ตัวอย่าง การเขียน สัญญาซื้อขายรถยนต์

ตัวอย่าง การเขียน สัญญาซื้อขายรถยนต์
เอกสารซื้อขายรถยนต์

 ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการซื้อขายรถยนต์มือสองนั้นคือ”เอกสารซื้อขายรถยนต์”เพราะหากคุณชอบใจในรถนต์คันนั้นแล้วแต่เอกสารซื้อขายรถยนต์มีไม่ครบหรือเซ็นเอกสารชุดโอนไม่ถูกต้องก็จะไม่สามารถทำการโอนได้ ทีนี้เรามาดูกันครับว่าเอกสารซื้อขายรถยนต์ต้องใช้อะไรบ้างและวิธีการเขียนเอกสารซื้อขายรถยนต์ควรเขียนอย่างไร

1.ทะเบียนรถ

 ทะเบียนรถหรือสมุดคู่มือจดทะเบียน (ตัวจริง) โดยทางผู้รับซื้อรถมือสองคันนั้นควรตรวจสอบความถูกต้องก่อนมีดังนี้ สีตัวรถ เลขเครื่องยนต์และเลขตัวถัง ต้องตรงกันกับในเล่มทะเบียนที่แจ้งไว้ ดูประวัติการต่อภาษีว่าขาดต่อหรือไม่ ที่สำคัญเอกสารซื้อขายรถยนต์ทั้งหมดต้องมีชื่อตรงกับชื่อผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุดในรถยนต์คันนั้น และทางเจ้าของรถต้องเซ็นตรงช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียนรถ

2.สัญญาซื้อขายรถยนต์

 สัญญาซื้อขายรถยนต์ควรมี 2 ฉบับ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับสำหรับทางผู้ซื้อและผู้ขาย และสัญญาซื้อขายควรหาที่ใช้สำหรับรถยนต์โดยเฉพาะจะดีที่สุด ส่วนการกรอกข้อมูลนั้นควรกรอกให้ครบถ้วน เช่น วันเวลาสถานที่ซื้อขาย ชื่อผู้ซื้อและผู้ขาย หมายเลขทะเบียน สี เลขเครื่องยนต์ เลขตัวถัง การวางมัดจำ หรือการชำระเงิน เพราะทุกอย่างจะใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายทั้งสิ้น

3.ใบโอนและรับโอน

 ควรกรอกข้อมูล หมายเลขทะเบียนรถ เลขเครื่องยนต์ เลขตัวถังและข้อมูลอื่นๆ ให้ครบถ้วน ทางผู้ขายหรือเจ้าของรถต้องเซ็นชื่อตรงผู้โอน และทางผู้ซื้อต้องเซ็นชื่อตรงช่องผู้รับโอน (ช่องผู้รับโอนมี2ที่) เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียน

4.ใบมอบอำนาจ

 ทางผู้ขายรถยนต์ต้องเซ็นชื่อตรงช่องผู้มอบอำนาจเพื่อมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน พร้อมทั้งระบุจุดประสงค์ว่าใช้สำหรับทำการโอนรถยนต์หรือแจ้งย้ายและควรระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ ส่วนบรรทัดอื่นควรขีดคร่อมเพื่อความปลอดภัย ส่วนช่องผู้รับมอบอำนาจนั้น คนที่ไปดำเนินการแทนที่ขนส่งจะเป็นคนเซ็น

5.สำเนาบัตรประชาชน

 สำเนาบัตรประชาชนของทางผู้ขาย ทางผู้ซื้อควรตรวจสอบดูว่ามีชื่อตรงกับในเล่มทะเบียนรถหรือไม่ หากทางผู้ถือกรรมสิทธิ์มีการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือคำนำหน้า จะต้องมีเอกสารการเปลี่ยนชื่อ นามสกุลแนบเข้ามาด้วย และสิ่งสำคัญบัตรประชาชนต้องไม่หมดอายุ

ข้อแนะนำ

 การเซ็นเอกสารรับรองบัตรประชาชน หรือ ใบโอน ใบมอบอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นตัวบรรจง หรือลายเซ็นควรเซ็นให้เหมือนกับที่เซ็นชื่อตรงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียน

 สำหรับบางท่านที่เอกสารชุดโอนยังไม่ครบสามารถดูตัวอย่างและดาวน์โหลดเอกสารซื้อขายรถยนต์ เช่น สัญญาซื้อขาย ใบโอน ใบมอบอำนาจ ไฟล์ PDF ได้ฟรีครับ ทีนี้เมื่อเอกสารซื้อขายรถยนต์ของคุณครบถ้วนสมบูรณ์แล้วก็สามารถนำรถยนต์และเอกสารไปโอนที่กรมการขนส่งทางบกได้เลยครับ 

ป้ายกำกับ:ทะเบียนรถ, วิธีเซ็นเอกสาร, สัญญาซื้อขายรถยนต์, เอกสารซื้อขายรถยนต์, โอนลอย, ใบมอบอำนาจ, ใบโอน

สัญญาซื้อขายยานพาหนะ เช่น เรือ และรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถกระบะ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ อยู่บนพื้นฐานของสัญญาซื้อขาย โดยระบุถึงทรัพย์สินที่ซื้อขายกันว่าคือทรัพย์ชิ้นไหน ส่วนใด ปริมาณเท่าใด คุณลักษณะ ทั่วไปและเฉพาะ โดยนอกจากระบุลักษณะบ่งชี้และรายละเอียดของทรัพย์ที่ซื้อขายกันโดยละเอียดแล้ว สัญญานี้ยังระบุถึงราคา การส่งมอบ รวมถึงเงื่อนไขการรับประกันอีกด้วย เงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ ควรระบุในสัญญาอย่างละเอียดเพื่อลดข้อโต้แย้งกันในการซื้อขาย

การนำไปใช้

สัญญาซื้อขายยานพาหนะนี้ควรระบุรายละเอียดต่างๆ ที่ได้ตกลงไว้ให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภายหลัง และเพื่อใช้อ้างอิงกรณีทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่เป็นไปตามที่ตกลงกัน อย่างไรก็ดี ในประเทศไทย ยานพาหนะ ที่กล่าวข้างต้น ต่างเป็นทรัพย์ที่กฎหมายกำหนดให้มีทะเบียน กล่าวคือในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น การซื้อขาย การให้ จะต้องมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กับนายทะเบียนด้วย เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ และเป็นข้อสันนิฐานตามกฎหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้ใด อย่างไรก็ดี การจดหรือไม่จดทะเบียนดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์และการโอนกรรมสิทธิ์ตามนิติกรรมสัญญาซื้อขายหากสัญญาได้ทำและลงนามทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ในการซื้อขายยานพาหนะ หากคู่สัญญาตกลงกันว่าจะยังไม่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทันทีและตกลงกันให้ผู้ซื้อเป็นผู้ดำเนินการเอง ผู้ซื้อควรแน่ใจว่าผู้ขายได้จัดเตรียมและลงนามในเอกสารคำขอและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมอบอำนาจ ให้ผู้ซื้อไปเนินการเองแล้วด้วย เพื่อมั่นใจว่าจะสามารถจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่มีปัญหา โดยสามารถตรวจสอบรายการเอกสาร วิธี และขั้นตอนได้ที่ กรมการขนส่งสำหรับรถยนต์ทุกประเภท หรือกรมเจ้าท่าสำหรับเรือ

อนึ่ง ผู้ซื้ออาจตรวจสอบเอกสารทางทะเบียนที่หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบออกให้ เช่น ใบคู่มือจดทะเบียนรถ ใบทะเบียนเรือ เพื่อตรวจสอบ กรรมสิทธิ์ผู้ขาย การครอบครอง ประวัติการโอนกรรมสิทธิ์ ประวัติการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทางทะเบียนต่างๆ รวมถึงนำมาใช้อ้างอิงแนบในสัญญาเพื่อบ่งชี้ทรัพย์สินที่ซื้อขาย โดยผู้ที่จะเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายซึ่งจะต้องลงนามในสัญญานั้น ผู้ซื้อต้องแน่ใจว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของยานพาหนะที่ซื้อขายกัน หรือหากไม่ใช่ต้องมีหลักฐานแสดงว่าผู้ขายที่เป็นคู่สัญญามีอำนาจนำยานพาหนะนั้นมาขาย เช่น ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นต้น

ในการจัดทำสัญญาแนะนำให้ทำสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับซึ่งเป็นคู่ฉบับซึ่งมีข้อความเหมือนกัน เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่าย ไม่ว่าผู้ซื้อและผู้ขาย ต่างเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยที่สัญญาทุกฉบับที่จัดทำจะต้องลงนามโดยผู้ซื้อและผู้ขาย เหมือนกัน

ทั้งนี้ ในการทำสัญญา นอกจากจะให้คู่สัญญาลงนามในสัญญาให้ครบถ้วน ซึ่งในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัท 2 คนลงนามร่วมกันและประทับตรา

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ บุคคล เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคลโดยเอกสารที่เป็นสำเนาและเป็นเอกสารของบุคคล ต้องให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาด้วย ในกรณีที่เจ้าของเอกสารนั้นเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรอง หรือสำเนาเอกสารอื่นใดที่เป็นของนิติบุคคล ผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามรับรองสำเนาถูกต้องจะต้องเป็นไปตามผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ลงนามและเงื่อนไขเหมือนกับการลงนามในสัญญา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

นอกจากการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายกันเกินกว่า 20,000 บาท หากไม่ได้มีการวางมัดจำหรือชำระเงินไปบางส่วนแล้ว จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อคู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ ดังนั้นการซื้อขายยานพาหนะที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวจึงควรทำสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษรและลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เพื่อมั่นใจได้ว่าหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา จะสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อบังคับตามสัญญากันได้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป