หลักการและเหตุผล สื่อออนไลน์

ในปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อันเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพมีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ในขณะนี้เกือบร้อยละ 90 ของมนุษย์ในปัจจุบันได้มีการใช้สมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลาย เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์จากสถิติต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นั้นเป็นเด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และสะท้อนให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้ใช้เวลาของตนเองเข้าไปในโลกอินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน ซึ่งผลกระทบที่ตามมาหากขาดการควบคุมดูแลจากผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้องก็อาจส่งผลเสียต่อเด็กที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากการใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียเหล่านั้น อย่างไรก็ตามสมาร์ทโฟนยังคงเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณาในประเด็นของเนื้อหาที่มีอยู่มากกว่าพันล้านเว็บไซต์ทั่วโลกนั้น จะมีทั้งส่วนของเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเนื้อหาที่ก่อให้เกิดโทษ โดยอินเทอร์เน็ตถือเป็นสื่อที่ควบคุมดูแลยากที่สุดทั้งในแง่ของเนื้อหาสาระ และผู้รับสาร ซึ่งทำให้เด็กหรือเยาวชนที่มีวุฒิภาวะไม่เพียงพอต่อการพิจารณาใช้สื่อโซเชี่ยลให้ถูกวิธีอันทำให้เกิดผลเสียต่อการดำรงชีวิตทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก เยาวชน และคนในสังคมได้ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบกับการศึกษา หรือผลกระทบต่อสังคม ต่อครอบครัว ซึ่งในปัจจุบันการเข้าถึงโซเชี่ยลมีเดียไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแท็บเล็ตเท่านั้น ผสานกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายของผู้ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การเข้าสู่โซเชี่ยลมีเดียเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างง่ายดายเพราะใครๆก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ใน ทุกที่ ทุกเวลา แม้แต่ขณะเดินทาง ดังนั้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในสังคมซึ่งเริ่มจากวัยเด็กจนถึงวัยทำงานโดยเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเป็นช่องทางในการสื่อสารที่มีความหลากหลายรูปแบบ โดยมีทั้งสื่อที่ช่วยพัฒนาและสื่อที่เสริมสร้างความรุนแรงปะปนกันอยู่ในการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งไม่ได้ทำให้เด็กและคนในสังคมเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกทักษะทางสมองและทักษะทางความคิดได้อีกด้วย โดยจำเป็นต้องมีการแนะนำวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาทางพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพต่อไป จากความสำคัญดังกล่าวชมรม อสม.ตำบลปูยูจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

ปัจจุบันสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสื่อที่ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่ครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลาย รูปแบบ อาทิเช่น การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (Computer Based Learning) การเรียนรู้บนเว็บ (Web-Based Learning) และห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classrooms) เป็นต้น โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศได้ทุกประเภท เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)

จากที่กล่าวมาข้างต้น การศึกษาผ่านสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสื่อที่มีความสําคัญมากสําหรับ การเรียนรู้ในปัจจุบัน และเติบโตแพร่หลายไปในทั่วโลก เพราะจุดเด่นของการเรียนการสอนผ่านสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศ คือ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเนื้อหาวิชาความรู้ต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นการ แก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ที่มีความสามารถโดยทําให้ผู้เรียนสามารถเรียนกับอาจารย์เหล่านั้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งสามารถเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียนนอกห้องเรียนได้ และระบบการเรียนรู้กับคอมพิวเตอร์ที่ดีจะ สามารถช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะไปได้รวดเร็วกว่าการเรียนในห้องเพียงอย่างเดียว

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการส่งเสริมให้ครูและนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดการเรียนการสอน จึงได้ จัดทําโครงการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนในสังกัดสาํ นักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน สถานศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษาตามความแตกต่างของสถานศึกษาในแต่ละภูมิภาค โดยจําแนกการพัฒนา ตามภูมิภาค ดังนี้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงหนือตอนล่าง ภาค กลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้