การบร การของอ เล กทรอน กส ของธนาคารไทยพาณ ชย ม อะไรบ าง

กิจการของธนาคารเริ่มต้นขึ้นในนาม บุคคลัภย์ (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ก่อตั้งโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เนื่องจากขณะนั้นทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็นต้องมีระบบการเงินธนาคารเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ หลังจากบุคคลัภย์ขยายตัวทางธุรกิจขึ้นเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานอำนาจพิเศษให้จัดตั้ง บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการตั้งแต่แต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449

ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี 2560 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2560

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ[แก้]

  • พ.ศ. 2449 - ธนาคารฯ เปิดทำการในที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
  • พ.ศ. 2453 - ธนาคารฯ ย้ายสำนักงานไปยังอาคารตลาดน้อย ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร
  • พ.ศ. 2455 - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2463 - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ในส่วนภูมิภาค คือ สาขาทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็นอาคารคลังพัสดุ ในย่านสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม
  • พ.ศ. 2470 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สอง คือ สาขาเชียงใหม่ ข้างโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ซึ่งอยู่หน้าสถานีรถไฟเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม
  • พ.ศ. 2473 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สาม คือ สาขาลำปาง จังหวัดลำปาง นับเป็นสาขาภูมิภาคที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงให้บริการในที่ทำการเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2476 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสาขาเชียงใหม่เข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2482 - ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาไทยจาก "แบงก์สยามกัมมาจล" เป็น "ธนาคารไทยพาณิชย์" และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก "The Siam Commercial Bank, Limited" เป็น "The Thai Commercial Bank, Limited" ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม เป็นต้นไป
  • พ.ศ. 2485 - ธนาคารฯ แต่งตั้งนายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ชาวไทยคนแรก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
  • พ.ศ. 2486 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สี่ คือสาขานครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้บริการพ่อค้าประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พ.ศ. 2489 - ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ กลับมาเป็น "The Siam Commercial Bank, Limited"
  • พ.ศ. 2505 - ธนาคารฯ เริ่มใช้เครื่องลงบัญชีเดินสะพัด โพสต์-โทรนิก ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่นับว่าทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2514 - ธนาคารฯ ได้เปิดอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ถนนเพชรบุรี (ปัจจุบันปรับฐานะเป็นสาขาชิดลม และได้ยกอาคารดังกล่าวไปให้เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จากนั้นจึงได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารหลังใหม่ติดกับหลังเดิม ซึ่งเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2525)
  • พ.ศ. 2516 - ธนาคารฯ เริ่มรับพนักงานสตรีเข้าปฏิบัติงานเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2525 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการฝากและถอนต่างสาขากับบัญชีเงินฝากครบทุกประเภท เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2526 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการเงินด่วนด้วยเครื่องเอทีเอ็มเป็นครั้งแรก และแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ของปีดังกล่าว
  • พ.ศ. 2531 - ธนาคารฯ มีปริมาณสินทรัพย์รวม 103,298.1 ล้านบาท เมื่อถึงสิ้นปีดังกล่าว
  • พ.ศ. 2532–2535 - ธนาคารฯ ได้รับรางวัล "ธนาคารแห่งปี" (Bank of the Year) จากนิตยสารการเงินธนาคาร เป็นเวลา 4 ปีซ้อน ในฐานะที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทย ที่มีผลงานโดดเด่นอย่างรอบด้าน รวมทั้งการขยายตัวของธนาคารฯ และการเตรียมพร้อมรองรับความเจริญในอนาคต
  • พ.ศ. 2536 - ธนาคารฯ เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)" และชื่อภาษาอังกฤษว่า "Siam Commercial Bank Public Company Limited"
  • พ.ศ. 2539 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่จากถนนเพชรบุรีไปยังอาคารเอสซีบีพาร์กพลาซาบนถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม เป็นต้นไป
  • พ.ศ. 2541–2542 - สืบเนื่องจากวิกฤตทางการเงินในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ส่งผลต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่ซบเซาลงอย่างหนักและการดำเนินมาตรการที่เข้มงวดตามกรอบนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารฯ จึงต้องรับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นับเป็นยุควิกฤตของธนาคารฯ เนื่องจากมีปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทางธนาคารฯ จึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ด้วยความพยายามรักษาระดับของเงินกองทุนให้เพียงพอ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารฯ ตลอดจนตัดทอนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ร่วมกับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวด้วยการเพิ่มทุน ซึ่งล้วนแต่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทั้งการเสนอขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ลงทุนในต่างประเทศ และการออกหุ้นกู้ซึ่งถือเป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยวารสารการเงินหลายฉบับกล่าวว่าเป็นข้อตกลงที่ควรพิจารณาแห่งปีของเอเชีย ซึ่งมาตรการทั้งหมดนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานของธนาคารฯ เป็นอย่างดียิ่ง
  • พ.ศ. 2549 - ธนาคารฯ มีปริมาณสินทรัพย์เป็นอันดับที่สาม มูลค่าเกินหนึ่งล้านล้านบาท โดยมีมูลค่าตลาดรวม เพิ่มสูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ตลอดจนมีจำนวนสาขา และเครื่องเอทีเอ็มทั่วประเทศ มากที่สุดในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2553 - ธนาคารฯ ปรับปรุงอัตลักษณ์และตราของธนาคาร ให้มีความเรียบง่ายและทันสมัยมากขึ้น และเปิดดำเนินกิจการจนครบหนึ่งพันสาขา โดยสาขาที่ 1,000 ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดที่ทำการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ของปีดังกล่าว
  • พ.ศ. 2555 - บริษัท เงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ได้โอนบรรดากิจการทั้งหมดไปเป็นส่วนหนึ่งของธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีดังกล่าว
  • พ.ศ. 2558 - ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ เขตจตุจักร เกิดเพลิงไหม้ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ได้แก่ นาย เดชา ด้วงชนะ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเขตหลักสี่
  • พ.ศ. 2560 - ธนาคารฯ เปิดตัว แอปพลิเคชัน SCB Easy เวอร์ชันปรับปรุงใหม่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงอินเตอร์เฟซให้สวยงามทันสมัย และเพิ่มการทำธุรกรรมกดเงินไม่ใช้บัตรผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2561 - ธนาคารฯ ประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมการฝาก ถอน โอน เติม จ่าย ที่ดำเนินการทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม เป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2564 - ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศโอนกิจการธนาคาร และกิจการในเครือทั้งหมดให้ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งแปรสภาพมาจาก บริษัท ไทยพาณิชย์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2565 - ธนาคารเริ่มดำเนินการแลกหุ้นเข้าสู่ บมจ.เอสซีบี เอกซ์ ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มธุรกิจไทยพาณิชย์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน หลังจากนั้น เอสซีบี เอกซ์ จะเป็นผู้ถือหุ้นของธนาคารทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การถอนหุ้นธนาคารออกจากตลาดหลักทรัพย์ และให้ซื้อขายหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งแทน โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์เดิมของธนาคาร คือ SCB คาดว่าการดำเนินการจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม

บริษัทในเครือ[แก้]

  • CardX
  • InnovestX
  • SCB Asset Management
  • SCB Protect
  • SCB Julius Baer
  • SCB Plus
  • TokenX

กรรมการและผู้บริหารระดับสูง[แก้]

  • วิชิต สุรพงษ์ชัย, ประธานกรรมการ บมจ. เอสซีบี เอกซ์
  • อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์, นายกกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์
  • อาทิตย์ นันทวิทยา, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอสซีบี เอกซ์
  • กฤษณ์ จันทโนทก, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารไทยพาณิชย์

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

  • ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น 1 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 793,832,359 23.38% 2 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 392,649,100 11.56% 3 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 392,649,100 11.56% 4 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 346,262,309 10.20% 5 สำนักงานประกันสังคม 109,198,100 3.22% 6 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 93,227,355 2.75% 7 STATE STREET EUROPE LIMITED 71,172,784 2.10% 8 THE BANK OF NEW YORK MELLON 50,975,962 1.50% 9 NORTRUST NOMINEES LTD-CL AC 43,297,693 1.28% 10 GIC PRIVATE LIMITED 41,617,900 1.23%

รางวัล[แก้]

ปี รางวัล สาขา ผล 2566 Thailand Zocial Awards 2023 Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจธนาคาร ชนะ

อ้างอิง[แก้]

  • ↑ งบการเงิน/ผลประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • อันดับเครดิต เก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • ประวัติธนาคารไทยพาณิชย์ เก็บถาวร 2015-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์ของธนาคารฯ
  • ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2560
  • "สมเด็จพระเทพฯ"โปรดร้านหนังสือ การโอนและรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เก็บถาวร 2015-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์ของธนาคารฯ

Call Center ไทยพาณิชย์เปิด 24 ชั่วโมงไหม

เพิ่มความอุ่นใจและอำนวยความสะดวกให้กับท่านด้วยบริการ Personal Service ที่พร้อมดูแลท่านตลอด 24 ชั่วโมง เพียงติดต่อ SCB FIRST Service Center โทร. 02-777-7788.

Swift Code ไทยพาณิชย์เลขอะไร

ชื่อธนาคารและที่อยู่ของธนาคาร รหัส SWIFT Code ของธนาคารไทยพาณิชย์ คือ SICOTHBK. เตรียมเอกสารยืนยันตัวตนที่ยังไม่หมดอายุ เตรียมเอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์การรับเงินโอนตามเกณฑ์ของ ธปท. กรณีรับโอนเงินจากต่างประเทศมากกว่าหรือเท่ากับ 50,000 USD.

เบอร์027776770คือเบอร์อะไร

SCB Thailand. @scb_thailand. จากการตรวจสอบข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ 027776770 เป็นในส่วนของหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงาน Operation กรณีที่พบว่ามีเอกสารตีกลับ เพื่อยืนยันที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร หรือกรณีที่ลูกค้ามีเบอร์โทรศัพท์ซ้ำกับลูกค้าท่านอื่นค่ะ

027777777เป็นเบอร์ของอะไร

SCB Thailand. @scb_thailand. ท่านสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 027777777 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ