ทุนของบริษัทจํากัดหมายถึงอะไรและแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1. บริษัทจำกัดคือบริษัทประเภทที่ตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
2. บริษัทจำกัด จะต้องมี จำนวนทุนเรือนหุ้น ซึ่งบริษัทคิดจะจดทะเบียน โดยแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่าของหุ้นเท่า ๆ กัน ไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
3. จำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทซึ่งคิดจะจดทะเบียนนั้น จะต้องมีผู้เข้าชื่ิอซื้อหรือออกให้กันเสร็จก่อน การจดทะเบียน
4. ก่อนจดทะเบียนตั้งบริษัท กรรมการจะต้องเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นของบริษัทอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น เสร็จก่อนจดทะเบียน (บริษัทจำกัดเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นไม่เต็มมูลค่าได้)
5.การจดทะเบียนตั้งบริษัทจำกัด จึงมีรายการจดทะเบียนเรื่อง ทุนชำระแล้ว ในรายการจดทะเบียนด้วย(แบบ บอจ.3)
6. เมื่อบริษัทรับเงินชำระค่าหุ้นไว้แล้ว ย่อมมีหน้าที่จะต้องลงบัญชีไว้เป็นหลักฐานตามหลักกฎหมายต่อไป

ส.อนัตตา 28 เมษายน 2558 10:08:02 IP: 10.6.12.63

ข้อนี้จะแตกต่างจากคำว่าทุนจะทะเบียนบริษัท จะเป็นเงินที่เรียกกับจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดเรียกว่าทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ต่างกันนะ เพราะทุนจดทะเบียนเป็นทุนตั้งต้นที่ทางบริษัทต้องแจ้งแก่ทางกรมพัฒนาธุรกิจ ซึ่งจะข้อมูลเงินทุนนี้ในหนังสือรับรองบริษัทด้วย 

ส่วนผู้ถือหุ้นจะจ่ายเท่าไหร่นั้นก็ตามความต้องการเลยแต่ว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 25% ใครจะจ่าย 100 % ก็ได้ แต่ส่วนมากก็ไม่ค่อยมีใครจ่ายเต็มเพราะกฎหมายเองก็ไม่ได้บังคับด้วยว่าต้องจ่ายเต็ม 100 เลย

เพื่อความเข้าใจมากขึ้นยกตัวอย่าง บริษัท บุญทับ จำกัด ได้ทำการจดทะเบียนด้วยทุนจดทะเบียนบริษัทที่ 1,000,000 บาท ซึ่งก็จะแบ่งออกมาเป็น 10,000 หุ้น จะตกที่หุ้นละ 100 บาท ซึ่งผู้ถือหุ้นแต่ละคนก็จะถือกันตามสัดส่วนของตัวเอง อย่างเช่น นาย ก. ถืออยู่ 3,000 หุ้น ขาย ข. ถือที่ 5,000 หุ้น และนาย ค. ก็ถือที่ 2,000 หุ้น โดยเลือกชำระค่าหุ้นตามขั้นต่ำได้เลย นั่นคือที่กฎหมายกำหนดเอาไว้จะต้องไม่ต่ำกว่า 25% ของทุนจดทะเบียน

เมื่อบริษัท บุญทับ จำกัด นั้นมีทุนจดทะเบียนบริษัทอยู่ที่ 1 ล้านบาท หุ้นส่วนแต่ละคนก็จะจ่ายตามสัดส่วนตัวเอง คิดที่ 25 % ก็จะได้เป็น นาย ก. ต้องจ่าย 75,000 บาท นาย ข. ต้องจ่ายที่ 125,000 บาท และ นาย ค. ก็ต้องจ่ายที่ 50,000 บาท รวมกันแล้วก็จะได้ 250,000 บาท ซึ่งยอดที่ชำระแล้วของบริษัทนี้ก็คือ 250,000 บาท จากทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทนั่นเอง ส่วนผลตอบแทนของบริษัทก็จะจ่ายให้ใครมากน้อยกว่ากันก็ตามสัดส่วนของหุ้นที่แต่ละคนถือ ใครถือเยอะสุดก็จะได้ผลตอบแทนมากสุดเป็นธรรมดา

ทุนของบริษัทจํากัดหมายถึงอะไรและแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ความหมายของบริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด คือ บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินกิจการนั้นมาแบ่งกัน โดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน ผู้ลงทุนในบริษัทเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนถือหุ้น เมื่อจดทะเบียนบริษัทจำกัดแล้ว จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกกับผู้ถือหุ้น และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากร

สำหรับชื่อบริษัท ถ้าจะนำชื่อไปใช้ในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือ จดหมาย หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทต้องใช้คำว่า “บริษัท” ไว้หน้าชื่อและ “จำกัด” ไว้ท้ายชื่อด้วย ถ้าเป็นภาษาอังกฤษต้องมีคำลงท้ายชื่อด้วย Company Limited หรือ Co., Ltd. เป็นต้น

ข้อควรพิจารณาในการจัดตั้งบริษัทจำกัด

1. ความน่าเชื่อถือ ถึงแม้ว่าการดำเนินธุรกิจในรูปของบริษัทจำกัดนั้นในการปฎิบัติตามขั้นตอนต่างๆของกฎหมายจะมีค่าใช้จ่าย แต่สถานะของบริษัท จะมีความน่าเชื่อถือ แก่คู่ค้า และนักลงทุนซึ่งสมารถตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นงบการเงิน ผู้ถือหุ้น และกรรมการบริษัท
2. จำกัดความรับผิด โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุนในบริษัท
3. บริษัท มีความมั่นคง ในการที่คู่ค้าหรือบุคคลภายนอกจะพิจารณามาเข้าร่วมทำธุรกรรมด้วย บริษัทไม่มีกำหนดอายุจนกว่าเจ้าของผู้ถือหุ้นจะแจ้งเลิกกิจการ
4. ทุนของบริษัทแบ่งเป็นหุ้น มีความง่ายในการ จำหน่าย จ่าย โอน คือมีสภาพคล่อง ดังนั้นจึงง่ายในการในการระดมทุน มากกว่าหุ้นส่วน ในห้างหุ้นส่วน

ผลหลังการจัดตั้งบริษัทจำกัด

บริษัทจะมีความเป็นบุคคลในทางกฏหมายแยกจากผู้ถือหุ้นแต่ละราย สัญญาหรือข้อผูกพันใดๆ ที่บริษัทได้ทำขึ้นกับบุคคลภายนอกจะผูกพันเฉพาะตัวบริษัทเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดด้วยคนเองหรือก่อให้เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใดๆแก่ผู้ถือหุ้นที่จะเรียกร้องต่อบุคคลที่สาม และข้อความที่ระบุอยู่ในเอกสารจัดตั้งบริษัทที่จดทะเบียนแก่นายทะเบียนนั้นถือว่าประชาชนได้รับรู้แล้ว

สิทธิของผู้ถือหุ้น

แม้หน้าที่ในการบริหารงานและอำนาจในการตัดสินใจ จะเป็นของคณะกรรมการบริษัท แต่ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นผ่านที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ได้แก่ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการ การเพิ่มทุน-ลดทุน การตวบรวมบริษัท และการเลิกกิจการ การควบคุมการดำเนินงานบริษัท การให้มีการเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ตรวจดูรายงานการประชุมกรรมการและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น การมีสิทธิได้รับเงินปันผลโดยทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลจะกระทำได้เมื่อบริษัทมีกำไรเท่านั้น

อำนาจในการบริหารจัดการบริษัท

ผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการบริษัทคือกรรมการ โดยผู้ถือหุ้นอาจแต่งตั้งตนเอง หรือบุคคลที่ไว้วางใจ และมีความสามารถ เป็นกรรมการบริษัทแทนก็ได้ โดยจำนวนกรรมการบริษัทจะมีกี่คนก็ได้แล้วแต่ข้อตกลง การลงมติในที่ประชุมกรรมการตามกฏหมายให้ใช้เสียงข้างมาก เว้นแต่ข้อบังคับบริษัทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่คะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด โดยการประชุมกรรมการต้องเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง แต่การดำเนินงานบริหารจัดการบริษัท สามารถมอบหมายงานให้ผู้บริหารทำหน้าที่แทนได้

กรรมการต้องดำเนินงานในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัทที่จัดตั้ง ไม่สามารถนำเงินทุนของบริษัทหรือเข้าทำสัญญาในธุรกิจอื่น ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของบริษัท หากกรรมการดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ย่อมไม่ผูกพันบริษัทและกรรมการนั้นต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว

สนใจบริการรับจดทะเบียนบริษัทจำกัดปรึกษาเราได้ฟรี!