การสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์มีแรงบันดาลใจมาจากสิ่งใด

          การดำเนินการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด เราอยู่ร่วมกัน ผู้วิจัยได้ดำเนินการค้นหา            แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบ     การสร้างสรรค์การแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัยตามแนวทางของผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในด้านต่าง ๆ ทั้งการคำนึงถึงการออกแบบโครงเรื่องการแสดงที่นำลักษณะเด่นของคำสอนด้าน      การอยู่ร่วมกันมาใช้วางโครงเรื่อง การคำนึงถึงการออกแบบการเคลื่อนไหวที่ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญ            ในการเลือกใช้ท่าทางที่สามารถสื่อความหมายของโครงเรื่องที่ได้ถูกวางไว้ให้เกิดความชัดเจนมากที่สุดตามข้อมูลที่ได้ศึกษา การคำนึงถึงการออกแบบเสียงและดนตรีประกอบที่มุ่งเน้นการกระตุ้นจินตนาการและสร้างบรรยากาศการแสดงให้ผู้ที่ได้รับชมเกิดความคล้อยตามทางอารมณ์ การคำนึงถึงการออกแบบเครื่องแต่งกายที่เรียบง่ายสอดคล้องกับแนวคิดทางศาสนา และการคำนึงถึงการออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงที่สามารถนำมาใช้พัฒนา สนับสนุนการแสดงให้เกิดรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย เห็นได้ว่าการตั้งประเด็นคำถามในแต่ละองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานมีเป้าหมายในการดำเนินการ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยในการศึกษาหาข้อมูลที่จะมุ่งเน้นไปยังประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการสร้างสรรค์ให้เกิดผลงานที่มีลักษณะเฉพาะและมีความแตกต่างออกไปจากการแสดงนาฏยศิลป์ชิ้นอื่น ๆ

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยประดิษฐ์: กรณีศึกษาระบำมังคลาธิษฐาน

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยประดิษฐ์:
กรณีศึกษาระบำมังคลาธิษฐาน
ประภาศรี ศรีประดิษฐ์

ชมการแสดงระบำมังคลาธิษฐาน

บทคัดย่อ
ระบำมังคลาธิษฐานเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยประดิษฐ์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจ
มาจากวงดนตรีมังคละ และท่ารำมังคละพื้นบ้านแต่เดิมมาประยุกต์ พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่
โดยคำนึงถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน
ทางวัฒนธรรม กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าวประกอบไปด้วย
1. กระบวนการสร้างแนวความคิด
2. กระบวนการผลิตผลงาน
จากนั้นจึงทำการฝึกซ้อม แก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดต่าง ๆ กระทั่งการแสดงมีความ
สมบูรณ์ สามารถนำออกเผยแพร่ จนได้รับความยอมรับทั่วไปทั้งใน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และ
ระดับนานาชาติ

Abstract
Mangkalathitsatan Dance is a new creative dance inspired by
Mangkala music bands and Mangkala traditional dancing features. This
creative dance was created and applied by considering on appropriate
processes without violating any cultural image and value. The creation of
Mangkalathitsatan Dance is based on two processes: conceptual
establishment and productivity. The Dance was practiced, improved and
employed continuously until it had reached its complete performance and
gained audience’s appreciation locally, nationally and internationally.

     ศิลปวัฒนธรรมแสดงให้เห็นถึงความเป็นอารยประเทศ ประเทศชาติที่มีความ
เจริญรุ่งเรืองนั้นจำเป็นที่จะต้องมีวัฒนธรรมอันแสดงออกซึ่งเอกลักษณ์ประจำชาติของตน
นาฏศิลป์และดนตรีไทยก็ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญของชาติอย่างหนึ่งที่ควรค่าแก่การ
อนุรักษ์ ทำนุบำรุงและพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยประดิษฐ์นับเป็นกลวิธีหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิด
กระแสการอนุรักษ์ ทำนุบำรุงและพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าวประกอบ
ไปด้วยการสร้างสรรค์แนวคิด การออกแบบนาฏศิลป์รูปแบบใหม่ รวมทั้งการนำผลงานในอดีตมา
ปรับปรุงสร้างสรรค์และพัฒนา1 โดยอาศัยกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานที่ถูกต้องตามหลัก
วิชาการและวิธีการที่เหมาะสม อันส่งผลให้นาฏศิลป์ชุดนั้นมีความสมบูรณ์บรรลุตาม
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เพิ่มพูนโดยไม่มีที่สิ้นสุด
มหาวิทยาลัยนเรศวรเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงสนับสนุนให้สาขาวิชา
นาฏศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ดำเนินการสร้างสรรค์ผลงาน
ทางด้านนาฏยประดิษฐ์ชุด “ระบำมังคลาธิษฐาน” ขึ้น เพื่อนำออกเผยแพร่แสดงในงาน
ศิลปวัฒนธรรมทบวงมหาวิทยาลัย ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี
พ.ศ. 2546 โดยการแสดงในครั้งนั้นใช้ชื่อในการแสดงว่า “ระบำมังคละ” ซึ่งได้รับความสนใจ
จากผู้ชมเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะสื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงที่ปรากฏในเขต
จังหวัดพิษณุโลกแล้ว ท่ารำและองค์ประกอบต่าง ๆ ในการแสดงยังมีความน่าสนใจเป็นที่แปลก
ใหม่สำหรับผู้ชมเป็นอย่างมาก ต่อมาการแสดงดังกล่าวได้รับคัดเลือกให้นำออกแสดงเพื่อต้อนรับ
แขกบ้านแขกเมือง และงานสัมมนาเชิงวิชาการอันเกี่ยวกับผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏย
ประดิษฐ์อยู่บ่อยครั้ง 2
     จากการนำเสนอผลงานดังกล่าว ทำให้ได้รับข้อเสนอแนะจากนักวิชาการและผู้ชม ทำให้
เกิดการพัฒนาปรับปรุง แก้ไขรูปแบบท่ารำและองค์ประกอบการแสดงต่าง ๆ จนกระทั่งได้ข้อยุติใน
ผลสรุปของท่ารำและองค์ประกอบต่าง ๆ ในปี 2549 โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ท่านรอง
ศาสตราจารย์วนิดา บำรุงไทย อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้คิดชื่อการแสดงดังกล่าวให้ใหม่ว่า “ระบำมังคลาธิษฐาน” ดังที่ปรากฏ
ในปัจจุบัน และได้นำออกเผยแพร่ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ จนเป็นที่
ยอมรับโดยทั่วไป
1 สุรพล วิรุฬรักษ์, นาฏยศิลป์ปริทรรศน์ (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ หสน, 2543), หน้า 225.
2 ประภาศรี ศรีประดิษฐ์, ระบำมังคลาธิษฐาน (พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2550), หน้า 4.

กระบวนการสร้างสรรค์การแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐาน
     การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยประดิษฐ์ชุดระบำมังคลาธิษฐานนั้น เกิดขึ้นจาก
ความต้องการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุดใหม่ เพื่อใช้แสดงในงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ทบวงมหาวิทยาลัยครั้งที่ 13 ซึ่งรูปแบบการแสดงถูกกำหนด ให้มีเนื้อหาอันสื่อถึงเอกลักษณ์ทาง
วัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก ที่มีความแปลกใหม่และแตกต่างจากนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เคยมีอยู่
แต่เดิม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางวัฒนธรรม โดยใช้เวลาในการแสดง
ประมาณ 8 นาที จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวผู้สร้างสรรค์ผลงานได้นำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อ
กำหนดขอบเขต และแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน จนเกิดเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
ทางด้านนาฏยประดิษฐ์ชุดระบำ มังคลาธิษฐานขึ้นดังนี้
     1. กระบวนการสร้างแนวความคิด
     2. กระบวนการผลิตผลงาน

กระบวนการสร้างแนวความคิด
กระบวนการสร้างแนวความคิดเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้าน
นาฏยประดิษฐ์โดยในเบื้องต้นต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์และข้อมูลที่ได้รับเป็นพื้นฐาน ซึ่งการ
แสดงชุด “ระบำมังคลาธิษฐาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น
ที่ไม่ซ้ำกับของเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยการนำเอา รำมังคละการแสดงพื้นบ้านที่มีความเรียบง่าย แสดง
กันโดยชาวบ้านในชุมชนเพื่อชุมชนมาประยุกต์และพัฒนาขึ้นเป็นนาฏศิลป์ที่มีระเบียบแบบแผน
แสดงโดย
ผู้แสดงที่มีความชำนาญทางด้านทักษะนาฏศิลป์ไทย สามารถแสดงท่ารำที่มีความซับซ้อนและ
ละเอียดกว่าท่ารำที่มีอยู่แต่เดิมได้ เพื่อให้เกิดความโดดเด่นในการแสดงจึงได้นำเอากลองมังคละมา
ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบในท่ารำ โดยนำเสนอการแสดงให้ออกมาในรูปแบบของระบำที่มีการสื่อ
ความหมายในตัวเองตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งจบการแสดง มุ่งเน้นความสวยงามด้วยการแสดงท่าตี
กลองในรูปแบบต่าง ๆเป็นหลัก การจุดประกายความคิดในลักษณะดังกล่าวอาจเรียกได้ว่า เป็น
การสร้างงานด้วยวิธีนำจุดที่น่าสนใจของงานเดิมที่มีอยู่ มาขยายสร้างสรรค์ให้เกิดงานชิ้นใหม่ขึ้น

กระบวนการผลิตผลงาน
     เมื่อผ่านกระบวนการในการสร้างแนวคิดและจินตนาการภาพของผลงานในระดับที่มีความ
เป็นไปได้แล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการผลิตผลงานด้วยวิธีการประมวลข้อมูล กำหนดขอบเขต กำหนด
รูปแบบ กำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ จากนั้นจึงออกแบบท่าทางและการเคลื่อนไหวทางด้าน
นาฏยศิลป์ ดังนี้

1. การศึกษาประมวลข้อมูล
     การศึกษาประมวลข้อมูลนี้ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้เลือกใช้วิธีการอ่าน การสังเกต การ
สอบถามและประสบการณ์จริงที่มีอยู่ มาประมวลเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงทำการตรวจสอบความ
เพียงพอและความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่มีความละเอียดและถูกต้องจะเอื้อ
ประโยชน์ต่อกระบวนการสร้างงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งปริมาณของข้อมูลที่ประมวลมาต้องมีความ
สอดคล้องกับแนวคิดของผลงานที่ต้องการสร้างสรรค์ โดยระบำมังคลาธิษฐานมีแนวความคิดที่จะ
นำท่ารำมังคละในแบบพื้นบ้านมาประยุกต์ สู่ท่ารำที่มีความหลากหลายซับซ้อนตามหลักนาฏย
ประดิษฐ์ ด้วยเหตุนี้ผู้สร้างสรรค์ผลงานจึงต้องค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรีมังคละและ
ระบำมังคละอย่างละเอียดถ่องแท้เสียก่อน ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ท่ารำและองค์ประกอบต่าง
ๆ ของรำมังคละพื้นบ้าน โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้
     วงดนตรีมังคละ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยไหนนั้น ไม่สามารถระบุแน่ชัด แต่หลักฐานเท่าที่
ค้นพบ ปรากฏชื่อดนตรีมังคละในหนังสือจดหมายเหตุฯ ระยะทางไปพิษณุโลก พระนิพนธ์ของ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 24443 ซึ่งในสมัยอดีตนั้นการเล่นมังคละมี
เฉพาะแต่การบรรเลงดนตรีอย่างเดียว ต่อมามีผู้คิดออกลวดลายร่ายรำด้วยท่วงท่าต่าง ๆ ไปตาม
3 นุชนาฎ ดีเจริญ, รำมังคละจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ (พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร,
2542), หน้า 23
     จังหวะดนตรีเมื่อผู้หนึ่งรำได้คนอื่น ๆ จึงคิดลีลาท่ารำที่ไม่มีแบบแผนตายตัวแต่อย่างใดออกมา
ประชันกัน จากนั้นจึงจดจำท่ารำต่าง ๆ สืบต่อกันเรื่อยมา
     ท่ารำมังคละพื้นบ้านที่ได้รับการจดจำและถ่ายทอดสืบต่อกันมาในสมัยแรก ๆ นั้น
เป็นท่าร่ายรำของหลวงปู่แหยม จ่านาค ตำบลบ้านนา อำเภอศรีสำโรง และท่ารำของแม่ครูโล่ สุข
ภุมรินทร์ แม่ครูถม เกตุทอง แม่ครูละครคณะ “ศรีไทย รุ่งเรือง” โดยท่ารำดังกล่าวได้ถ่ายทอดให้
นายสำเนา จันทร์จรูญ นำมาปรับปรุงและประติดประต่อให้เป็นท่ารำมาตรฐานพร้อมทั้งได้ทำการ
จดบันทึกท่ารำนั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อมิให้ท่ารำดังกล่าวสูญหายไป4 โดยการแสดงรำ
มังคละพื้นบ้านของ นายสำเนา จันทร์จรูญ นั้น ประกอบด้วยนักแสดงชายนุ่งโจงกระเบนไม่ใส่
เสื้อ ใช้ผ้าแถบมัดเอว หญิงนุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าแถบ (ผ้าคาดอก) แสดงท่ารำท่วงทีเกี้ยวพา
ราสี หยอกเย้าซึ่งกันและกัน ท่ารำที่ปรากฏมีจำนวนทั้งสิ้น 14 ท่า ดังนี้
     1. ท่ากลองโยน
     2. ท่าช้างประสาน
     3. ท่ากาสาวไส้
     4. ท่ากวางเดิน
     5. ท่าแม่หม้ายทิ้งแป้ง
     6. ท่าลิงอุ้มแตง-ลิงขย่มตอ
     7. ท่านางอาย
     8. ท่าจีบยาว
     9. ท่าผาลา
     10. ท่ามอญชมดาว
     11. ท่านกกระเด้าดิน-ท่าหงส์เหิน
     12. ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง
     13. ท่าไหว้
     14. ท่าหยอกล้อชาย-หญิง
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 นางอนงค์ นาคสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชานาฏศิลป์
วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ได้ประดิษฐ์ท่ารำประกอบการบรรเลงดนตรี
มังคละขึ้นใหม่โดยกำหนดให้ ผู้แสดงชายนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมมีผ้าคล้องคอและ
คาดเอว ผู้แสดงหญิงนุ่งผ้าถุงยาวกรอมเท้าสวมเสื้อแขนกระบอก ร่ายรำด้วยลีลาทางนาฏศิลป์ไทย
ในเชิงหยอกเย้าเกี้ยวพาราสีกัน ท่ารำที่ปรากฏมีจำนวนทั้งสิ้น 4 ท่า ดังนี้ 1. ท่าเจ้าชู้ยักษ์ 2.
ท่าเจ้าชู้ไก่แจ้ 3. ท่าป้อ 4. ท่าเมิน หลังจากมีการประดิษฐ์ท่ารำดังกล่าวขึ้น คณะดนตรี
มังคละต่างก็พากันหาวิธีที่จะทำให้วงมังคละของตนเป็นที่รู้จัก จึงคิดท่ารำประกอบดนตรี
มังคละขึ้นใหม่อีกหลายคณะด้วยกันซึ่งส่วนใหญ่มักใช้ท่ารำที่เคยพบเห็นจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่รำกันหน้า
ขบวนมาเรียงร้อยต่อกันพร้อมกับประดิษฐ์ท่ารำประกอบจังหวะใหม่ ๆ ขึ้นอาทิ จังหวะแมกกะ
แดนซ์ เป็นต้น
     จากข้อมูลดังกล่าวได้นำมาใช้เป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยการนำมา
อ้างอิง สร้างสรรค์ ประยุกต์และพัฒนาให้เกิดการแสดงชุด “ระบำมังคลาธิษฐาน” ซึ่งนับเป็น
ผลลัพธ์ของวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น

2. กำหนดขอบเขตการแสดง
     การกำหนดขอบเขต หมายถึง การกำหนดกรอบของนาฏศิลป์ชุดนั้น ๆ ให้มีความ
ชัดเจนครอบคลุมเนื้อหาสาระต่าง ๆ อาทิ จำนวนผู้แสดง ระยะเวลาในการแสดง งบประมาณ
สถานที่ประกอบการแสดง ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานสร้างสรรค์ทุกอย่างมีข้อจำกัดซึ่งหากไม่
กำหนดขอบเขตที่ชัดเจนแล้ว ผลงานชิ้นนั้น ๆ อาจขาดรายละเอียดบางอย่างอันส่งผลให้งานชิ้นนั้น
4 สำเนา จันทร์จรูญ, การแสดงพื้นบ้านจังหวัดสุโขทัย (มังคละ) (สุโขทัย : ม.ป.ท, ม.ป.ป.), หน้า 8-9
ขาดเอกภาพ ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งการแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐานได้กำหนด
ขอบเขตในการแสดงอันมีรายละเอียด ดังนี้
     2.1 การแสดงต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระของการประยุกต์ท่ารำมังคละพื้นบ้านสู่การ
พัฒนาท่ารำที่ละเอียด ซับซ้อน มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
     2.2 ใช้ผู้แสดงเป็นหญิงจำนวน 10 คน ความสูงไม่ควรเกิน 163 เซนติเมตร ทั้งนี้
เนื่องจากท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นี้แสดงออกถึงความคล่องแคล่ว ว่องไว กระฉับกระเฉง ด้วยการ
ตีกลองในรูปแบบต่าง ๆ
     2.3 ใช้เวลาในการแสดงประมาณ 8 – 10 นาที
     2.4 สถานที่แสดงไม่จำกัดว่าที่ใด ฉะนั้นรูปแบบการแสดงต้องคำนึงความสามารถ
ในจัดการแสดงได้ทุกที่
     2.5 ใช้งบประมาณในการสร้างงานไม่เกิน 15,000 บาท
     2.6 ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงโดยแบ่งนักแสดงออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม
กลองมังคละ จำนวน 5 คน และกลุ่มไม้ตีกลองมังคละ จำนวน 5 คน

3. กำหนดรูปแบบการแสดง
     ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้กำหนดรูปแบบของการแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐาน ให้เป็นไป
ในลักษณะของการประยุกต์นาฏศิลป์จากจารีตเดิม สู่ความร่วมสมัยโดยการนำเอกลักษณ์ หรือ
ลักษณะเด่นของโครงสร้างการแสดงท่ารำมังคละพื้นบ้านแต่เดิมมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบท่า
รำ จากนั้นจึงเพิ่มเติมท่ารำต่าง ๆ เข้าไปเพื่อให้สามารถสื่อความหมายใหม่ได้สัมพันธ์สอดคล้อง
กับดนตรีมังคละที่มีบทบาทสำคัญในการรับใช้คนในสังคมพื้นบ้านทำให้เกิดขนบธรรมเนียม
พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีกรรมในการสร้างเครื่องดนตรี พิธีกรรมในการเก็บเครื่องดนตรี พิธีกรรม
ประกอบพิธีการไหว้ครูตามความเชื่อเกี่ยวกับตำนานต่าง ๆ จากการประมวลข้อมูลดังกล่าว ผู้
สร้างสรรค์ผลงานจึงได้กำหนดรูปแบบการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
     ช่วงที่ 1 ผู้แสดงร่ายรำเพื่อสื่อความหมายถึงการเดินทางออกมาประกอบ
พิธีกรรมรำลึกคุณบูชาครู
     ช่วงที่ 2 ผู้แสดงร่ายรำเพื่อสื่อความหมายถึงการประกอบพิธีกรรมรำลึกคุณบูชาครู
     ช่วงที่ 3 ผู้แสดงร่ายรำ โดยมีไม้ตีกลองและกลองมังคละ เป็นอุปกรณ์
ประกอบการแสดง เพื่อสื่อความหมายถึง ความรื่นเริงสนุกสนานด้วยท่าทางการร่ายรำตีกลองใน
รูปแบบต่าง ๆ กัน
การคิดสร้างสรรค์ในลักษณะประยุกต์นาฏศิลป์จากจากรีตเดิมนี้ ถึงแม้จะมีการ
นำท่ารำใหม่ ๆ เข้ามาใช้ แต่ผู้สร้างสรรค์ผลงานก็ได้ทำการปรับเชื่อมท่ารำใหม่ให้มีความ
กลมกลืนกับนาฏยจารีตของรำมังคละที่มีอยู่เดิม เพื่อความมีเอกภาพ ทำให้ผลงานดังกล่าวยังคง
มีความต่อเนื่องกับผลงานในอดีตอยู่

4. การกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ
     การกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบในการแสดง ได้แก่ ดนตรีประกอบการ
แสดง อุปกรณ์ประกอบการแสดง เครื่องแต่งกายประกอบการแสดง ซึ่งการกำหนดรูปแบบและ
แนวทางขององค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องคำนึงถึงความชัดเจน สอดคล้องระหว่าง
แนวคิดในการสร้างงานและรูปแบบของการแสดง เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการด้านการ
แสดงที่มีคุณภาพและมีเอกภาพ ดังนี้
     4.1 ดนตรีประกอบการแสดง ผู้สร้างสรรค์ต้องกำหนดรูปแบบ ชนิด และแนวทาง
ของดนตรี เพื่อความชัดเจนในการประดิษฐ์เพลงหรือเสียงต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับท่ารำของระบำมัง
คลาธิษฐาน โดยดนตรีประกอบการแสดงมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ วงดนตรีและเพลง ลักษณะ
ดังนี้
          4.1.1 วงดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดง ได้แก่วงดนตรีมังคละ ประกอบด้วย
ปี่ กลองโกร๊ก กลองยืน กลองหลอน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง เป็นต้น ซึ่งเป็นวงดนตรีพื้นบ้านที่มี
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในสังคม โดยเฉพาะเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศ ได้แก่
พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ นิยมบรรเลงในงานมงคล งานรื่นเริงต่าง ๆ และงานในพิธีกรรม
ต่าง ๆ เพื่อความอุดมสมบูรณ์
เป็นมงคล
          4.1.2 เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ระบำมังคลาธิษฐานประกอบด้วยเพลงไม้สี่
ที่มีอยู่แต่เดิมมาผสมผสานกับเพลงไม้พิเศษ ที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ให้มีความสอดคล้องกับท่ารำ
โดยวิธีการบรรเลงของวงดนตรีมังคละถือหน้าทับกลองยืนเป็นสำคัญ มีการกำหนดรูปแบบหน้าทับ
พื้นฐานที่ชัดเจน ซึ่งแต่ละหน้าทับจะมีลักษณะของทำนองที่ซ่อนอยู่ กล่าวคือ ถ้าให้ผู้เล่นกลองยืน
ร้องจังหวะหน้าทับต่าง ๆ โดยที่ไม่ต้องตีกลอง จะได้ความรู้สึกราวกับว่าจังหวะหน้าทับที่ได้ยินนั้น
เป็นทำนอง รวมถึงการนำชื่อรูปแบบจังหวะของกลองยืนมาใช้เป็นชื่อเพลงอีกด้วย ปี่จะบรรเลง
ดำเนินทำนองตามแต่ลีลาของกลองยืนซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าทำนองดังกล่าวเป็นเพลงอะไร แต่
มักจะใช้วิธีการด้น หรือยืมทำนองเพลงอื่น ๆ มาใช้ โดยมีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ
และฆ้อง เข้ามาแต่งแต้มสีสันให้กับวง ส่วนกลองหลอนมีหน้าที่บรรเลงสอดสลับกับกลองยืนตาม
ลีลาของเพลง สามารถพลิกแพลงทำนองได้แต่ต้องอยู่ในกรอบของเพลงนั้น ๆ
ภาพที่ 2 วงดนตรีมังคละประกอบการแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐาน
     4.2 อุปกรณ์ประกอบการแสดง
อุปกรณ์ประกอบการแสดงระบำมังคลาธิษฐาน ได้แก่ กลองมังคละและไม้ตี
กลองมังคละ
          4.2.1 กลองมังคละ มีลักษณะหน้ากลองหุ้มด้วยหนัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 5 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต หุ่นกลองส่วนมากทำจากไม้ขนุน ด้านใต้กลองเจาะรูขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว
          4.2.2 ไม้ตีกลองมังคละ ทำจากหวาย มีขนาดความยาวประมาณ 17 นิ้ว
ด้ามจับพันด้วยริบบิ้นสีทองหรือสีเงิน (ขึ้นอยู่กับสีของเครื่องแต่งกายที่ใช้) ติดปลายด้วยพู่ทำจาก
ริบบิ้นสีเดียวกันข้างละประมาณ 8 เส้น แต่ละเส้นมีขนาดความกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ยาวประมาณ 10 นิ้ว
ในกระบวนการนำอุปกรณ์มาใช้ประกอบในการแสดง สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอับ
ดับแรกคือ อุปกรณ์ชิ้นนั้นต้องสามารถตอบสนองแนวคิด ส่งเสริมท่ารำและไม่ก่อให้เกิดอุปสรรค
ต่อการแสดงท่าทางจนเกินไป
     4.3 เครื่องแต่งกายประกอบการแสดง
เครื่องแต่งกายต้องออกแบบให้ตอบสนองต่อแนวคิด และรูปแบบการแสดง
นอกจากนี้เครื่องแต่งกายยังต้องส่งเสริมท่ารำอย่างเหมาะสม โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการแสดง ใน
อันดับแรกผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องวาดภาพท่ารำตามจินตนาการ แล้วกำหนดโครงสร้างท่ารำอย่าง
คร่าว ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง จากวิธีการดังกล่าวส่งผล
ให้เครื่องแต่งกายที่ใช้ประกอบการแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐาน มีลักษณะดังนี้
เครื่องแต่งกายประกอบการแสดงนั้นได้รับแนวคิดและแรงบันดาลใจมาจากการ
นุ่งผ้าแถบ (ผ้าพันอก) และนุ่งซิ่น ของหญิงพื้นบ้านที่มีอยู่แต่เดิม มาประยุกต์ผนวกกับการ
สร้างสรรค์รายละเอียดเพิ่มเติม ให้เกิดความร่วมสมัย ซึ่งการตัดเย็บในครั้งแรกนั้นได้ใช้ผ้าสี
บานเย็นและเครื่องประดับสีทองเป็นหลัก ต่อมาเมื่อการแสดงชุดนี้ได้นำออกแสดงบ่อยครั้งขึ้น จึง
ได้มีการตัดเย็บเครื่องแต่งกายขึ้นใหม่ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย โดยเครื่องแต่ง
กายชุดใหม่นี้ยังคงมีลักษณะและรูปแบบที่เหมือนเดิมทุกประการ แต่ต่างกันที่ใช้ผ้าสีฟ้าในการตัด
เย็บ และใช้เครื่องประดับสีเงินเป็นหลัก ถึงกระนั้นเครื่องแต่งกายสีบานเย็นก็ยังคงนิยมมากกว่า
เครื่องแต่งกายสีฟ้าเนื่องจากสีบานเย็นและสีทองเมื่อต้องแสงไฟจะทำให้ผิวพรรณของนักแสดงดูผ่อง
ใสสว่างมากกว่าเครื่องแต่งกายสีฟ้า

5. การออกแบบนาฏศิลป์
     การออกแบบทางนาฏศิลป์ในการแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐานนั้น สามารถแบ่งออก
ได้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดโครงร่างโดยรวม การแบ่งช่วงอารมณ์ ท่าทางและทิศทาง และการ
ลงรายละเอียดในขั้นตอนของการกำหนดโครงร่างโดยรวม และการแบ่งช่วงอารมณ์นั้นได้กระทำไว้
คร่าว ๆ แล้วในกระบวนการกำหนดรูปแบบการแสดง แต่ในลำดับต่อไปนี้ผู้สร้างสรรค์จะได้
กำหนดการแบ่งช่วงอารมณ์ให้ลึกซึ้งและมีรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่าเดิม ดังนี้
     5.1 กำหนดโครงร่างโดยรวมและการแบ่งช่วงอารมณ์ เป็นลักษณะของการคิด
สร้างสรรค์ภาพร่างออกมาให้เห็นองค์ประกอบโดยรวม เพื่อสร้างโฉมหน้าของการแสดงอย่างคร่าว
ๆ ซึ่งในการแสดงแต่ละช่วงอารมณ์นั้นจะต้องมีความแตกต่างกันเพื่อความหลากรส และสามารถ
สะท้อนอารมณ์ที่ต้องการสื่อความหมาย ดังนี้
     ช่วงที่ 1 การเดินทางออกมารำลึกคุณบูชาครู ท่ารำจะมีลักษณะคล้อยตามกัน
และเคลื่อนที่ไปอย่างเรื่อย ๆ โดยยังไม่สร้างจุดสนใจในการแสดงเท่าใดนัก ใช้จังหวะปานกลางใน
การแสดงท่ารำเพื่อเสนออารมณ์ที่เรียบง่าย
     ช่วงที่ 2 รำลึกคุณบูชาครู อารมณ์ที่ใช้ในการแสดงเปลี่ยนเป็นความเงียบขรึม
ท่ารำนิ่งและสุขุมมากขึ้น โดยในตอนท้ายของช่วงอารมณ์นี้ ผู้สร้างสรรค์กำหนดให้นักแสดงกลุ่ม
หนึ่งหายเข้าไปในเวที จากนั้นดนตรีจึงหยุดนิ่งสักพักเพื่อเปลี่ยนท่วงทำนองให้ผู้ชมเกิดข้อสงสัยว่า
เหตุใดนักแสดงจึงหายไป ทั้งที่ความจริงเข้าไปเพียงเพื่อหยิบอุปกรณ์ประกอบการแสดงเท่านั้น
การจุดประกายข้อสงสัยในลักษณะนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้ชมได้
และมักจะใช้วิธีนี้เมื่อการแสดงผ่านไปได้ในระยะหนึ่งแล้ว
     ช่วงที่ 3 ร่ายรำอย่างร่าเริงสนุกสนาน ในช่วงนี้เองที่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
สามารถสอดแทรกรายละเอียดของท่ารำระบำมังคลาธิษฐานได้อย่างหลากหลายมากที่สุด โดยไม่
มีขอบเขตในเรื่องของเนื้อหาสาระเข้ามาเป็นตัวกำหนด ดังนั้นลักษณะท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นจึงใช้
กลวิธีในการนำเสนอที่ไม่ซ้ำแบบกัน อาทิ การรำเหมือนกัน การรำต่างกัน การรำอยู่กับที่ การรำ
เคลื่อนที่ การสลับกันรำ หรือเปลี่ยนทำนองเพลงให้สอดคล้องกับการตีกลองในแบบต่าง ๆ การตั้ง
ซุ้มเมื่อจบการแสดงตามจารีตของนาฏศิลป์ไทย การวิ่งซอยเท้าเข้าเวที เป็นต้น โดยในขั้นตอน
ของการร่างภาพการแสดงและแบ่งช่วงอารมณ์นี้ ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้พยายามร่างภาพระบำมัง
คลาธิษฐานในแต่ละช่วงให้แตกต่างกันออกไปเพื่อความแปลกใหม่และน่าสนใจตลอดระยะเวลา 8
– 10 นาที
     จะเห็นได้ว่าในขั้นตอนของการกำหนดโครงร่างรวม และการแบ่งช่วงอารมณ์ จะทำ
ให้ผู้สร้างงานมองเห็นภาพท่ารำที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการลงรายละเอียดของ
ท่าทาง และทิศทางในลำดับต่อไปดังนี้
     5.2 การกำหนดท่าทาง ทิศทาง และการลงรายละเอียด
ในขั้นตอนนี้ผู้สร้างสรรค์ผลงานจะเริ่มประดิษฐ์กระบวนท่ารำให้เป็นไปตาม
โครงสร้างโดยรวมที่ได้สร้างไว้แล้ว โดยท่ารำดังกล่าวประกอบด้วย ท่ารำหลัก ท่ารำรอง การ
เชื่อมท่ารำและการตั้งซุ้มรวมทั้งการแปรแถวให้เป็นไปในทิศทางต่าง ๆ เพื่อใช้กำหนดการเข้า - ออก
และการเคลื่อนที่ของผู้แสดงบนเวทีในแต่ละช่วงให้ได้ความหมายตามต้องการ

ท่ารำหลัก
     ท่ารำหลัก คือ แม่ท่าสำคัญที่สามารถแตกรายละเอียดออกไปเป็นท่ารำรอง และการ
เชื่อมท่ารำได้อีกมากมายหลายท่า ท่ารำหลักที่ปรากฏในการแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐาน มีทั้งสิ้น
27 ท่า โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
     1. กระบวนท่ารำที่ได้รับแนวคิดมาจากท่ารำพื้นบ้านที่มีอยู่แต่เดิมนำมาประยุกต์ขึ้นใหม่
มีจำนวนทั้งสิ้น 2 กระบวนท่า ได้แก่ กระบวนท่าที่ 1 : ท่าสาวจีบ ได้รับแนวความคิดมาจาก
ท่ากาสาวไส้ และกระบวนท่าที่ 3 : ท่ากวางเหลียวหลัง ได้รับแนวความคิดมาจาก ท่ากวางเดิน
     2. กระบวนท่ารำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยมีการใช้เท้าและมือที่หลากหลายอันแตกต่าง
จากท่ารำพื้นบ้านที่มีอยู่แต่เดิมประกอบการตีกลองในรูปแบบต่าง ๆ แต่ยังคงรักษารูปแบบการรำคู่
ตามลักษณะพื้นบ้าน ซึ่งท่ารำดังกล่าวมีจำนวน 25 กระบวนท่า ได้แก่
กระบวนท่ารำที่ 2 : ดึงมือโกย กระบวนท่ารำที่ 4 : ไหว้นิ่ง
กระบวนท่ารำที่ 5 : ร่วมวงรำลึกคุณ กระบวนท่ารำที่ 6 : บูชาครู (เข้าวง)
กระบวนท่ารำที่ 7 : บูชาครู (ออกจากวง) กระบวนท่ารำที่ 8 : เทิดเกียรติครู
กระบวนท่ารำที่ 9 : สิ้นสุดพิธีกรรม กระบวนท่ารำที่ 10 : ปัดสะโพก
กระบวนท่ารำที่ 11 : พบกลอง กระบวนท่ารำที่ 12 : เปิดกลอง
กระบวนท่ารำที่ 13 : กระโดดสลับเท้าเข้าวง กระบวนท่ารำที่ 14 : ตีกลองสลับคู่
กระบวนท่ารำที่ 15 : แตะโขยกเหวี่ยงแขน กระบวนท่ารำที่ 16 : ประชันกลอง
กระบวนท่ารำที่ 17 : รัวกลอง กระบวนท่ารำที่ 18 : ปัดไม้กลอง
กระบวนท่ารำที่ 19 : ไสเท้า ลอดซุ้ม กระบวนท่ารำที่ 20 : ตี ก ล อ ง - เ ด า ะสะโพก
กระบวนท่ารำที่ 21 : ตีกลองสลับหน้า – หลัง กระบวนท่ารำที่ 22 : อ้อนกลอง
กระบวนท่ารำที่ 23 : ลากลอง กระบวนท่ารำที่ 24 : เดินทางกลับ
กระบวนท่ารำที่ 25 : ตบเท้า ส่ายแขน กระบวนท่ารำที่ 26 : ตั้งซุ้ม
กระบวนท่ารำที่ 27 : รัวกลอง – ลา

ท่ารำรอง
     ท่ารำรอง คือ ท่ารำย่อย ที่แทรกอยู่ในกระบวนท่ารำหลัก

การเชื่อมท่ารำ
     การเชื่อมท่ารำ คือ ท่ารำที่เชื่อมอยู่ระหว่างท่ารำหลักกับท่ารำรอง ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้การ
วิ่งซอยเท้า หรือย่ำเท้าเพื่อเคลื่อนที่ มักเป็นท่ารำที่ประกอบเข้าด้วยกันเพียง 1 หรือ 2 ท่าเท่านั้น
มิได้เป็นกระบวนท่าใหญ่เหมือนท่ารำหลัก และท่ารำรอง
ตลอดการบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างผลงานมักจะพบกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิด
ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรพิจารณา และดำเนินการแก้ไขปัญหาในแต่ละจุดอย่างเร่งด่วน ซึ่งใน
การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยประดิษฐ์ชุด ระบำมังคลาธิษฐาน ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถ
สรุปปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้ดังนี้
     1. ระดับความสามารถของผู้แสดง มีผลกระทบต่อการออกแบบท่ารำ เนื่องจากใน
บางครั้งผู้ออกแบบท่ารำ ประดิษฐ์ท่าที่ยากเกินความสามารถของผู้แสดง จึงทำให้ผู้แสดงไม่
สามารถปฏิบัติท่ารำได้ตรงตามจินตนาการของผู้สร้างงานหรือในบางครั้งผู้แสดงในชุดการแสดง
เดียวกันมีขีดความสามารถที่แตกต่างกันก็มีผลทำให้ท่ารำที่แสดงออกมาขาดความสมบูรณ์ และมี
ความแตกต่างกัน ดังนั้นในขั้นตอนการคัดเลือกผู้แสดง ผู้สร้างงานควรคัดเลือกผู้แสดงที่มี
ความสามารถในระดับที่เท่ากันและเหมาะสมกับการแสดงชุดนั้นๆ
     2. สรีระร่างกายของนักแสดงบางคนอาจไม่เอื้อต่อการประกอบท่ารำและมีลักษณะไม่ตรง
กับแนวคิดของการแสดง อาทินักแสดงมีรูปร่างเตี้ย ท้วม แต่ท่ารำมีลักษณะรวดเร็ว กระฉับกระเฉง
คล่องแคล่ว หรือนักแสดงมีรูปร่างสูง – ต่ำ อ้วน – ผอม ไม่เท่ากันมีผลทำให้การแสดงไม่สมบูรณ์
ดังนั้นในขั้นตอนการคัดเลือกผู้แสดง ผู้สร้างงานควรคัดเลือกนักแสดงที่มีสรีระ และรูปร่างที่
เหมาะสมกับการแสดงชุดนั้นเป็นอย่างดี
     3. องค์ประกอบของการแสดงบางครั้งก่อให้เกิดอุปสรรคในการประกอบท่ารำ เครื่องแต่ง
กาย ใช้กระโปรงทรงแคบทำให้ไม่สามารถประดิษฐ์ท่ารำที่มีลักษณะการยกขากว้างได้ ผมทรงขมวด
มุ่นทำมวยสูงโองโขดงทำให้ไม่สามารถประดิษฐ์ท่ารำที่มีการตั้งวงสูงระดับกึ่งกลางแง่ศีรษะได้
อุปกรณ์การแสดง ได้แก่ กลองที่มีน้ำหนักมากทำให้ไม่สามารถใช้ท่ารำที่ผาดโผนได้มากนัก ไม้ตี
กลองที่ผู้แสดงต้องถือสองมือบางครั้งทำให้เกิดข้อจำกัดของการใช้มือประกอบท่ารำเพลง
ประกอบการแสดงในบางจังหวะไม่สอดคล้องกับท่ารำที่ประดิษฐ์ไว้ ดังนั้นผู้สร้างงานควรพิจารณา
ปัญหาว่าสิ่งใดสามารถแก้ไขได้สะดวกที่สุด แล้วจึงเลือกแก้ไขระหว่างองค์ประกอบต่างๆ กับท่ารำที่
ได้ประดิษฐ์ขึ้น
     4. การจัดทำองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องอาศัยผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการอาจไม่เป็นไปตาม
จินตนาการหรือความต้องการของผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาทิ จังหวะของดนตรีไม่เอื้ออำนวยต่อท่ารำ
หรือจังหวะและทำนองของดนตรีไม่สามารถสื่อเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอในการแสดงได้ ดังนั้น
ผู้สร้างงานจึงควรอธิบายสิ่งที่ต้องการโดยละเอียดหากเป็นไปได้ควรออกแบบท่ารำไปพร้อมๆ กับ
การประดิษฐ์องค์ประกอบต่างๆ อาทิ ทำนอง จังหวะเพลง และเครื่องแต่งกาย เป็นต้น
     5. การกำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการแสดงมีผลต่อการคัดเลือกท่ารำ เพราะในบางครั้ง
ผู้สร้างงานประดิษฐ์ท่ารำไว้จำนวนมาก เมื่อนำมาแสดงเข้ากับดนตรีทำให้การแสดงชุดนั้นๆ มีความ
ยาวมากเกินพอดี ดังนั้นหากประสบปัญหาดังกล่าว จึงควรตัดทอนที่มีลักษณะซ้ำซ้อนออก และ
คัดเลือกท่ารำที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกันมากที่สุดมาบรรจุเรียงร้อยเข้าด้วยกันให้เกิดความ
สมบูรณ์
     เมื่อการสร้างสรรค์ท่ารำ ดังกล่าวเสร็จสิ้น ขั้นตอนต่อไปจึงลงมือฝึกซ้อมเข้ากับ
องค์ประกอบต่าง ๆ พร้อมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น แล้วจึงเพิ่มเติมรายละเอียดต่าง ๆ เข้าไป
ในการแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐาน เพื่อความแปลกใหม่และโดดเด่นอย่างแท้จริง
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยประดิษฐ์การแสดงชุดระบำมังคลาธิษฐาน
ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นวิธีการประดิษฐ์ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ตามหลัก
กระบวนการสากลที่สามารถนำไปปรับและประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์นาฏศิลป์ชุดอื่น ๆ เพื่อการ
สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพตอบสนองต่อการอนุรักษ์ ทำนุบำรุงและพัฒนานาฏศิลป์ไทยให้ดำรง
อยู่คู่กับสังคมไทยโดยไม่มีการบิดเบือนหรือความคลาดเคลื่อนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น