สิทธิความเป็นส่วนตัวมีกี่ประการอะไรบ้าง คอม

การเป็นเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายความว่าจะต้องมีความรับผิดชอบ และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในด้านพรบ.คอมพิวเตอร์ หรือ ความเข้าใจในด้านสิทธิส่วนบุคคล เพื่อจะใช้เป็นแนวทาง หรือมาตฐานในการปฏิบัติงาน โดยการหลีกเลี่ยงที่ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายก่อบุคคลอื่น และต่อองค์กร ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากในเครือข่ายที่จะถูกละเมิด ดังนั้นถ้าผู้คนรู้จักจริยธรรม และบทลงโทษจะช่วยให้ลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงไม่มากก็น้อย

สิ่งที่เข้าข่ายว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

1.การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จกับบุคคลอื่น

2.บิดเบือน หรือดัดแปลงข้อมูลให้ผิดแปลกไปจากเดิม

3.เข้าถึงข้อมูลผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือการแฮ็คกิ้ง

4.เปิดเผยข้อมูลสำคัญกับบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ

5.ทำลายข้อมูลจนเกิดความเสียหายแก่บริษัท และบุคคล

7.เข้าควบคุมระบบโดยไม่ได้รับอนุญาติ ไม่ว่าจะเป็นแค่บางส่วนหรือไม่ก็ตาม

8.โจมตีเครือข่ายหลักที่ให้บริการก่อให้เกิดความเสียหาย

9.การส่ง Malware ทำลายระบบ เครือข่าย

10.สร้างข่าวเท็จ อีเมล์ลูกโซ่ หรือการทำสแปมใด ๆ บนเว็บไซต์ หรืออีเมล์

11.การสร้างไวรัสทำลายระบบคอมพิวเตอร์จนแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง

12.การใช้เครื่องมือสปายแวร์ในการดักจับข้อมูลผู้อื่นโดยมิชอบ

สิ่งเหล่านี้ควรจะสอนให้กับเด็ก และผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพื่อให้สร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมออนไลน์ หลาย ๆ คนคิดว่าอินเตอร์เน็ตนั้น สามารถที่จะทำอะไรตามใจอยากก็ได้ ไม่มีกฎหมายหรือใครมาจับ ถ้าเป็นแต่ก่อนกฎหมายบ้านเราอาจจะไม่รุนแรงและเข้มงวดถึงกับขนาดจับกุมถึงบ้าน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเสียทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ เรามี พรบ.คอมพิวเตอร์ใหม่ที่เข้มข้นขึ้นอย่างมาก มันจะเข้ามาควบคุมและกำกับดูแลบทลงโทษต่อผู้กระทำผิดทางไซเบอร์ ดังนั้นการเล่นโซเชียลมีเดียของเราอาจส่งผลเสียกับเราได้ถ้าละเมิดกฎหมาย ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรเคารพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไทย

ประโยชน์ของกฎหมายบังคับใช้เพื่อลดอาญากรรมทางไซเบอร์ ถ้าเราไม่ทำผิด เราก็ไม่จำเป็นต้องกลัว และกฎหมายก็ไม่ได้รังแกประชาชนที่บริสุทธิ การบังคับใช้กฎหมายต้องควบคู่ไปกับสิทธิส่วนบุคคล และสอดคล้องในด้านจริยธรรม ซึ่งเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทุกคนล้วนต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ ถ้าไม่เช่นนั้นความถูกต้องและความเป็นธรรมอาจสั่นคลอนได้ ดังนั้นในยามที่ใช้อินเตอร์เน็ต พึงคิดเสมอว่าการกระทำทั้งหมดมีผลลัพธ์ตามมา ไม่ว่าคุณจะซ่อนหรือแอบดีแค่ไหน อินเตอร์เน็ตเหมือนกับระบบกล้องวงจรปิด มันมีบันทึกที่จะใช้สำหรับตามรอยคุณได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน เคยทำอะไรไว้ก็ตาม

สิทธิในความเป็นส่วนตัว เป็นหลักขั้นพื้นฐานของกฎหมายไทย อันจะเห็นได้จากการบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ซึ่งได้ถูกยอมรับจากนานาประเทศ จึงถือได้ว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวนี้ ถือได้ว่าสำคัญ

 ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวในส่วนของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT และการสื่อสารเป็นอย่างมากทั่วทุกมุมโลก โดยเน้นหนักไปในส่วนของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารแบบไร้สาย การละเมิดสิทธิเหล่านี้นับวันจะยิ่งมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

สิทธิ หมายถึงอำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองให้ การได้รับสิทธิตามกฎหมายนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นๆในทางกฎหมาย, สิทธิ หมายถึง สิทธิตามกฎหมายหรือศีลธรรม ที่จะทำหรือไม่ทำบางอย่าง หรือที่จะได้รับหรือไม่ได้รับบางอย่างในสังคมอารยะ (civil society) สิทธิทำหน้าที่เหมือนกฎในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นอกจากคำว่า สิทธิแล้ว ใน ราชบัณฑิตยสถาน ยังสามารถใช้ได้อีกคำหนึ่งว่า สิทธิ์ ซึงมีความหมายอย่างเดียวกันแต่เขียนต่างกันความเป็นส่วนตัว หรือ สิทธิส่วนบุคคล คือ การกระทำทั้งหลายที่เป็น การกระทำเฉพาะตัว เฉพาะบุคคล

สิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือ สิทธิส่วนบุคคล  ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Privacy means หมายถึงสิทธิของบุคคลที่ประกอบไปด้วยสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ในเรื่องดังกล่าวน่าจะจัดอยู่ในเรื่องของความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งหมายความว่า สถานะที่บุคคลจะรอดพ้นจากการสังเกต การรู้เห็น การสืบความลับ การรบกวนต่างๆ และความมีสันโดษ ไม่ติดต่อสัมพันธ์กับสังคม โดยทั้งนี้ ขอบเขตที่บุคคลควรได้รับการคุ้มครองและการเคารพในสิทธิส่วนบุคคลก็คือการดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระ ตามที่ต้องการ ตามวิถีทางที่อาจเป็นไปได้และเป็นความพอใจตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

สิทธิในความเป็นส่วนตัว หรือ สิทธิส่วนบุคคล นี้นับวัน จะยิ่งถูกละเมิดสิทธินี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก ฝ่ายรัฐเอง หรือ เอกชนก็ตาม ซึ่งมีตัวอย่างของการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว เช่น

1.ห้ามไม่ให้มีการสื่อสารผ่านทางเครือข่าย Blackberry Messenger

2.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

3.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

4.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

5.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนต่อการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันทุกพื้นที่ของโลกเลยก็ว่าได้ และเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุก ๆ คน อาจไม่ดูไม่สร้างความเสียหายหรือเดือดร้อนกับเรามากนักไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือความรำคาญจากการเข้ามาละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของเรา

แน่นอนที่ทุกคนต้องได้พบ เช่น Message ต่าง ๆ  ที่ได้รับทางมือถือที่แต่ละวันส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง E-mail ต่าง ๆ ที่เป็น Forward Email ต่าง ๆ ที่สร้างความรำคาญให้กับเรา ในบางครั้งนอกจากต้องเสียหายเวลาในการเปิดอ่านแล้ว บางครั้ง E-mail เหล่านี้อาจมีการแนบ File ที่มีไวรัส ทำให้เกิดความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์  แม้ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการให้ความคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่เราเองก็มีหน้าที่ในการระมัดระวังไม่ให้ตนเองเป็นผู้ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นเองเช่นกัน

Privacy ทางคอมพิวเตอร์ คืออะไร

หมายถึง สิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผย ให้กับผู้อื่น เช่น การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ และตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรม เช่น การติดตามความเคลื่อนไหวของบุคคล การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

ความเป็นส่วนตัว เป็นอย่างไร

ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลําพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของ สามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่ม บุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท

υ จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะ ตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย υ 1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) υ 2.ความถูกต้อง (Accuracy) υ 3.ความเป็นเจ้าของ (Property) υ 4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

วิธีในการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลสารสนเทศอย่างไร

วิธีปกป้องตัวตน Digital บนโลกออนไลน์ทำอย่างไรบ้าง.
1. ตั้งรหัสผ่านที่เดายาก ไม่ใช้ซ้ำ และหมั่นเปลี่ยนอยู่เสมอ ... .
2. หมั่น Update ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ ... .
3. หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ ... .
4. อย่าแชร์ทุกอย่างที่คิด ก่อนแชร์ให้คิดก่อนเสมอ ... .
5. จดบันทึกประวัติการใช้งานทางการเงิน ... .
6. ตรวจสอบประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตเสมอ.