การเป นภ ม ภาคท ม การพ ฒนาทางเศรษฐก จท เท ยม

คําว่า การพัฒนา ใช้ในภาษาอังกฤษว่า Development นํามาใช้เป็นคําเฉพาะและใช้ ประกอบคําอื่นก็ได้ เช่น การพัฒนาประเทศ การพัฒนาชนบท การพัฒนาเมือง และการพัฒนา ข้าราชการ เป็นต้น การพัฒนาจึงถูกนําไปใช้กันโดยทั่วไปและมีความหมายแตกต่างกันออกไป ดังกล่าวแล้ว เกี่ยวกับความหมายของการพัฒนานั ้นได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมายทั ้ง ความหมายที่คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกัน ซึ่งอาจจําแนกออกได้ดังนี ้

ความหมายจากรูปศัพท์ โดยรูปศัพท์ การพัฒนา มาจากคําภาษาอังกฤษว่า Development แปลว่าการ เปลี่ยนแปลงที่ละเล็กละน้อย โดยผ่านลําดับขั ้นตอนต่างๆ ไปสู่ระดับที่สามารถขยายตัว ขึ ้น เติบโตขึ ้น มีการปรับปรุงให้ดีขึ ้น และเหมาะสมกว่าเดิมหรืออาจก้าวหน้าไปถึงขั ้นที่อุดม สมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจ (ปกรณ์ ปรียากร. 2538, หน้า 5) ส่วนความหมายจากรูปศัพท์ใน ภาษาไทยนั ้น หมายถึง การทําความเจริญ การเปลี่ยนแปลงในทางที่เจริญขึ ้น การคลี่คลายไป ในทางที่ดี ถ้าเป็นกริยา ใช้คําว่า พัฒนา หมายความว่า ทําให้เจริญ คือ ทําให้เติบโตได้ งอก งาม ทําให้งอกงามและมากขึ ้น เช่น เจริญทางไมตรี (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2538, หน้า 238)

การพัฒนา โดยความหมายจากรูปศัพท์จึงหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิด

ความเจริญเติบโตงอกงามและดีขึ ้นจนเป็นที่พึงพอใจ ความหมายดังกล่าวนี ้ เป็นที่มาของ

ความหมายในภาษาไทยและเป็นแนวทางในการกําหนดความหมายอื่นๆ (สนธยา พล

ศรี. 2547, หน้า 2)

ความหมายโดยทั่วไป

การพัฒนา ที่เข้าใจโดยทั่วไป มีความหมายใกล้เคียงกับความหมายจากรูปศัพท์

คือ หมายถึง การทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งที่ดีกว่าเดิมอย่างเป็น

ระบบ หรือการทําให้ดีขึ ้นกว่าสภาพเดิมที่เป็นอยู่อย่างเป็นระบบ (ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. 2526,

หน้า 1) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบทางด้านคุณภาพระหว่างสภาพการณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน

ช่วงเวลาที่ต่างกัน กล่าวคือ ถ้าในปัจจุบันสภาพการณ์ของสิ่งนั ้นดีกว่า สมบูรณ์กว่าก็แสดงว่า

เป็นการพัฒนา (ปกรณ์ ปรียากร. 2538, หน้า 5)

การพัฒนา ในความหมายโดยทั่วไปจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิด

คุณภาพดีขึ ้นกว่าเดิม ความหมายนี ้ นับว่าเป็นความหมายที่รู้จักกันโดยทั่วไป เพราะนํามาใช้

มากกว่าความหมายอื่นๆ แม้ว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการก็ตาม (สนธยา พลศรี.

2547, หน้า 2)

ความหมายทางเศรษฐศาสตร์

นักเศรษฐศาสตร์ได้ให้ความหมายของ การพัฒนา ว่า หมายถึง ความเจริญเติบโต โดย

เน้นความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสําคัญ เช่น ผลผลิตรวมของประเทศเพิ่มขึ ้น รายได้

ประชาชาติเพิ่มขึ ้น รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคนของประชากรเพิ่มขึ ้น (ณัฐพล ขันธไชย. 2527,

หน้า 2) มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ ้น ประชากรมีรายได้เพียงพอที่สามารถตอบสนอง

ความต้องการพื ้นฐานของตนได้ (เสถียร เชยประทับ. 2528, หน้า 9) ซึ่งอาจสรุปได้ว่า การ

พัฒนาเป็นกระบวนการทางสังคม ที่ผลผลิตออกมาในรูปซึ่งสามารถวัดได้ด้วยเกณฑ์ทาง

เศรษฐศาสตร์ (สุนทรี โคมิน. 2522, หน้า 37)

จะเห็นได้ว่า นักเศรษฐศาสตร์ได้กําหนดความหมายของการพัฒนา โดยใช้ความหมาย

จากรูปศัพท์และความหมายโดยทั่วไป คือ หมายถึง ความเจริญเติบโต แต่เป็นความเจริญเติบโต

ทางเศรษฐกิจ ตามเนื ้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการเน้นความหมายเชิงปริมาณ คือ การ

เพิ่มขึ ้น หรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าด้านอื่นๆ (สนธยา พลศรี. 2547, หน้า 2-3)

ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (The United National Educational, Scientific and cultural Organization : NESCO. 1982, p, อ้างถึงในอัจฉรา โพธิยานนท์. (2539, หน้า 11) สรุปได้ว่า การพัฒนาเป็นหน้าที่ (Function) ของการวางแผนและการจัดการ ดังนี ้ D = f (P+M) เมื่อ D = Development คือ การพัฒนา P = Planning คือ การวางแผน M = Management คือ การบริหารงานหรือการจัดการ ดังนั ้น การพัฒนา จะเกิดขึ ้นได้ด้วยการวางแผนที่ดี มีการบริหารงานและการจัดการ อย่างเป็นระบบ ทําให้การดําเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การพัฒนา ในความหมายของนักวางแผน จะเป็นไปอีกแนวทางหนึ่ง โดยอาจสรุปได้ ว่า หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ ้นจากการเตรียมการของมนุษย์ไว้ล่วงหน้า ในลักษณะของ แผนและโครงการ แล้วบริหารหรือจัดการให้เป็นไปตามแผนและโครงการจนประสบความสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์และเป้ าหมายที่วางไว้ จะเห็นได้ว่าความหมายของการพัฒนาทางการวางแผน กําหนดให้การพัฒนาเป็นกิจกรรมของมนุษย์และเกิดขึ ้นจากการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเท่านั ้น การ เปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เกิดจากการวางแผนโดยมนุษย์ ไม่ใช่การพัฒนาในความหมายนี ้ (สนธยา พล ศรี. 2547, หน้า 4)

ความหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติ ในขั ้นของการปฏิบัติ การพัฒนา หมายถึง การชักชวนหรือการกระตุ้นให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงโดยการปฏิบัติตามแผนและโครงการอย่างจริงจังและเป็นลําดับขั ้นตอนต่อเนื่องกันใน ลักษณะที่เป็นวงจร ไม่มีการสิ ้นสุด (นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ และพูนศิริ วัจนะภูมิ. 2534, หน้า 13) การพัฒนา ในความหมายของการปฏิบัติการนี ้เป็นความหมายต่อเนื่องจากความหมาย ทางการวางแผนโดยมุ่งเน้นถึงการนําแผนและโครงการไปดําเนินการอย่างจริงจังและอย่าง ต่อเนื่อง เพราะถึงจะมีแผนและโครงการแล้วแต่ถ้าหากไม่มีการนําไปปฏิบัติการพัฒนาก็ไม่ สามารถเกิดขึ ้นได้ (สนธยา พลศรี. 2547, หน้า 4)

ความหมายทางพระพุทธศาสนา

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต, 2530, หน้า 16-18) ได้ให้ความหมายและอธิบายไว้

ว่า ในทางพุทธศาสนา การพัฒนา มาจากคําภาษาบาลีว่า วัฒนะ แปลว่า เจริญ แบ่งออกได้

เป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาคน เรียกว่า ภาวนา กับการพัฒนาสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่คน เช่น วัตถุ

สิ่งแวดล้อมต่างๆ เรียกว่า พัฒนา หรือ วัฒนา เช่น การสร้างถนน บ่อนํ ้า อ่างเก็บนํ ้า เป็น

ต้น ซึ่งเป็นเรื่องของการเพิ่มพูนขยาย ทําให้มากหรือทําให้เติบโตขึ ้นทางวัตถุและได้เสนอข้อคิดไว้

ว่า คําว่า การพัฒนา หรือ คําว่า เจริญ นั ้นไม่ได้แปลว่าทําให้มากขึ ้น เพิ่มพูนขึ ้นอย่างเดียว

เท่านั ้น แต่มีความหมายว่า ตัดหรือทิ ้ง เช่น เจริญพระเกศา คือตัดผม มีความหมายว่า รก เช่น นุสิ

ยา โลกวฑฺฒโน แปลว่า อย่าเป็นคนรกโลกอีกด้วย ดังนั ้น การพัฒนาจึงเป็นสิ่งที่ทําแล้วมีความ

เจริญจริงๆ คือ ต้องไม่เกิดปัญหาติดตามมาหรือไม่เสื่อมลงกว่าเดิม ถ้าเกิดปัญหาหรือเสื่อม

ลง ไม่ใช่เป็นการพัฒนา แต่เป็นหายนะ ซึ่งตรงกันข้ามกับการพัฒนา

กล่าวได้ว่า การพัฒนา ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การพัฒนาคนให้มีความสุขมี

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การพัฒนาในความหมายนี ้ มีลักษณะเดียวกันกับการพัฒนาใน

ความหมายทางด้านการวางแผน คือ เป็นเรื่องของมนุษย์เท่านั ้น แตกต่างกันเพียงการวางแผนให้

ความสําคัญที่วิธีการดําเนินงาน ส่วนพุทธศาสนามุ่งเน้นผลที่เกิดขึ ้น คือ ความสุขของมนุษย์

เท่านั ้น (สนธยา พลศรี. 2547, หน้า 4)

ความหมายทางสังคมวิทยา

นักสังคมวิทยาได้ให้ความหมายของ การพัฒนา ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ

สังคม ซึ่งได้แก่ คน กลุ่มคน การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคม ด้วยการจัดสรรทรัพยากร

ของสังคมอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ (ฑิตยา สุวรรณชฏ. 2527, หน้า 354) การพัฒนา

เป็นทั ้งเป้ าหมายและกระบวนการที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนต่อชีวิตและการ

ทํางาน การเปลี่ยนแปลงสถาบันต่างๆ ทางสังคม วัฒนธรรมและการเมืองอีกด้วย (Streeten. 1972, p. 3) นักสังคมวิทยาได้ให้ความหมายของ การพัฒนา โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ สังคม คือ มนุษย์ กลุ่มทางสังคม การจัดระเบียบทางสังคม ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับ ความหมายในทางพุทธศาสนา คือ การเปลี่ยนแปลงมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มีความสุข และมี ลักษณะเช่นเดียวกับความหมายทางการวางแผน คือ ด้วยวิธีการจัดสรรทรัพยากรของสังคมอย่าง

ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ส่วนใหญ่เน้นการนําเอาแบบจําลองความทันสมัยเป็นองค์ความรู้สําคัญ

ในการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศ

แนวคิดการพัฒนาตามแบบจําลองความทันสมัยนี ้เน้นการพัฒนาที่ต้องดําเนินไปพร้อมๆ

กันในมิติต่างๆ ทั ้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและระบบการเมือง กล่าวคือ

ด้านเศรษฐกิจ

จะเน้นที่การพัฒนาประเทศให้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุน

สนับสนุนด้านการสร้างความพร้อมในเรื่องสาธารณูปโภคและกิจกรรมเพื่อการผลิตในระบบ

เศรษฐกิจสมัยใหม่ ให้ความสําคัญกับการลงทุนจากต่างประเทศโดยเชื่อว่าการสะสมทุนจะทําให้

เกิดการลงทุนสูงขึ ้น การยกระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศและผลักดันให้เกิดการเติบโตทาง

เศรษฐกิจ (growth) จะส่งผลดีให้ประเทศชาติสามารถยกระดับการพัฒนาประเทศไปสู่ภาวะ ประเทศที่มั่นคงได้ต่อไป นักเศรษฐศาสตร์ชื่อ รอสโทว์ (Walt W. Rostow : 1960) ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อ แนวคิดการพัฒนาโดยการอธิบายให้เห็นวิวัฒนาการของสังคมตามลําดับขั ้นของความเจริญทาง เศรษฐกิจ โดยอาศัยการวิเคราะห์ในแง่ประวัติศาสตร์และทฤษฎีทางเศรษฐกิจเป็นกรอบความคิด เขาเสนอว่าประเทศต่างๆ ต้องผ่านขั ้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสังคม 5 ขั ้นตอน กล่าวคือ (วิภาวี พิจิตบันดาล, 2535) ขั ้นแรกเรียกว่าสังคมโบราณ (The traditional society) ลักษณะการดํารงของผู้คนมี ลักษณะเป็นสังคมดั ้งเดิม กล่าวคือ ความเป็นอยู่มีลักษณะการพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตร ซึ่ง เป็นผลผลิตที่พึ่งพาสภาพธรรมชาติความเป็นอยู่ของผู้คนอาศัยแรงงานในครัวเรือน การซื ้อขาย แลกเปลี่ยนมีอยู่ในขอบเขตที่จํากัด ในสังคมโบราณชีวิตความเป็นอยู่มีความผันผวนขึ ้นอยู่กับ สภาพความแปรปรวนทางธรรมชาติ โรคระบาดและการสงครามที่มีอย่างต่อเนื่อง ชีวิตของผู้คนจึง เชื่อในเรื่องชะตาเป็นสําคัญ ผู้ที่มีอํานาจการปกครองมักเป็นเจ้าของที่ดิน และมีอิทธิพลในการ กําหนดภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ขั ้นที่สองเรียกว่าการเตรียมเพื่อทะยานขึ ้น (The pre-conditions for take-off society) ลักษณะของเศรษฐกิจในสังคมที่อยู่ในขั ้นตอนนี ้จะพบว่า ประชาชนเริ่มตระหนักในความต้องการ ของตนเองที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตไปสู่วิถีชีวิตที่เชื่อว่าดีกว่า เริ่มมีการเตรียมการเพื่อให้สังคมมีการ พัฒนา การขยายตัวด้านโครงสร้างขั ้นพื ้นฐานที่มีประสิทธิภาพ เกิดการผลิตผลผลิตทางการเกษตร อย่างรวดเร็ว มีการขยายตัวด้านการศึกษา ในสังคมเกิดนักคิดและกลุ่มผู้อุทิศตัวในสังคมที่ พยายามผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ ้นในประเทศ

ขั ้นที่สามเรียกว่าการทะยานขึ ้น (Take-off) ในขั ้นนี ้เป็นขั ้นที่มีความสําคัญที่สุดต่อการ พัฒนาในระยะต่อไปและในบางประเทศขั ้นตอนนี ้นับเป็นขั ้นตอนที่กินเวลามากที่สุด คุณลักษณะ สําคัญที่แสดงให้เห็นว่าสังคมได้ก้าวเข้าสู่ขั ้นตอนนี ้คือการพิจารณาจากการลงทุนและการออมของ ชาติซึ่งจะเพิ่มจากร้อยละ 5 ไปสู่ร้อยละ 10 หรือมากกว่า อันเป็นผลจากความก้าวหน้าด้านอุตสหา กรรม ธุรกิจภาคที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่นับเป็นส่วนสร้างรายได้สําคัญให้กับประเทศ ตามแนวคิด ของรอสโทว์แล้ว การค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับเป็นองค์ประกอบสําคัญที่ช่วยเร่งให้ อัตราการเติบโตให้กับประเทศกําลังพัฒนา แต่ไม่มีผลมากนักสําหรับประเทศด้อยพัฒนา ในช่วง เวลานี ้จะเกิดสถาบันทางการเมืองและสังคมเพื่อสนับสนุนและรองรับการขยายตัวของธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่จะเกิดขึ ้นสืบเนื่องจากการผลิตอย่างมาก ขั ้นที่สี่เรียกว่าการเร่งรัดเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตเต็มที่ (The drive to maturity stage) ในขั ้นตอนนี ้ระบบเศรษฐกิจจะประสบความสําเร็จมีการนําความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยี เครื่องจักรกลต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตและการบริการต่าง ๆ มีการผลิตสินค้าทดแทนสินค้า ที่เคยนําเข้า นอกจากนั ้นความสามารถในการผลิตที่สูงขึ ้นทําให้ผลผลิตเพิ่มขึ ้นในอัตราที่สูงกว่า อัตราการเติบโตของประชากร ขั ้นที่ห้าการบริโภคขนานใหญ่หรือนักเศรษศาสตร์บางท่านเรียกขั ้นนี ้ว่าขั ้นอุดมโภคา (The mass-consumption society) ในขั ้นตอนนี ้การผลิตมุ่งเน้นที่สินค้าและบริการประเภทคงทนและ ถาวร (durable consumers’ goods), เป็นต้นว่า รถยนต์ วิทยุ โทรทัศน์ อุปกรณ์อํานวยความ สะดวกประเภทต่างๆ เช่นเครื่องซักผ้า, เครื่องดูดฝุ่น, เครื่องปรับอากาศ แนวคิดนี ้ได้รับการตอบสนองนําไปใช้เป็นกรอบในกระบวนการสร้างความทันสมัยให้เกิด กับประเทศด้อยพัฒนาต่างๆ และในประเทศไทยเราก็รับเอาการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นเป้ าหมายของการพัฒนานับตั ้งแต่เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกในปี 2504 ด้านสังคม แนวคิดการพัฒนาตามแบบจําลองความทันสมัยจะแบ่งแยกสังคมออกเป็นสองประเภท คือสังคมดั ้งเดิม (tradition societies) และสังคมทัยสมัย (modernized societies) หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือสังคมประเทศด้อยพัฒนา (underdeveloped societies) กับสังคมประเทศพัฒนาแล้ว (developed societies) นั่นเอง การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงจากสังคมดั ้งเดิมไปสู่สังคมทันสมัย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องอาศัยการเปลี่ยนค่านิยม ท่าที่ความคาดหวังในชีวิตของผู้คนใน สังคมให้เป็นไปตามแบบสังคมสมัยใหม่

ข้อจํากัดทางทฤษฎี

แนวคิดการพัฒนาตามแบบจําลองความทันสมัยนี ้นับว่ามีอิทธิพลอย่างสูงต่อการนํามาใช้

เป็นกระแสหลักในการพัฒนาประเทศหลายประเทศ อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปี ค.ศ.

แนวคิดนี ้เริ่มหมดความน่าสนใจ และเผชิญกับการวิพากษ์อย่างหนักในราวกลางปี ค.ศ.1970 ที่

แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีนี ้มีจุดอ่อนสําคัญดังต่อไปนี ้คือ

ประการแรก ทฤษฎีนี ้เป็นทฤษฎีซึ่งให้ข้อเสนอโดยแยกสังคมออกเป็นสองประเภทที่มี

ความแตกต่างกันโดยสิ ้นเชิง คือสังคมดั ้งเดิมและสังคมทันสมัยซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

โดยเฉพาะประเทศกําลังพัฒนาส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นทวิภาคมีทั ้งภาคเกษตรกรรมและ

ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความสําคัญต่อการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม

ประการที่สอง ทฤษฎีความทันสมัยให้ความสําคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นดัชนีที่

สําคัญที่จะพัฒนาผู้คนไปสู่สังคมทันสมัย นอกจากนี ้ยังชี ้นําให้เห็นว่าความคิดความเชื่อ และวิถี

ชีวิตแบบดั ้งเดิมเป็นอุปสรรคสําคัญต่อการพัฒนา ดังนั ้นประเทศที่ทันสมัยคือประเทศที่มีเศรษฐกิจ

ที่เติบโตและละทิ ้งความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิตแบบดั ้งเดิม แต่มีงานวิจัยตลอดจนแนวปฏิบัติที่

ปรากฏให้เห็นจํานวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากระบวนการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็น

ปัจจัยสําคัญในการเปลี่ยนแปลงค่านิยมหรือความเชื่อในลักษณะสังคมดั ้งเดิมที่มีอยู่ไปสู่แนวคิด

ความเชื่อดังที่ประเทศในสังคมทันสมัยให้ความสําคัญ เช่น การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศ

เกาหลีใต้

ประการที่สาม ทฤษฎีเกิดขึ ้นจากการศึกษาในลักษณะการเปรียบเทียบและให้ความสนใจ

แต่ปัจจัยภายในที่มีความแตกต่างกันของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศด้อยพัฒนา เพื่อหา

คุณลักษณะที่แตกคต่างของสังคมทั ้งสองประเภท โดยมิได้มีการอธิบายในส่วนของกระบวนการ

หรือวิธีการที่จะพัฒนาสังคมไปสู่จุดหมายแต่อย่างใด

ประการที่สี่ ทฤษฎีนี ้ละเลยที่จะพิจารณาหรือกล่าวถึงในเรื่องกําลังอํานาจ ชนชั ้นทาง

สังคมและความแตกต่างของสังคมที่มีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีความสําคัญยิ่ง

ปัญหาของประเทศโลกที่สามที่เผชิญมีความซับซ้อนและถูกครอบงําโดยระบอบเศรษฐกิจโลกที่

กําหนดโดยประเทศอุตสาหกรรมที่รํ่ารวยบางประเทศหาใช่ความด้อยพัฒนาที่เกิดจากปัจจัย

ภายในของประเทศนั ้น ๆ

ทฤษฎีความทันสมัยเป็นทฤษฎีซึ่งให้ข้อเสนอโดยแยกสังคมออกเป็นสองประเภทที่มีความ

แตกต่างกันโดยสิ ้นเชิงคือ สังคมดั ้งเดิมและสังคมทันสมัย โดยให้ความสําคัญต่อการเติบโตทาง

เศรษฐกิจเป็นดัชนีสําคัญที่จะพัฒนาผู้คนไปสู่สังคมทันสมัย นอกจากนั ้นยังชี ้นําให้เห็นว่าความคิด

ความเชื่อและวิถีชีวิตแบบดั ้งเดิมเป็นอุปสรรคสําคัญต่อการพัฒนา ดังนั ้นประเทศที่ทันสมัยคือ

ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่เติบโตและละทิ ้งความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิตแบบดั ้งเดิม

2. ทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งพา

ในเวลาเดียวกันกลับกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกาได้มีการใช้แนวคิดการพัฒนาในด้าน

การสร้างความทันสมัยเป็นกระแสหลักในการกําหนดแนวทางการพัฒนาประเทศและได้รับ

ความสําเร็จเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางนั ้น นักวิชาการกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาในกลุ่มประเทศ

ลาตินอเมริกากลับมีแนวคิดคัดค้านการพัฒนาด้วยการสร้างภาวะความทันสมัยดังกล่าว ทั ้งนี ้เป็น

ผลจากความล้มเหลวและวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี ้เผชิญนั่นเอง ความ

ล้มเหลวที่เกิดในประเทศบราซิล อาร์เจนตินา และหลายประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกานับเป็น

ปรากฏการณ์สําคัญอันเป็นที่มาของการเสนอทฤษฎีการพึ่งพา (dependency theory) ในเวลา ต่อมา แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วไม่น่าจะมีความเหมาะสมและ ใช้ได้กับประเทศด้อยพัฒนา ทั ้งนี ้เพราะผลของการพัฒนาที่เกิดจากแนวคิดของการพัฒนากระแส หลักเช่นแนวคิดหลักขั ้นตอนการเติบโตทางเศรษฐกิจของรอสโทว์ไม่เป็นไปตามเป้ าหมาย ความ เติบโตที่เกิดขึ ้นกับประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่มีน้อยมาก ยิ่งกว่านั ้นความเติบโตทางเศรษฐกิจทํา ให้เกิดความรํ่ารวยกับคนเพียงบางกลุ่ม เกิดปัญหาตามมาทั ้งด้านปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทําให้ประเทศด้อยพัฒนากลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลกอย่างไม่มีทาง หลีกเลี่ยง ซานโทส (T. Dos Santos) (อ้างถึงใน บัวพันธ์ พรหมพักพิง, 2549) นักวิชาการซึ่งมี แนวคิดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีการพึ่งพา กล่าวว่า สาเหตุที่แท้จริงของความด้อยพัฒนาหรือการต้อง พึ่งพาในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกานั ้นมิได้เกิดจากเพียงแค่ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศศูนย์กลางและประเทศบริวาร แต่เกิดจาก การที่โครงสร้างภายในของประเทศเหล่านี ้ถูกกําหนดโดยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ต้อง พึ่งพากันในทางเศรษฐกิจโลก การพึ่งพาเป็นสถานการณ์เงื่อนไขเมื่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ หนึ่งจะเติบโตหรือไม่ ต้องขึ ้นกับการขยายตัวและการพัฒนาผ่านระบบการค้าหรือระบบเศรษฐกิจ โลกของประเทศผู้ที่มีอิทธิพลอื่นๆ แนวทางการแก้ปัญหาความด้อยพัฒนาตามความคิด มีเพียงทางเลือกเดียวคือ การหยุด ความสัมพันธ์เชิงพึ่งพากับประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศผู้มีอิทธิพลต่อการกําหนดชะตากรรม ของประเทศด้อยพัฒนานั ้นๆ เสียนั่นเอง

แนวคิดนี ้เริ่มมาจากการตั ้งคําถามต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตอย่าง

รวดเร็วและรุดหน้าแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนั ้น ใครคือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง บุคคลเหล่านั ้น

จํากัดอยู่เฉพาะกลุ่มที่ควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจและมีอํานาจทางการเมืองเท่านั ้นหรือไม่

ทั ้งนี ้ในระยะแรกของการพัฒนาประเทศนั ้นเป็นที่เข้าใจและยอมรับได้ว่าจะมีการกระจุกตัวของ

รายได้กล่าวคือ การลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศจะเป็นไปอย่างเป็นกระจุกตัว ด้วยการทุ่มเทไปใน

ภาคเศรษฐกิจที่ทันสมัยซึ่งมีขนาดเล็ก และผลิตสินค้าขั ้นปฐมและอุตสาหกรรมรายได้ที่เกิดขึ ้นจึง

กระจุกตัวอยู่ในภาคดังกล่าว โดยปัจจัยสําคัญที่ส่งเสริมสภาพการกระจุกตัว ได้แก่ ความจํากัดใน

การเข้าถึงสินเชื่อ โอกาสทางการศึกษา และโอกาสการทํางานในภาคเศรษฐกิจที่ทันสมัย ส่วน

นโยบายของรัฐบาลทั ้งด้านการคลัง การค้าและการกระจายงบประมาณก็มีความโน้มเอียงที่จะ

สนับสนุนไปในทางที่ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัว ซึ่งโดยทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

แล้ว เมื่อเศรษฐกิจเติบโตต่อไป รายได้และผลประโยชน์ก็จะกระจายออกไปด้วย หากในทางปฏิบัติ

กลับพบว่าคนจนไม่ได้มีส่วนร่วมในผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมแนวคิดเรื่องการกระจายรายได้ที่

ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงเสนอว่า การพัฒนาประเทศจะต้องมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหา

ความยากจนให้แก่คนกลุ่มต่างๆ ด้วย เช่น ชาวนารายย่อยผู้ใช้แรงงานที่ไม่มีที่ดินทํากิน คน

ว่างงาน และแรงงานไร้ฝีมือ ฯลฯ โดยหามาตรการต่างๆ เช่น การปฏิรูปที่ดินเพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี ้

มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและการบริการขั ้นพื ้นฐาน เป็นต้น

ข้อจํากัดของทฤษฎี

แนวคิดการกระจายรายได้ ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นแนวคิดสําหรับ

ประเทศในโลกที่สามที่มุ่งให้กลุ่มประชากรที่เสียเปรียบในทางเศรษฐกิจได้รับประโยชน์จากการ

เติบโตทางเศรษฐกิจภายใน โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมที่เป็นอยู่ โดยไม่จําเป็นต้องมีการปฏิรูป

โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี ้ก็มีจุดอ่อนคือ ปัญหาในการดําเนินการ

กระจายความเจริญอย่างทั่วถึงดูจะเป็นอุดมคติและเป็นไปได้ยากในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งถูก

ครอบงําด้วยชนชั ้นปกครองซึ่งต่างพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนไว้

ทฤษฎีนี ้ ให้ความสําคัญกับการกระจายความเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเชื่อว่าหากมีการ

จัดการที่เหมาะสมในเรื่องของการลงทุนการให้การศึกษา และการจัดบริการทางสังคมอย่างทั่วถึง

ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม การที่รัฐมีนโยบายปฏิรูปที่ดิน มีการบริหารจัดการที่

ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน

อย่างเหมาะสม จะช่วยให้กลุ่มคนทุกกลุ่มได้รับประโยชน์จากการพัฒนา เมื่อคนจนสามารถสร้าง

ผลผลิตได้สูง ได้รับค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้เกิดความเสมอภาค และลดภาวะความ

ยากจนของประเทศลงได้

4 ทฤษฎีการพัฒนาที่เน้นความจําเป็นขั้นพื้นฐาน (Basic minimum Need Approach) เป็นแนวคิดที่สร้างความชัดเจนมากขึ ้นว่า การพัฒนาจะต้องมุ่งไปที่คนมิใช่การเติบโตทาง เศรษฐกิจ เพราะคนและคุณภาพชีวิตของคน คือสิ่งสําคัญที่สุดที่จะต้องได้รับการพัฒนา ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนนี ้จําเป็นที่จะต้องใช้ยุทธวิธีการพัฒนาหลายด้าน ประกอบกัน ทั ้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง การปฏิรูปสถาบันทั ้ง ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีเป้ าหมายเพื่อขจัดความยากจนและการว่างงาน และ มุ่งให้เกิดความเสมอภาคในการกระจายการบริการขั ้นพื ้นฐานเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพียงอย่างเดียวไม่ได้แก้ปัญหาความยากจน ทั ้งนี ้องค์ประกอบทั่วไปของความจําเป็นขั ้นพื ้นฐาน ได้แก่ 1) สุขภาพและเงื่อนไขทางประชากรต่างๆ 2) อาหารและสารอาหาร 3)การศึกษา รวมทั ้ง การรู้หนังสือและความเชี่ยวชาญต่างๆ 4) เงื่อนไขการทํางานและสภาพการจ้างงาน 5) การบริโภค และการออม 6) การคมนาคม 7) ที่อยู่อาศัยรวมทั ้งสิ่งอํานวยความสะดวกภายในบ้าน 8) เสื ้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม 9) การพักผ่อนหย่อนใจ และ 10) สวัสดิการทางสังคม

ข้อจํากัดของทฤษฎี ทั ้งนี ้เนื่องจากแนวคิดการพัฒนาที่เน้นความจําเป็นขั ้นพื ้นฐาน มีต้นทุนงบประมาณที่ต้อง ใช้จํานวนมากซึ่งอาจมีผลกระทบกับการออมและการลงทุนของประเทศโดยเฉพาะในประเทศ ยากจน หากมีการทุ่มเทงบประมาณส่วนใหญ่ของประเทศไปเพื่อยกระดับความเป็นอยู่คนยากจน เพื่อให้ได้สิ่งจําเป็นพื ้นฐานครบทุกคนในเวลาอันสั ้นแล้ว ก็อาจมีผลทําให้ไม่สามารถมีทรัพยากร เหลือเพียงพอสําหรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมได้ เช่น การขาดงบประมาณในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าด้านเทคนิควิทยาการต่าง ๆ ทั ้งด้าน การศึกษา การแพทย์ การทหาร การขยายการผลิตและการปรับปรุงเทคโนโลยีต่าง ๆ ผลของการ พัฒนาโดยเน้นความจําเป็นขั ้นพื ้นฐานโดยเฉพาะ หากขาดกลไกที่จะนําสิ่งจําเป็นขั ้นพื ้นฐานไปให้ ถึงมือคนจนซึ่งเป็นกลุ่มเป้ าหมายการพัฒนาโดยตรงแล้ว การพัฒนาแนวทางเช่นนี ้อาจทําให้การ ครองชีพของประชาชนเลวร้ายลงไปกว่าเดิม

สังคมจะต้องยึดคนเป็นศูนย์กลาง จุดมุ่งหมายของการพัฒนาคือ การขจัดความยากจนที่แท้จริง

การกระจายความยุติธรรมและการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั ้งนี ้เรื่องที่ต้องดําเนินการ

โดยเร่งด่วนได้แก่ ประชากร สุขภาพอนามัย การศึกษา การจ้างงาน ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม ภัย

พิบัติต่างๆ อาชญากรรมและความมั่นคงของชาติ (สุภางค์ จันทวานิช และวิศนี ศิลตระกูล, 2539,

น. 65)

แนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนนี ้ได้ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 หลาย

ยุทธศาสตร์ด้วยกันได้แก่ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถใน

การแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม และ

ยุทธศาสตร์การปรับโครงเรื่องการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งโดยภาพรวมมุ่งที่จะให้เกิด

การดําเนินงานต่างๆ ทั ้งในด้าน 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม 2) การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อความ

สมดุลของระบบนิเวศ 3) การอนุรักษ์ฟื้นฟูและรักษาสภาพแวดล้อมชุมชน ศิลปวัฒนธรรมและ

แหล่งท่องเที่ยว และ 4) การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยให้ความสําคัญกับการลดมลพิษทั ้งนี ้สิ่ง

ที่ดําเนินการไปบ้างแล้ว ได้แก่ การจัดตั ้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน การจัดตั ้งกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสื่งแวดล้อม การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดทําแผนแม่บท/แผนเฉพาะเรื่อง เช่น แผนการใช้ที่ดิน

แห่งชาติ แผนรวมการบริหารจัดการทรัพยากรนํ ้าในพื ้นที่ลุ่มนํ ้าต่างๆ เป็นต้น

ทฤษฎีการพัฒนาแบบยั่งยืน เป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญต่อการพัฒนาที่พยายามคงภาวะ

ความสมดุลระหว่างมิติด้านเศรษฐกิจกับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระบบเปิด โดยพยายามคงระดับ

การเติบโตของระบบเศรษฐกิจให้สัมพันธ์กับความพยายามในการคงสภาพให้เกิดความเท่าเทียม

กันทางสังคมโดยคงไว้ซึ่งระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม

พัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เริ่มเป็นทางการในปี 2504 ซึ่งเป็นปี

แรกที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 1 จนถึงปี 2555 มีการใช้แผนพัฒนาฯมาแล้ว

11 ฉบับ แต่ละฉบับมีนโยบายแนวคิดหลักในการวางแผนและกลยุทธ์การพัฒนาตลอดจนเมื่อเสร็จ

สิ ้นแผนได้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทย ในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันออกไป ดังนี ้

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1-2(พ.ศ. 2504-2514)

แนวคิดหลักการพัฒนา

ให้ความสําคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth Theory) เพื่อก้าวสู่ความทันสมัย (Modernization) กลยุทธ์การพัฒนา เป็นการวางแผนจากส่วนกลางหรือบนลงสู่ล่าง (top down planning) การดําเนินการพัฒนาทํา โดยฝ่ายรัฐ มีการจัดตั ้งองค์กรโดยฝ่ายรัฐในการดําเนินการตามโครงการต่าง ๆ • เน้นการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการออม การลงทุน • รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในโครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยลักษณะโครงการ พัฒนาจะเน้นการพัฒนาเป็นโครงการ ๆ (project) ผ่านการกลั่นกรองจากสภาพัฒน์ฯ ด้วยการ วิเคราะห์ในลักษณะผลได้ผลเสียของโครงการ (benefit cost analysis) • เน้นการสร้างโครงสร้างพื ้นฐาน บริการสาธารณูปโภคที่จําเป็นด้านต่าง ๆ ที่มี ความสําคัญต่อการพัฒนา เช่น การสร้างเขื่อนพลังไฟฟ้ า การตัดถนนสายหลัก ดังคําขวัญในยุคนี ้ ที่ว่า “นํ ้าไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทํา” ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 และ 2 นี ้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับ นโยบายการพัฒนาสังคมคือ