Deep learning ข้อดี ข้อเสีย

AI Deep learning Machine Learning คืออะไร ปัจจุบัน เรื่องของ AI กลายเป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและมีความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างมาก รวมถึงคำที่เรามักจะได้ยินควบคู่ไปกับระบบปัญญาประดิษฐ์ นั่นก็คือ Machine Learning และ Deep Learning ที่ก้าวเข้ามาเป็นทางเลือกสำหรับการเสริมสร้างระบบการทำงานต่างๆ ของมนุษย์ ทั้งด้านการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเรียกได้ว่า 3 คำนี้มักจะเป็นสิ่งที่พูดถึงกันอย่างต่อเนื่องและเกี่ยวโยงกันอยู่เสมอ

 

อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายคนไม่น้อยที่เกิดความสงสัยว่าแท้จริงแล้ว AI, Deep Learning และ Machine Learning มีความเกี่ยวกันอย่างไร มีความหมายอย่างไร แตกต่างหรือเหมือนในด้านไหนบ้าง ใช้ประเภทเดียวกันหรือเปล่า ในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จัก AI , Deep learning, Machine Learning คืออะไร และรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญที่จะช่วยให้ได้ความชัดเจนและความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น 

Deep learning ข้อดี ข้อเสีย
Deep learning ข้อดี ข้อเสีย

AI Deep learning Machine Learning คืออะไร รู้จักกับคำนิยามของความล้ำหน้าฉบับมือใหม่ เข้าใจง่าย

 

AI คืออะไร

AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence โดยสามารถแปลเป็นภาษาได้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการข้อมูลมหาศาล ทำการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จนกลายเป็นเครื่องมือสำหรับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่พร้อมพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยการเริ่มใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อช่วงปี ค.ศ. 1956 โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกา มีชื่อว่า John McCarthy ที่ได้พัฒนาจนสามารถสร้างเครื่องจักรที่มีความชาญฉลาดและแนวคิดแบบมนุษย์ได้เป็นเครื่องแรกนั่นเอง

 

AI หมายถึง ความฉลาดเทียมที่มีอยู่ในตัวสิ่งที่ไม่มีชีวิต มาพร้อมกับคุณสมบัติในการทำความเข้าใจ การเรียนรู้ การประมววลผล วิเคราะห์ รวมถึงการรับรู้ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามองค์ความรู้ที่มนุษย์พึงมี โดยระบบ AI ถือว่าเป็นแขนงหนึ่งของการวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม แต่ยังสามารถรวมไปถึงความสามารถด้านอื่นๆ ที่ถูกนำมาใช้ในระบบปัญญาประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็น ระบบชีววิทยา, ระบบปรัชญา ตลอดจนระบบจิตวิทยา ที่เราจะเห็นระบบ AI มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีการปรับตัวเอง การทำงานของระบบสมองเทียม รวมถึงการอนุมานต่างๆ ที่ทั้งหมดนี้ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงขึ้นมาเพื่อให้ระบบปัญญาประดิษฐ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 AI สามารถทำงานได้ตลอดเวลาและไม่มีวันหยุด ไม่มีการเหนื่อยหรือพักผ่อน ระบบปัญญาประดิษฐ์จะมีสมองเทียมจำนวนหลายล้านที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและการทำงานที่ต่อเนื่องที่พร้อมจะถูกประมวลผลออกมาให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถทำงานแบบเดิมๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ตอบคำถามเดิม ปฏิบัติอย่างเดิมได้โดยไม่มีการจำกัด AI จะมีข้อผิดพลาดในการทำงานที่น้อยผ่านการพัฒนาและออกแบบจากนักพัฒนา ที่ถึงแม้จะมีจุดบกพร่องแต่ผลลัพธ์ที่ได้มามักจะมีการผิดพลาดที่น้อยมาก

 

นอกจากนี้ ระบบ AI ยังสามารถที่จะวิเคราะห์และประมวลผลเชิงคาดการณ์ได้อย่างดีเยี่ยม สามารถเห็นถึงอนาคตและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดได้อย่างแม่นยำสูง ตลอดการจัดเก็บ จัดการและประมวลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างชาญฉลาดอีกด้วย 

 

กล่าวโดยสรุปได้ว่า AI หมายถึง เทคโนโลยีประดิษฐ์ สมองเทียมที่จะสามารถเข้ามาช่วยให้มนุษย์สามารถทำงาน จัดการปัญหา วิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้อย่างดีและแม่นยำ สามารถทำงานแทนที่และเหมือนกับมนุษย์ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองและเลียนแบบแนวคิด พฤติกรรมของมนุษย์ พร้อมด้วยองค์ความรู้ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำงาน ทั้งในด้านเหตุผล การตัดสินใจ การเรียนรู้ การปรับตัว และการใช้เหตุผลต่างๆ ที่ AI สามารถจัดการได้อย่างอัตโนมัติและรวดเร็ว ปัจจุบันถูกนำมาใช้ประกอบในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ มากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกและทำหน้าที่ได้อย่างดีเลยทีเดียว

Deep learning ข้อดี ข้อเสีย
Deep learning ข้อดี ข้อเสีย

Deep learning คืออะไร

เป็นคำที่ถูกพูดถึงบ่อยเลยทีเดียวสำหรับ Deep Learning คือ การจำลองระบบการประมวลผลของเซลล์ประสาทและสมองของมนุษย์ กล่าวได้ว่าเป็นการเลียนแบบการทำงานของระบบสมองมนุษย์ ที่ Deep Learning เป็นอีกแขนงหนึ่งของ Machine Learning โดยการทำงานของ Deep Learning จะใช้โครงสร้างที่เหมือนกับเซลล์ประสาทในสมองของมนุษย์มาประเมินผลเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ต้องการ สามารถที่จะประมวลผลได้อย่างแม่นยำ รวดเร็วและทรงพลังเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

 

โดยเมื่อ Deep Learning ได้รับข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งมา จะทำการแยกรายละเอียดพร้อมจำแนกข้อมูลทั้งหมด พร้อมทั้งประมวลผล วิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลเชิงลึก เสมือนกำลังกรองข้อมูลให้กลายเป็นแยกย่อยเพื่อที่จะข้อมูลที่สำคัญที่สุด สรุปออกมาเป็นผลการประมวลที่มีแนวโน้มตามที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพืช ที่คุณต้องการค้นหาคำตอบว่าพืชชนิดนี้คืออะไร มาจากที่ไหน  ระบบของ Deep Learning จะทำการรับข้อมูลเข้าพร้อมกรองรายละเอียด หลังจากนั้นก็นำไปตรวจสอบและแสดงผลคาดการณ์ออกมาว่า มีแนวโน้มจะเป็นพืชชนิดใดนั่นเอง 

 

การทำงานของ Deep Learning จะมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การคาดการณ์ข้อมูลที่แสดงออกมา เมื่อมีการผิดพลาดหรือคาดการณ์ไม่ถูกต้อง ก็จะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้นๆ นำกลับไปพัฒนาให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และแตกย่อยเป็นรายละเอียดที่มากกว่าเดิมในอนาคต เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาตนเองได้อย่างอัตโนมัติ โดยที่มนุษย์ไม่ต้องเติมข้อมูลเข้าไปเพิ่มหรือแนะนำสิ่งใด ดังนั้น เราจึงจะสามารถแบ่ง Deep Learning ได้ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Recurrent Neural Network ข้อมูลที่ได้มีการพัฒนาและถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเพื่อที่จะคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในอนาคต ส่วนอีกหนึ่งรูปแบบคือ Feedforward Neural Network คือการประมวลผลจากข้อมูลชุดเดียวที่ไม่ได้นำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

 

การทำงานของ Deep Learning มีการขยายตัวที่ไม่มีสิ้นสุดและมีความยืดหยุ่นสูง เพราะคุณไม่จำเป็นที่จะต้องจัดโครงสร้างใดๆ ในข้อมูล ไม่ต้องแยกออกจากกันว่าเป็น เสียง รูปภาพ ตัวเลข ตัวอักษร  ข้อความ และ วิดีโอ แต่ Deep Learning สามารถที่จะนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับมาประมวลผลเพื่อคาดการณ์ได้อย่างอัตโนมัติ คุณไม่จำเป็นต้องจับคู่ข้อมูล ไม่ต้องควบคุมหรือจัดหมวดหมู่ก็สามารถที่จะจัดการกับความซับซ้อนและข้อมูลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

 

Machine Learning คืออะไร

Deep Learning เป็นซับเซ็ตของ Machine Learning และตัวของ Machine Learning ก็เปรียบเสมืองสมองของระบบปัญญาประดิษฐ์ AI เช่นเดียวกัน ความแตกต่างกับ Deep Learning นั้น ส่วนของ Deep Learning จะสามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติด้วยการพัฒนาตนเองและมีความยืดหยุ่นสูง โดย Machine Learning เป็นกำลังสำคัญของระบบ AI ที่จะใช้ในการสร้างสรรค์ความชาญฉลาดในการจัดการสิ่งต่างๆ เป็นการกำหนดหรือใส่ข้อมูลเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้อย่างดี 

 

Machine Learning ไม่ได้ทำงานด้วยการเขียนโปรแกรมของมนุษย์ แต่พัฒนาตนเองจากความรู้ที่ได้รับที่มนุษย์จะทำการเขียนลงภายในระบบ AI และ AI ก็ได้นำมาประมวลข้อมูลกับระบบ Machine Learning จนกลายเป็นชุดข้อมูลที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดย Machine Learning จะทำการเรียนรู้ข้อมูลจากสิ่งต่างๆ พร้อมกับจดจำเป็นพื้นฐานเพื่อสำหรับการใช้งาน กล่าวได้ง่ายๆ ว่าสิ่งที่ AI ได้ทำในด้านต่างๆ จะมีการใช้ส่วนการเรียนรู้และสมองที่เรียกว่า Machine Learning ซึ่งจะเป็นการใช้ Algorithm สำหรับการประมวลผลนั่นเอง

 

โดยในปัจจุบัน Machine Learning อยู่ในรอบๆ ตัวของมนุษย์แบบที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว ไม่ว่าจำเป็นระบบสั่งการด้วยเสียงอย่าง Siri ที่ Machine Learning ได้เป็นตัวสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งที่เรียกว่าระบบประมวลผลด้วยภาษาธรรมชาติอย่าง NLP หรือ Natural Language Processing ที่ Machine Learning ได้มีการพัฒนาให้ NLP สามารถทำงานด้วยภาษาที่เหมือนกับมนุษย์และมีการตอบกลับ การสนทนาอย่างเป็นธรรมชาติและมีภาษาที่สละสลวยนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่ Machine Learning ได้ถูกใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น Health Care

, Google Assistant และ Face ID เป็นต้น 

 

บทส่งท้าย

เราสามารถเห็นได้ถึงความเกี่ยวข้อของ AI, Machine Learning และ Deep Learning ได้จากความหมายและระบบการทำงานที่เปรียบได้ว่า Machine Learning และ Deep Learning เป็นสมองของ AI ที่แตกย่อยออกไปทำงานและช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย Machine Learning จะทำหน้าที่ในการเป็นหน่วยความรู้ให้แก่ AI สำหรับการเกิดการวิเคราะห์ ความรู้ การประมวลผลต่างๆ และแตกย่อยไปเป็น Deep learning ที่มีความลึกซึ้งและความยืดหยุ่น สามารถพัฒนาตนเองและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้หลากหลาย 

 

และนี่ก็เป็นเรื่องราวของ 3 ทหารเสือแห่งโลกดิจิทัล ที่เราจะเห็นได้ถึงระบบการทำงานที่อัจฉริยะและกลายเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์และอุตสาหกรรมต่างๆ ในโลก

ข้อเสียของ Deep Learning มีอะไรบ้าง

ในมุมของการใช้งานเชิงธุรกิจ สามารถใช้ Deep Learning เพื่อหาศึกษากลไกการโกงได้ หรือนำมาทำ Forecasting ได้ แต่นั่นหมายถึงข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก ซับซ้อนมาก และต้องการความสัมพันธ์เชิงลึกมากๆ ข้อเสียของ Deep Learning คือ อาจจะต้องใช้เวลาในการ Run มากกว่าปกติ และต้องใช้พลังระดับหนึ่ง

ข้อดีของ Deep Learning คือ ข้อใดต่อไปนี้

ด้วยข้อได้เปรียบที่เหนือกว่า Machine Learning แบบอื่นๆ ทำให้ข้อดีของ Deep Learning คือความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างหลากหลายและความยืดหยุ่นสูง โดยที่ใช้มนุษย์ในการดูแลเพียงเล็กน้อย

ข้อใดคือ คุณลักษณะ ของ Deep Learning

Deep Learning คือวิธีการเรียนรู้แบบอัตโนมัติด้วยการ เลียนแบบการทำงานของโครงข่ายประสาทของมนุษย์ (Neurons) โดยนำระบบโครงข่ายประสาท (Neural Network) มาซ้อนกัน หลายชั้น (Layer) และทำการเรียนรู้ข้อมูลตัวอย่าง ซึ่งข้อมูล ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการตรวจจับรูปแบบ (Pattern) หรือจัด หมวดหมู่ข้อมูล (Classify the Data)