พระแท่น ม นั ง ค ศิลา Pantip

งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ประจำปี 2566 เริ่มขึ้นแล้วอย่างยิ่งใหญ่ ประชาชนทุกสารทิศเดินทางร่วมงานและนมัสการพระท่นอย่างคึกคัก

วันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 15.30 น. ณ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง จังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง จัดพิธีเปิดงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ประจำปี 2566 ประกอบด้วย พิธีทำบุญทักษิณานุปทานแด่บูรพาจารย์ จัดขบวนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขบวนแห่เครื่องนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ และขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมสามวัฒนธรรมจาก 9 อำเภอ ได้แก่ ขบวนวัฒนธรรมล้านช้าง ขบวนวัฒนธรรมไทยกลาง ขบวนวัฒนธรรมล้านนา, พิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภช และพิธีเปิดงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ประจำปี 2566 จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุดอุตรดิตถ์ท่าเหนือ ชุดฟ้อนขันดอกทิพย์บุปผา และการแสดงท่ามวยพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งการแสดงแสง สี เสียง ตำนานพระแท่นศิลาอาสน์ โดยมี พระเทพโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพสิรินทราวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธี ฝ่ายฆราวาส ลั่นฆ้องชัยเปิดงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ มีนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธี ซึ่งปีนี้การจัดงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 25 มกราคม-5 กุมภาพันธ์ 2566 ณ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง เชื่อมโยงกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระนอนพุทธไสยาสน์ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อสืบสานรักษาและพัฒนาต่อยอด ประเพณีการบูชาพระแท่นศิลาอาสน์ในกลางเดือนสาม ในการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับชุมชนและจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม ประกอบด้วย การนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ พระยืน และพระนอน, พิธีกวนพุทราแขวนบาตรบูชาพระแท่นศิลาอาสน์, กิจกรรมการถือศีลปฏิบัติธรรม, พิธีทำบุญตักบาตรพระร้อยรับรุ่งอรุณวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 3, พิธีเททองหล่อพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และรูปเหมือนพระครูรัตนธรรมโสภณ, พิธีเวียนเทียนรอบพระแท่นศิลาอาสน์ และการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและสินค้าท้องถิ่นของชุมชน และจังหวัดใกล้เคียงจำนวน 2,000 กว่าร้าน

ข้อความข้างต้นผมคัดมาจากข้อเขียนที่ชื่อว่า “อภินิหารการประจักษ์” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้บันทึกถึงเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.2376 ที่รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังผนวชเป็นวชิรญาณภิกขุ ก่อนครองราชย์ ได้ธุดงค์ไปยังเมืองเก่าสุโขทัย และได้พบ “แท่นศิลา” ที่ต่อมาคนไทยต่างรู้จักกันในชื่อของ “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” เอาไว้

แน่นอนว่า การธุดงค์ของรัชกาลที่ 4 ในครั้งนี้ มักจะถูกกล่าวขานกันถึง การนำศิลาจารึกหลักสำคัญของไทยคือ จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ลงมาไว้ที่กรุงเทพฯ พร้อมกับพระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกวัดป่ามะม่วง ของพญาลิไท หรือจารึกสุโขทัยหลักที่ 4

อย่างไรก็ตาม ในข้อเขียนที่เก่าที่สุดที่พูดถึงการเดินทางครั้งนั้นของพระองค์อย่าง อภินิหารการประจักษ์ ของกรมพระปวเรศฯ ที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือวชิรญาณ ฉบับประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2400 ซึ่งก็คือข้อเขียนชิ้นเดียวกับที่ผมยกข้อความมาให้อ่านกันบนย่อหน้าแรกสุดนั้น กลับไม่ได้กล่าวถึงศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเลย

ทั้งๆ ที่ข้อเขียนชิ้นนี้ เล่าถึงเล่าถึงประวัติการค้นพบพระแท่นมนังคศิลาบาตรอย่างละเอียด ในระดับที่ระบุลงไปชัดๆ เลยว่า รัชกาลที่ 4 ตรัสว่าอะไรบ้าง (ถึงแม้จะเป็นที่รู้กันดีว่า เป็นเพียงโวหารที่กรมพระปวเรศฯ แต่งแต้มสีสันขึ้นก็ตาม) ในคราวที่จะนำพระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกวัดป่ามะม่วงจากสุโขทัยลงมา

 

ต้องอย่าลืมนะครับว่า กรมพระปวเรศฯ นั้น เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารลำดับถัดจากพระวชิรญาณเถระที่ลาสิกขาออกไปครองราชย์ และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะใหญ่ของธรรมยุติกนิกาย (อันเป็นนิกายที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาขึ้น) เป็นพระองค์แรกอีกต่างหาก เรียกได้ว่าเป็นคนสนิทที่รัชกาลที่ 4 ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นอย่างยิ่ง

แต่ที่น่าสงสัยใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ภายหลังจากเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เขียนบทความเรื่อง “เทสนาพระราชประวัติพระบาดสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในหนังสือวิชรญาณ เมื่อปี พ.ศ.2425 (คือ 25 ปีหลังจากอภิหารการประจักษ์ ของกรมพระปวเรศฯ) ซึ่งนับเป็นข้อเขียนชิ้นแรกที่ระบุว่า รัชกาลที่ 4 ได้ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงกลับมาจากสุโขทัยพร้อมพระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกวัดป่ามะม่วงนั้น กรมพระปวเรศฯ ก็ยังดูค่อนข้างที่จะหลากใจกับศิลาจารึกที่เรียกกันว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง

ดังปรากฏในข้อเขียนเรื่อง “ขอมและไทยโบราณ อักษรจารึกในเสาศิลา ณ เมืองสุโขทัย” ของพระองค์ ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเมื่อ พ.ศ.2427 ดังความที่ว่า

“เสาศิลาอีกเสา 1 อยู่ใกล้เคียงแท่นแผ่นศิลา (หมายถึงพระแท่นมนังคศิลาบาตร) ที่ว่ามาข้างต้นนั้นแล้ว แต่เสาศิลาต้นนี้มีเปนอักษรไทยโบราณชาวเหนือ รูปอักษรก็ไม่เหมือนอักษรไทยทุกวันนี้ รูปคล้ายหนังสือย่อ แต่ว่าประสมสระข้างหลังทุกสระ สระเบื้องบนลากข้างหามีไม่ ประหลาดนัก ถึงเช่นนั้นก็ยังมีผู้อ่านเอาความได้โดยมาก คนอ่านถูกต้องกันเปนที่เชื่อไว้ใจได้จึงได้แปลความในเสาศิลา อ้างถึงแท่นศิลาที่ว่าไว้ข้างต้นนั้น”

กรมพระปวเรศฯ บอกกับคนอ่านชัดๆ เลยนะครับว่า “คนอ่านถูกต้องกันเปนที่เชื่อไว้ใจได้” จากนั้น “จึงได้แปลความในเสาศิลา” หมายความว่าก่อนหน้าที่จะมีใคร “อ่านถูกต้องกัน” พระองค์คงจะไม่ค่อย “เชื่อไว้ใจได้” เท่าไหร่นักนั่นเอง

 

ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ กรมพระปวเรศฯ ก็เหมือนใครต่อใครอีกหลายคน ที่ “เชื่อไว้ใจได้” จากการที่จารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักนี้ “อ้างถึงแท่นศิลาที่ว่าไว้ข้างต้นนั้น”

พูดง่ายๆ ว่า การที่จารึกพ่อขุนรามคำแหงพูดถึง “แท่นศิลา” โดยเรียกว่า “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” ซึ่งกรมพระปวเรศฯ มั่นใจว่า รัชกาลที่ 4 ได้นำลงมาจากเมืองเก่าสุโขทัยนั้น เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้พระองค์พอจะเป็น “ที่เชื่อไว้ใจ” ในตัวจารึกหลักนี้ได้

แต่มันก็เป็นไปได้ไม่ใช่เหรอครับว่า ถ้าศิลาจารึกหลักนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว คณะผู้สร้างจารึก (เพื่อเหตุผลอะไรสักอย่างหนึ่ง ซึ่งออกจะยืดยาวเกินไปถ้าจะพูดถึงในที่นี้) ก็ต้องสร้างข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอื่นๆ ให้แนบเนียนด้วยเช่นกัน ดังนั้น ถ้าศิลาจารึกหลักที่เรียกกันว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้นจะพูดถึงพระแท่นมนังคศิลา เพื่อชักชวนให้คนอ่านเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเพราะเป็นที่รู้กันดีว่า รัชกาลที่ 4 ได้ไปนำเอาแท่นศิลาหลักหนึ่งมาจากกลางป่าเมืองเก่าสุโขทัย เพื่อให้มา “ฟังเทศน์จำศีล” อยู่ที่เมืองบางกอกด้วยกัน ก็ไม่เห็นจะว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่ตรงไหน?

 

ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงเรียกอะไรที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” ว่า “มนังษีลาบาตร” ซึ่งก็คือสิ่งที่ใครต่อใครต่างพากันชี้เป้าว่าคือ “แท่นศิลา” ที่รัชกาลที่ 4 นำลงมาจากเมืองสุโขทัยเก่านี้เอง

แต่ในข้อมูลเก่าก็บอกอยู่โต้งๆ นะครับว่า คนยุคโน้นเค้าเห็นเป็น “แท่นศิลา” ถ้าไม่ไปอ่านจากจารึกพ่อขุนราม ก็ไม่เห็นจะมีใครที่ไหนเห็นว่าแผ่นหินนี้เป็น “บัลลังก์” ของพ่อขุนรามคำแหงเลยเสียหน่อย

ที่สำคัญก็คือ “แท่นศิลา” ที่รัชกาลที่ 4 นำมาจากเมืองเก่าสุโขทัยแต่เดิมก็คงมีรูปลักษณะเป็น “แผ่นหิน” แบนๆ ที่มีเฉพาะลวดลายแถวกลีบบัวหงาย ไม่ใช่ “บัลลังก์”

รูปลักษณะอย่างบัลลังก์ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเป็น รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นำกระดานหินนี้ไปเสริมฐานรูปสิงห์แบกขึ้นมา เพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์

 

อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ผู้วิจัยในเรื่องจารึกพ่อขุนรามคำแหงอย่างเป็นจริงจัง ได้แสดงความเห็นเอาไว้ในงานวิจัยเรื่อง “จารึกพ่อขุนรามคำแหง วรรณคดีประวัติศาสตร์การเมืองแห่งกรุงสยาม” ว่าคำว่า มนังษีลาบาตร นั้น ผู้แต่งศิลาจารึกหลักที่ 1 คงจะได้ความคิดมาแท่นหิน “มโนศิลาอาสน์” ในหนังสือ “ไตรภูมิโลกยวินิจฉยกถา” ที่รัชกาลที่ 1 โปรดให้รวบรวม และเรียบเรียงเรื่องเกี่ยวกับไตรภูมิทั้งหมดเข้าไว้ในนั้น โดยชำระแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2345 ดังความที่ว่า

“ณ เบื้องบนแผ่นศิลาลาดนั้น มีมโนศิลาอาสน์อันใหญ่ มีประมาณได้ 3 โยชน์ มีพรรณอันแดงงามพิเศษ”

ในจักรวาลของไตรภูมิโลกยวินิจฉยกถานั้น “มโนศิลา” เป็นแร่ธาตุที่มีค่าสูงส่งยิ่งกว่า เงิน, ทอง, แก้วมณี และแก้วผลึก โดยเป็นมีลักษณะเป็นหินสีแดง (คำว่า มโนศิลา ในภาษาบาลีโดยทั่วไปนั้น หมายถึง สารหนูชนิดหนึ่ง ที่มีสีแดง) ดังนั้น “มโนศิลาอาสน์” จึงได้ “มีพรรณอันแดงงามเป็นพิเศษ” ซึ่งก็เป็น “อาสนะ” คือ “ที่นั่ง” ที่เพิ่งจะมีปรากฏในปรัมปราคติเป็นครั้งแรกในหรังสือไตรภูมิสมัยรัชกาลที่ 1 นี้เอง ดังนั้น พ่อขุนรามคำแหง ท่านจะไปมีพระแท่นที่สร้างตามคติในสมัยต้นกรุงเทพฯ ได้อย่างไรกัน?

แน่นอนว่า อะไรที่พวกเราในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” นั้นไม่ได้มีสีแดง แต่จะอย่างไรได้เล่าครับ ในเมื่อไตรภูมิฉบับนี้เขาเรียบเรียงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนแท่นศิลานั้นไปได้มาจากสุโขทัยเอาเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 ยังผนวชอยู่

อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตด้วยว่า “อาสน์” หมายถึง ที่นั่งแบนๆ อย่างอาสนะสงฆ์ ไม่จำเป็นต้องมีขาอย่างเก้าอี้ ซึ่งก็เป็นอย่างเดียวกับลักษณะของแท่นศิลาแบนๆ ที่รัชกาลที่ 4 ได้มาจากสุโขทัย ก่อนจะถูกต่อเติมให้มีขากลายเป็นบัลลังก์ในสมัยรัชกาลที่ 6

แถมในจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้นยังบอกด้วยว่า “มนังษีลาบาตร” นี้ตั้งอยู่กลางสวนตาลของพ่อขุนรามคำแหง ไม่ต่างอะไรกับที่ไตรโลกวินิฉยกถาระบุว่า “มโนศิลาอาสน์” ตั้งอยู่กลางป่าหิมพานต์

เอาเข้าจริงแล้ว การปรากฏขึ้นของ “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชวนให้สงสัยในที่มาของจารึกหลักนี้ มากกว่าที่จะชวนให้ “เชื่อไว้ใจได้” อย่างที่กรมพระปวเรศฯ เคยเข้าใจอย่างนั้น

พระแท่นมนังคศิลาบาตร คืออะไร

"พระแท่นมนังคศิลาบาตร" แผ่นหินที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพบคู่กันกับศิลาจารึกเมื่อครั้งยังทรงผนวช พระแท่นนี้มีความหมายทางด้านการเมืองการปกครองในแผ่นดินสยามอย่างไร

พระแท่นมนังคศิลาบาตรปัจจุบันอยู่ที่ใด

“พระแท่นมนังคศิลาบาตร” (?) จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ภาพจาก: หนังสือพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี)

พระแท่นมนังคศิลาบาตรสร้างขึ้นในสมัยใด

ตำนานพระแท่นมนังคศิลาบาต ปฐมภาค เป็นโคลงลิลิตน เรื่องเริ่มสร้างขึ้นเป็นพระแท่นทรงอนุศาสน์ ของสมเด็จพระร่วงเจ้า รามคำแหง กรุงสุโขทัยราชธานี

พระแท่นมนังคศิลาบาตรใช้ในการทำอะไร

ใช้ทำอะไร? ในจารึกบอกว่า “ขดานหินนี้ชื่อมนังคศิลาบาตร” ถ้าเป็นวันพระก็ใช้เป็นอาสนะพระสงฆ์เทศนา “สูดธรรม” แก่อุบาสก ถ้าไม่ใช่วันพระ “พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือขดานหินให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุนฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง” ซึ่งน่าจะหมายถึงใช้เป็นบัลลังก์