ข้อ ใด เป็น ปัญหา สังคมไทย ที่เกิด จาก สังคม โลกาภิวัตน์

ข้อ ใด เป็น ปัญหา สังคมไทย ที่เกิด จาก สังคม โลกาภิวัตน์

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ

​อนาคตของกระแสโลกาภิวัตน์: ความท้าทายจากไวรัสโควิด-19

นางสาวธนันธร มหาพรประจักษ์

ฝ่ายนโยบายการเงิน

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ทั่วโลกต้องออกมาตรการปิดประเทศ ทำให้การส่งออกสินค้าที่ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญในหลายวงการทั้งภาคธุรกิจ และแวดวงวิชาการต่างมองว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะเป็นบททดสอบสำคัญต่อกระแสโลกาภิวัตน์ของเศรษฐกิจโลก (Globalization) รวมถึงห่วงโซ่อุปทานการผลิต (Global supply chain) ที่มีความเชื่อมโยงกันอาจพังทลายลงได้ บางขุนพรหมชวนคิดในวันนี้อยากชวนท่านผู้อ่านทำความเข้าใจกับประเด็นนี้กันค่ะ

การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ หรือ Deglobalization ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ที่เข้ามาในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่เป็นพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมืองที่เริ่มต้นมาระยะหนึ่ง ที่ผ่านมากระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ตลาดการค้าระหว่างประเทศเติบโตมาก เนื่องจากผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากการแบ่งการผลิตระหว่างประเทศ โดยสร้างระบบห่วงโซ่การผลิตที่กระจายอยู่ในหลายประเทศ ซึ่งทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพและมีส่วนช่วยในการเติบโตของธุรกิจ อย่างไรก็ดี กระแสโลกาภิวัตน์ก็ให้เกิดปัญหาด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยประชาชนบางส่วนมองว่ากระแสโลกาภิวัตน์มีส่วนสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำ จากการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า ซึ่งส่งผลเสียต่อแรงงานที่มีรายได้ต่ำในประเทศ ขณะที่เจ้าของกิจการและนักลงทุนกลับได้ประโยชน์จากต้นทุนการผลิตที่ถูกลง โดยเห็นได้ชัดเจนในช่วงปี 2018 ที่ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศสงครามการค้ากับจีนด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าหลายระลอก จนมีส่วนทำให้เกิดการกระจายของฐานการผลิตออกจากจีนในหลายอุตสาหกรรม

"การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   อาจเป็นการเร่งการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น"

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นการตอกย้ำถึงความเสี่ยงของการใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบที่ต้องนำเข้าจากหลายประเทศและการพึ่งพาประเทศจีนเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตสินค้าจำเป็น และอาจเป็นการเร่งการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น รายงานของสำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ฉบับเดือนพฤษภาคม 2563 ประเมินว่า ประเทศต่าง ๆ มีโอกาสลดการพึ่งพาโลกภายนอกและปรับห่วงโซ่การผลิตให้สั้นลงจากไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับความเห็นของสองนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังทั้งคาร์เมน ไรน์ฮาร์ท (Carmen Reinhart) และเคนเนธ รอกอฟฟ์ (Kenneth Rogoff) ที่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่ได้เกิดพร้อมกันในแต่ละพื้นที่ ทำให้ห่วงโซ่การผลิตกลับมาเดินเครื่องพร้อมกันได้ยาก เป็นช็อคต่อระบบการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี และจะส่งผลให้กระแสโลกาภิวัตน์เสื่อมถอยลง ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาคธุรกิจจำเป็นต้องลดความเสี่ยงด้วยการย้ายฐานการผลิตโดยให้ห่วงโซ่การผลิตสั้นลง ลดการพึ่งพาในระยะไกล หันมาพึ่งพาระยะใกล้ในภูมิภาคแทน (Regionalization) และบางส่วนอาจเข้าสู่การปกป้องอุตสาหกรรมตัวเองในลักษณะพี่งพาตัวเองมากขึ้น (Localization) ทั้งการผลิตสินค้าขึ้นเอง รวมถึงเน้นตอบสนองความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก ในช่วงที่ผ่านมาภาคธุรกิจของทั้งไต้หวันและ ญี่ปุ่น จำนวนมากโดยกว่า 500 บริษัท (ข้อมูลจาก Taipei Times) และเกือบ 1,000 บริษัท (ข้อมูลจาก Tokyo Shoko Research) ตามลำดับ มีแผนที่จะกระจายกำลังการผลิตออกจากจีนหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยจะคงไว้เฉพาะโรงงานที่ผลิตสินค้าสำหรับความต้องการในจีนเท่านั้น ขณะที่ฐานการผลิตอื่น ๆ จะกระจายออกมานอกจีนมากขึ้น เช่น อินเดีย อาเซียน ขณะที่ส่วนหนึ่งจะกลับมาลงทุนที่ประเทศตัวเอง นอกจากนี้ ภาครัฐมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายกีดกันทางการค้าและการปกป้องธุรกิจในประเทศที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความเสี่ยงต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน อาทิ ด้านสุขภาพและอาหาร หลายประเทศหันมาใช้นโยบายห้ามการส่งออกหรือมีมาตรการควบคุมต่าง ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน แม้การดำเนินนโยบายนี้จะกระทบต่อพันธมิตรหรือประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม

ไม่ว่าท้ายที่สุดแล้ว การทวนกระแสโลกาภิวัตน์จะมีความเข้มข้นเพียงใด การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ถือว่าเป็นสิ่งท้าทายต่อเศรษฐกิจไทยในการจัดสรรทรัพยากรใหม่ให้สามารถปรับตัวได้ทันท่วงที ทั้งปัจจัยด้านเงินทุน แรงงาน และเครื่องจักร เพราะหากปรับตัวได้ช้าก็ยิ่งมีต้นทุนสูง และส่งผลต่อความสามารถการแข่งขันในระยะยาว รวมถึงเป็น “โอกาส” ด้วยเช่นกันในการทบทวนทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่จำเป็นต้องกระจายการผลิตด้วยการไม่พึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งมากจนเกินไปโดยหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มการกระจายรายได้ให้กับแรงงานไทยเช่นกันค่ะ

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โลกาภิวัตน์ (มักเขียนผิดเป็น โลกาภิวัฒน์) หรือ โลกานุวัตร (อังกฤษ: globalization)[1] คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก

โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้กาเดี่ยระบกากิอิทธิพลร่างเศรษฐกิจ

อ้างอิง[แก้]

  1. โลกาภิวัตน์ จากคำบาลี โลก + อภิวตฺตน ตามรูปศัพท์หมายถึง การแผ่ถึงกันทั่วโลก, การเข้าถึงโลก, การเอาชนะโลก (ดู ศัพท์บัญญัติ globalization) คำที่มีความหมายใกล้เคียง และนิยมใช้แทนกัน คือ โลกานุวัตร (ดู คำอธิบายความหมาย เก็บถาวร 2006-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ตามรูปศัพท์คือ ความประพฤติตามโลก