กระเพาะปัสสาวะอักเสบกินยาตัวไหนดี

  • รายละเอียดเพิ่มเติม

ยาแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยี่ห้อไหนดี

วิธีการบริโภค : รับประทานวันละ 1 แคปซูล ยาแก้ปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบกินยาตัวไหนดี

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis, Lower Urinary tract infection)

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ง่ายๆ
แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไต ทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบที่มีอยู่ในอุจจาระของคนเรา เช่น อีโคไล (E.coli)

ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ผู้หญิง ด้วยเหตุผลทางด้านสรีระดังที่กล่าวมา
  • ผู้สูงอายุ เพราะมีสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดีนัก
  • ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ดื่มน้ําน้อย เป็นต้น

ข้อดีของแครนเบอร์รี่และโรสแมรี่

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า แครนเบอร์รี่ และ โรสแมรี่ ช่วยรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในท่อปัสสาวะ ขจัดกลิ่นปัสสาวะได้ดี อาการปวดจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัว (บ้างว่าใช้แก้อาการปวดปัสสาวะแบบกะปริบกะปรอย​ได้ด้วย)* อีกทั้งยังช่วยลดการกลับมาเป็นซ้ำอีกด้วย เพราะว่า แครนเบอร์รี่นั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดและมีวิตามินซีสูง ซึ่งสารพฤกษเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli) คือ Proanthocyanidins(PACs)* โดยมีรายงานว่าผู้หญิงที่ได้รับสารสกัดจากแครนเบอร์รี่อย่างต่อเนื่อง จะช่วยยับยั้งการยึดเกาะตัวของเชื้ออีโคไลได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.0001) เมื่อเทียบกับหญิงที่ไม่ได้รับสารสกัดจากผลแครนเบอร์รี่*

งานวิจัยยังระบุว่า การรับประทานแครนเบอรรี่เพื่อป้องกันและรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบอย่างได้ผลนั้น จะต้องได้รับ Proanthocyanidins(PACs) มากกว่า 36 mg ต่อวัน** ส่วนโรสแมรี่นั้น มีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าโรสแมรี่ มีผลหลายอย่างทั้งช่วยลดอาการปวดท้อง, ยับยั้งการติดเชื้อและรวมถึงลดการอักเสบ**

References
* https://medthai.com
** https://www.organicfacts.net/health-benefits/herbs-and-spices/rosemary.html

การดูแลตนเองในเบื้องต้นเมื่อเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  1. ควรดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ
  2. ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ
  3. หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล
  4. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลา
  5. การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ หรือภายหลังการขับถ่าย(ในผู้หญิง) ต้องทำจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ
  6. หลีกเสี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

ผู้ที่ควรระวังจากการรับประทานแครนเบอร์รี่

  • หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากยังมีข้อมูลด้านความปลอดภัยไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่แพ้ยาแอสไพริน ห้ามรับประทานแครนเบอร์รี่ในปริมาณมาก เนื่องจากแครนเบอร์รี่ประกอบไปด้วยกรดซาลีไซลิก
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาวาร์ฟารินและไนฟิดิปีน อาจต้องปรับปริมาณยาที่ใช้อยู่ เพราะแครนเบอร์รี่อาจขยายระยะเวลาที่ยาอยู่ในร่างกาย

อาการข้างเคียงจากการรับประทานแครนเบอร์รี่

คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเดิน

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้สูงและจัดเป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุชายมีโอกาสเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสูงขึ้นมากซึ่งต่างจากคนอายุน้อยที่ผู้ชายแทบจะไม่เกิดการติดเชื้อนี้เลย นอกจากนั้นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อก็มีโอกาสเกิดจากเชื้อโรคหลากหลายมากขึ้น

สาเหตุที่ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น เนื่องจาก

  • เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือนแล้ว จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเชื้อแลคโตบาซิลไล (lactobacilli) ในช่องคลอดน้อย ทำให้ค่าความเป็นกรดด่าง (พีเอช ) ในช่องคลอดสูงขึ้น ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ในผู้ชายสูงอายุ สารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียน้อยลง
  • เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของไตลดลง ทำให้ความสามารถในทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ทำให้ปัสสาวะเข้มข้น และขับสารยูเรียได้ลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น นอกจากนั้นการที่มีน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งพบได้มากขึ้นในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโรคเบาหวานมากขึ้น ยังเป็นสารเพาะเชื้อที่ดีอีกด้วย
  • ผู้สูงอายุได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะบ่อยขึ้น เช่น จากการที่ปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือใส่ในช่วงผ่าตัด จึงทำให้เชื้อโรคเข้าไปในทางเดินปัสสาวะได้
  • ผู้สูงอายุมีโรคที่เกิดขึ้นหลายอย่าง ซึ่งอาจยังผลให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้น เช่น โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ทำให้เดินไม่คล่อง ปัสสาวะไม่สะดวก มีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ ติดเชื้อได้ง่าย หรืออาจเป็นโรคเบาหวาน ขาดสารอาหาร โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น โรคเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้มีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้น

อาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

อาการขึ้นกับว่าติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะระดับไหน ถ้าติดเชื้อแค่ในกระเพาะปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขุ่น ปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ถ้าติดเชื้อที่กรวยไต จะมีไข้ ปวดหลังร่วมด้วย ซึ่งต้องรับการรักษาด้วยยาฉีดปฏิชีวนะในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสูงอายุจำนวนมาก อาจมีอาการที่ไม่จำเพาะกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น ซึม สับสน เบื่ออาหาร กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หกล้ม เป็นต้น

References
https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_10_006.html

กระเพาะปัสสาวะอักเสบกินยาตัวไหนดี