กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตัวย่อ

การกำหนดชื่อส่วนราชการและอักษรย่อของส่วนราชการเพื่อรองรับการจัดทำศูนย์ข้อมูลบุคลากรท้องถิ่นแห่งชาติ

27 กันยายน, 2016 - 15:41 |  chondaenlocal.com

ไฟล์แนบ: 

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตัวย่อ
ชนแดน797.pdf

ลงวันที่: 

อังคาร, 27 กันยายน, 2016

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

Department of Local Administration
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตัวย่อ

ตรากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (20 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
งบประมาณประจำปี253,118.6163 ล้านบาท (พ.ศ. 2563)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน

  • ขจร ศรีชวโนทัย [2], อธิบดี
  • ทวี เสริมภักดีกุล, รองอธิบดี
  • ธนิศร์ วงศ์ปิยะสถิตย์, รองอธิบดี
  • ศิริวัฒน์​ บุปผา​เจริญ​, รองอธิบดี

ต้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์http://www.dla.go.th

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในความรับผิดชอบ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ โดยการพัฒนาและให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการบริหารงานบุคคล การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ[แก้]

ภารกิจหน้าที่ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (สน.บท.) สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาภารกิจในเรื่องดังกล่าวได้เพิ่มพูนมากขึ้นเป็นลำดับ สืบเนื่องมาจากการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ สอดคล้องตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องยกฐานะของสำนักให้เป็นส่วนราชการระดับกรม ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย[3]

อำนาจและหน้าที่[แก้]

อำนาจและหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นไปตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

  1. ดำเนินการพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดทำ ประสาน และบูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่นและวางระบบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น
  3. ดำเนินการจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  4. กำหนดแนวทางและจัดทำมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริการงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
  5. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานด้านการเงิน การคลัง การงบประมาณ การพัสดุ การจัดเก็บรายได้ และการประกอบกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวางระบบตรวจสอบระบบการเงิน การบัญชี และการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการจัดการบริการสาธารณะและการศึกษาในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  7. กำหนดแนวทาง วางระบบ และสร้างตัวชี้วัดเพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  8. ส่งเสริมภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  9. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  10. พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและของกรม
  11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการ[แก้]

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังต่อไปนี้ [4]

ก. ราชการบริหารส่วนกลาง

  1. สำนักงานเลขานุการกรม
  2. กองการเจ้าหน้าที่
  3. กองคลัง
  4. กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น
  5. กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น
  6. กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น
  7. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  8. กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
  9. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น
  10. สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
  11. สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น
  12. สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น[5]


ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค

  1. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด (76 จังหวัด)

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด มีดังนี้

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกรมในเขตพื้นที่จังหวัด
  2. อำนวยการ ประสาน ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอันเป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอด้านการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
  2. ครม. ไฟเขียวตั้ง ‘วีระกิตติ์’ นั่ง อธิบดีกรมคุมประพฤติ ‘พ.ต.ต.สุริยา’ นั่ง ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
  4. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/006/33.PDF

ดูเพิ่ม[แก้]

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น