ศาสนาใดที่ชื่อเรียกศาสนา แปลว่า สันติ

ศาสนา

  • หน้าหลัก
  • ศาสนา

ความสำคัญของศาสนา

1. เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
2. เป็นรากฐานและมรดกทางวัฒนธรรม
3. เป็นศูนย์รวมจิตใจ
4. เป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย


 

ศาสนาพุทธ

ศาสนาใดที่ชื่อเรียกศาสนา แปลว่า สันติ

 

ศาสนาพุทธ หรือ พระพุทธศาสนาเป็นรากฐาน ของขนบธรรมเนียม  ประเพณีและวัฒนธรรมไทย  วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา ได้แก่ มารยาท พิธีกรรมต่างๆทางศาสนา อุปนิสัย
ศาสดา หรือ ผู้ก่อตั้งศาสนา คือ พระพุทธเจ้า
คัมภีร์คำสอน คือ พระไตรปิฎก
พุทธศักราช หรือ พ.ศ. เริ่มนับตั้งแต่ พระพุทธเจ้า ปรินิพพาน
นักบวชคือ คือพระสงฆ์


ศาสนาใดที่ชื่อเรียกศาสนา แปลว่า สันติ

 


ศาสนาคริสต์

ศาสนาใดที่ชื่อเรียกศาสนา แปลว่า สันติ

เกิดภายหลังพุทธศาสนา 543 ปี ณ ดินแดนประเทศปาเลสไตล์ปัจจุบัน ซึ่งศาสนาคริสต์นี้จะสืบทอด
มาจากศาสนายูดาห์มีความเชื่อว่ามีเทพเจ้าที่มีอำนาจสูงสุด จุดหมายสูงสุดคือการได้กลับไปอยู่กับพระเจ้า
ศาสดา คือ พระเยซู
คัมภีร์คำสอน คือ ไบเบิ้ล
คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. เริ่มนับตั้งแต่พระเยซู กำเนิด
นักบวชคือ คือนักบวช หรือ บาทหลวง


ศาสนาใดที่ชื่อเรียกศาสนา แปลว่า สันติ


 

ศาสนาอิสลาม

ศาสนาใดที่ชื่อเรียกศาสนา แปลว่า สันติ

ศาสนาอิสลามกำเนิดในประเทศซาอุดิอาระเบีย คำว่า อิสลาม แปลว่า สันติ และเรียกผู้นับถือศาสนาอิสลามว่า มุสลิม
มีความหมายว่า ผู้นอบน้อมยอมตนต่อพระเจ้า เชื่อในพระเจ้าสูงสุดองค์เดียว คือ พระอัลลอฮฺ 
จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนา การไปอยู่กับพระเจ้า ชั่วนิรันดร 
ศาสดา คือ นบีมุฮัมมัด
คัมภีร์คำสอน คือ อัลกุรอาน
ศาสนาอิสลามไม่มีนักบวช มีเพียงอิหม่าม เป็นผู้นำในการนมัสการพระเจ้าเท่านั้น
ศาสนาอิสลามไม่นิยมรูปเคารพใด ๆ จึงไม่มีสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของพระเจ้า

ศาสนาใดที่ชื่อเรียกศาสนา แปลว่า สันติ

ผู้เขียน : Admin
โพสต์เมื่อ : 22 ม.ค. 2564
ป้ายกำกับ : ศาสนา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet

โดย : เมาลานา ซัยยิด มุฮัมมัด ริซวี เห็นได้จากชื่อของมันเอง อิสลามคือศาสนาแห่งสันติ ชาวมุสลิมถูกสอนให้กล่าวทักทายกันและกันด้วยการกล่าวว่า “อัส

โดย : เมาลานา ซัยยิด มุฮัมมัด ริซวี

เห็นได้จากชื่อของมันเอง อิสลามคือศาสนาแห่งสันติ ชาวมุสลิมถูกสอนให้กล่าวทักทายกันและกันด้วยการกล่าวว่า “อัสสลามุ อะลัยกุม – ขอความสันติจงมีแด่ท่าน” ในนมาซประจำวันก็สิ้นสุดลงด้วยประโยคเดียวกันนี้ ในอิสลาม พระนามหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักสำหรับพระผู้เป็นเจ้าก็คือ “อัส-สลาม” ซึ่งหมายถึงความสันติ

อย่างไรก็ตาม เราต้องรู้ด้วยว่าความสันติสุข หรือสันติภาพในระดับของสังคมนั้น มันควบคู่กันไปกับความยุติธรรม สันติภาพจะสามารถเกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความยุติธรรมในสังคม

โชคร้าย เนื่องจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางในระยะเวลาห้าสิบปีมานี้ อิสลามได้ถูกตราหน้าโดยสื่อชาติตะวันตกว่าเป็นศาสนาของความรุนแรง ในปัจจุบัน คำว่า “อิสลาม” ได้กลายมาเป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่งของ “ลัทธิก่อการร้าย” ไปเสียแล้ว

เบื้องหลังของเรื่องนี้ ประการแรก เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เหตุการณ์ต่างๆ ในตะวันออกกลางนั้น สามารถเข้าใจได้อย่างเต็มที่และเป็นธรรมด้วยการมองย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของดินแดนแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่รักษาสัญญาที่อังกฤษให้ไว้แก่ชาติอาหรับเพื่อเป็นการยุยงส่งเสริมให้เกิดการจลาจลต่อต้านผู้ปกครองชาวมุสลิม

ประการที่สอง คนที่มีใจเป็นธรรมจะไม่ให้ตัวเองตำหนิโทษศาสนาอิสลาม ต่อการกระทำผิดของบรรดาผู้ที่เรียกตัวเองว่ามุสลิม เหมือนอย่างการจะกล่าวว่า นิกายแคโธลิกสนับสนุนส่งเสริมความรุนแรงและการก่อการร้ายเพราะการกระทำของกองทหารไอร์แลน ก็ไม่ได้เช่นกัน

จุดมุ่งหมายของชีวิต

ชีวิตบนโลกนี้ของเรามีจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจงประการหนึ่ง ชีวิตไม่ใช่ผลจากความบังเอิญของธรรมชาติ และไม่ใช่เป็นการลงโทษจากการกินผลของต้นไม้ต้องห้าม เรามาอยู่ที่นี่ตามการวางแบบแผนของพระผู้เป็นเจ้า  เพื่อให้บรรลุถึงชีวิตนิรันดร์อันบรมสุขในปรโลก ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวไว้ว่า “พวกท่านไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อดับสูญ แต่ตรงกันข้าม พวกท่านถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชีวิตนิรันดร์”

อย่างไรก็ตาม ในการที่จะบรรลุถึงชีวิตนิรันดร์อันบรมสุขและสง่างามนั้น เราต้องก้าวผ่านการทดสอบและบทพิสูจน์ในโลกนี้เสียก่อน การทดสอบนั้นก็เพื่อจะได้รู้ว่าเราได้ยอมจำนนและมอบหมายตัวเองต่อพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าใจสมัครแค่ไหน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำนั้นเป็นการทดสอบและบทพิสูจน์อย่างหนึ่งสำหรับเรา ถ้าเราปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า เราก็จะประสบความสำเร็จ หรือมิฉะนั้น เราก็จะมีชีวิตนิรันดร์ที่ปราศจากความสุขและความสง่างามเลย

นี่คือคำสอนของอิสลาม ศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้าได้ส่งมายังศาสดามุอัมมัด มันได้ถูกพิทักษ์รักษาไว้ให้ดำรงอยู่เช่นนั้นโดยบรรดาผู้นำที่มาจากครอบครัวของท่านศาสดา ดังที่สารสำคัญสุดท้ายของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) ได้ระบุเอาไว้ว่า “ฉันได้ทิ้งสิ่งสำคัญสองประการไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(อัล-กุรอาน) และอีกอย่างหนึ่งคือครอบครัวของฉัน อะฮฺลุลบัยตฺ ตราบใดที่พวกท่านยึดมั่นอยู่กับสองสิ่งนี้ พวกท่านจะไม่หลงผิด”