เหตุผลในการลาออก ใบสมัครงาน ภาษาอังกฤษ

แม้ส่วนใหญ่ในยุคนี้เราจะใช้เรซูเม่เป็นหลักในการสมัครงานและเป็นสิ่งที่บริษัทต่างๆ จะใช้เป็นตัวพิจารณาในการโทรเรียกมาสัมภาษณ์งาน แต่เมื่อถึงวันที่เราได้เข้าไปสัมภาษณ์งานแล้ว บริษัทส่วนใหญ่ก็มักจะนำใบสมัครของตัวเองมาให้ว่าที่พนักงานกรอกอีกครั้งอยู่ดี ซึ่งรายละเอียดที่เรากรอกในใบสมัครงานก็จะแตกต่างกันไปตามที่แต่ละบริษัทกำหนด เพราะฉะนั้นมาดูกันดีกว่า ว่าจะมีเทคนิคอย่างไรบ้างในการกรอกใบสมัครงานให้โดนผู้ว่าจ้างมากที่สุด

Show
เหตุผลในการลาออก ใบสมัครงาน ภาษาอังกฤษ
กรอกใบสมัครงานอย่างไรให้ได้งาน

หาข้อมูลบริษัท

อันดับแรกเลยคือเราควรศึกษารายละเอียดของบริษัทที่เราอยากสมัครงานให้ดีก่อน เพื่อจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานก่อนเข้าไปสัมภาษณ์งาน อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจในองค์กรนั้นๆ และอยากเข้าทำงานที่นี่จริงๆ

สมัครงานให้ตรงตำแหน่ง

เราควรวิเคราะห์คุณสมบัติของเราก่อนว่า เรามีทักษะและประสบการณ์ที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ แค่ไหน อย่าพยายามส่งงานทั้งๆ ที่เราขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง แล้วคิดว่าบริษัทนั้นจะรับ เพราะอย่าลืมว่าเขาก็ต้องมีผู้สมัครงานคนอื่นรอเป็นคู่แข่งเราอยู่ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่ไม่ควรข้ามอีก เช่น

– การกำหนดเพศของผู้สมัคร

– การกำหนดช่วงอายุ

– เรียนจบในสาขาที่ไม่ตรงกับสายงาน

ทำความเข้าใจในใบสมัครให้ถี่ถ้วน

ก่อนเริ่มใส่ข้อมูล ควรรีวิวใบสมัครให้ครบถ้วนก่อนสักหนึ่งครั้งก่อนลงมือกรอก เพราะบางทีในใบสมัคร อาจมีคำแนะนำหรือคำสั่งอื่นๆ ให้ปฏิบัติตาม เช่น ให้พิมพ์หรือให้เขียน ภาษาที่ต้องใช้ควรเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เป็นต้น จากนั้นให้ทำตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง

เอกสารต้องพร้อม รายละเอียดต้องครบ

ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญทั้งหมด ควรเตรียมไปให้ครบทั้งแบบตัวจริงและแบบสำเนา ในส่วนของสำเนานั้น ควรเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบทุกใบ โดยเอกสารที่ควรเตรียมไปให้พร้อม ได้แก่

– บัตรประชาชน พร้อมเลขที่บัตร และวันหมดอายุบัตร

– ทะเบียนบ้าน

– ใบทรานสคริปต์

– ใบรับรองการจบการศึกษา หรือ วุฒิการศึกษา

– ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหาร (สด. 43) สำหรับพนักงานผู้ชาย

– เรซูเม่

อุปกรณ์ต่างๆ ก็จำเป็นไม่แพ้กัน

ใบสมัครงานส่วนใหญ่มักจะให้กรอกด้วยลายมือ ดังนั้นควรเตรียมปากกาของตนเองไปให้พร้อม ไม่ควรลืมเด็ดขาด เพราะหากต้องไปยืมหยิบยืมปากกาที่บริษัทที่เราไปสัมภาษณ์ อาจทำให้ไม่ดูดีและดูไม่เป็น Professional ได้ นอกจากนี้ยังควรเตรียมกาวหรือลวดเย็บกระดาษไปเผื่อได้ สำหรับการใช้แนบรูปลงในใบสมัครงาน

โชว์สกิลวิชาคัดไทยสมัยยังเด็ก

เรื่องของความเรียบร้อยก็เป็นสิ่งสำคัญนะ ควรกรอกด้วยลายมือที่อ่านง่ายและชัดเจน หากเขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก ฝ่ายบุคคลอาจจะอ่านไม่ออก ทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ หรือให้อีกแง่เขาอาจจะมองไม่ดี ทำให้เราดูไม่น่าเชื่อถือได้เช่นกัน ด้านปากกาที่ใช้ควรเป็นปากกาหมึกสีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น ห้ามใช้ปากกาสีอื่นโดยเด็ดขาด ก่อนเขียนควรทบทวนข้อมูลในแน่ใจเสียก่อน เพื่อป้องกันการเขียนผิด รวมไปถึงเรื่องการสะกดคำด้วย แต่หากเขียนผิดจริงๆ ให้ใช้น้ำยาลบคำผิด ลบแล้วเขียนทับให้เรียบร้อย

กรอกรายละเอียดให้ครบทุกช่อง

ในใบสมัครงาน มักมีรายละเอียดให้กรอกมากมาย เราควรกรอกให้ครบทุกช่อง ไม่ควรเว้นว่างเอาไว้ เพราะทุกข้อมูลที่บริษัททำไว้ใบในสมัครงาน คือข้อมูลทั้งหมดที่เขาต้องการจากเรา ไม่ได้เป็นตัวเลือกว่าจะสามารถกรอกไม่กรอกอันไหนก็ได้ เพราะถ้าเรากรอกไม่ครบ ฝ่ายบุคคลอาจจะมองว่าเราขาดคุณสมบัติในบางข้อ แล้วทำให้เขาหันไปเลือกคู่แข่งคนอื่นที่มีข้อมูลครบได้

ส่วนช่องไหนที่เราไม่มีข้อมูลนั้นจริงๆ ให้กรอกเครื่องหมาย (-) ลงไป ไม่ควรเว้นว่างเอาไว้เช่นกัน

ใส่ข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานให้ชัดเจน

อีกหนึ่งข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งในใบสมัครงาน คือเรื่องของการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน เพราะเป็นรายละเอียดที่บริษัทจะพิจารณาว่าเราเรียนจบมาตรงสายไหม ประสบการณ์ตรงแค่ไหน เพื่อนำมาพิจารณารับเราเข้าทำงาน โดยรายละเอียดการกรอกควรเป็นดังนี้

– เริ่มกรอกจากปัจจุบันก่อน แล้วค่อยย้อนไปยังอดีต

– ระบุปี พ.ศ. ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดให้ชัดเจน

– ที่ทำงานล่าสุด หากยังทำงานอยู่ ให้ใส่ ปี พ.ศ. ก่อน แล้วตามด้วย (-ปัจจุบัน)

– ข้อมูลการศึกษา ควรระบุชื่อสถานศึกษา ชื่อคณะ ชื่อวิชาเอก

– ข้อมูลการทำงาน ควรระบุชื่อบริษัท ชื่อตำแหน่ง และหน้าที่การทำงานแบบคร่าวๆ

เด็กจบใหม่ล่ะ กรอกอย่างไรดี

หากเป็นเด็กจบใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์การทำงาน ให้เปลี่ยนมาใส่รายละเอียดในการฝึกงาน การอบรม หรือกิจกรรมที่เคยทำสมัยเรียนแทน ในส่วนการอบรมหรือกิจกรรมนั้น ควรใส่เฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่เราสมัครเท่านั้น

ความสามารถพิเศษและทักษะเสริม

หากมีความสามารถพิเศษอื่นใดที่มี สามารถระบุลงไปได้เลย แต่ก็ควรเป็นความสามารถที่ดูเป็นน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับงานเท่านั้น ส่วนทักษะเสริมก็ใส่ลงไปได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ที่ระบุกัน จะเป็นทักษะด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ ทักษะภาษาที่ 2 หรือ 3 โดยทักษะเหล่านี้ ให้ระบุเป็นระดับ เช่น ดีมาก ดี ปานกลาง และควรใส่ตามความเป็นจริง

รูปถ่าย

รูปประกอบใบสมัครงาน ควรดูเป็นทางการและดูเรียบร้อย ทั้งในเรื่องของทรงผมและชุด แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เวลาถ่ายรูป เราสามารถอมยิ้มได้นิดๆ ไม่ต้องทำหน้านิ่งเหมือนสมัยก่อนแล้ว เพื่อเพิ่มความเป็นมิตรและดูธรรมชาติมากขึ้น ในส่วนของรายละเอียดที่ควรคำนึง ประกอบด้วย

– พื้นหลังควรเป็นสีฟ้า สีน้ำเงิน หรือสีขาว

–  ขนาดรูปภาพควรเป็น 1 หรือ 2 นิ้ว และควรนำติดไปทั้ง 2 ขนาด

– ควรถ่ายรูปไม่เกิน 3-6 เดือน

กรอกใบสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษ

ในยุคนี้บริษัทส่วนใหญ่มักใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ใบสมัครงานบางที่แทบจะเป็นภาษาอังกฤษล้วนด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นควรฝึกปรือสกิลการกรอกใบสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วย และหากบริษัทไหนที่ใบสมัครงานเป็น 2 ภาษา เราควรเลือกกรอกเป็นภาษาอังกฤษ จะได้ดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น อีกทั้งยังถือเป็นการโชว์สกิลด้านภาษาของเราไปในตัวอีกด้วย

บุคคลอ้างอิง

หากมีการต้องระบุชื่อบุคคลอ้างอิงลงในใบสมัครงาน เราจะต้องแจ้งบุคคลนั้นก่อน ว่าเราจะเอาชื่อของเขาไปใส่ในใบสมัครงาน เพราะบางทีฝ่ายบุคคลอาจมีการโทรไปถาม เพื่อเช็คนิสัย ความประพฤติ และการทำงานในอดีตของเรา โดยเราควรระบุบุคคลอ้างอิงอย่างน้อย 2 คน หรือตามจำนวนที่บริษัทนั้นๆ ทำช่องว่างไว้ในใบสมัครงาน ซึ่งบุคคลที่เราเลือกไม่ควรเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้อง แต่อาจจะหัวหน้าเก่าหรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ในส่วนของรายละเอียดที่ต้องระบุ ได้แก่

– ชื่อ นามสกุล พร้อมคำนำหน้า

– ตำแหน่งงาน

– เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้

เงินเดือน

ในเกือบทุกใบสมัครงานมักมีช่องเงินเดือนที่ต้องการให้เรากรอก โดยเราควรระบุเป็นช่วงเดือน เช่น 25,000-35,000 บาท โดยควรพิจารณากรอกตามความเป็นจริง ห้ามกรอกสูงจนเกินไป หรือไม่เช่นนั้นหากไม่กรอกเป็นตัวเลข อาจกรอกด้วยข้อความอื่นได้ เช่น เงินเดือนตามแต่ตกลง

ข้อมูลติดต่อต้องชัดเจนและครบถ้วน

ปิดท้ายด้วยสิ่งสำคัญที่สุด ที่ห้ามผิดพลาดโดยเด็ดขาด คือเรื่องข้อมูลการติดต่อของเรา ต้องชัดเจนครบถ้วนและห้ามผิดพลาด เพราะจุดนี้แหละที่บริษัทจะใช้ในการติดต่อกลับเรา ในกรณีที่เราได้รับข่าวดีในการเข้าทำงาน ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ปัจจุบัน เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรืออีเมลล์ ควรระบุให้ชัดเจน ถูกต้อง และตรวจทานอย่างละเอียดก่อนส่งใบสมัคร

สรุปวิธีกรอกใบสมัครงานอย่างไรให้ได้งาน

แท้จริงแล้วการกรอกใบสมัครงานอาจดูเป็นเรื่องใกล้ตัวและไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความละเอียดและความรอบคอบเป็นหลัก เพราะมีดีเทลที่ค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นเมื่อกรอกข้อมูลทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ควรอ่านซ้ำอีกหนึ่งรอบ เพื่อเช็คความถูกต้อง จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แล้วขั้นตอนต่อไปในการสมัครงานจะได้ราบรื่น ก้าวไปสู่หนทางอาชีพที่สดใสต่อไป

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เหตุผลในการลาออก ใบสมัครงาน ภาษาอังกฤษ

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

นานเท่าไรบริษัทจึงจะติดต่อมาหลังมหกรรมสมัครงานออนไลน์
การสมัครงานแบบ Walk-in ได้ผลดีแค่ไหนในปัจจุบัน
ช่างน่าอาย ตกงานเพราะรูปถ่ายสมัครงาน

ทำไมคุณถึงลาออก ภาษาอังกฤษ

ไม่มีใครที่ไม่ถามคำถาม “Why are you leaving or have left your job?” (ทำไมคุณถึงลาออกหรือกำลังจะลาออกจากงานเก่า) แน่นอนว่าคงไม่มีใครที่นึกพิเรนท์ ตอบคำถามนี้แย่ๆ ด้วยการเผาที่ทำงานเก่า หรือเจ้านายเก่าอย่างแน่นอน โดยประโยคสุดคลาสสิค และดูกลางที่สุดก็คงหนีไม่พ้นประโยคขช้างต้นนี่นี่แหละ

เหตุผลที่ ลาออกจากงาน มี อะไรบ้าง

เหตุผลที่ดีพอจะลาออกจากงาน.
1.อยากเติบโต ... .
2.บรรยากาศ งาน ผู้คน เป็นพิษ ... .
3.อยากเปลี่ยนสายงาน ... .
1.งานคือเงิน เงินคืองาน และเราต้องใช้เงิน! ... .
2.เป็นคนเบื่อง่าย.

ทําไมถึงอยากทํางานที่นี่ ตอบยังไง ภาษาอังกฤษ

ถาม: Why did you choose this type of job? (ทำไมคุณถึงเลือกสายงานนี้) ตอบ: Because I feel I am suited to this type of work, and I am sure I will enjoy it very much. (เพราะฉันคิดว่า ฉันถนัดกับสายงานนี้ และมั่นใจว่าจะทำงานนี้ได้อย่างมีความสุข) ถามเกี่ยวกับความรู้ในตำแหน่งงานและบริษัท

ข้อใดเป็นเหตุผลที่น่าจะเลือกใช้ในการลาออกจากงานเดิมเป็นสิ่งสุดท้าย

20 ตัวอย่าง เหตุผลในการลาออก ดีๆ ที่สามารถบอกกับบริษัทเดิมก็ได้ หรือ บอกกับบริษัทใหม่ เวลาเข้าสัมภาษณ์งานก็ได้.
1. ลาออก เพราะ ต้องกลับมาดูแลครอบครัว ... .
2. ลาออก เพราะ ต้องการเรียนต่อ ... .
3. ลาออก เพราะ ปัญหาสุขภาพ ... .
4. ลาออก เพราะ ต้องกลับไปดูแลธุรกิจของครอบครัว ... .
5. ลาออก เพราะ ต้องการบวช ไปศึกษาธรรมะ.