ข้อใดเรียงลำดับข้อความ แบบ ข้อคิดเห็น ข้อเท็จจริง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ : ๑๓๓) ให้ความหมายข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นไว้ว่า

“ข้อเท็จจริง” หมายถึง ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง

“ข้อคิดเห็น” หมายถึง ความเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้ส่งสารที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหา

อาจกล่าวได้ว่า

ข้อเท็จจริง นั้นต้องสามารถพิสูจน์สนับสนุนยืนยันได้

                ข้อคิดเห็น นั้นไม่สามารถสนับสนุนยืนยันได้

๑.   มีความเป็นไปได้

๒.   มีความสมจริง

๓.   มีหลักฐานเชื่อถือได้

๔.   มีความสมเหตุสมผล

ลักษณะของข้อคิดเห็น

๑.   เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึก

๒.   เป็นข้อความที่แสดงการคาดคะเน

๓.   เป็นข้อความที่แสดงการเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย

๔.   เป็นข้อความที่เป็นเป็นข้อเสนอแนะหรือเป็นความคิดของผู้พูดและผู้เขียนเอง

ตัวอย่างข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง

๑.   กตเวที หมายถึง สนองคุณท่าน (พิสูจน์ได้โดยค้นความหมายจากพจนานุกรมฉบับราช

บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

๒.  ดวงตาเป็นอวัยวะที่ทำให้มองเห็น (พิสูจน์ได้ด้วยหลักวิชาการ)

๓.   ทุกคนหนีไม่พ้นความตาย (พิสูจน์ได้จากประสบการณ์)

ตัวอย่างข้อความที่เป็นข้อคิดเห็น

๑.   การปกครองในระบอบประชาธิปไตยดีทีสุด (ไม่มีข้อวินิจฉัย)

๒.   คนเรียนเก่งย่อมประสบผลสำเร็จในชีวิตเสมอ (ไม่มีข้อยืนยัน)

๓.   การรับประทานแต่ผักไม่น่าจะเป็นผลดีต่อร่างกาย(ไม่มีข้อยืนยัน)

๒.  “ในการทำอะไรลงไปควรทำด้วยปัญญา  อย่าทำไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหา  ถ้าเป็นคนที่ศึกษาก็ศึกษาด้วยรู้สึก ผิดชอบชั่วดี  ว่ามันเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา  ถ้าประกอบการงานก็ต้องมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีว่า    เป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำและทำให้ดีที่สุดด้วยความเยือกเย็น  ถ้าทำด้วยอำนาจปัญญาควบคุมอยู่จะไม่ใจร้อนเลย”  

ใจความสำคัญของข้อความนี้คือข้อใด