการจัดการที่ดีจะช่วยให้เกิดความสามารถขององค์กรที่ดี

- สัญญานที่ส่ง ในวงออเคสต้าผู้เล่นเครื่อวคนตรีแต่ละกลุ่มจะได้รับสัญญานจากคอนดัชเตอร์ โดยการมองสัญญานไม้ในมือคอนดัชเตอร์ ที่ส่งสัญญานให้ผู้เลนดนตรีแต่ละชนิดได้เล่นเพื่อให้เกิดการประสานเสียงดนตรีให้เกิดความไพเราะ ผู้จัดการชัพพลายเชนก็จะใช้การส่งข่าวสารถึงแต่ละฝ่ายให้มีการทำงานประสานร่วมกัน ปัจจุบันการส่งขาวสารได้มีการส่งผ่านข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วย ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมโยงถึงผู้ทำงานในแต่ละกลุ่มงานได้รวดเร็วและถูกต้อง เกิดการทำงานร่าวกันได้ดีที่สุด