ค่าปรับยื่น ภ งด 50 ล่าช้า 2565

ทาง สำนักงานบัญชี แอคเคาท์เวิร์ค ได้อธิบายเกี่ยวกับ Dead line ในการ ปิดงบการเงิน และยื่นนำส่งงบการเงิน ไว้

ดังนั้น บทความนี้ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ค่าปรับต่างๆ หากท่านผู้ประกอบการ ไม่ได้ทำการ ปิดงบการเงิน และ ยื่นงบการเงิน หรือยื่นงบเกินกำหนดเวลา ซึ่ง ต้องจ่ายให้แก่ 2 หน่วยงาน ดังนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30)
1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30
    – ยื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
    – ยื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท
2. เงินเพิ่ม
    – คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม           
     เงินเพิ่ม คือ
ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนด
เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลา ให้ลดเหลือ 0.75% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
เริ่มนับเมื่อพ้นเวลายื่นแบบฯ ถึงวันชำระ
เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษี
หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม
3. เบี้ยปรับ
    3.1 กรณียื่นเพิ่มเติม คือเคยยื่นแบบเดือนนั้นแล้ว  คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% – 20%
    – ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
    – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
    – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
    – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%
    3.2 กรณีไม่ได้ยื่นแบบของเดือนนั้นมาก่อน
    – ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า
    – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า
    – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า
    – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า
    – กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญา


        เบี้ยปรับ จากกรณีต่าง ๆ ดังนี้
ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียน เบี้ยปรับ 2 เท่า หรือเงิน 1 พันบาทต่อเดือน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
มิได้ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา เบี้ยปรับ 2 เท่า
ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่จะต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ภาษีขายหรือภาษีซื้อคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
กรณีผู้เสียภาษีได้ยื่นแบบฯ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนเป็นหนังสือ ตามกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียดังนี้
มิได้จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เบี้ยปรับ 2 เท่า
ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก เบี้ยปรับ 2 เท่า
นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ เบี้ยปรับ 2 เท่า
มิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย เบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
มิได้เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี เบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
มิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เบี้ยปรับ 2 เท่า
ยื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 เกินกำหนดเวลา


1. ค่าปรับอาญา
    – กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
    – เกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
2. เงินเพิ่ม
    – อัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสียก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 และ ภ.ง.ด. 50 เกินกำหนดเวลา
1. ค่าปรับอาญา
    – กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
    – เกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

2. เงินเพิ่ม
    – อัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสียก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น

ยื่นแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90,ภงด.91,94)
กรณียื่นเกินกำหนดเวลา
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
– ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
– ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน

“ค่าปรับยื่นงบล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบ” ผู้ประกอบการทั้งหลายคงไม่อยากจะได้ยินคำนี้เลย เพราะว่านอกจากจะต้องเสียเงิน เสียเวลา ยังนำมาซึ้งความไม่น่าไว้ว่างใจของลูกค้าที่จะเกิดขึ้นกับกิจการด้วย ทุกๆ ปีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจำเป็นจะต้องยื่นงบการเงิน(ภายใน 5 เดือน) และนำส่งภาษีประจำปีแก่สรรพากรในรูปแบบ ภงด.50(ภายใน 150 วัน) แต่ยังไงก็ตามถ้าพยายามแล้วยังไง ยังไงก็ไม่ทัน เราลองมาดูกันค่าว่ามีอะไรบ้างที่เราจะต้องเสีย จะได้เตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมเงินกันค่ะ ซึ้งค่าปรับที่ต้องเสีย มีอยู่สองส่วน คือ ส่วนของกรมพัฒนาธุรกิจที่ดูแลในด้านของงบการเงินประจำปี และส่วนของกรมสรรพากรที่ดูแลในเรื่องของภาษีประจำปี เรามาดูกันเลยค่ะว่าอัตราค่าปรับที่เราจะโดนนั้น เป็นอย่างไร แล้วมีอะไรบ้าง

ค่าปรับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

1.ค่าปรับเมื่อส่งงบการเงินล่าช้า กรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

ค่าปรับยื่น ภ งด 50 ล่าช้า 2565

2.ค่าปรับเมื่อส่งงบการเงินล่าช้า กรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 4 เดือน

ค่าปรับยื่น ภ งด 50 ล่าช้า 2565

3.ค่าปรับเมื่อส่งงบการเงินล่าช้า กรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 4 เดือนขึ้นไป

ค่าปรับยื่น ภ งด 50 ล่าช้า 2565

ค่าปรับยื่นงบล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน มีอายุความ 1 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดยื่นงบการเงินกรณีที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี และจะต้องนำไปยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุม ถ้าประชุมทันตามกำหนดภายใน 4 เดือน แต่นำส่งงบการเงินไม่ทันภายใน 1 เดือน จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ แต่ !! ถ้าประชุมเกินกำหนดเวลา ก็จะเป็นกรณี “ไม่นํางบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ลงในงบดุล” จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของบริษัท 6,000 บาท และกรรมการผู้มีอํานาจ โดยคำนวณตามจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 6,000 บาท

กรณีไม่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งหากมิได้นำส่งตามกำหนดดังกล่าวมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

ค่าปรับกรมสรรพากร

ค่าปรับยื่น ภ งด 50 ล่าช้า 2565

ค่าปรับยื่นแบบภงด.50 ล้าช้า หากมีภาษีเงินได้ที่ต้องชำระจะจะต้องชำระเงินเพิ่มบวกเข้าไปโดยคำนวณ ในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของยอดภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) เช่นเดียวกับกรมพัฒนาธุรกิจค่าปรับแบบภาษีมีอายุความเปรียบเทียบปรับอาญา 1 ปี