กฎหมายวิธีสบัญญัติ หมายถึง

                �������Ը�ʺѭ�ѵ� �繡���������ǡѺ��ô��Թ��� ����������зӼԴ���Ѻ�� �ҡ�繤���ҭҡ��ͧ������š������ԸվԨ�óҤ����ҭ� ���㹻����š����´ѧ����ǨС�˹��ӹҨ˹�ҷ��ͧ��Ҿ�ѡ�ҹ�ͧ�Ѱ㹡�ô��Թ����ҭ� �����ͧ�ء�� ������� ����ͺ�ǹ�������Ҿ�ѡ�ҹ ��ÿ�ͧ��յ����� ��þԨ�óҤ�� ��С�þԾҡ�Ҥ������ ŧ�������зӤ����Դ  

1.การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะแห่งการใช้ เป็นการแบ่งแยกโดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้กฎหมายเป็นหลัก ได้แก่

-กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาหรือเรื่องทั่วๆไป เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมความประพฤติรวมไปถึงกำหนดสิทธิและหน้าที่ต่างๆของพลเมืองไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา

-กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการหรือวิธีการที่จะบังคับหรือดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัตินั่นเอง ได้แก่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฯลฯ ตัวอย่างเช่นในประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าผู้ใดฆ่าผู้อื่นผู้นั้นมีความผิด แต่ไม่ได้กำหนดว่ามีจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไร ไม่มีขั้นตอนการดำเนินการกำหนดไว้ เราก็ต้องอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เราอาจเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างง่ายๆได้ว่า หากเราเปรียบเทียบว่ากฎหมายสารบัญญัติเปรียบได้กับเครื่องกรองน้ำที่ใช้ในการกรองน้ำให้สะอาด  กฎหมายวิธีสบัญญัติก็จะหมายถึงวิธีการใช้เครื่องกรองน้ำนั้นหรือกระบวนการการทำงานของเครื่องกรองน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำสะอาดให้เราใช้ดื่มกินนั่นเอง ถ้าเราไม่รู้วิธีใช้หรือไม่มีกระบวนการการกรองน้ำติดตั้งอยู่ในเครื่อง เราก็จะทำการกรองน้ำให้สะอาดไม่ได้  เช่นเดียวกันนี้ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติ การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติก็จะทำได้ยาก เพราะไม่มีแบบแผนและวิธีการแน่นอน ขาดความเป็นระเบียบและไร้ประสิทธิภาพ

2.แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี ได้แก่

-กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ซึ่งกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละเอกชน รวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ของเอกชนที่มีต่อเอกชนด้วยกันด้วย กฎหมายเอกชนก็ได้แก่กฎหมายแพ่ง  และกฎหมายพาณิชย์  กฎหมายแพ่งจะกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่รวมไปถึงความสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วนกฎหมายพาณิชย์ก็จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกัน เช่น กำหนดถึงสิทธิแบะหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาซื้อขาย คู่สัญญากู้ยืมเงิน ฯลฯ

-กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรํฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าที่ของรัฐกับประชาชน เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

-กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆในโลกต้องมีการติดต่อมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ทั้งในการค้า เศรษฐกิจ และการประสานงานช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอาจมาในรูปของสนธิสัญญา จารีตประเพณีหรือความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศอาจไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ  เช่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ฯลฯ

แต่อย่างไรก็ตาม  อาจมีกรณีที่กฎหมายฉบับหนึ่งมีเนื้อหาทั้งส่วนสารบัญญัติและวิธีสบัญยัติรวมอยู่ด้วยกันได้  เช่น  พระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งมีเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ องค์ประกอบ และสภาพบังคับ  เป็นกฎหมายสารบัญญัติ และมีเนื้อหาที่กล่าวถึงวิธีการดำเนินคดีล้มละลาย  ซึ่งกฎหมายวิธีสบัญญัติรวมอยู่ด้วย6

กฎหมายวิธีสบัญญัติ มีอะไรบ้าง

กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง และกล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด กฎหมายสารบัญญัติทางอาญา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติต่างๆ ที่บัญญัติความผิดทางอาญาและกำหนดโทษทางอาญาไว้ ส่วนกฎหมายสารบัญญัติทางแพ่ง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและ ...

ข้อใดเป็นประเภทของกฎหมายสารบัญญัติ

1.1 กฎหมายสารบัญญัติ(Substantive Law) หมายถึง กฎหมายที่กําหนดสิทธิหน้าที่ตลอดจนความรับผิดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ ว่าทางแพ่งหรือทางอาญาแก่บุคคล เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา

ความสําคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง

กฎหมายทาให้เกิดความสงบและความเป็นระเบียบขึ้นในสังคม เพราะหลักกฎหมายเป็นลักษณะของ ข้อห้ามมีบทลงโทษสาหรับผู้ควรทาผิดที่ชัดเจน ดังนั้นกฎหมายจึงท าให้ประชาชนทุกคนมีความยาเกรงเพราะการฝ่าฝืนกฎหมายจะได้รับการลงโทษ อย่างเฉียบขาด เป็นเครื่องมือสาคัญที่ทาให้เกิดความสงบสุขของประเทศชาติ

กฎหมายมหาชนคืออะไรมีอะไรบ้าง

กฎหมายมหาชน (อังกฤษ: public law) คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐ หรือความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงถึงสังคม อาจแบ่งเป็นกฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง กฎหมายภาษี กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาคดี ส่วนกฎหมายที่ว่าเฉพาะด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันนั้นเรียก ...