แนวข้อสอบการบริหารงบประมาณ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

แนวข้อสอบ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2563

จำนวน 40 ข้อ พร้อมเฉลย

บทนำ

แนวข้อสอบ “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2563”  เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วน ทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2563” ไว้ในนี้แล้ว

1.ข้อใดหมายถึง “งบประมาณรายจ่าย ”

ก.จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่าย หรือก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย

ข.งบประมาณรายจ่ายที่มีระยะเวลาการใช้ได้ เกินปีงบประมาณตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วย งบประมาณรายจ่าย

ง.งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเบิกจ่าย จากเงินรายรับประเภทอื่นที่มิใช่รายได้ประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายของ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

ตอบ  ง.

3.ข้อใดหมายถึง   “งบประมาณรายจ่ายข้ามปี”

ก.จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่าย หรือก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย

ข.งบประมาณรายจ่ายที่มีระยะเวลาการใช้ได้ เกินปีงบประมาณตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วย งบประมาณรายจ่าย

ค.งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเบิกจ่าย จากเงินรายได้ประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเบิกจ่ายจากเงินรายได้ประจำของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

ง.งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเบิกจ่าย จากเงินรายรับประเภทอื่นที่มิใช่รายได้ประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายของ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

ตอบ  ข.

4.ข้อผูกพันที่จะต้องจ่าย หรืออาจจะต้องจ่ายเป็นเงิน สิ่งของหรือบริการไม่ว่าจะเป็นข้อผูกพันอันเกิดจากการกู้ยืม การค้ำประกัน การซื้อหรือการจ้างโดยใช้เครดิตหรือจากการ อื่นใด ข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใด

ก.ปีงบประมาณ

ข.เงินจัดสรร

ค.หนี้

ง.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน

ตอบ ค.

5.ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้น เป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น  ข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใด

ก.ปีงบประมาณ

ข.เงินจัดสรร

ค.หนี้

ง.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน

ตอบ  ก.

6.ข้อใดกล่าวถึง “งบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน” ได้ถูกต้อง

ก.ค่าครุภัณฑ์

ข.ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

ค.ซื้อหุ้น

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

7.หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายใน หน่วยงานและกำหนดหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง และให้หมายความรวมถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย  ข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใด

ก.หน่วยงาน

ข.หน่วยรับงบประมาณ

ค.หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ

ง. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ก.

8.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ”

ก.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ข.หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ค.ผู้อำนวยการสำนัก

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม “หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการกอง เลขานุการสำนัก หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่ง เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ และให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

9.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ หน่วยงานในกำกับของกรุงเทพมหานคร

ก.บริษัทที่กรุงเทพมหานครร่วมกับบุคคลอื่นก่อตั้งหรือถือหุ้น

ข.สหการที่กรุงเทพมหานครร่วมกับส่วนราชการ

ค.หน่วยงานที่มีฐานะเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม “หน่วยงานอื่นในกำกับของกรุงเทพมหานครตามที่กฎหมายบัญญัติ ” หมายความว่า

( 1 ) บริษัทที่กรุงเทพมหานครร่วมกับบุคคลอื่นก่อตั้งหรือถือหุ้น ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

( 2 ) สหการที่กรุงเทพมหานครร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นจัดตั้ง ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

(3) หน่วยงานที่มีฐานะเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร

10.ให้ใครรักษาการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ และให้มี อำนาจออก ระเบียบ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้

ก. ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ข.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ค.เลขานุการผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ง.หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ตอบ  ก.

11. “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย ” หมายถึงข้อใด

ก.หน่วยงานที่ขอรับหรือได้รับจัดสรรงบประมาณ รายจ่าย

ข.รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเพื่อการลงทุนของ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

ค.ข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ค.

12.งบประมาณตามข้อใดต้อง สอดคล้อง กับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ

ก.การจัดทำงบประมาณ

ข.การบริหารงบประมาณรายจ่าย

ค.การควบคุมงบประมาณ และการประเมินผลและการรายงาน

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง. (ข้อ 7)

13.หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายงบประมาณโดยปฏิบัติตามข้อใด

ก.ต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ข.เพื่อประโยชน์ ของประชาชนและกรุงเทพมหานครเป็นสำคัญ

ค.ใช้รายจ่ายอย่างเคร่งครัด

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง. (ข้อ 8)

14.ใครเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไป อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งให้มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

ก.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ข.หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ

ค.หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 9 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับมอบหมาย ปลัดกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไป อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งให้มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

15.งบประมาณประจำปีที่เสนอต่อสภากรุงเทพมหานครอย่างน้อยต้องมีเอกสารประกอบตามข้อใด

ก.คำแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะการคลังและสาระสำคัญของนโยบายงบประมาณ

ข.รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบัน และปีที่ขอตั้งงบประมาณ รายจ่าย

ค.คำอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับ

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 10 งบประมาณประจำปีที่เสนอต่อสภากรุงเทพมหานครอย่างน้อยต้องมีเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้

(1 ) คำแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะการคลังและสาระสำคัญของนโยบายงบประมาณ และความสัมพันธ์ระหว่างประมาณการรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง

( 2 ) รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบัน และปีที่ขอตั้งงบประมาณ รายจ่าย

( 3 ) คำอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับ

( 4 ) คำชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ซึ่งรวมถึงการแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้อง

(5) รายงานเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นในกำกับของกรุงเทพมหานครตามที่กฎหมายบัญญัติ

(6) รายงานเกี่ยวกับสถานะเงินนอกงบประมาณ และแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ โดยรวมของหน่วยรับงบประมาณ

(7) คำอธิบายเกี่ยวกับหนี้ของกรุงเทพมหานคร ทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน และหนี้ที่เสนอ เพิ่มเติม

( 8 ) ผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณรวมทั้งเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาล ของปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว

(9) ผลการดำเนินงานของหน่วยงาน หรือองค์กรที่ได้รับเงินอุดหนุนจากกรุงเทพมหานคร หรือได้รับมอบหมายจากกรุงเทพมหานครตามข้อ 42 วรรคสอง

(10) รายงานการรับจ่ายเงิน หรือการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้กรุงเทพมหานคร

(11 ) ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

16.ข้อใดหมายถึง งบประมาณรายจ่ายที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย

ก.งบประมาณรายจ่ายงบกลาง

ข.งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ

ค.งบประมาณรายจ่ายบุคลากร

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 12 งบประมาณรายจ่ายที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย อาจจำแนกได้ ดังต่อไปนี้

(1) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง

(2) งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ

(3) งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ

(4) งบประมาณรายจ่ายบุคลากร

(5) งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้

(6) งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินยืมเงินสะสม

17.การจำแนกรายจ่ายตามข้อ 16 ให้เป็นไปตามระเบียบตามข้อใด

ก.ระเบียบที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ข.ระเบียบที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด

ค.ระเบียบที่กรุงเทพมหานครกำหนด

ง.ระเบียบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด

ตอบ  ข.

18.ให้ตั้งได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ซึ่งไม่อาจจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่หน่วยรับงบประมาณที่รับผิดชอบโดยตรง โดยให้ตั้งแยกต่างหากจากงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ และให้มีรายการเงินสำรองจ่ายทั่วไปเพื่อใช้จ่าย ในการพัฒนากรุงเทพมหานคร การป้องกัน แก้ไข เยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากสาธารณภัย รวมถึงภารกิจฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนด้วย ข้อความขั้นต้นหมายถึงงบประมาณรายจ่ายตามข้อใด

ก.งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ

ข.งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ

ค.งบประมาณรายจ่ายงบกลาง

ง.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้

ตอบ  ค.

19.ให้ตั้งเป็นรายจ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลในลักษณะ เงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว และประโยชน์ตอบแทนอื่น ข้อความขั้นต้นหมายถึงงบประมาณรายจ่ายตามข้อใด

ก.งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ

ข.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

ค.งบประมาณรายจ่ายงบกลาง

ง.งบประมาณรายจ่ายบุคลากร

ตอบ  ง.

20.ข้อใดหมายถึง “งบประมาณรายจ่ายข้ามปี”

ก.งบประมาณรายจ่ายให้เสร็จทัน ภายในปีงบประมาณไม่ได้โดยต้องกำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย

ข.ให้ตั้งไว้สำหรับแผนงานบูรณาการตามแผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร

ค.ต้องแสดงที่มาของรายรับว่าเป็นรายได้ประเภทที่ มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับ

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ก.

21.ต้องแสดงที่มาของรายรับว่าเป็นรายได้ประเภทที่ มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับ หรือรายรับประเภทรายได้ที่จัดเก็บได้เกินประมาณการเดิม หรือเงินสะสมตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินสะสม หรือเงินอื่นใดของกรุงเทพมหานคร  ข้อความขั้นต้นหมายถึงงบประมาณรายจ่ายตามข้อใด

ก.งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ

ข.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

ค.งบประมาณรายจ่ายงบกลาง

ง.งบประมาณรายจ่ายบุคลากร

ตอบ  ข.

22.ใครเป็นประธาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ก.ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ข.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร

ค.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ง.หัวหน้าพนักงานคณะกรรมการข้าราชการ

ตอบ  ค.

23.การจัดทำงบประมาณต้องคำนึงถึงประมาณการรายรับและฐานะการคลัง ของกรุงเทพมหานครตามข้อใด

ก.ความคุ้มค่า

ข.ประสิทธิภาพ

ค.ความจำเป็นในการพัฒนากรุงเทพมหานครตามยุทธศาสตร์ชาติ

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

24.ข้อใดไม่ใช่ คณะกรรมการการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ก.ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ข.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร

ค.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ง.หัวหน้าพนักงานคณะกรรมการข้าราชการ

ตอบ ก.

25.คณะกรรมการการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน เพื่อดำเนินการตามข้อใด

ก.กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ข.กำหนด กรอบประมาณการรายรับ

ค.กำหนดสัดส่วนวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

26.การกำหนดรอบ ประมาณการรายรับ ประมาณการรายจ่าย และฐานะการคลัง ของกรุงเทพมหานครเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่ากี่ปี

ก.ไม่น้อยกว่าสองปี

ข.ไม่น้อยกว่าสามปี

ค.ไม่น้อยกว่าสี่ปี

ง.ไม่น้อยกว่าห้าปี

ตอบ  ข.

อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 20 ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้มีคณะกรรมการประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน รองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นรองประธาน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานระบบงบประมาณ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน เพื่อดำเนินการ ดังนี้

(1) กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประมาณการรายรับ วงเงินงบประมาณรายจ่ายงบประมาณประจำปี

(2) กำหนดกรอบประมาณการรายรับ ประมาณการรายจ่าย และฐานะการคลัง ของกรุงเทพมหานครเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามปี ให้เป็นไปตามรูปแบบ วิธีการที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครกำหนด

(3) กำหนดสัดส่วนวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน เพื่อการชำระหนี้ และงบกลาง รายการสำรองจ่ายทั่วไปต่อกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี

(4) กำหนดจำนวนปี และสัดส่วนวงเงินงบประมาณการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปี ต่อกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยคำนึงถึงสถานะทางการคลังของกรุงเทพมหานคร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับแนวทางและมาตรการภาครัฐ

27.การยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต้องแสดงวัตถุประสงค์ตามข้อใด

ก.แผนการปฏิบัติงาน

ข.แผนการใช้จ่ายงบประมาณ

ค.รายงานการเงินและรายงานเกี่ยวกับ เงินนอกงบประมาณ

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

28.ใครเป็นผู้พิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี

ก.ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ข.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร

ค.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ง.หัวหน้าพนักงานคณะกรรมการข้าราชการ

ตอบ ค.

29.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครก่อนวันเริ่มปีงบประมาณนั้น อย่างน้อยกี่วัน

ก.สามสิบวัน

ข.หกสิบวัน

ค.แปดสิบวัน

ง.เก้าสิบวัน

ตอบ  ง.

30.ปลัดกรุงเทพมหานครมีหน้าที่และอำนาจจัดทำงบประมาณตามข้อใด

ก.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำกรอบประมาณการรายรับและรายจ่ายงบประมาณ ประจำปี

ข.กำหนดปฏิทินงบประมาณประจำปี

ค.กำหนดระยะเวลาของเงินจัดสรร

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 25 ปลัดกรุงเทพมหานครมีหน้าที่และอำนาจจัดทำงบประมาณกับปฏิบัติการอย่างอื่น ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ และให้มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับงบประมาณ ดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำกรอบประมาณการรายรับและรายจ่ายงบประมาณ ประจำปี เพื่อให้การจัดทำงบประมาณสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามข้อ 19 และข้อ 20

(2) เรียกให้หน่วยรับงบประมาณเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายและสถานะเงินนอก งบประมาณตามแบบและหลักเกณฑ์ พร้อมด้วยรายละเอียด ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด

(3) กำหนด เพิ่ม หรือลดเงินจัดสรรตามความจำเป็นของการปฏิบัติงานและตามสถานะการเงิน ของกรุงเทพมหานคร

(4) กำหนดปฏิทินงบประมาณประจำปี

(5) กำหนดหลักเกณฑ์การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

31.ข้อใดคือ อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานประมาณกรุงเทพมหานคร

ก.กำหนดระยะเวลาของเงินจัดสรร

ข.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงาน

ค.วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของหน่วยรับงบประมาณแล้วเสนอความเห็นต่อ ปลัดกรุงเทพมหานคร

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 26 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(1) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของหน่วยรับงบประมาณแล้วเสนอความเห็นต่อ ปลัดกรุงเทพมหานคร

(2) กำหนดระยะเวลาของเงินจัดสรร

(3) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย งบประมาณของหน่วยรับงบประมาณให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด

(4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย

32.หลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อใด ไม่ต้องขอความเห็นชอบ จากสภากรุงเทพมหานคร

ก.ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ หรือข้อผูกพันตามกฎหมาย

ข.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร

ค.โอนรายจ่ายงบกลางรายการใดรายการหนึ่งไปเพิ่มรายการอื่น ๆ ในงบกลางด้วยกัน

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

33.ใครมีอำนาจจัดสรรงบประมาณรายจ่ายที่กำหนดไว้ในงบกลาง

ก.ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ข.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร

ค.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ง.หัวหน้าพนักงานคณะกรรมการข้าราชการ

ตอบ ค.

34.ในกรณีที่มีความจำเป็นจะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแบบรูปและรายการ ที่กระทบต่อวัตถุประสงค์ เพิ่มวงเงิน หรือขยายระยะเวลาการดำเนินการ ก่อนดำเนินการก่อหนี้ผูกพันต้องเสนอขอ ความเห็นชอบจากใคร

ก.ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ข.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ค.คณะกรรมการกรุงเทพมหานคร

ง.สภากรุงเทพมหานคร

ตอบ  ง.

35.ใครมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมงบประมาณเพื่อปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ

ก.ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ข.ปลัดกรุงเทพมหานคร

ค.คณะกรรมการกรุงเทพมหานคร

ง.สภากรุงเทพมหานครตอบ

ตอบ  ก.

36.ข้อใดคืออำนาจหน้าที่ของผู้ว่ากรุงเทพมหานครในการควบคุมงบประมาณเพื่อปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ

ก. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน

ข.จัดให้มีการตรวจเอกสารการขอเบิกเงิน การจ่ายเงินและการก่อหนี้ผูกพัน ตลอดจน เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำส่งเงิน

ค.จัดให้มีการกำหนดและควบคุมระบบบัญชี แบบรายงาน และเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรับ จ่ายเงิน และหนี้

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

37.การขยายเวลาขอเบิก ให้ขยายออกไปได้อีกไม่เกินกี่เดือนของปีงบประมาณ ถัดไป

ก.ไม่เกินสามเดือน

ข.ไม่เกินสี่เดือน

ค.ไม่เกินหกเดือน

ง.ไม่เกินสิบเดือน

ตอบ  ค.

38.ในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณยังมิได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ให้ขอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครกันเงินได้อีก ไม่เกินกี่ปีงบประมาณ

ก.ไม่เกินหนึ่งปี

ข.ไม่เกินสองปี

ค. ไม่เกินสามปี

ง. ไม่เกินสี่ปี

ตอบ ก.

อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 37  ในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณยังมิได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ให้ขอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครกันเงินได้อีก ไม่เกินหนึ่งปีงบประมาณ หากพ้นกำหนดดังกล่าวให้เป็นอันพับไป

39.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การประเมินผล”

ก.ให้ปลัดกรุงเทพมหานครจัดวางระบบ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานทั้งภารกิจพื้นฐานและภารกิจตามยุทธศาสตร์

ข.จัดให้มีการประเมิน ความเป็นไปได้ของงานหรือโครงการก่อนการเสนอของบประมาณ การติดตามและประเมินผล ระหว่างดำเนินงานและหลังสิ้นสุดงานหรือโครงการ

ค.จัดให้มีการประเมิน ความเป็นไปได้ของงานหรือโครงการก่อนการเสนอของบประมาณ การติดตามและประเมินผล ระหว่างดำเนินงานและหลังสิ้นสุดงานหรือโครงการ

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

40.ให้หน่วยรับงบประมาณรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ ที่สิ้นสุด รวมทั้งผลการปฏิบัติงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบภายในกี่วันนับแต่วันสิ้น ปีงบประมาณ

ก.สามสิบวัน

ข.สี่สิบห้าวัน

ค.หกสิบวัน

ง.แปดสิบวัน

ตอบ ข.

สรุป

แนวข้อสอบ  “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2563”   ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อยเกี่ยวกับ “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2563”  เช่น ความหมายรายจ่าย งบประมาณ หน่วยรับงบประมาณ   การจัดทำงบประมาณ ลักษณะงบประมาณ  งบประมาณรายจ่าย  การจัดทำงบประมาณ  หน้าที่และอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครและอำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร  การบริหารงบประมาณรายจ่าย  การควบคุมงบประมาณ  การประเมินผล  และการรายงาน ได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้

หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ โดย ปลาทู

เอกสารแนบการเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี โดย ปลาทู

แนวข้อสอบการบริหารงบประมาณ
จำแนบงบประมาณรายจ่าย โดย ปลาทู

คณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี  โดย ปลาทู

ภาพทั้งหมด โดย  ปลาทู

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !