ผู้ว่าราชการ ทําหน้าที่อะไร

ผู้ว่าฯ กทม. มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี (แต่คนล่าสุดมาจากการแต่งตั้งโดยคำสั่ง คสช. นะเออ!)

อำนาจหน้าที่

ขอบเขตอำนาจผู้ว่าฯ กทม. ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562

  • กำหนดนโยบาย ทิศทางการแก้ไข พัฒนา และบริหารราชการให้เป็นไปตามแผน
  • มีอำนาจสั่งการที่เกี่ยวกับราชการของ กทม. และรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ กทม. 
  • บริหารภายในหน่วยงาน กทม. ให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แต่งตั้งหรือถอดถอนรองผู้ว่าฯ กทม. และข้าราชการการเมืองอื่นๆ และบริหารจัดการข้าราชการประจำของ กทม.
  • นำนโยบายจากรัฐบาลกลางมาปฏิบัติ

นโยบายและทิศทางการบริหาร กทม. 

นโยบายและทิศทางการบริหาร กทม. เกี่ยวพันกับชีวิตของประชาชนทุกด้าน ได้แก่

  • ผู้ว่าราชการ ทําหน้าที่อะไร
    ผู้ว่าราชการ ทําหน้าที่อะไร
  • ผู้ว่าราชการ ทําหน้าที่อะไร
    ผู้ว่าราชการ ทําหน้าที่อะไร
  • ผู้ว่าราชการ ทําหน้าที่อะไร
    ผู้ว่าราชการ ทําหน้าที่อะไร
  • ระบบขนส่งสาธารณะ
    • มีบทบาทร่วมในการพิจารณาสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า
    • กทม. สามารถขออนุญาตกรมการขนส่งทางบก วิ่งรถเมล์เอง 
    • ระบบตั๋วร่วม 
    • ขีดสี ตีเส้น ทำป้ายสัญญาณ
    • นำยานพาหนะพลังงานไฟฟ้ามาใช้ เช่น เรือโดยสาร EV
  • การรักษาความสงบเรียบร้อย
    • การส่งเสริมและสนับสนุนสถานีตำรวจ เช่น ข้อมูลจากกล้องวงจรปิด 
    • จัดทำระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน
  • การทะเบียน 
    • ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน
    • ดูแลการดำเนินกิจการของมัสยิด ศาลเจ้า
  • การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    • สนับสนุนงานและอุปกรณ์แก่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
  • การรักษาความสะอาด
    • จัดเก็บขยะโดยคิดค่าบริการ 
    • บำรุงรักษาทางสัญจรและทางระบายน้ำ
    • ปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด
  • การผังเมือง
    • ควบคุมอาคาร
    • ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เช่น ปรับปรุง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2562
    • จัดมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  • การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    • เพิ่มพื้นที่สีเขียว 
    • จัดการปัญหาฝุ่นควัน
  • บำรุงรักษาศิลปะ จารีต ประเพณี ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • การสาธารณูปโภค
    • พิจารณาเงื่อนไขการอนุญาตหน่วยงานสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
  • การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
    • ส่งเสริมการกีฬา
    • สนับสนุนศูนย์สาธารณสุขชุมชน
    • จัดบริการฉีดวัคซีน
    • จัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
    • จัดให้มีและควบคุมโรงฆ่าสัตว์
    • จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ
  • การควบคุมสัตว์เลี้ยงและสัตว์เร่ร่อน
  • การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติ 
    • สนับสนุนอาหารโรงเรียน 
    • ปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
    • สนับสนุนการค้าแผงลอยให้ถูกกฎหมาย กทม. สามารถเช่าพื้นที่ว่างในอาคารของเอกชน เพื่อสร้างศูนย์อาหารราคาถูก โดยคิดค่าบริการไม่แพงเหมือนในสิงคโปร์ เรียกว่า Food Hawker หรือสร้างเป็นสวนผักคนเมือง
    • จัดระเบียบเศรษฐกิจภาคกลางคืน

คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม.

  • สัญชาติไทย
  • อายุ 35 ปีขึ้นไป 
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 1 ปีขึ้นไป
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  • ไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50

ค่าธรรมเนียมการสมัคร

50,000 บาท

สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) 

มีหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ และดูแลการบริหารราชการของฝ่ายบริหาร กทม.

ที่มา

มาจากการเลือกตั้งเขตละ 1 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยมีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภาไม่เกิน 2 คน

อำนาจหน้าที่

ส.ก. ไม่เท่ากับ ผู้ว่าฯ กทม. เพราะโดยหลักแล้วไม่ได้มีหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการต่างๆ แต่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ คล้ายกรณีของสภาผู้แทนราษฎรที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร ซึ่งในที่นี้ก็คือตรวจสอบถ่วงดุลผู้ว่าฯ กทม. โดยมีหน้าที่หลัก ได้แก่


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔

ส่วนที่ ๒

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

มาตรา ๕๑ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังนี้
               (๑) จังหวัด
               (๒) อำเภอ

หมวด ๑
จังหวัด

มาตรา ๕๒ ให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ มาตรา ๕๓ ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กับปฏิบัติ หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด
               คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจ ซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่างๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง หรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
               ถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกรมต่างๆ ในกระทรวงหรือทบวงนั้น ส่งมาประจำอยู่ในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคนให้ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวงกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนของกระทรวงหรือทบวงในคณะกรมการจังหวัด
               ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้
มาตรา ๕๔ ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
                รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการรองจากผู้ว่าราชการจังหวัด
                ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดสังกัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๕๕ ในจังหวัดหนึ่ง นอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดดังกล่าวในมาตรา ๕๔ ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการ จังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มี
ผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้ว่า ราชการจังหวัด
ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่ง แล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๕๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอ านาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) กำกับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการ
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีหรือ ยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
(๕) ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการ และหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
(๖) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัด และรายงานให้ กระทรวงมหาดไทยทราบ
(๗) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย
(๘) กำกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอำนาจทำรายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
(๙) บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการในส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย
มาตรา ๕๘ การยกเว้น จำกัด หรือตัดทอน อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการในจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๙ ให้นำความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๐ ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(๑) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(๒) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่

  1. บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  2. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรี สั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
  3. บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวง ในเมื่อไม่ขัดต่อ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
  4. กำกับดูแลการปฏิบัติราชการ อันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่งประจำอยู่ ในจังหวัดนั้น ยกเว้น ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อราชการพลเรือนใน ในมหาวิทยาลัยข้าราชการในสำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครูให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี หรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราว แล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
  5. ประสานงานและร่วมมือกับ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและหัวหน้า ส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัด หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
  6. สนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัด และรายงานให้กระทรวงกระทรวงมหาดไทยทราบ
  7. ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย
  8. กำกับการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานองค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มี อำนาจทำรายงาน หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรี ีเจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
  9. บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และ ตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวงหรืออธิบดีมอบหมาย

ผู้ว่า กทม ทำอะไรได้บ้าง

อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ในมาตรา 49 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ กำหนดนโยบาย บริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าสังกัดหน่วยงานใด

ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดสังกัดกระทรวงมหาดไทย

จังหวัดมีหน้าที่อะไร

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 52/1 ได้บัญญัติอํานาจหน้าที่ของจังหวัด ดังต่อไปนี้ (1) นําภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (2) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม

ผู้ว่าราชการทำงานที่ไหน

ประวัติสำนักงานจังหวัด สำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดำเนินการเป็นศูนย์กลาง ในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด เช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการบริหาร ราชการของกระทรวงมหาดไทยในส่วนกลางสำนักงานจังหวัด เป็นหน่วยงานที่ปรากฎชื่อเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ...