C2c คืออะไร และให้ยกตัวอย่าง

มีความแตกต่างระหว่าง อีคอมเมิร์ซ ทั้งสองรูปแบบซึ่งกำลังได้รับความนิยมและเป็นเทรนด์กระแส หลักของจีนในเวลานี้ โดยมีลักษณะของประเภทสินค้าและบริการที่เหมาะกับแต่ละช่องที่ต่างกันไป ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยควรอัพเดท หากต้องการบุกตลาดจีนออนไลน์ ครับ

มารู้จักความแตกต่างของ เว็บอีคอมเมิร์ซ ทั้งสองช่องทางกันเพิ่มเติมครับ ว่าทั้งสองช่องทาง มีจุดเด่นแบบไหนบ้าง และแบบไหนที่กำลังมาแรงมากกว่ากัน

อีคอมเมิร์ซ B2C และ C2C

อีคอมเมิร์ซแบบ B2C (Business-to-Consumer) เป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นการ ผสมผสานข้อเด่นระหว่างการตลาดออนไลน์และออฟไลน์มาผสานเข้าด้วยกัน โดยเป็นการสื่อสารระหว่าง ผู้ผลิต หรือเจ้าของธุรกิจ กับผู้บริโภค ตามชื่อเรียกนั่นเอง โดยรูปแบบแล้ว เว็บแบบ B2C คือการที่แบรนด์จะเป็นผู้ขายสินค้าให้ผู้บริโภคทั่วไปผ่านทางเว็บอีคอมเมิร์ซซึ่งเจ้าของ แบรนด์หรือบริษัทก็ต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือเป็นกิจการที่มียี่ห้อสินค้าเป็นของตนเอง ไม่ได้เป็นผู้ค้าอิสระ

ข้อดีที่สำคัญของ B2C คือ การมีแบรนด์สินค้า จึงเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าได้มากกว่า ที่สำคัญคือสามารถสร้าง Value เพิ่มคุณค่าให้สินค้าได้ ซึ่งแน่นอนว่าในเวลานี้ช่องทางดังกล่าวก็กำลังเป็นที่ นิยมมากในประเทศจีน สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซแบบ B2C ที่ได้รับความนิยม เช่น Tmall และ JD.com ซึ่งอยู่ในเครือของ Alibaba และ Jingdong นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก Chininternetwatch ที่ระบุว่า มูลค่ารวมของอีคอมเมิร์ซ B2C ในจีนเวลานี้ กำลังมีมูลค่าขึ้นไปแตะถึงหลัก 2.26 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยภาพรวมการเติบโตของอีคอมเมิร์ซจีนในสิ้นปี 2018 อยู่ที่ราว 24.8% และคาดการณ์ว่า จะสามารถขึ้นไป แตะมูลค่าการตลาดสูงถึง 9.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าในตลาดได้อีกประมาณ 1.44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงของเว็บ B2C ได้แก่กลุ่มของ เสื้อผ้า แฟชั่น ไลพ์สไตล์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอาง สกินแคร์ ไปจนถึงกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในปัจจุบัน เว็บไซต์ Tmall ในเครือของอาลีบาบา ถือว่าเป็นผู้นำของตลาด ตามด้วย JD.com ในอันดับรองลงมา ส่วนอันดับอื่น ๆ เช่น Suning Vipshop และ Gome ซึ่งหากนับเฉพาะแค่เว็บ Tmall และ JD.com ก็ครองส่วนแบ่งตลาดแล้วมากกว่า 81.9% นี่จึงเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เว็บ B2C อื่นๆ จะเจาะได้ยากกว่า

C2C อีคอมเมิร์ซ สำหรับ ผู้บริโภค สู่ ผู้บริโภค

ด้วยรูปแบบของเว็บอีคอมเมิร์ซที่เรียกว่า C2C (Customer to Customer) เป็นการเปิดโอกาส ให้ทุกคนสามารถมีหน้าร้านขายของออนไลน์เป็นของตนเองได้อย่างง่าย ๆ รูปแบบนี้จะมีความแตกต่างไปจาก B2C เพราะ C2C เป็นช่องทางที่ผู้บริโภค หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์รายย่อยหรือผู้ที่ต้องการเริ่มทดลองตลาด บนโลกออนไลน์ก็สามารถเริ่มขายสินค้าในอินเทอร์เน็ตได้

รูปแบบนี้ไม่เพียงได้รับความนิยมทั่วโลก แต่ในจีนถือว่าเป็นช่องทางสำคัญที่คนจีนเข้ามาเปิดร้านค้า บนโลกอินเทอร์เน็ตของตนเอง หรือ ทดลองทำการตลาดทางออนไลน์อย่างง่าย ๆ ซึ่งช่องทางนี้สามารถ ช่วยเพิ่มรายได้ เป็นรายได้เสริม หรือกระทั่งทำเป็นธุรกิจหลัก ที่สามารถบริหารและขายของเองได้จากในบ้าน เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์หรือมือถือเครื่องเดียวเท่านั้น แล้วที่สำคัญคือ หน้าร้านสำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซแบบ C2C จะไม่มีค่าใช้จ่าย

ด้วยความที่ว่า ใครก็สามารถขายของออนไลน์ได้ ทำให้ช่องทาง C2C ในจีนอยู่ในระหว่างการเติบโต อย่างไม่หยุดยั้ง และเป็นตลาดใหญ่ของโลกเวลานี้ด้วย ในรายงานปี 2018 ที่ผ่านมา พบว่าในจีนมีส่วนแบ่งของ ช่องทางธุรกิจแบบ C2C ด้วยช่องทางอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น ครองสัดส่วนมากกว่า 56.2% ซึ่งหากย้อนกลับไป พบว่าสัดส่วนของ C2C จากเมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา มีเพียงแค่ 40.4% เท่านั้นนับว่าเป็นช่องทางธุรกิจบน อินเทอรเน็ตที่มีการเติบโตอย่างมากในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้

แน่นอนว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดทำให้ช่องทางธุรกิจแบบ C2C ครองส่วนแบ่งมากขึ้นนอกเหนือจากความ ที่เว็บกลุ่มนี้เป็นที่นิยมและเข้าถึงคนจีนเองได้ง่ายแล้วเป็นเพราะนี่คือช่องทางรอดของผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการมีหน้าร้านเป็นของตนเองบนอินเทอร์เน็ต หรืออาจเป็นผู้บริโภคเองที่ต้องการนำสินค้ามาขายเองได้ เช่น ผ่านทางเว็บ Taobao ในเครืออาลีบาบา ไปจนถึงเว็บช่องทางอื่น ๆ ที่มีการจับกลุ่มตลาดที่เฉพาะตัว มากขึ้น เช่น เว็บ Pinduoduo ซึ่งเน้นที่ตลาดของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซแบบ C2C ได้รับความนิยมจากกลุ่มสินค้าประเภทท้องถิ่น ค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มของ เสื้อผ้า ไลพ์สไตล์ เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยตั้งแต่ปี 2013 จากเดิมมีมูลค่าราว 1 แสนล้านหยวน เมื่อถึงปี 2017 ก็เพิ่มขึ้นเป็น 9.85 แสนล้านหยวนรวมถึงปัจจัยคือด้าน การยกระดับของบริการจัดส่งสินค้า Logistic ที่เข้าถึงผู้คนในชนบทได้รวดเร็วและสะดวก มากขึ้น

แล้วแบบไหนที่นิยมมากกว่า

ตอนนี้กำลังเป็นช่วงเวลาที่ ทุกคนสามารถขายของออนไลน์ หรือทำการตลาดบนอินเทอร์เน็ตได้ เพราะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ช่องทางก็มีแล้วด้วย นั่นทำให้การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น

ถ้าย้อนกลับไปสำรวจตลาดนี้ในปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่าในประเทศจีนมีส่วนของแบ่งของเว็บ อีคอมเมิร์ซแบบ C2C ที่เพิ่มมากขึ้น และครองสัดส่วนมากกว่า 57% ซึ่งจุดนี้อาจแสดงถึงการเข้าถึงของ ผู้ประกอบการรายย่อย และการเห็นโอกาสของผู้บริโภคเองที่นำสินค้ามาขาย ไม่ว่าจะเพื่อทดลองหรือ ทำรายได้เพิ่มเติม ที่สำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปบริษัท หรือจดทะเบียนนิติบุคคล ในภาพรวมแล้ว ดูเหมือนว่า C2C จะเป็นช่องทางอีคอมเมิร์ซที่มาแรงมากกว่า ในขณะที่ B2C ก็มีความยากในแง่ของแบรนด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการขายเช่นกัน

Shipping เมื่อพูดถึงเรื่องการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) เรามักจะคิดว่าเป็นการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์แบบออนไลน์ระหว่างผู้จัดจำหน่ายกับลูกค้าเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวคิดนี้จะมีความถูกต้องอยู่บ้าง แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถแบ่งโมเดลทางธุรกิจอีคอมเมิร์ซออกได้เป็น 7 ประเภทเชียวนะ

แต่ละประเภทก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน Yalelogistics รวบรวมข้อมูลมาให้คุณแล้ว

1. B2B (Business-to-Business)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการให้กับธุรกิจด้วยกัน หรือ E-commerce ที่ครอบคลุมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสินค้าหรือบริการ ที่ดำเนินการระหว่าง บริษัทผู้ผลิต(B) และ(to) ผู้ค้าส่งแบบดั้งเดิม (B) หรือ ‘ทำธุรกิจโดยขายสินค้า/บริการ ให้กับลูกค้า ที่เป็นลูกค้าองค์กร ไม่ใช่คนธรรมดาเป็นรายบุคคล’ ยกตัวอย่างธุรกิจ B2B ได้แก่

  • บริษัทผลิตสินค้าขายส่ง รับจ้างผลิตสินค้า OEM
  • บริษัทเอเจนซี บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ/ด้านกฎหมายให้องค์กร
  • บริษัทซอฟต์แวร์ประเภทองค์กรอาคารสำนักงานให้เช่า
  • บริษัทให้บริการ Shipping
  • แพคเกจทัวร์สำหรับองค์กร เป็นต้น                                                                                                                                                                                                    

2 . B2C (Business-to-Consumer)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการ เป็นการดำเนินการระหว่าง บริษัทผู้ผลิต(B) และ(to) ผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความโดดเด่นในการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจแบบออนไลน์ ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค สอดคล้องกับการค้าปลีกของอีคอมเมิร์ซ

ปัจจุบันการค้าประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่าย และมีร้านค้าออนไลน์หลายแห่งบนแพลตฟอร์มโซเชียลมิเดีย โดยปกติเราจะคุ้นเคยกับบริษัท B2C กันดีเพราะเป็นสินค้า/บริการที่เข้าถึงผู้บริโภครายบุคคล ยกตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่

  • ประเภทสินค้า อาทิ  เสื้อผ้าแฟชั่น , ร้านอาหาร, ขายน้ำดื่ม, ขายสบู่แชมพู เป็นต้น
  • ประเภทบริการ อาทิ อพาร์ทเมนต์, สปา, ฟิตเนส, สถาบันกวดวิชา, บริษัททัวร์, Shipping เป็นต้น

3 . C2B (Consumer-to-Business)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการ เป็นการดำเนินการระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ E-commerce ประเภทนี้ คือการติดต่อจาก ลูกค้า(C) เข้ามาหา ธุรกิจ(B) เป็นที่นิยมมากในการวางแผนเพื่อที่จะสามารถทำให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของตน สามารถขายให้กับบริษัทที่กำลังหาบริการหรือผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ตัวอย่างธุรกิจ C2B ได้แก่ เว็บไซต์ที่นักออกแบบเสนอโลโก้ให้บริษัท เป็นต้น ในปัจจุบันมีอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในการค้าประเภท C2B คือตลาดที่ขายภาพถ่าย, สื่อ, องค์ประกอบในการออกแบบที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ เช่น IStockphoto หรือ Pixabay เป็นต้น

4 . C2C (Consumer-to- Consumer)

หมายถึง ผู้บริโภคกับผู้บริโภค คือการทำธุรกิจที่ติดต่อกันโดยตรงระหว่าง ‘ลูกค้ารายย่อยที่ซื้อขายกันเอง’ ประเภทนี้จะครอบคลุมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสินค้า/บริการ ที่ดำเนินการระหว่างผู้บริโภค โดยทั่วไปธุรกรรมเหล่านี้จะดำเนินการผ่านทางบุคคลที่สาม 

จุดเด่นของธุรกิจลักษณะนี้คือ แต่ละคนจะเป็นเจ้าของสินค้าและเปิดร้านค้าของตนเอง แต่เนื่องจากปริมาณสินค้ายังน้อยอยู่ จึงไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนทำ E-business ดังนั้น จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือมีตัวแทนรวบรวมเจ้าของสินค้ารายย่อยเหล่านี้ไว้ด้วยกัน แล้วจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้คอยบริการ เช่น สร้างโฮมเพจ จัดการระบบเก็บเงิน และระบบส่งของให้ คล้ายๆ กับกิจกรรมเปิดท้ายขายของตามสถานที่ต่างๆ ตัวอย่างของระบบ C2C ได้แก่ โฮมเพจของ Thai.com ที่อนุญาตให้เราเข้าไปเปิดร้านค้าย่อยบนอินเทอร์เน็ตได้

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของ E-business ระบบ B2B และ B2C ดูเหมือนว่าจะเห็นผลมากกว่าระบบ C2C เนื่องจากระบบ มีปริมาณสินค้ามาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนต่ำ แต่ได้รับผลประโยชน์สูง เช่น ebay.com

5 . B2B2C (Business-to-Business-to-Consumer)

หมายถึง ธุรกิจกับธุรกิจ สู่ผู้บริโภค B2B2C เป็นรูปแบบอีคอมเมิร์ซ ที่รวมเอา ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และ ธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) สำหรับการทำธุรกรรมผลิตภัณฑ์/บริการที่สมบูรณ์ B2B2C เป็นกระบวนการทำงานร่วมกัน ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วคือ การสร้างผลิตภัณฑ์/บริการ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ซึ่ง C หรือ Customer นั้น ก็คือลูกค้าตัวจริง เช่น ธุรกิจให้บริการนำเข้าสินค้า และใช้บริการ ธุรกิจขนส่ง Shipping ส่งสินค้าใปยังลูกค้าของธุรกิจให้บริการนำเข้าสินค้า เป็นต้น

โดย C ของธุรกิจ ก็อาจจะเป็น Buyer หรือฝ่ายจัดซื้อ Influencer หรือผู้ที่มีอำนาจในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อ Decision Maker คือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจซื้อ อาจเป็นคนระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร เจ้าของบริษัทหรือแม้แต่ CEO Gate Keeper ซึ่งหมายถึง เลขาฯ เจ้านายระดับผู้บริหารหรือ CEO แม้แต่ฝ่าย Operator ก็ถือว่าเป็น Gate Keeper ได้เช่นกัน สุดท้ายคือ User หรือผู้ใช้งานสินค้านั้นจริงๆ