เพราะ เหตุ ใด สุขภาพ จิต จึง มี ความ สำคัญ ต่อ มนุษย์

บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะภายนอกและลักษณะภายในทั้งหมดของบุคคล นับตั้งแต่รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง เจตคติ แรงจูงใจ สติปัญญา ความสามารถ ปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ ลักษณะประจำตัวต่างๆ (traits) ความนึกคิด ความรู้สึกที่บุคคลนั้นมีต่อตนเอง ส่วนที่เหลือค้างจากประสบการณ์ บุคลิกภาพ จึงเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล ไมมีใครในโลกที่มีบุคลิกภาพเหมือนกันแม้แต่คู่แฝดจากไข่ใบเดียวกัน

บุคลิกภาพของคนเราจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ
1) โครงสร้างทางชีววิทยาและกรรมพันธุ์
2) สภาพแวดล้อมในพัฒนาการซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เกิดหรือเกิดเลยก็ว่าได้

เพราะ เหตุ ใด สุขภาพ จิต จึง มี ความ สำคัญ ต่อ มนุษย์

สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่เจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ทุพพลภาพ อวัยวะต่างๆ อยู่ในสภาพที่ดีมีความสมบูรณ์แข็งแรงสามารถทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กันทุกส่วนได้เป็นอย่างดีและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานด้วย

สุขภาพจิต หมายถึง ความสามรถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความสามารถของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ และไม่ขัดกับสภาพความเป็นจริงในสังคมที่บุคคลนั้นดำรงชีพอยู่

ความมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้
1. สภาพร่างกายและจิตใจมีการพัฒนาการและเจริญเติบโตได้เหมาะสมกับวัย
2. การทำงานของอวัยวะต่างๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรง และทำงานได้อย่างปกติ
3. บุคคลมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต
นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่กล่าวถึงความเชื่อในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า “ A Sound Mind in a Sound Body”
ซึ่งมีผู้ให้ความหมายว่า “จิตใจที่ดีย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” ถ้าคนเราร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรงดี จิตใจก็จะเป็นสุข สดชื่น แจ่มใส เบิกบาน แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆ จิตใจก็จะหดหู่ ไม่สดชื่นแจ่มใส ดังนั้นคนเราถ้าจิตใจไม่สบายไม่เป็นสุข มีความเครียด มีความวิตกกังวลใจ ก็จะมีผลต่อร่างกาย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย ร่างกายซูบผอม หน้าซีดเซียวเศร้าหมอง นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าร่างกายและจิตใจแยกขาดออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป  สำหรับคำว่า ภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต จะหมายถึงสภาวะที่ร่างกายและจิตใจมีความปกติในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากสุขภาพส่วนใดส่วนหนึ่งมีความบกพร่องหรือมีสภาวะที่ผิดปกติไป ก็ถือว่าเกิดความไม่สมดุลระหว่างสุขภาพทั้งสองด้านขึ้น 

เพราะ เหตุ ใด สุขภาพ จิต จึง มี ความ สำคัญ ต่อ มนุษย์

www.bhumibolhospital.rtaf.mi.th

เพราะ เหตุ ใด สุขภาพ จิต จึง มี ความ สำคัญ ต่อ มนุษย์

คำว่าสุขภาพจิต (MENTAL HEALTH) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ความสามารถของบุคคลที่จะปรับปรุงตัวให้มีความสุขเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่นและสามารถดำรงชีวิตของตนเองอยู่ได้โดยไม่เสียความสมดุล ทำให้มีความสุข ความสบายใจ รวมทั้งสามารถ สนองความต้องการของตนเองในสังคมของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ใด้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นภายในจิตใจแต่อย่างใด ทั้งนี้คำว่าสุขภาพจิตมิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่ความปราศจากโรคทางจิตและโรคทางประสาทเท่านั้น”

สรุปแล้วสุขภาพจิตก็คือสภาพความสมบูรณ์ของร่างกายทางด้านจิตใจนั้นเอง

ความสำคัญของสุขภาพจิต

สุขภาพจิต มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เนื่องจากถ้าบุคคลใดก็ตามมีภาวะความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจก็จะส่งผลถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1. ประกอบกิจการการงานต่าง ๆได้ด้วยดี

2. ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เป็นกำลังสำคัญในด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ เนื่องจากถ้ามีผู้ป่วยทางจิตมากทำให้รัฐต้องสูญเสียกำลังคนในการพัฒนาชาติ

4. ประหยัดงบประมาณให้กับประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิต

ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี

บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีจะแสดงพฤติกรรมให้ปรากฏ ดังนี้

1. มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

1.1 ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ เช่น กลัว วิตกกังวล โกรธ เกลียด อิจฉาริษยา และรู้สึกผิด

1.2 มีความเชื่อมั่นตนเองสามารถแก้ปัญหาและต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ ได้

1.3 ไม่ดูถูกตนเองหรือตำหนิตนเอง

1.4 สามารถทนต่อความผิดหวังได้

2. มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น

2.1 รู้จักรักและให้ความสนใจผู้อื่นด้วยความจริงใจ

2.2 มองโลกในแง่ดีเสมอ

2.3 มองเห็นความหวังดีของผู้อื่น

2.4 อยากเป็นมิตรกับบุคคลทั่วใป

2.5 เห็นอกเห็นใจบุคคลอื่นไม่เอารัดเอาเปรียบ

3. สามารถเผชิญกับปัญหาในชีวิตได้

3.1 สามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้

3.2 มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

3.3 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งของตนเองและสังคม

3.4 ตัดสินใจทำอะไรได้ด้วยตนเอง

3.5 มีความพอใจในงานที่ทำ

3.6 มีความมานะพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จ

การส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้หลักการปรับตัว

ความหมายของการปรับตัว

การปรับตัว หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อสนองความ

ต้องการของตนเองเพื่อลดความตึงเครียดทางจิตใจ

หลักการปรับตัว

การปรับตัวนั้นจะสามารถปรับในที่ต่าง ๆ ได้หลายสถานที่ ดัง

ต่อไปนี้

1. การปรับตัวในครอบครัว

1.1 ต้องทำความช่วยเหลือเข้าใจถึงความรู้สึกต่าง ๆ ที่พ่อแม่ มีต่อเรา เช่น ความรัก ความห่วงใย จึงต้องดูแลช่วยเหลือพ่อแม่บ้างตามเวลาและโอกาสที่อำนวย ช่วยเหลือการงานบ้านตามสมควร

1.2 ต้องเข้าใจสถานะทางการเงินของทางบ้าน รู้จักคุณค่าของเงิน ไม่ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย รู้จักการประหยัดและออม

1.3 ต้องเข้าใจหน้าที่ของตนเองในปัจจุบัน คือ การศึกษาเล่าเรียน โดยตั้งใจศึกษาเล่าเรียน สนใจต่อการเรียนอย่างสม่ำเสมอ

2. การปรับตัวในโรงเรียนหรือวิทยาลัย

2.1 คบเพื่อนที่ดี แล้วเพื่อนที่ดี ๆ นั้นจะมีส่วนช่วยให้เราประสบความ สำเร็จในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการศึกษา

2.2 ปรับปรุงในเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับครูอาจารย์ เพื่อน ๆ และพี่น้องร่วมสถานศึกษา ซึ่งบางคนอาจช่วยแก้ไขความทุกข์ใจ เราได้

2.3 ปรับปรุงด้านบุคลิกภาพของตนเอง เช่น แก้ไขความขี้อาย ความ เป็นคนโมโหหรือโกรธง่าย รู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พอใจ บางครั้งต้องรู้จักคำว่า การเป็นผู้แพ้ รู้จักอดทน

2.4 เพิ่มสมรรถภาพในการเรียน ด้วยการขยันดูหนังสือให้มากขึ้น รวมทั้งการเข้าห้องสมุดเพื่อศึกษาหาข้อมูลเพื่มเติม

การสร้างมนุษยสัมพันธ์และการใช้จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การอยู่ร่วมกันของผู้ที่มีจิตใจสูงที่จะติดต่อสัมพันธ์ กัน ซึ่งมีวิธีการสร้างดังต่อไปนี้

1. การรู้จัททักทายกับบุคคลโดยทั่วไปตามกาลเทศะ เช่น ถ้าทักทายผู้ใหญ่ ก็ต้องใช้วิธีไหว้ หรือถ้าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันจะใช้วิธียิ้มก็ได้

2. เรียกชื่อคนให้ถูกต้องและเรียกอย่างมีมารยาทโดยใช้สรรพนามนำหน้า ให้ถูกกาลเทศะและพยายามจำชื่อคนให้แม่นยำ

3. ประพฤตตนด้วยความสุภาพเรียบร้อย มีอัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อบุคคลทั่วไป แสดงความเป็นกันเองไม่ถือตัว ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลาหลีก เลี่ยงการทะเลาะวิวาทกับบุคคลอื่น

4. สร้างความมีเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นผลทำให้มนุษย์ในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

5. พูดและทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ โดยจะพูดและทำอะไรก็ตามต้องนึกถึงใจคนอื่น คือ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

6. ยอมรับฟังความคิดของบุคคลอย่างมีเหตุผล แล้วนำมาประกอบความ คิดของตนเองในการกระทำงานต่าง ๆ

7. ให้บริการการช่วยเหลือบุคคลอื่น ๆ อยู่เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส

8. รู้จักการให้เกียรติบุคคลอื่น ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นผู้อื่นในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะ เป็นด้านความคิดหรือบุคลิกภาพ

การใช้จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

คนเราทุกคนต่างต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่ในโลกด้วยความสุข ซึ่งการจะใช้ ชีวิตได้อย่างมีความสุขได้นั้นต้องรู้จักการปรับตนเองและการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ วิธีการนี้ส่วนหนึ่งจะกระทำได้โดยการใช้จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีหลักการปฎิบ้ตดัติ ดังนี้

1. การลดความเครียดทางอารมณ์

การดำเนินชีวิตของคนเรานั้น มักจะประสบกับสภาวะทางอารมณ์ที่มีทั้งดีและไม่ดี เมื่อมีอารมณ์ที่ไม่ดีบ่อยย่อมทำให้เกิดความเครียด ดังนั้น วิธีแก้ไขจึงทำได้โดยการหลีกเลี่ยงเรื่องต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจ การระบายเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจให้คนอื่นฟังบ้าง เป็นต้น

2. พยายามหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ทุก ๆ วันมนุษย์เราต้องทำงานซึ่งจะเป็นผลทำให้ร่างกายเกิดอาการ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ดังนั้น จึงควรพักผ่อนร่างกายของเราด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เล่น กีฬา ทำงานอดิเรก พักผ่อนในสวนสาธารณะ เป็นต้น

3. ปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง

ก่อนที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ เราควรปรับปรุงตัวเราเองในด้านบุคลิกภาพให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะได้เป็นที่ยอมรับนับถือไว้วางใจจากบุคคลอื่น เช่น การปรับปรุงในเรื่องการแต่งกาย การพูด การมอง ท่าทาง ตลอดจนกระทั่งสุขภาพ

4. การรู้จักผูกมิตรกับบุคคลทั่วไป

เพื่อนหรือมิตรสหายจะมีส่วนช่วยให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงควรเลือกคบเพื่อนหรือผูกมิตรด้วยความเข้าอกเข้าใจกัน รู้จักการเอาใจเข้ามาใส่ใจเรา จะทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

การใช้บริการสุขภาพจิต

บริการสุขภาพจิต คือ การส่งเสริมสุขภาพจิตของมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ ตลอดจนถึงการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย จิตเวช ด้วยการบริการสุขภาพจิตประกอบด้วย

1. บริการส่งเสริมสุขภาพจิต ได้แก่ การให้ข้อมูลความรู้สุขภาพจิตทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตให้รู้จักดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร เอกสารเผยแพร่ความรู้สุขภาพจิตแก่ผู้สนใจโดยทั่วไป

2. บริการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้มี ปัญหาสุขภาพจิตในระยะเบื้องต้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาสุขภาพ จิตในระดับรุนแรง รวมทั้งการให้ข้อมูลความรู้สุขภาพจิตเกี่ยวกับการปรับตัว การแก้ไขปัญหาการลดความเครียด รวมทั้งการแนะนำสถานบริการ

3. บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ การตรวจวินิจฉัยผู้ที่สงสัยว่ามีปัญหาทางจิตใจหรีอมีความเจ็บป่วยทางจิตเวช และการบำบัดรักษา โดยวิธีการรักษาทางยา จิตบำบัดเฉพาะราย จิตบำบัดกลุ่ม การรักษาด้วยช็อตไฟฟ้า อาชีวบำบัดและกิจกรรมบำบัด

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช ให้กลับคืนสู่สภาพปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการกลับคืนสู่สภาพปกติคือการกลับไปดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

เมื่อใดที่ควรจะไปใช้บริการสุขภาพจิต

บุคคลที่ควรจะไปรับบริการสุขภาพจิต ได้แก่ บุคคลประเภทต่อไปนี้

1. บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต

ผู้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง และปัญหานั้นอาจกลายเป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตเวช อาจขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือไปขอรับ บริการจากสถานบริการ

2.  บุคคลที่มีความเจ็บป่วยทางจิต (ผู้ป่วยจิตเวช) ได้แก่

1. ผู้ป่วยกลุ่มโรคประสาท

2. ผู้ป่วยกลุ่มโรคจิต

ในการพิจารณาว่าเมื่อใดที่ควรจะไปใช้บริการสุขภาพจัดนั้น ให้พิจารณาจาก อาการและความรุนแรงของปัญหา โดยเฉพาะหากมีอาการรุนแรง จนอาจเป็นอันตราย ต่อตนเองต่อผู้อื่นหรือต่อความสงบสุขของชุมชน ควรจะรีบนำผู้ป่วยไปรับบริการบำบัดรักษาโดยเร่งด่วน นอกจากนี้ในกรณีที่สงสัยว่าบุคคลมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เด็กปัสสาวะรดที่นอน ก้าวร้าว ทารุณสัตว์ ควรปรึกษาแพทย์

ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนไปโรงพยาบาล

1. ถ้าผู้ป่วยเอะอะอาละวาด คลุ้มคลั่ง ขอร้องเพื่อนบ้านให้ช่วยหรือแจ้งผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องถิ่น

2. ถ้าผู้ป่วยตอบคำถามไม่ได้ให้มีญาติหรือผู้ใกล้ชิดไปด้วย

3. ถ้าเป็นผู้ป่วยเก่าซึ่งเคยรับการรักษาจากสถานบริการนั้น ให้นำบัตร ประจำตัวผู้ป่วยไปด้วย

4. ถ้าผู้ป่วยกำลังอยู่ระหว่างรักษาตัวจากสถานบริการ์อื่น ๆ ควรนำยาที่ ใช้ไปด้วย

5. ควรนำเอาเอกสารสำคัญ ได้แก่ บัตรประชาชน บัตรสุขภาพ และ เอกสารสิทธต่าง ๆ ที่สามารถขอรับการยกเว้นหรือลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลไปด้วย

6. ตรวจสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น แปรงสีฟัน หวี หรือผ้าเช็ดตัว พร้อมเงินจำนวนเล็กน้อย ฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ผู้ป่วยจะได้ใช้เมื่ออาการเจ็บป่วยทุเลาแล้ว กรณีโรงพยาบาลรับไว้เป็นผู้ป่วยในหรือญาติคาดว่าจะเป็นเช่นนั้น