กระด กห กช วงตาต มจะกล บมาเด นได ปกต ม ย

ประเด็นของ "ผีน้อย" หรือคนไทยที่ไปทำงานในเกาหลีใต้อย่างผิดกฎหมายกลับเข้ามาสู่ความสนใจของคนไทยอีกครั้ง เมื่อสื่อของเกาหลีใต้นำเสนอเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่ากระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้ ที่รับผิดชอบกิจการคนเข้าเมือง เสนอให้รัฐบาลยกเลิกมิให้คนไทยเข้าเมืองโดยไม่ต้องทำวีซ่า เนื่องจากต้องการแก้ไขปัญหาคนไทยหลบหนีเข้าเมืองไปทำงานเป็นจำนวนมาก

แม้ว่ารัฐบาลเกาหลีใต้จะปัดข้อเสนอจากกระทรวงยุติธรรมให้ตกไป แต่เหล่า "ผีน้อย" บอกว่าเริ่มมีการจับกุมคนเข้าเมืองมากขึ้น และบริษัทที่พวกเขาทำงานก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย

จากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศของไทย ปัจจุบันมีคนไทยทำงานอยู่ในเกาหลีใต้อย่างผิดกฎหมายมากกว่า 100,000 คนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนสูงสุดเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในขณะที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของเกาหลีระบุว่าจำนวนคนไทยที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเพิ่มอย่างมาก ตัวเลขเดือนพฤษภาคมปีนี้สูงกว่าปีที่แล้วถึง 57% ทำให้ต้องมีมาตรการแก้ไขอย่างเข้มข้น

การประชุมวันที่ 21 มิถุนายน ระหว่างสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ กระทรวงยุติธรรม กับ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกระทรวงแรงงานของไทย ในประเทศไทย เพื่อหามาตรการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาคนไทยที่เข้าเกาหลีใต้โดยผิดกฎหมาย รวมทั้งอยู่เกินกำหนด

บีบีซีไทยได้พูดคุยกับแรงงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลีใต้สองรายเกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายที่เข้มข้นมากขึ้นของทางการเกาหลีใต้ และชีวิตของพวกเขาในฐานะ "ผีน้อย"

ตกงานเมื่ออายุมาก

กระด กห กช วงตาต มจะกล บมาเด นได ปกต ม ย

คำบรรยายภาพ,

ธงทิวถ่ายภาพเซลฟี่ตัวเองในที่ทำงานแห่งหนึ่งของเขาในเกาหลีใต้

ธงทิว (ไม่ใช่ชื่อจริง) หนุ่มวัย 40 กว่าจากภาคเหนือของประเทศ เขียนเล่าด้วยลายมือส่งให้กับบีบีซีไทยผ่านแอปฯ แชทถึงประสบการณ์สาหัสในเกาหลีใต้ที่เขาอยู่มา 4 ปีแล้ว

"ผมเรียนจบมาทาง ปวส.เหมืองแร่ มาตกงานตอนอายุเกือบ 40 ปี งานมีน้อย คนมีเยอะ ไอ้ที่รับก็จำกัดอายุไม่ใช่เฉพาะงานเหมืองแร่" เมื่อได้งานใหม่ "เงินเดือนก็น้อย ไม่พอใช้หนี้ ลำพังเงินเดือน 15,000 บาท ไม่พอใช้มีแต่ติดลบไปเรื่อย ๆ หมดหนทางทุกอย่าง คิดแม้กระทั่งหาวิธีฆ่าตัวตายยังไงที่จะได้เงินประกันสูงสุด" เพื่อให้ภรรยาและลูกไม่ต้องลำบากเรื่องการเงิน

จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้ยินโฆษณาทางวิทยุของบริษัทส่งคนไปทำงานต่างประเทศ เขาจึงติดต่อไป ธงทิวต้องจ่ายค่าใช้จ่าย อย่างเช่น ค่าเอกสารการเดินทางและเข้าเมือง ฯลฯ ให้กับบริษัทนายหน้าหางานแห่งนั้นทั้งหมด 150,000 บาท

"ฟังเหมือนจะหรู แต่เหมือนกับเขาหลอกไปทำงาน" ธงทิวเล่า เพราะทางบริษัทให้ทำเป็นนักท่องเที่ยวเข้าไป

กระด กห กช วงตาต มจะกล บมาเด นได ปกต ม ย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

พาสปอร์ตของผู้อพยพชาวเยเมนที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในเกาะเจจูได้ การที่เกาหลีใต้กลายเป็นเป้าหมายของทั้งผู้อพยพและคนเข้าเมืองมาทำงานในระยะหลัง ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านขึ้น และบางหน่วยงานของรัฐบาลต้องการจะแก้ไขปํญหานี้

ธงทิวเดินทางไปเกาหลีใต้ช่วงกลางเดือนกันยายน 2557 อันเป็นช่วงเดียวกับที่เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ทำให้เขาสามารถผ่านเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไปได้ง่าย ๆ

ในช่วง 4 ปีกว่าที่อยู่ในเกาหลีใต้ เขาเปลี่ยนงานถึง 7 ครั้ง เพราะถูกนายจ้างโกง เอาเปรียบ หรือแม้แต่ทำงานหนักมากเกินไป แต่ได้เงินเดือนน้อยไม่พอที่จะส่งกลับบ้าน ธงทิวบอกด้วยว่าการทำงานหนักในเดือนแรกทำให้น้ำหนักเขาลดไป 10 กิโลกรัม

"ที่แรก งานสร้างฟาร์มไก่ไฮเทค เงินเดือน 1.4 ล้านวอน แต่ถูกหักค่าที่นอน เสื้อ กางเกาง เสื้อกันหนาว เหลือจ่ายมาแค่ 1,000,000 วอน (ราว 30,000 บาท) ส่งกลับบ้าน 800,000 วอน (24,000 บาท)" ทำให้เขาต้องหนีจากนายจ้างเมื่อทำงานไปไม่กี่เดือน เขาโชคดีที่ได้เจอนายหน้าคนไทยที่เคยแต่งงานกับชาวเกาหลีที่ตลาดแห่งหนึ่งช่วยหางานให้

งานที่สองเป็นงานรับจ้างรายวัน ให้รื้อโครงเหล็ก โดยนายจ้างให้วันละ 70,000 วอนหรือมากกว่า 2,000 บาทนิดหน่อย ทำได้ไป 15 วัน จ่ายจริงแค่ 5 วันแรก วันที่เหลือไม่จ่ายและไล่เขาออกจากที่พัก ทำให้เขาต้องกลับไปหานายหน้าคนเดิมให้ช่วยหางานให้อีกครั้ง

เขาย้ายงานอีกห้าครั้ง และเปลี่ยนนายหน้าไปเป็นคนอื่น จนได้มาทำงานกับบริษัทที่พาคนงานไปทำงานตามโรงงานต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง การที่เขาสามารถย้ายงานได้หลายครั้งก็น่าจะเป็นเพราะเกาหลีใต้มีความต้องการแรงงานอย่างมาก นอกจากไทยแล้ว ธงทิวก็ยังได้พบกับแรงงานชาติผิดกฎหมายชาติต่าง ๆ มากที่สุดก็จะเป็นคนจีน รองลงมาเป็นอุซเบกิสถาน รัสเซีย มองโกเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย คาซัคสถาน และอียิปต์

กระด กห กช วงตาต มจะกล บมาเด นได ปกต ม ย

คำบรรยายภาพ,

สภาพภายในโรงงานแห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ที่เขาทำงานได้เข้าไปทำงาน

"แล้วแต่นายจ้างจะพาไป ทำหลายอย่างมาก ตั้งแต่โรงงานเม็ดพลาสติก แพ็คผ้าอนามัย เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง แปรรูปอาหาร ทำกิมจิ ไส้กรอก ได้เงิน 75,000 วอน /8 ชั่วโมงต่อวัน แรก ๆ ก็ไม่ได้ทำงานเต็มเดือนเพราะมีคนงานจำนวนมาก"

ปัจจุบัน ธงทิวทำงานได้วันละ 100,000 -120,000 วอน (3,000-3,600 บาท) เพราะอยู่กะกลางคืนจะได้มากขึ้น แต่ก็ต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามเขาก็พอใจมาก เพราะสามารถส่งกลับบ้านได้เกือบ 90,000 บาทต่อเดือน

"ผมคิดจะกลับไทยตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ แต่เมื่อมาอยู่งานที่ 7 ก็ผ่อนคลายลงไปมาก" ธงทิวเขียนเล่า แต่ก็ส่งข้อความตามมาด้วยว่า "ช่วงนี้ข่าว ตม. กับผีน้อยเยอะ....มีโรงงานหลายที่ไม่โอนเงินค่าแรงให้ออฟฟิศของผม ทำให้หลายคนเดือนนี้ยังไม่ได้เงิน รวมทั้งผมด้วย ไม่รู้ว่าเขาติดขัดหรือโดนทางการเพ่งเล็ง หรืออะไรอีกมากมายที่คนที่ยังไม่ได้เงิน คิดวิตก เดากันไปต่าง ๆ นานา....ผมก็เตรียมใจไว้ว่าถ้ามันไม่ได้เกิน 2 เดือน คงต้องกลับบ้านแน่ครับ"

พนักงานนวดแผนไทย

กระด กห กช วงตาต มจะกล บมาเด นได ปกต ม ย

คำบรรยายภาพ,

เกดยังอยู่ในช่วงสามเดือนที่ทางการเกาหลีใต้อนุญาตให้อยู่ในประเทศได้

เกด บอกกับบีบีซีไทยในการสนทนาผ่านแอปฯ แชทว่า เธอเดินทางมาเกาหลีใต้เกือบ 2 เดือนแล้ว และยังไม่ตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อหลังครบ 3 เดือนหรือไม่

"ใจหนูก็ยังอยากอยู่ต่อนะ อยากหาเงินส่งให้พ่อกับแม่ พ่อกับแม่เป็นหนี้อยู่ 4-5 แสนบาทที่หนูอยากจะช่วยใช้ให้หมด แต่ก็กลัวถูกจับ ตอนนี้เขาไล่จับกันทุกวัน" เกดเล่า

ก่อนหน้าที่จะมาเกาหลีใต้ หญิงสาววัย 26 ปีทำงานเป็นผู้ช่วยทันตแพทย์อยู่ในกรุงเทพ ฯ แต่เมื่อจับได้ว่าสามีไปมีคนรักใหม่ เกดก็พาลูกชายวัย 4 ขวบกลับไปอยู่กับแม่ที่จังหวัดบ้านเกิดในภาคอีสาน และก็พบว่าคนในหมู่บ้านเดียวกันหลายคนไปทำงานต่างประเทศ และส่งเงินกลับบ้านมาเดือนละไม่น้อย

ถ้าเป็นผู้หญิงก็มักจะไปเป็นพนักงานในร้านนวดไทยในประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น ดูไบ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ

เกดจึงไปลงทะเบียนเรียนนวดไทยในโรงเรียนที่ตัวจังหวัด ซึ่งทำให้เธอได้พบกับจันทร์ ที่เคยไปทำงานที่เกาหลีใต้มาแล้ว จันทร์กลับมาเรียนนวดเพื่อเอาใบรับรองและวางแผนที่จะกลับไปใหม่ เธอชวนเกดไปทำงานด้วยโดยติดต่อให้นายจ้างเดิมที่เป็นผู้หญิงไทยมีสามีเป็นชาวเกาหลีรับเข้าทำงาน ซึ่งนายจ้างก็ส่งตั๋วเครื่องบินมาให้ โดยตกลงกันไว้ว่านายจ้างจะหักค่าเครื่องบิน 45,000 บาทต่อคนจากค่าจ้างในสองสามเดือนแรก

นอกจากนี้เกดยังได้รับเอกสารโปรแกรมท่องเที่ยวพร้อมที่พัก และยังได้ซักซ้อมว่าถ้าถูกเจ้าหน้าที่คนเข้าเมืองเกาหลีใต้ถามเมื่อไปถึงจะต้องตอบว่าอย่างไรบ้างเพื่อให้สามารถเข้าเมืองได้

กระด กห กช วงตาต มจะกล บมาเด นได ปกต ม ย

ที่มาของภาพ, STR/AFP/GettyImages

คำบรรยายภาพ,

นวดแผนไทยได้รับความนิยมในต่างประเทศอย่างมาก

ถึงวันเดินทางเกดกับจันทร์พบกับผู้หญิงอีกสามคนที่จะเข้าไปทำงานแบบเดียวกัน ทุกคนทำท่าเหมือนเป็นนักท่องเที่ยว แต่เมื่อไปถึง ผู้หญิง 2 คนถูกสุ่มตรวจและถูกส่งกลับในทันที

"หนูกลัวมากว่าจะถูกสุ่มถาม แต่เขาก็ไม่ถามเลย ตรวจเอกสารเสร็จก็โบกมือให้เข้าไปได้" เกดบอก

จากนั้นทั้งสองก็โทรศัพท์ให้นายจ้างมารับ แต่ได้คำตอบว่ามาไม่ได้ ให้นั่งแท็กซี่ไปบ้านของนายจ้างที่อยู่อีกเมืองหนึ่งนอกกรุงโซลเมืองหลวง

เมื่อไปถึง ทั้งสองคนก็รู้สึกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เพราะมีแต่สามีของนายจ้างอยู่ และชายคนนั้นบอกว่าจะทดสอบฝีมือนวดของเธอทั้งสองก่อนที่จะให้ไปทำงานที่ร้าน แล้วเขาก็โทรหาคนบางคน ซึ่งจันทร์ที่พอฟังภาษาเกาหลีออกบอกว่าเขาชวนคนที่ปลายสายให้มาที่บ้านเพื่อทดสอบการนวด

ทั้งสองเริ่มกลัวและเมื่อเจ้าของบ้านเผลอ ก็รีบขนกระเป๋าหนีออกมาจากบ้าน เดินไปตามถนนอยู่นาน จนได้พบผู้หญิงชาวเกาหลีคนหนึ่งกลางทาง ก็จึงขอความช่วยเหลือโดยใช้แอปฯ แปลภาษาในโทรศัพท์มือถือ หญิงคนนั้นพาพวกเธอไปพบตำรวจ เกดบอกตำรวจว่าเป็นนักท่องเที่ยว หลงทางเพราะแท็กซี่มาส่งผิดที่ และแสดงเอกสารโปรแกรมท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ได้มาจากนายจ้างประกอบ

กระด กห กช วงตาต มจะกล บมาเด นได ปกต ม ย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศยอดนิยมที่คนไทยหลั่งไหลเข้าไปมากขึ้น ในระยะหลังก็เกิดกรณี "โดดวีซ่า" เพิ่มขึ้นอย่างมาก

"เขาคงเห็นว่าพวกหนูเพิ่งมาถึงเกาหลีใต้วันแรก จึงได้ไม่ได้ถามอะไรมาก หนูก็ขอให้เขาเรียกแท็กซี่ให้มาส่งในเมือง" และญาติของจันทร์ที่แต่งงานกับคนเกาหลีมารับให้ไปอยู่ที่บ้านของเขาก่อน"

ในระหว่างที่อยู่ที่บ้านนี้ ทั้งสองคนก็พยายามจะหางานทำ แต่ก็พบว่าไม่มีร้านนวดอยากรับเธอเข้าทำงาน เพราะภรรยาของเจ้าของร้านที่ติดต่อมากล่าวหาในไลน์กลุ่มของร้านนวดไทยในเกาหลีว่าพวกเธอ "โดดแท็ก" หรือไม่ยอมไปทำงานใช้เงินค่าเครื่องบินตามสัญญา

"หางานไม่ได้เลย ไม่มีใครอยากจ้างพวกเรา" เกดบอก พวกเธอสองคนพยายามเปิดเว็บไซต์รับสมัครงานในเมืองดังกล่าว จนได้งานทำความสะอาดร้านนวดอบซาวน่าแห่งหนึ่ง

"งานหนักมาก หนูเหนื่อยมาก ได้เงินนิดเดียว ทำอยู่ได้ห้าวันก็ต้องเลิกทำ"

จันทร์พยายามติดต่อเพื่อนคนอื่น ๆ เพื่อสอบถามเรื่องงานในที่สุดก็ได้รับคำแนะนำให้ไปสมัครงานกับร้านนวดไทยที่มีผู้หญิงเกาหลีเป็นเจ้าของ และในที่สุดก็ได้งานทำ

"พวกเราเรียกเจ้าของว่ามาดามค่ะ เขาเป็นคนใจดีมาก เขาให้หนูกับพี่ไปประจำที่ร้านนวดของเขาสองแห่งในอีกเมืองใกล้กับทะเล เขาให้เงินเดือนเดือนละ 1.5 ล้านวอน" เกดเล่า

กระด กห กช วงตาต มจะกล บมาเด นได ปกต ม ย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

กรุงโซลในยามค่ำคืน การประกาศกฎหมายใหม่ควบคุมชั่วโมงทำงานของชาวเกาหลีใต้เพื่อทำให้ไม่ต้องทำงานหนักมาก แต่แรงงานต่างประเทศที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายไม่ได้รับการคุ้มครองด้วย

ทางที่ทำงานมีหอพักให้เธออยู่ โดยจะได้รับเงิน 20,000 วอนเป็นค่าอาหาร ซึ่งเกดบอกว่าต้องรวมเงินกับคนอื่น ๆ แล้วไปซื้ออาหารสดมาทำอาหาร เพราะว่าสินค้าต่าง ๆ ในเกาหลีนั้นแพงมาก

"ตั้งแต่มา หนูร้องไห้ทุกวัน คิดถึงพ่อแม่ คิดถึงลูกมาก แต่ก็ได้คุยกันทางไลน์เกือบทุกวัน มันลำบากมากจริง ๆ แต่หนูก็ต้องอดทน" เกดเล่าในการสนทนาผ่านโปรแกรมไลน์

"ตั้งแต่ได้งานร้านนวดทำก็ส่งเงินไปให้แม่แล้ว 80,000 บาท 30,000 ก่อนหน้านี้ และวันนี้อีก 50,000 บาท ภูมิใจมากเลย"

เมื่อบีบีซีไทยถามว่าไม่กลัวตำรวจจับหรืออย่างไร เธอก็บอกว่าตอนนี้ถ้าไปข้างนอก เธอไม่กลัวเพราะว่ายังไม่ครบ 3 เดือนตามการผ่อนผันวีซ่า จะกลัวตอนที่ไปทำงานเพราะถ้าตำรวจเข้ามาในที่ทำงานก็จะถูกจับทันที และช่วงนี้เธอได้พบเห็นการไล่จับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายแทบทุกวัน

"มาดามเขาก็ถามว่าจะอยู่ต่อไหม หนูยังไม่ได้ตัดสินใจ แม่ก็บอกว่าถ้ากลับมาแล้วมันจะไปอีกยาก"

ส่วนคำถามที่ว่าไม่อยากจะไปทำงานต่างประเทศโดยไปถูกต้องตามกฎหมายหรืออย่างไร

"หนูก็อยากไปนะ อยากไปทำงานนวดที่ดูไบ หรือที่ยุโรป แต่ว่ามันต้องมีเงินทุนก่อน เพราะต้องใช้เงินเป็นแสนทำเอกสารและอื่น ๆ อีกหลายอย่าง หนูต้องเก็บเงินให้พอก่อน" เกดกล่าวในที่สุด