เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ตัวอย่าง

เป็นการศึกษาวิจัยประเภทหนึ่งที่มุ่งเน้นศึกษาปรากฏการณ์ในภาพรวม ซึ่งสังเกตสิ่งที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติ โดยปรกติแล้วนิยมใช้การวิเคราะห์จากเอกสาร แบบสัมภาษณ์ และการสังเกตเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เป็นภาพรวมและหลากหลายมิติ โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นต้องสามารถครอบคลุมลักษณะสำคัญทั้ง 5 ของการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย

  1. ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักในการวิเคราะห์
  2. มุ่งทำความเข้าใจเชิงลึก เช่น รายละเอียด บริบท องค์รวม หรือพลวัตของสิ่งที่ศึกษา เป็นต้น
  3. มีการเก็บข้อมูลที่หลากหลายและเหมาะสมกับรูปแบบข้อมูล
  4. สามารถออกแบบกระบวนการได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อความสอดคล้องตามประเด็นที่ศึกษา
  5. วิเคราะห์โดยอาศัยการตีความจากข้อมูลเป็นหลัก

ซึ่งในการเสาะหาข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการการสังเกตุและการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมกับประเภทของการวิจัยและมีประสิทธิภาพดังที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นนั้น ก็มีความจำเป็นต้องควรคุมและใช้วิธีที่เหมาะสมด้วย ซึ่งสามารถแสดงได้ดังนี้

  1. การสังเกตในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ

การสังเกตในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องศึกษาและบันทึกผลไปตามความเป็นจริงและเป็นวัตถุวิสัย (Objective) โดยไม่มีการดัดแปลงหรือใส่ความเห็นของตนในกระบวนการนี้ นอกจากนั้นยังต้องกำหนดจุดยืนของผู้ศึกษาวิจัยต่อปรากฎการณ์ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับชุดข้อมูลที่ต้องการ ในปัจจุบันการวิจัยเชิงคุณภาพนิยมใช้การสังเกต 2 ประเภทในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

  1. การสัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ

การสัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือกึ่งโครงสร้าง กล่าวคือเป็นคำถามที่ยืดหยุ่นไปตามประเด็นของกลุ่มตัวอย่าง มีลักษณะเป็นการสนทนาโต้ตอบ และเป็นคำถามปลายเปิด โดยนอจกาประเด็นของคำถามแล้ว ในการสัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาวิจัยเองจะต้องมีทักษะมีความรู้ลึกและกว้างในเรื่องที่สัมภาษณ์ รวมถึงมีความสามารถในการจับประเด็น เพื่อดำเนินการสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบและมีโครงสร้างที่เหมาะสมกับประเด็นที่สนทนาอยู่

เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ตัวอย่าง

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการศึกษาวิจัยประเภทหนึ่งที่มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มากกว่าสองตัวแปรขึ้นไป โดยตัวแปรต้นและตัวแปรามต้องมีความสัมพันธ์เชิงเส้น และมีแบบจำลองของการวัดปริมาณเชิงบวก (additive model) มีจุดประสงค์ในการทำนายความเป็นไปได้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับลักษณะที่ศึกษาในอนาคต ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นต้องคำนึงถึงคุณภาพในองค์ประกอบของ 3 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. คุณภาพของกลุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือในการหากลุ่มตัวอย่าง
  2. คุณภาพของเครื่องมือในการวิเคราะห์ และการเก็บข้อมูล
  3. ความเหมาะสมในการเลือกประเภทของการวิจัยให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา

การวิจัยเชิงปริมาณส่วนมากนิยมเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และทำการประมวลผลข้อมูลผ่านระบบสถิติเป็นหลัก ซึ่งในข้อกำหนดที่เคร่งครัดของการวิจัยเชิงปริมาณนั้น ได้กำหนดให้มีการใช้แนวทางปฏิฐานนิยม (Positivism)ในการอธิบายปรากฎการณ์และผลการศึกษา เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของการสรุปชุดข้อมูลให้มากที่สุดแม้จะไม่สามารถลบความคลาดเคลื่อนของชุดข้อมูลได้ทั้งหมดก็ตาม การวิจัยเชิงปริมาณจึงนิยมกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ไว้เพื่อระบุถึงแนวโน้มที่ชุดข้อมูลในการศึกษาที่ อาจจะผิดพลาดได้ ในร้อยละ 1 หรือร้อยละ 5 ตามแต่ความเหมาะสมของชุดข้อมูล

นอกจากความเคร่งครัดในการกำหนดแนวทางแบบปฏิฐานนิยมในการศึกษาแล้ว การวิจัยเชิงปริมาณยังเน้นถึงการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน หรือตัวแปรควบคุมให้มีความเสถียร เพื่อให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และเน้นไปยังการกำหนดมิติหรือองค์ประกอบขององค์ประกอบของปรากฎการณ์ที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเครื่องมือวิเคราะห์เชิงสถิติ และไม่ผลการศึกษาวิจัยในรูปแบบของตัวเลขเพื่อสร้างผลการศึกษาเชิงประจักษ์

ข้อมูลเชิงคุณภาพ VS ข้อมูลเชิงปริมาณ

ข้อมูลเชิงคุณภาพ  หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถเปรียบเทียบเชิงปริมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่าได้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลที่แสดงฐานะ สถานภาพ คุณสมบัติ ตัวอย่างของข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ ชื่อของพนักงานในบริษัท เพศ วัน เดือน ปี ชนิดของสินค้า เป็นต้น  ถึงแม้ว่าข้อมูลประเภทนี้จะกำหนดด้วยตัวเลขก็ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับเชิงปริมาณได้เช่น หมายเลขโทรศัพท์ บ้านเลขที่ หรือการกำหนดตัวเลขแทนข้อมูลบางอย่าง เช่น 1 แทนเพศชาย  และ 2 แทนเพศหญิง แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า 2 มีค่ามากกว่า 1 ตัวเลขทั้งสองเป็นแต่เพียงแสดงว่าแตกต่างกัน  เท่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเบื้องต้นจะกระทำได้ด้วยการเปรียบเทียบจำนวนความถี่ของข้อมูล หรือการเปรียบเทียบ    ปริมาณของค่าสัมพัทธ์  ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลประเภทนี้ไม่สามารถบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้
ข้อมูลเชิงปริมาณ หมายถึง ข้อมูลที่แสดงปริมาณ หรือขนาดที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในลักษณะมากกว่าหรือน้อยกว่าเป็นจำนวนเท่าไร ข้อมูลประเภทนี้มักเป็นข้อมูลที่แสดง ค่าเป็นตัวเลข เช่น จำนวนนักศึกษาในวิทยาลัยต่าง ๆ อายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า อุณหภูมิของร่างกายของคนป่วยหลังจากการผ่าตัด เป็นต้น
          ข้อสังเกตสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ จะพบว่า ข้อมูลบางอย่างมีลักษณะคล้ายกันมากแต่จัดอยู่คนละประเภท ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ จากการสำรวจความรู้สึกของลูกค้าที่เข้ามารับบริการของโรงแรม  โดยใช้แบบสอบถามเป็นคำถามปลายปิด เชตของกระทงคำถามกลุ่มหนึ่งให้ผู้ตอบเลือกคำตอบได้ 2 ประการคือ “พอใจ” กับ “ไม่พอใจ”  เซตของกระทงคำถามอีกกลุ่มหนึ่งกำหนดลำดับของความรู้สึกเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ “พอใจมาก” “พอใจ” “ไม่ค่อยพอใจ” และ “ไม่พอใจเลย”  จากตัวอย่างที่ยกมา ข้อมูลจากกระทงคำถามทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายกันมาก คือเป็นระดับความรู้สึกของผู้ตอบที่มีต่อบริการของโรงแรม แต่จะเห็นว่ามี ข้อแตกต่างกันที่  คำตอบ ในกลุ่มแรกจะแสดงถึงความแตกต่างของความรู้สึก ส่วนคำตอบในกลุ่มที่สองจะแสดงน้ำหนักของความรู้สึกซึ่งเปรียบเทียบกันในลักษณะมาก - น้อยได้   ดังนั้นข้อมูลจากคำถามกลุ่มแรกจึงจัดเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลจากคำถามในกลุ่มที่สองเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ
           เนื่องจากการวิจัยทางการบริหารการศึกษาส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ และการบริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ความสามารถในการทำงานร่วมกับมนุษย์สูงมาก การแสวงหาความรู้ความจริงด้วยการวิจัยการวิจัยของนักบริหารการศึกษาจำเป็นต้องใช้วิธีการนิรนัย (deductive) คือการเริ่มต้นจากหลักการทฤษฎีแล้วไปแสวงหาความรู้ตามหลักการทฤษฎีนั้นกับวิธีการอุปนัย (inductive) คือการแสวงหาความรู้ ความจริงจากปรากฏการณ์ หรือความรู้ย่อยๆแล้วค่อยๆสร้างเป็นหลักการและทฤษฎีขึ้นมา ดังที่กล่าวแล้วว่าศาสตร์ทางการบริหารการศึกษาเกี่ยวข้องกับมนุษย์สูงมาก ดังนั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพจึงมีความสำคัญต่อการวิจัยทางการบริหารการศึกษาด้วย


เขียนโดย Be_Enjoy ที่01:44

เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ตัวอย่าง

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ป้ายกำกับ: ข้อมูลเชิงคุณภาพ, ข้อมูลเชิงปริมาณ

ข้อมูลเชิงปริมาณ คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

Quantitative Data หรือ ข้อมูลเชิงปริมาณคือข้อมูลในรูปแบบหนึ่งที่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน ซึ่งชนิดข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวเลขโดยสามารถวัดออกมาเป็นปริมาณว่ามีจำนวนมากหรือน้อย ตัวอย่างข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ น้ำหนัก, ส่วนสูง, จำนวนประชากร, อุณหภูมิ โดยข้อมูลประเภทนี้สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้กับวิชาทางสถิติ ...

ข้อมูล เชิง ปริมาณแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลที่วัดค่าได้ว่ามากหรือน้อยในเชิง ปริมาณ เช่น รายได้ อายุ ความสูงจำนวนสินค้า ฯลฯ ซึ่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1.1 ข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าต่อเนื่องกันในช่วงที่ กำหนด สามารถแจงสมาชิกในข้อมูลได้ เช่น ความสูง อายุ ระยะทาง เป็นต้น 1.2 ข้อมูลแบบไม่ ...

เป้าหมายเชิงคุณภาพคืออะไร

๔. เป้าหมาย เป็นการบอกความต้องการภายหลังสิ้นสุดโครงการแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แบ่งเป็นเป้าหมายเชิงปริมาณและเป้าหมายเชิงคุณภาพ @ เป้าหมายเชิงปริมาณ : ระบุจำนวนของสิ่งหรือผู้ที่เราจะกระทำ @ เป้าหมายเชิงคุณภาพ : ระบุคุณลักษณะ/มาตรฐาน/ประสิทธิภาพของสิ่งนั้นๆ

อายุเป็นข้อมูลเชิงอะไร

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลที่วัดค่าได้ว่ามากหรือน้อยในเชิง ปริมาณ เช่น รายได้อายุความสูงจานวนสินค้า ฯลฯ ซึ่งแบ่งได้2 แบบ คือ