2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

เมื่อป่วยเป็นโรคไต ประสิทธิภาพการทำงานของไตก็จะลดลง ส่งผลให้การควบคุมการขับของเสียออกจากร่างกายแย่ไปด้วย ดังนั้นผู้ป่วยที่ไตเริ่มเสื่อม และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ต้องดูแลตัวเองให้ดีไม่แพ้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องคุมความเสี่ยงและโรคร่วมซึ่งมีผลกับไต ระวังการใช้ยาและสมุนไพรที่เป็นผลเสียต่อไต รวมไปถึงการลดเค็มในอาหารที่รับประทานที่เป็นเรื่องต้องใส่ใจให้มาก เนื่องจากเกลือที่แฝงมากับอาหารในปริมาณที่สูงมากจะก่อให้เกิดโรคไตและทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอยู่แล้วแย่ลงได้

การชะลอความเสื่อมของไต

หลักการที่สำคัญของการรักษาโรคไตเรื้อรัง คือ การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงร่วมกับการรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไตไม่ทำให้ไตเสื่อมลงเร็วกว่าปกติ และยืดระยะเวลาที่จะเข้าสู่ภาวะโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายให้นานที่สุด ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกระยะล้วนได้ประโยชน์จากการรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมไต ไม่ว่าจะเป็นระยะแรกซึ่งเนื้อเยื่อไตยังไม่ได้รับความเสียหายมากนักและการทำงานไตโดยรวมยังผิดปกติไม่มาก จนถึงระยะ 3-4 ขึ้นไปซึ่งการทำงานไตเสื่อมไปมากแล้วก็ตาม การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต มีดังนี้

  1. การควบคุมโรคร่วมต่างๆ ให้อยู่ในภาวะปกติ และควรรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เช่น ความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมความดันโลหิตไม่เกิน 130/80 mmHg (หรืออาจให้ความดันตัวบนน้อยกว่า 120 mmHg ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ) หรือ โรคเบาหวาน คุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วง 70-110 mg/dL หรือน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HBA1c) น้อยกว่า 6.5-7.0 ถ้าเป็นโรคเก๊าท์ พยายามอย่าให้โรคกำเริบ รักษาระดับกรดยูริกในเลือดให้ปกติ เป็นต้น
  2. การควบคุมอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคไตจะไม่เหมือนกับคนทั่วไป จะต้องมีการควบคุมปริมาณโปรตีนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และป้องกันสภาวะขาดสารอาหาร แต่ก็ไม่มากจนเกินไปจนทำให้ไตทำงานหนักจากการขับของเสียจากการเผาผลาญโปรตีนที่มากเกินไป ส่วนใหญ่มักต้องเริ่มมีการจำกัดโปรตีนเมื่อไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 4 ขึ้นไป นอกจากนี้ยังต้องควบคุมให้ปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมอยู่ในระดับปกติ เพื่อควบคุมอาการบวม ความดันโลหิตสูง ป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารไขมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ ไขมันจากกะทิ เนย น้ำมันมะพร้าว ผลิตภัณฑ์นมเนยมาการีน และไข่แดง เป็นต้น รวมทั้งอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชต่างๆ ปูม้า ปลาซาดีน ปลาไส้ตัน น้ำอัดลม โยเกิร์ต ช็อคโกแลต ชา กาแฟ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เนยแข็ง และนม นอกจากนี้ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์
  3. การใช้ยาและสมุนไพรบางชนิด ยาบางชนิดหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดผลเสียต่อไตได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไตทำงานเสื่อมมากแล้ว และควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง เช่น
    • ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง ส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของสมุนไพร หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมของโพแทสเซียม ซึ่งจะมีปัญหาได้ในผู้ป่วยโรคไตที่มีโอกาสเกิดการคั่งของเกลือแร่โพแทสเซียมง่าย
    • ยาแก้ปวดลดอักเสบ โดยเฉพาะกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่เรียกกันว่า NSAIDs มีผลทำให้ไตเสื่อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้
    • ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่เหล่านี้จนเป็นพิษต่อร่างกาย
    • ยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ยาที่ต้องละลายน้ำ หรือวิตามินอื่นๆ เช่น ยาแอสไพรินชนิดเม็ดฟู่ วิตามินที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้รับประทาน อาจทำให้ร่างกายมีภาวะโซเดียม น้ำ และเกลือแร่เกินในร่างกาย
    • อาหารเสริมต่างๆ ยาจีน ยาแผนโบราณ และสมุนไพรต่างๆ อาจมีส่วนประกอบของเกลือแร่บาง หรือสารเคมีซึ่งทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้จนเกิดอันตรายต่อไต
      
      
      ทั้งนี้ญาติ ผู้ดูแล และผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งถึงรายการยา รวมทั้งวิตามิน อาหารเสริม สมุนไพร ที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบัน
  4. การงดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้น ส่งผลต่อระบบหลอดเลือดทั้งร่างกายรวมทั้งที่ไต ผู้ป่วยโรคไตจึงควรงดการสูบบุหรี่
  5. การออกกำลังกาย ผู้เป็นโรคไตสามารถออกกำลังกายได้ ตามความเหมาะสมแต่ต้องไม่รุนแรง และไม่เหนื่อยจนเกินไป เช่น การออกกำลังกายในร่ม การเดิน ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน ซึ่งควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ โดยค่อยๆเพิ่มเวลาจนสามารถออกกำลังกายได้ประมาณ30-60 นาที ต่อวัน รวมอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ และ และปรับความเข้มข้นของการออกกำลังกายเป็นแบบหนักปานกลาง (moderate intensity exercise) ขึ้นไป เช่น วิ่งเร็วพอประมาณ รู้สึกเหนื่อย แต่ยังพอพูดเป็นประโยคสั้นๆได้

การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่บำบัดทดแทนไต

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่อยู่ในระยะที่ 3 ถึงระยะที่ 5 รวมถึงผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดและผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไตที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ถือเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังนี้

ตามลักษณะอาการและตำแหน่งที่มีปัญหา อย่างเช่น กรวยไตอักเสบ ไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน เนื้อเยื่อไตอักเสบ และนิ่วในไต เป็นต้น

แต่ถ้าพูดถึงอาการโรคไต จะมีกลุ่มอาการ 2 ชนิดที่พบมากที่สุด ได้แก่ ไตวายเฉียบพลัน และไตวายเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการไตวายเรื้อรังนั้น ทางการแพทย์ถือว่าเป็นฆาตรกรเงียบเลยทีเดียว เนื่องจากโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการในช่วงแรกเริ่ม แต่จะเริ่มมีอาการเมื่อตอนที่ไตเสียหายไปพอสมควรแล้ว

2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

สารบัญ

รู้จักอาการโรคไตที่พบบ่อย

เนื่องด้วยสาเหตุที่เป็นโรคไตมีหลายชนิด อาการโรคไตของผู้ป่วยแต่ละคน จึงมีลักษณะแตกต่างกัน ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงกลุ่มอาการ 2 ชนิดที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคไตวายเฉียบพลัน และ โรคไตวายเรื้อรัง

2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

  • โรคไตวายเฉียบพลัน คือ ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น เกิดภาวะช็อกจากการเสียน้ำหรือเลือดเป็นจำนวนมาก การติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง หรือได้รับสารพิษหรือผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงตั้งแต่เริ่มแรกทั้งๆที่ไตยังไม่เสื่อม เช่น ผู้ป่วยจะมีอาการบวม ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ ตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดโลหิตแดง และโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะด้วย และหากตรวจวัดความดันโลหิตจะพบว่ามีความดันโลหิตสูงผิดปกติ อาการผิดปกติเหล่านี้จะแสดงออกมาให้เห็นในระยะแรกๆ ตั้งแต่เริ่มเป็น ภาวะไตวายเฉียบพลันมีอันตรายถึงชีวิตได้ แต่หากมาพบแพทย์และรักษาอย่างทันท่วงที เนื้อไตและการทำงานของไตก็อาจสามารถกลับฟื้นคืนเป็นปกติได้เช่นกัน

2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

  • โรคไตวายเรื้อรัง คือ เนื้อไตจะถูกทำลายไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาแรมเดือน แรมปี เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เช่น โรคไตที่เกิดจากเบาหวาน โรคไตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง โรคไตที่เกิดจากเกาท์ ฯลฯ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็นเลยโดยผู้ป่วยจะมีความเป็นอยู่ ดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติทุกอย่างเป็นเวลาหลายๆ ปี ระหว่างนี้ถ้าผู้ป่วยมาตรวจร่างกาย แพทย์ก็อาจจะไม่พบความผิดปกติใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นถ้าตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดเลือดแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะด้วย จนในที่สุดการทำงานของไตเหลือเพียงร้อยละ 25 หรือหนึ่งในสี่ของปกติ จะเริ่มมีอาการโรคไตแสดงออกมาให้เห็นบ้าง และถ้าการทำงานของไตเสื่อมลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ของปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกมาชัดเจนทุกราย

อาการโรคไต และผลกระทบต่อระบบต่างๆ

2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

อาการต่างๆ ที่สังเกตได้ ว่าไตของเรากำลังมีปัญหา เพราะเมื่อไตทำงานได้ไม่ปกติ ร่างกายขับของเสียได้ไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และท้ายที่สุดหากการทำงานของไตเหลือเพียงร้อยละ 25 ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการต่างๆให้พอสังเกตได้ ดังนี้

2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

  • สภาพทั่วๆไป ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง อิดโรย เหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย หรือผู้ป่วยโรคไตบางรายอาจจะซูบผอมเนื่องจากน้ำหนักที่ลดลง ในทางตรงกันข้ามโรคไตบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยตัวบวม ขาบวมร่วมกับมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระบบผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีผิวหนังซีด แห้งคัน มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นง่าย ผิวหนังแตกแห้ง เป็นแผลแล้ว หายช้า หรือผู้ป่วยบางรายจะมีผิวหนังตกสะเก็ดดำคล้ำกว่าปกติ
  • ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้ สะอึก ปวดท้อง ท้องเดิน เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เป็นแผลในกระเพาะและลำไส้
  • ระบบหัวใจและการหายใจ ถ้าไตทำงานได้น้อยลงจนขับปัสสาวะและเกลือแร่ไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทำให้หัวใจทำงานไม่ไหว และมีอาการเหนื่อยง่าย นอนราบแล้วหายใจลำบาก ความดันโลหิตสูง หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาจเกิดภาวะน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ น้ำคั่งในปอด ปอดบวม ทำให้หายใจไม่ออก ไอเป็นเลือด
  • ด้านระบบประสาท สมองและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการปลายประสาทเสื่อม ทำให้มือเท้าชา ปวดหลังบริเวณบั้นเอว กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ขาดสมาธิ สมองเสื่อม ไม่สามารถคิดและจดจำได้เหมือนปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีในที่สุดอาจมีอาการชัก หมดสติ หรือเสียใจชีวิตได้
  • ระบบกระดูก เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ในการสังเคราะห์วิตามินดี มีผลทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดภาวะกระดูกพรุน แตกหักง่าย ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคไตวายจะหยุดเจริญเติบโตและแคระแกร็น
  • ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไตวายระยะเริ่มแรก ในตอนกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยและมีสีจาง จนที่สุดเมื่อการทำงานของไตเสื่อมลงหรือไตวาย ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกน้อยมาก
  • ระบบโลหิต ผู้ป่วยทุกรายเมื่อไตเสื่อมลง เข้าภาวะโรคไตวายระยะสุดท้าย จะผลิตฮอร์โมนไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ทำให้โลหิตจาง ผู้ป่วยทุกรายเมื่อไตเสื่อมลง จะมีอาการซีด และมีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกง่าย เลือดไหลไม่หยุด และมีจ้ำเลือดขึ้นตามตัวได้ง่าย
  • ระบบภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้ง่าย
  • ระบบฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกายผู้ป่วยโรคไตวาย มักจะมีการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนเกือบทุกชนิด ทั้งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง จากต่อมไธรอยด์ จากต่อมพาราไธรอยด์ จากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนจากรังไข่เพศหญิง ทำให้ประจำเดือนผิดปกติ หรือฮอร์โมนจากลูกอัณฑะในเพศชาย ทำให้เป็นหมันและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

การวินิจฉัย รู้ทันอาการโรคไต

2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

เมื่อเราสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้ว เกิดความกังวลใจว่าอาการเหล่านี้อาจจะเกี่ยวข้องกับโรตไตหรือไม่นั้น ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ตรวจปัสสาวะ ถ้ามีภาวะผิดปกติของไต ปัสสาวะจะมีโปรตีนและเม็ดเลือดแดงปนมากับปัสสาวะ
  • ตรวจเลือด ถ้ามีภาวะผิดปกติของไต ปริมาณไนโตรเจน กรดยูริก (Blood Nitrogen Urea, BUN) และ ครีเอตินิน (Creatinine, Cr) ที่เป็นของเสียจากกล้ามเนื้อจะตกค้างในเลือดสูงกว่าปกติ และนำผลเลือดที่ได้นี้มาใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate) ในลำดับต่อไป
  • การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และ การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT scan) ถ้ามีความผิดปกติของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนร่วมกับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

2024 ทำไม คนเป นโรคไตถ งห ามก นผ กส เข ยว

สรุป

โรคไตในแต่ละประเภทนั้น อาการของผู้ป่วยอาจจะมีลักษณะแตกต่างกัน ตามโรคไตในแต่ละประเภท โดยอาการโรคไตวายเรื้อรังค่อนข้างจะซ่อนเร้น ค่อยๆ กำเริบมากขึ้นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีอาการ บางครั้งแฝงมากับโรคอื่นอย่างลับๆ บางครั้งตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือด จึงทำให้ผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไต เมื่อมีอาการก็มักจะมาพบแพทย์ซึ่งสายเกินไปเสียแล้วเพราะไตของผู้ป่วยเสียมากจนเกินความสามารถที่แพทย์จะรักษาให้หายเป็นปกติได้

ดังนั้นเมื่อเรารู้ถึงลักษณะอาการของโรคไตตั้งแต่เนิ่นๆ หมั่นคอยสังเกตอาการ และพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง