อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

ในระยะตั้งครรภ์ร่างกายเกือบทุกระบบจะมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง ทำให้ตลอดอายุครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดความไม่สุขสบายขึ้น ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ร่างกายอาจเกิดความผิดปกติได้ถ้ามีการละเลย

ตลอดระยะการตั้งครรภ์ สามารถจำแนกความไม่สุขสบายที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ดังต่อไปนี้

คลื่นไส้ อาเจียน(Morning Sickness)
เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์ หรือมีอายุครรภ์ประมาณ 6-8 สัปดาห์ อาการส่วนใหญ่ก็จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หรืออยากกินของแปลกๆ หรืออาหารรสจัดในบางราย แต่เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 12-16 สัปดาห์อาการนี้ก็จะหายไป ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจึงทำให้อาหารผ่านไปสู่กระเพาะช้า และหญิงมีครรภ์มีความวิตกกังวล เช่น กลัวการคลอดหรือปัญหาครอบครัว หรือไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ แต่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่นอน

มีน้ำลายมาก(Salivation)
เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีเพิ่มขึ้น หรืออาจเกิดจากภาวะจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ไม่สามารถกลืนหรือบ้วนทิ้งไปได้

เหงือกอักเสบ(Gingivitis)
เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนไปกระตุ้น ทำให้มีการคั่งของโลหิตมีมากขึ้น อาจทำให้เลือดออกได้ง่าย

ร้อนในอก(Heart burn)
มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้ระบบทางเดินอาหารมีการย่อยลดลง ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดในกระเพาะอาหาร ทำให้มีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร ทำให้บริเวณยอดอกและลำคอมีอาการแสบร้อน

ท้องผูก(Constipation)
เนื่องจากลำไส้ถูกกดด้วยมดลูกที่มีขนาดโตขึ้น ทำให้การเคลื่อนที่ของกากอาหารทำได้ลำบาก และกระเพาะอาหาร ลำไส้ ก็เคลื่อนไหวได้ช้าลงจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น

ริดสีดวงทวาร(Hemorrhoids)
เกิดจากเลือดมีการไหลเวียนที่ไม่ดี ซึ่งเป็นผลมาจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น และการขยายใหญ่ของมดลูกจนไปกดเส้นเลือดดำ เมื่อมีอุจจาระแข็งจากอาการท้องผูกก็จะทำให้มีเลือดสดๆ ออกมากับอุจจาระ เนื่องจากเกิดการฉีดขาดของเส้นโลหิตที่โป่งพอง

ใจสั่น เป็นลม
เกิดจากเลือดมีการไหลเวียนไปยังสมองได้ไม่ดี เนื่องจากการขยายตัวของหลอดเลือด หรือจากการเปลี่ยนอิริยาบถในท่าต่างๆ เร็วเกินไป

เป็นลมเนื่องจากนอนหงาย
เกิดจากเลือดไหลเวียนไปสู่หัวใจได้ไม่ดี จากมดลูกที่ไปกดเส้นเลือดที่เข้าสู่หัวใจเมื่อนอนหงาย

หายใจตื้นและลำบาก

เมื่อมดลูกโตขึ้น ทำให้การขยายตัวของกระบังลมทำได้ไม่เต็มที่ หรือมีความไวเพิ่มมากขึ้นต่อการกระตุ้น

ตะคริว
เกิดจากระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัสมีการเสียสมดุล ทำให้ในกระแสเลือดมีแคลเซียมน้อย หรือเกิดจากบริเวณขามีเส้นเลือดตีบ

ปวดหลัง
เมื่อมดลูกมีขนาดโตขึ้น ทำให้มีการถ่วงของน้ำหนักมาด้านหน้า ทำให้มีการเกร็งกล้ามเนื้อหลังมากกว่าปกติหรือแอ่นมาข้างหลัง จนทำให้เอ็นที่ยึดข้อต่อต่างๆ บริเวณกระดูกเชิงกรานยืดออกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด จึงทำให้มีอาการปวดบริเวณข้อต่อต่างๆ ขึ้น

ปัสสาวะบ่อย
เมื่อมดลูกโตขึ้น จนไปกดกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุได้น้อยลง หรือจากการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ

อาการคัน
บริเวณผิวหนังทั่วไปยังไม่ทราบถึงสาเหตุของอาการคัน ส่วนการคันที่บริเวณหน้าท้อง เกิดมาจากสาเหตุที่กล้ามเนื้อและผิวหนังมีการยืดขยายขึ้น

หน้าท้องลายเป็นสีน้ำตาลแข้ม
ผิวบริเวณต่างๆ ของร่างกายคล้ำขึ้นได้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้วไปกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีให้เพิ่มขึ้นด้วย

อ่อนเพลีย
อาจมีผลมาจากการขาดอาหาร เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือในระยะตั้งครรภ์มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมักพบอาการนี้ในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์

บวม
เนื่องจากในเนื้อเยื่อของร่างกายมีน้ำคั่งอยู่ มักมีอาการบวมที่บริเวณปลายมือ ปลายเท้า อาการนี้สามารถหายไปได้เอง แต่ถ้ามีความดันโลหิตสูงก็ควรนึกถึงภาวะความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์ด้วย

ที่มา:จากหนังสือวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย
โดย: อาจารย์ศิรินันท์ ตรีมงคลทิพย์
หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ(การแพทย์แผนไทยประยุกต์)
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี

สัปดาห์ที่

หัวข้อ ศึกษาทั่วไป หมายเหตุ
Slide เอกสาร แบบทดสอบ
1

บทที่ 1 บทนำ การพยาบาลสูติศาสตร์
1.1 ประวัติการพยาบาลมารดาและทารก
1.2 การพยาบาลมารดาและทารกในปัจจุบัน
1.3 แนวโน้มทางการพยาบาลมารดาและทารก
1.4 บทบาทและขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลสูติศาสตร์

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

2

บทที่ 2 ทบทวนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
2.1 การปฏิสนธิ การฝังตัว และการเจริญเติบโตของไข่ที่ถูกผสมแล้ว
2.2 พัฒนาการของรก สายสะดือ เยื่อหุ้มทารกและน้ำคร่ำ
2.3 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
2.4 การไหลเวียนเลือดทารกในครรภ์
2.5 ส่วนต่าง ๆ และขนาดของศีรษะทารก
2.6 ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์ การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

 

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

3

บทที่ 3 การพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์
3.1 ศัพท์ทางสูติศาสตร์
3.2 การวินิจฉัยการตั้งครรภ์

  • 3.2.1 Presumptive signs
  • 3.2.2 Probable signs
  • 3.2.3 Positive signs

3.3 การเปลี่ยนแปลงของสตรีตั้งครรภ์

  • 3.3.1 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของสตรีตั้งครรภ์
  • 3.3.2 การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของสตรีตั้งครรภ์

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

 

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

4

3.4 การฝากครรภ์

  • 3.4.1 วัตถุประสงค์ของการฝากครรภ์
  • 3.4.2 ระยะเวลาการรับบริการฝากครรภ์
  • 3.4.3 การซักประวัติ
  • 3.4.4 การคาดคะเนอายุครรภ์และกำหนดวันคลอด
  • 3.4.5 การตรวจร่างกาย
  • 3.4.6 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • 3.4.7 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในระยะตั้งครรภ์
  • 3.4.8 การตรวจครรภ์

- Lie, Attitude, Presentation Denominator, Position
- Leopold’s maneuve

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

5

3.5 การให้สุขศึกษาและคำแนะนำแก่สตรีมีครรภ์

  • 3.5.1 การแต่งกาย
  • 3.5.2 การขับถ่าย
  • 3.5.3 การมีเพศสัมพันธ์
  • 3.5.4 การเดินทาง
  • 3.5.5 อาการผิดปกติที่ต้องมาโรงพยาบาลทันที
  • 3.5.6 อาการนำก่อนคลอด
  • 3.5.7 การเตรียมตัวมาคลอด

3.6 การพยาบาลสตรีที่มีอาการไม่สุขสบายในระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

 

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

6

3.7 การพยาบาลสตรีที่มีอาการไม่สุขสบายในระยะไตรมาสที่สอง
3.8 การพยาบาลสตรีที่มีอาการไม่สุขสบายในไตรมาสที่สาม
3.9 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวด้านจิตอารมณ์ในสตรีมีครรภ์
3.10 การเตรียมสตรีมีครรภ์เพื่อการคลอด

  • 3.10.1 Prenatal exercise
  • 3.10.2 Breathing exercise
  • 3.10.3 Relaxation exercis

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

 

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

7

บทที่ 4 การพยาบาลสตรีระยะคลอด
4.1 การเจ็บครรภ์

  • 4.1.1 ทฤษฎีการเริ่มเจ็บครรภ์
  • 4.1.2 อาการของการเจ็บครรภ์

4.2 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการคลอด
4.3 ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าของการคลอด
4.4 ระยะต่าง ๆ ของการคลอด

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

 

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

8

4.5 กลไกการคลอด

  • 4.5.1 Engagement
  • 4.5.2 Descent & Flexion
  • 4.5.3 Internal Rotation of Head
  • 4.5.4 Crowning
  • 4.5.5 Extension of the Head
  • 4.5.6 Restitution
  • 4.5.7 Internal Rotation of the Shoulders
  • 4.5.8 External Rotation of Head
  • 4.5.9 Birth by lateral flexio

 

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

9

4.6 การรับใหม่ผู้คลอด
4.7 การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอด

  • 4.7.1 ซักประวัติ
  • 4.7.2 การตรวจร่างกาย
  • 4.7.3 การวัดสัญญาณชีพ
  • 4.7.4 การประเมินสภาพทารกในครรภ์
  • 4.7.5 การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
  • 4.7.6 การดูแลความสุขสบายของผู้คลอดทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ
  • 4.7.7 การย้ายผู้คลอดเข้าห้องคลอด

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

10

4.8 การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่สองของการคลอด

  • 4.8.1 การประเมินสภาวะผู้คลอด
  • 4.8.2 การเตรียมสำหรับการคลอด

- การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์
- การเตรียมตัวของผู้ทำคลอด
- การเตรียมผู้คลอดทางด้านร่างกายและจิตใจ

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3
 

11

4.9 การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่สามของการคลอด

  • 4.9.1 การประเมินสภาวะผู้คลอด
  • 4.9.2 การทำคลอดรกและการตรวจรก
  • 4.9.3 การตรวจการฉีกขาดของช่องทางคลอด
  • 4.9.4 การซ่อมแซมฝีเย็บ

4.10 การพยาบาลผู้คลอดในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด

  • 4.10.1 การประเมินสภาวะผู้คลอด
  • 4.10.2 การดูแลย้ายผู้คลอดไปหอผู้ป่วยหลังคลอด

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

12

บทที่ 5 การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด
5.1 การปรับตัวทางด้านร่างกายของมารดาในระยะหลังคลอด

  • 5.1.1 มดลูกและปากมดลูก
  • 5.1.2 น้ำคาวปลา
  • 5.1.3 ผนังช่องคลอด
  • 5.1.4 เต้านม / การหลั่งน้ำนม
  • 5.1.5 การมีประจำเดือน
  • 5.1.6 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั่ว ๆ ไป

5.2 การปรับตัวทางด้านจิตสังคมของมารดาและครอบครัวในระยะหลังคลอด

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

13

5.3 การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด

  • 5.3.1 การพยาบาลในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
  • 5.3.2 การพยาบาลในระยะหลังคลอด 24 ชั่วโมงจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด

5.4 การพยาบาลมารดาที่มีอาการไม่สุขสบายในระยะหลังคลอด

  • 5.4.1 ไข้หลังคลอด
  • 5.4.2 ปวดมดลูก
  • 5.4.3 เต้านมคัด

5.5 การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

14

บทที่ 6 การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
6.1 มโนทัศน์ของสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
6.2 พัฒนาการของการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
6.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสร้างสัมพันธภาพ
6.4 การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
6.5 บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

 

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

15

บทที่ 7 การวางแผนครอบครัว
7.1 ความหมายและความสำคัญของการวางแผนครอบครัว
7.2 ขอบเขตแนวโน้มและเป้าหมายของการวางแผนครอบครัว
7.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนครอบครัว
7.4 หลักและวิธีการคุมกำเนิด
7.5 การให้สุขศึกษาและการจูงใจผู้รับบริการวางแผนครอบครัว
7.6 บทบาทของพยาบาลในการให้บริการวางแผนครอบครัว

 

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

อาการไม่สุขสบาย ไตรมาสที่ 3

 16

สอบการตรวจครรภ์ การทำคลอด การดูแลทารกแรกเกิด