ศิลปินท่านใดที่ได้รับรางวัล “ศิลปาธร” พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นคนแรก

  • สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ประกาศรายชื่อศิลปินจำนวน 7 คนที่เข้ารับรางวัล ‘ศิลปาธร’ ประจำปี 2564 โดยมีชื่อของคนทำหนังรุ่นใหม่ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์, นักแสดงหญิงมากประสบการณ์ สุมณฑา สวนผลรัตน์ และมือเขียนสารคดี วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง


ตามที่ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศรายชื่อศิลปินจำนวน 7 คนที่เข้ารับรางวัล ‘ศิลปาธร’ ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นรางวัลเพื่อให้กำลังใจศิลปินร่วมสมัยของไทยในสาขาต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2547 โดยศิลปินที่เคยได้รับรางวัลก็เช่น เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (สาขาทัศนศิลป์), อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (สาขาภาพยนตร์), ปราบดา หยุ่น (สาขาวรรณศิลป์) และ สินีนาฏ เกษประไพ (สาขาศิลปะการแสดง)

ในปีนี้ รางวัลถูกแบ่งออกเป็น 7 สาขา และมีรายชื่อที่คนในแวดวงศิลปะน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ดังนี้

ศิลปินท่านใดที่ได้รับรางวัล ศิลปาธร” พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นคนแรก
นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์


สาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว : นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

คงไม่ต้องแนะนำกันมากความ สำหรับคนทำหนังขวัญใจผู้ชมรุ่นใหม่อย่างนวพล เจ้าของรางวัลหนังทั้งในและนอกบ้านอย่าง ‘ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ’ (2558), BNK48 : Girls Don’t Cry (2561) และ ‘ฮาวทูทิ้ง.. ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ’ (2562) ที่เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารกับวัยรุ่นด้วยรูปแบบการเล่าเรื่องอันสดใหม่ และเครื่องมือทางการตลาดที่เหนือความคาดหมาย จนกลายเป็นที่ฮือฮาในวงกว้างได้เสมอ

สาขาทัศนศิลป์ : ปรัชญา พิณทอง

ศิลปินชาวอุบลราชธานี ผู้ช่ำชองด้านงานประติมากรรม/ภาพพิมพ์จากศิลปากรและ Städelschule Frankfurt ประเทศเยอรมนี ที่เคยจัดแสดงนิทรรศการทั้งเดี่ยวและกลุ่มมาแล้วในหลายประเทศ อาทิ ฮ่องกง, เกาหลีใต้, ฝรั่งเศส, อังกฤษ ฯลฯ โดยผลงานของเขามักส่องสะท้อนถึงความเป็นไปของสังคม เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ที่ส่งอิทธิพลน้อยใหญ่ต่อผู้คน จนทำให้พวกเขากลายเป็น ‘คนชายขอบ’ อยู่เสมอ

สาขาสถาปัตยกรรม : รศ.ดร. ต้นข้าว ปาณินท์สถาปนิกหญิงเจ้าของปริญญาหลายใบจากสหรัฐอเมริกาและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เป็นลูกสาวของสองผู้อาวุโสแห่งแวดวงศิลปะอย่าง อนันต์ ปาณินท์ และ อรศิริ ปาณินท์ ซึ่ง รศ.ดร. ต้นข้าว เคยมีหนังสือและบทความวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่มากมาย รวมถึงการออกแบบอาคารหลายแห่งในนาม Research Studio Panin ที่เน้นความเรียบง่ายและสอดคล้องกับวิถีชีวิตบ้านเรา

ศิลปินท่านใดที่ได้รับรางวัล ศิลปาธร” พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นคนแรก


สาขาวรรณศิลป์ : วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง

นักเขียนแนวสารคดีจาก จ.กระบี่ ที่เริ่มต้นจากการเป็นกวีนาม ‘เคียวจันทร์ คมแสงไท’ ในปี 2539 เขาจึงมีความโดดเด่นในแง่ของการนำเสนอเนื้อหาผ่านลีลาการใช้ภาษาที่ลุ่มลึก และยิ่งเมื่อประกอบเข้ากับความสนใจในปัญหาสิทธิมนุษยชนและการได้คลุกคลีอยู่กับนิตยสาร ‘สารคดี’ ในฐานะผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร ก็ยิ่งทำให้งานเขียนของเขาสามารถเป็น ‘กระบอกเสียง’ แทนผู้คนตัวเล็กตัวน้อยในประเทศได้อย่างทรงพลัง

สาขาดนตรี : ผศ.ดร. อโณทัย นิติพน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ประจำสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ที่สนใจในการผสมผสานศาสตร์ของดนตรีร่วมสมัยให้เข้ากับองค์ประกอบของวัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งยังริเริ่มจัดโครงการดนตรีสัมพันธ์ในระดับชาติและนานาชาติอีกด้วย โดยมุ่งหวังให้นักดนตรีร่วมสมัยและนักดนตรีพื้นถิ่นของไทย รวมถึงนักดนตรีในแถบอาเซียน ได้มีโอกาสและพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และสุนทรียะระหว่างกัน

สาขาศิลปะการแสดง : สุมณฑา สวนผลรัตน์นักแสดงมากประสบการณ์ที่เคยผ่านทั้งงานละครเวที (‘สู่ฝันอันยิ่งใหญ่’), ภาพยนตร์ (‘ทวารยังหวานอยู่’) และโฆษณามาอย่างโชกโชนกว่า 3 ทศวรรษ โดยเธอยังเป็นเจ้าของรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเวทีชมรมศิลปะการแสดงในปี 2555 จากเรื่อง The Chairs และยังตัดสินใจนำเอาความรู้ด้านการแสดงออกไปช่วยพัฒนาบุคลิกภาพและวิธีคิดแง่บวกให้แก่ผู้คน-โดยเฉพาะผู้ต้องขัง-ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศด้วย

สาขาศิลปะการออกแบบ : กฤษณ์ เย็นสุดใจ

ดีไซเนอร์หัวก้าวหน้าจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงที่นอกจากจะเน้นเรื่องความสวยงามและใช้ได้จริงของงานออกแบบแล้ว เขายังนิยมชมชอบการออกวิจัย 'ผ้าไทย' อันเป็นผลงานพื้นถิ่นของชาวบ้านตามภูมิภาคต่างๆ อีกด้วย เพื่อหาวิธีการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละพื้นที่ ทั้งรายได้ไปจนถึงความรู้สึกภาคภูมิใจในงานฝีมือของตัวเอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ศิลปินท่านใดที่ได้รับรางวัล ศิลปาธร” พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นคนแรก

รางวัลสำหรับคนทำงานด้านศิลปะในบ้านเราที่น่าสนใจอีกรางวัลหนึ่งคือ รางวัลศิลปาธร รางวัลนี้ริเริ่มและก่อตั้งขึ้นโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมศิลปินร่วมสมัยรุ่นกลางซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังทำงาน ให้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่

รางวัลศิลปาธร หรือรางวัลสำหรับผู้ทรงไว้ซึ่งศิลปะ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2547 นับถึงปีนี้ ก็เป็นเวลา 6 ปีแล้ว โดยใน 5 ปีแรกพิจารณามอบรางวัลแก่ศิลปินใน 5 สาขา ได้แก่ สาขาทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง และภาพยนตร์ ต่อมาในปี 2551 ได้เพิ่มรางวัลในสาขาออกแบบเชิงสร้างสรรค์ขึ้นอีก 1 สาขา ซึ่งบางสาขาอาจมีผู้ได้รับรางวัลมากกว่า 1 คนก็ได้

 สำหรับวิธีการสรรหาศิลปินเพื่อรับรางวัลนี้นั้น สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ตั้งกรรมการขึ้น 2 คณะ คือคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ทำหน้าที่ในการคัดเลือกศิลปินร่วมสมัยจำนวนหนึ่ง กับคณะกรรมการตัดสินซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทุกสาขา ทำหน้าที่ร่วมกันพิจารณารายชื่อศิลปินที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมา และตัดสินเพื่อมอบรางวัลศิลปาธรประจำปี ซึ่งในปี 2552 นี้ ได้มีการประกาศผลรางวัลดังนี้ คือ สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายสาครินทร์ เครืออ่อน และ รศ.พัดยศ พุทธเจริญ สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่

 น.ส.อรสม สุทธิสาคร สาขาดนตรี ได้แก่ ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ สาขาภาพยนตร์ ได้แก่ นางพิมพกา โตวีระ สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายชลประคัลภ์ จันทร์เรือง และ สาขาออกแบบสร้างสรรค์ ซึ่งแยกย่อยเป็น 4 แขนง ได้แก่ นายสมชาย จงแสง (มัณฑนศิลป์) ดร.กุลภัทร ยันตรศาสตร์ (สถาปัตยกรรม) นายเอกรัตน์ วงศ์จริต (ออกแบบเฟอร์นิเจอร์) และ นายปริญญา โรจนอารยนนท์ (กราฟฟิกดีไซน์) นอกจากนี้ยังมีรางวัลศิลปาธรกิตติคุณอีก 1 รางวัล ซึ่งได้แก่ นายบรูซ แกสตัน

 รางวัลศิลปาธรมีความแตกต่างจากรางวัลทั่วไป คือไม่ใช่การตัดสินด้วยงานเพียงชิ้นหนึ่งชิ้นเดียว หากแต่เป็นการพิจารณาภาพรวมของผลงานที่ศิลปินผู้นั้นได้ทำมาในช่วงเวลาหนึ่ง ประกอบความคาดหมายถึงความสามารถในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ในช่วงต่อไป

 แม้ว่าศิลปาธรจะเป็นรางวัลที่มีอายุไม่มากนัก และเป็นรางวัลที่ค่อนข้างจะมีความยืดหยุ่น แต่ก็เป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นด้วยเจตนารมณ์อันดีในการเชิดชูศิลปินร่วมสมัยที่มีผลงานโดดเด่น ซึ่งศิลปินแทบทุกคนล้วนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างกว้างขวางในแวดวงศิลปะทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับรางวัลศิลปาธรกิตติคุณนั้น เป็นการพิจารณามอบเพื่อเป็นเกียรติแก่ศิลปินที่ได้สร้างผลงานอันมีคุณูปการต่อวางการศิลปะมายาวนาน ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว คุณสมเถา สุจริตกุล นักเขียนนิยายไซ-ไฟ นักประพันธ์เพลง และวาทยกรผู้มีชื่อเสียงก้องโลก ได้รับรางวัลนี้เป็นคนแรก

 และผมขอแสดงความยินดีกับศิลปินร่วมสมัยที่ได้รับรางวัลศิลปาธรในปีนี้ทุกท่านครับ