พระ ราช ดำรัส เกี่ยวกับ นักเรียน

ขอน้อมนำ 'คำสอนเกี่ยวกับการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช' มาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งคำสอนที่นำมาเผยแพร่นี้สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ขอน้อมนำ 'คำสอนเกี่ยวกับการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช'  มาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งคำสอนที่นำมาเผยแพร่นี้สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

"การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้"

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 25 กรกฎาคม 2506 

"ธรรมดาครูก็ปรารถนาความก้าวหน้าและความดีของลูกศิษย์ ก็ต้องมีความเข้าใจในลูกศิษย์ที่ดี ในเวลาเดียวกันลูกศิษย์ก็จะต้องพยายามที่จะเข้าใจว่าครูมีความปรารถนาอย่างไร ครูก็เป็นคนเหมือนกัน ถ้าสามารถที่จะทำให้ครูมีความรู้สึกว่าลูกศิษย์มีความนับถือและปรารถนาดีต่ออาจารย์และครูด้วย ก็ทำให้สามารถที่จะให้ความรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ยอมสละเวลา กำลังทุกประการ ที่จะให้ลูกศิษย์ก้าวหน้า และเมื่อลูกศิษย์ก้าวหน้า คือได้รับความรู้ดี ทั้งในวิชาการ ทั้งในความรู้รอบตัวในชีวิต ก็ปลื้มใจ" 

พระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะครูที่ปรึกษาและคณะกรรมการจัดงาน "ธารน้ำใจ"
27 ตุลาคม 2515

"การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วน ล้วนพอเหมาะกันทุก ๆ ด้าน สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้โดยตลอด" 

พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลฯ
27 กรกฎาคม 2524

"การสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทุกอย่างนั้นต้องเริ่มต้นที่การศึกษาพื้นฐานเดิมก่อน เมื่อได้ศึกษาทราบชัดถึงส่วนดีส่วนเสียแล้ว จึงรักษาส่วนที่ดีที่มีอยู่แล้วให้คงไว้ แล้วพยายามปรับปรุงสร้างเสริมด้วยหลักวิชา ด้วยความคิดพิจารณา อันประกอบด้วยเหตุผลและความสุจริตจริงใจ ให้ค่อยเจริญงอกงามมั่นคงบริบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ตามความเหมาะสม ตามกำลังความสามารถ และตามกำลังเศรษฐกิจที่มีอยู่ การงานทุกสิ่งทุกอย่างในบ้านเมืองจึงจะเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก หาไม่ ความขัดข้องล่าช้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะทำให้ต้องสิ้นเปลืองกำลังงาน กำลังสมอง กำลังเงินทองไปอย่างน่าเสียดายโดยไม่มีโอกาสจะกู้กลับคืนมาได้" 

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1 พฤศจิกายน 2528

"การศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยคือการศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างเสริมและสะสมความรู้ ความจัดเจน ในด้านวิชาการอย่างสูง และด้านการใช้ความคิดวิจารณญาณตามเหตุผลหลักวิชาความถูกต้อง ผู้มีปัญญาซึ่งได้ผ่านการศึกษาระดับนี้ จัดว่าเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่า ผู้จะเป็นกำลังสร้างสรรค์ความเจริญมั่นคงทุกด้านของประเทศอย่างสำคัญต่อไป เหตุนี้ บัณฑิตทั้งหลายจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเกิดขึ้น ที่จะต้องนำความรู้ ความคิด และความสามารถจัดเจนของตนออกปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมและบ้านเมือง"

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
5 กรกฎาคม 2533

"ความรู้ที่จะศึกษามีอยู่สามส่วน คือ ความรู้วิชาการ ความรู้ปฏิบัติการ และความคิดอ่านตามเหตุผลความเป็นจริงซึ่งแต่ละคนควรเรียนรู้ให้ครบ เพื่อสามารถนำไปใช้ประกอบกิจการงาน และแก้ปัญหาทั้งปวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
2 กรกฎาคม 2535

"การศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาภายหลังสำเร็จจากมหาวิทยาลัย จึงมีความสำคัญยิ่งยวด ในการสร้างเสริมผู้ผ่านการศึกษาในระบบมาแล้ว ให้มีปัญญาและความสามารถที่จะปรับตนให้เข้ากับสภาวะแท้จริงของชีวิต พร้อมทั้งดำรงตนให้อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุขและเจริญมั่นคงได้"

“…ประเทศไทย เป็นประเทศที่อยู่มาเป็นเวลาช้านาน ได้ตกทอดมาเป็นสมบัติของทุกคนใน ปัจจุบัน จึงต้องช่วยกันทะนุถนอม ให้อยู่เย็นเป็นสุขต่อไป แม้จะมี สภาพสถานการณ์ต่างๆ แวดล้อมซึ่งอันตรายและทั้งโลกก็ ประสบปัญหาต่างๆ นานา ก็เชื่อได้ว่า พวกเราจะสามารถไปรอดได้..”

 

 

 

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส

ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตน

ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๓

 

 

 

 

“…กิจการใดที่ทำให้การรับน้องใหม่ จะต้องมีเหตุผลและต้องให้ ทุกคนได้เห็นเหตุผลนั้น ไม่ใช่สักแต่จะให้น้องใหม่กลัว พี่รุ่นเก่าเท่านั้น การที่จะให้น้องใหม่มีความเกรงกลัวรุ่นพี่นั้นเป็นการดี แต่สมควรที่จะให้น้องใหม่เข้ามาแล้วเคารพนับถือพี่ จะดีกว่าการเกรงกลัว…”

 

 

 

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส

พระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๒

 

 

 

 

“…นักเรียนที่ยังก่อเรื่องวิวาท จนเกิดความเสียหายแก่ตน แก่โรงเรียน ขอให้สำนึกว่าการกระทำเช่นนั้น อาจกลายเป็นการทำลายอนาคตของตนไปได้อย่างคิดไม่ถึง ฉะนั้น ขอให้พยายามฝึกฝนอบรมตนเองให้มีค่า เป็นคนเต็มคน ให้เป็นคนดีมีประโยชน์ให้ จงได้…”

 

 

 

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส

ในพิธีเปิดงานกรีฑา ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปี ๒๕๑๒

ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ

วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๑๒

 

 

 

 

“…เยาวชนทั้งหลายที่อยู่ในวัยเรียน ย่อมมีความมุ่งมั่นที่จะ ศึกษาวิชาการต่างๆ ให้ได้มากๆเพื่อนำไปใช้ทำ ประโยชน์สร้างสมความสุขความเจริญ ให้แก่ตัวเองตลอดจนส่วนรวม แต่การใช้วิชาความรู้นั้นจำเป็น จะต้องใช้อย่างถูกต้องด้วยคุณธรรมและความสามารถ ที่เหมาะจึงจะได้ผลเต็มเปี่ยม…”

 

 

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

ในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนาม เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ

ณ สนามศุภชลาศัย

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๒

 

 

 

 

“…เด็ก ต้องทำตัวให้สุภาพอ่อนโยน หมั่นขยันเอา การเอางานเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยความเต็มใจอยู่เสมอ ให้ติดเป็นนิสัย จักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมี ประโยชน์และมีความเจริญมั่นคงในชีวิต..”

 

 

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๒๙

 

 

 

 

“…เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้ว ยังต้องหัดทำ การงานและทำความดีด้วย เพราะการทำงานจะช่วยให้ มีความสามารถมีความขยันอดทนพึ่งตนเองได้และ การทำดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ ตกต่ำ…”

 

 

 

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท

พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๓๐

 

 

 

 

“…เด็ก เป็นผู้ที่จะได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็น ที่จะต้องได้รับ การอบรมเลี้ยงดูอย่าง ถูกต้องเหมาะสม ให้มีศรัทธามั่นคงใน คุณความดี มีความประพฤติเรียบร้อย สุจริต และมีปัญญา ฉลาดแจ่มใสในเหตุผล…”

 

 

 

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส

พระราชทานในโอกาสปีเด็กสากล

วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๒

 

 

 

 

“…เด็กๆ ต้องฝึกหัดอบรมทั้งกายทั้งใจให้เข้มแข็งเป็นระเบียบ และสุจริตเพื่อประโยชน์ของตนในภายหน้า เพราะคนที่ไม่ เข้มแข็งไม่สามารถควบคุมกายใจให้อยู่ระเบียบและความดี ยากนัก ที่จะได้ประสบความสำเร็จและความเจริญอย่างแท้จริงในชีวิต…”