วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

โครงสร้างของพืช

                พืชประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งอวัยวะแต่ละส่วนของพืชนั้นมีหน้าที่และส่วนประกอบแตกต่างกัน แต่ทำงานเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันหากขาดอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไป อาจทำให้พืชนั้นผิดปกติหรือตายได้ และยังมีปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

ราก

ราก คือ อวัยวะที่เป็นส่วนประกอบของพืชที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ไม่มีข้อ ปล้อง ตาและ  ใบ รากเจริญเติบโตตามแรงดึงดูดของโลกลงสู่ดิน มีขนาดและความยาวแตกต่างกัน รากของพืชมีหลายชนิด ได้แก่

รากแก้ว เป็นรากที่งอกออกมาจากเมล็ด โคนของรากแก้วจะมีขนาดใหญ่แล้วค่อยๆ เรียวไปจนถึงปลายราก

รากแขนง เป็นรากที่แตกออกมาจากรากแก้ว จะเจริญเติบโตขนานไปกับพื้นดิน และสามารถแตกแขนงไปได้เรื่อยๆ

รากฝอย เป็นรากที่มีลักษณะและขนาดโตสม่ำเสมอกัน จะงอกออกมาเป็นกระจุก

รากขนอ่อนหรือขนราก เป็นขนเส้นเล็กๆ จำนวนมากมายที่อยู่รอบๆ ปลายราก ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุ

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

รากของพืชสามารถจำแนกได้ 2 ระบบ

1. ระบบรากแก้ว หมายถึง ระบบรากที่มีรากแก้วเป็นรากหลักเจริญเติบโตได้เร็ว ขนาดใหญ่และยาวกว่ารากอื่นๆ และมีรากแขนงแตกออกมาจากรากแก้ว ที่ปลายรากแขนงจะมีรากขนอ่อนงอกออกมา เช่น รากผักบุ้ง รากมะม่วง เป็นต้น

2. ระบบรากฝอย หมายถึง ระบบรากที่มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ไม่มีรากใดเป็นรากหลัก มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ แผ่กระจายออกไปโดยรอบๆ โคนต้น ที่ปลายรากฝอยจะมีรากขนอ่อนงอกออกมา เช่น รากข้าวโพด รากหญ้า รากมะพร้าว เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

หน้าที่ของราก

     1.    ยึดลำต้นให้ติดกับพื้นดิน

    2.   ดูดน้ำและธาตุอาหารที่ละลายน้ำจากดิน แล้วลำเลียงขึ้นไปยังส่วนต่างๆ ของพืช โดยผ่านทาง    ลำต้นหรือกิ่ง

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

                ***นอกจากนี้รากพืชอีกหลายชนิดยังทำหน้าที่พิเศษต่างๆ อีก เช่น

       รากสะสมอาหาร เป็นรากที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหารไว้สำหรับลำต้น เช่นรากมันแกว รากแครอท รากมันสำปะหลัง และรากหัวผักกาด เป็นต้น

        รากค้ำจุน เป็นรากที่ช่วยค้ำยันและพยุงลำต้นไว้ เช่น รากโกงกาง รากข้าวโพด เป็นต้น

        รากยึดเกาะ เป็นรากสำหรับยึดเกาะลำต้นหรือกิ่งไม้อื่น เช่น รากพลูด่าง เป็นต้น

       รากสังเคราะห์แสง พืชบางชนิดมีสีเขียวตรงปลายของรากไว้สำหรับสร้างอาหาร โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น รากกล้วยไม้ รากไทร เป็นต้น

       รากหายใจ เป็นรากที่มีลักษณะแหลมๆ โผล่ขึ้นมาเหนือดินและน้ำ ช่วยในการดูดอากาศ เช่น รากแสม รากลำพู เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

ลำต้น

ลำต้น คือ อวัยวะของพืชที่โดยทั่วไปเจริญอยู่เหนือพื้นดินต่อจากราก มีขนาด รูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันไป ลำต้นมีทั้งลำต้นอยู่เหนือดิน เช่น มะละกอ มะม่วง มะนาว ชมพู่ เป็นต้น และลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ขิง ข่า ขมิ้น กล้วย หญ้าแพรก พุทธรักษา เป็นต้น

ลำต้นประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน 

1) ข้อ เป็นส่วนของลำต้นบริเวณที่มีกิ่ง ใบหรือตางอกออกมา ลำต้นบางชนิดอาจมีดอกงอกออกมาแทนกิ่ง หรือมีหนามงอกออกมาแทนกิ่งหรือใบ

2) ปล้อง เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อแต่ละข้อ

3) ตา เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของลำต้น ทำให้เกิดกิ่ง ใบและดอก ตามีรูปร่างโค้งนูน หรือรูปกรวย ประกอบด้วยตายอดและตาข้าง

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก


วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

หน้าที่ของลำต้น  มีดังนี้

1. เป็นแกนช่วยพยุงอวัยวะต่างๆ ได้แก่ กิ่ง ใบ ดอก ผล และเมล็ด ช่วยให้ใบกางออก รับแสงแดดเพื่อประโยชน์ในการสร้างอาหาร โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง

2. เป็นทางลำเลียงน้ำและแร่ธาตุที่รากดูดขึ้นมาส่งต่อไปยังใบและส่วนต่างๆ ของพืช

3. เป็นทางลำเลียงอาหารที่ใบสร้างขึ้น ส่งผ่านลำต้นไปยังรากและส่วนอื่นๆ

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

นอกจากนี้ลำต้นของพืชอีกหลายชนิดยังทำหน้าที่พิเศษต่างๆ อีก เช่น

1. ลำต้นสะสมอาหาร เป็นลำต้นที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหาร จะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ขิง ข่า ขมิ้น เผือก มันฝรั่ง เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

2. ลำต้นสังเคราะห์แสง พืชบางชนิดมีลำต้นเป็นสีเขียวไว้สำหรับสร้างอาหาร โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น กระบองเพชร พญาไร้ใบ ผักบุ้ง เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

3. ลำต้นขยายพันธุ์ เช่น โหระพา พลูด่าง โกสน คุณนายตื่นสาย ลีลาวดี เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

4. ลำต้นเปลี่ยนไปเป็นมือพัน เพื่อช่วยพยุงค้ำจุนลำต้น เช่น บวบ ตำลึง น้ำเต้า เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

ใบ

            ใบ คือ อวัยวะของพืชที่เจริญออกมาจากข้อของลำต้นและกิ่ง ใบส่วนใหญ่จะมีสารสีเขียวเรียกว่า คลอโรฟิลล์ ใบมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ใบประกอบด้วย ก้านใบ แผ่นใบ เส้นกลาง และเส้นใบ

นอกจากนี้ใบของพืชยังมีลักษณะอื่นๆ ที่แตกต่างกันอีก ได้แก่

1. ขอบใบ พืชบางชนิดมีขอบใบเรียบ บางชนิดมีขอบใยหยัก

2. ผิวใบ พืชบางชนิดมีผิวใบเรียบเป็นมัน บางชนิดมีผิวใบด้านหรือขรุขระ

3. สีของใบ พืชส่วนใหญ่จะมีใบสีเขียว แต่บางชนิดมีใบสีอื่น เช่น แดง ส้ม เหลือง เป็นต้น

4. เส้นใบ เส้นใบของพืชมีการเรียงตัวใน 2 ลักษณะ ได้แก่

    1) เรียงตัวแบบร่างแห เช่น ใบมะม่วง ตำลึง อัญชัน ชมพู่ เป็นต้น

    2) เรียงตัวแบบขนาน เช่น ใบกล้วย หญ้า อ้อย มะพร้าว ข้าว เป็นต้น

ชนิดของใบ มีดังนี้

1. ใบเดี่ยว คือ ใบที่มีแผ่นใบเพียงแผ่นเดียวติดอยู่บนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น เช่น ใบมะม่วง ชมพู่ กล้วย ข้าว ฟักทอง ใบเดี่ยวบางชนิดอาจมีขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปมากจนดูคล้ายใบประกอบ เช่น ใบมะละกอ สาเก มันสำปะหลัง เป็นต้น

2. ใบประกอบ คือ ใบที่มีแผ่นใบแยกเป็นใบย่อยๆ หลายใบ ใบประกอบยังจำแนกย่อย ได้ดังนี้

         1) ใบประกอบแบบฝ่ามือ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากจุดเดียวกันที่ส่วนของโคนก้านใบ พืชบางชนิดอาจมีใบย่อยสองใบ เช่น มะขามเทศ หรือสามใบ เช่น ยางพารา ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว บางชนิดอาจมีสี่ใบ เช่น ผักแว่น หรือมากกว่าสีใบ เช่น ใบนุ่น หนวดปลาหมึก ใบย่อยดังกล่าวอาจมีก้านใบหรือไม่มีก็ได้

        2) ใบประกอบแบบขนนก เป็นใบประกอบที่ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้านสองข้างของแกนกลางคล้ายขนนก ปลายสุดของใบประกอบอาจมีใบย่อยใบเดียว เช่น ใบกุหลาบ หรืออาจมีใบย่อยสองใบ เช่น ใบมะขาม 

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

                    หน้าที่ของใบ มีดังนี้

        1. สร้างอาหาร ใบของพืชจะดูกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อนำไปสร้างอาหาร เรียกกระบวนการสร้างอาหารของพืชว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

2. คายน้ำ พืชคายน้ำทางปากใบ

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

3. หายใจ ใบของพืชจะดูดแก๊สออกซิเจนและคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

นอกจากนี้ใบยังอาจเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น

1. สะสมอาหาร เช่น ใบว่านหางจระเข้ กลีบของกระเทียม และหัวหอม เป็นต้น

2. ขยายพันธุ์ เช่น ใบคว่ำตายหงายเป็น ใบเศรษฐีพันล้าน เป็นต้น

3. ยึดและพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ เช่น ใบตำลึง ใบมะระ และถั่วลันเตา เป็นต้น

4. ล่อแมลง เช่น ใบดอกของหน้าวัว ใบดอกของเฟื่องฟ้า เป็นต้น

5. ดักและจับแมลง ทำหน้าที่จับแมลงเป็นอาหาร เช่น ใบหม้อข้าวหม้อแกงลิง ใบกาบหอยแครง เป็นต้น

6. ลดการคายน้ำของใบ เช่น ใบกระบองเพชรจะเปลี่ยนเป็นหนามแหลม เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

ดอก คือ อวัยวะสืบพันธุ์ของพืช ทำหน้าที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ที่เกิดมาจากตาชนิดตาดอกที่อยู่ตรงบริเวณปลายยอด ปลายกิ่ง บริเวณลำต้นตามแต่ชนิดของพืช ดอกประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

ดอกประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วน แต่ละส่วนจะเรียงเป็นชั้นเป็นวงตามลำดับจากนอกสุดเข้าสู่ด้านใน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ดังนี้

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

1. กลีบเลี้ยง เป็นส่วนของดอกที่อยู่ชั้นนอกสุดเรียงกันเป็นวง เรียกว่า วงกลีบเลี้ยง ส่วนมากมีสีเขียว เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม แมลงและศัตรูอื่นๆ ที่จะมาทำอันตรายในขณะที่ดอกยังตูมอยู่ นอกจากนี้ยังช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง จำนวนกลีบเลี้ยงในดอกแต่ละชนิดอาจไม่เท่ากัน ดอกบางชนิดกลีบเลี้ยงจะติดกันหมดตั้งแต่โคนกลีบจนเกือบถึงปลายกลีบ มีลักษณะคล้ายถ้วยหรือหลอด เช่น กลีบเลี้ยงของดอกชบา แตง บานบุรี แค บางชนิดมีกลีบเลี้ยงแยกกันเป็นกลีบๆ เช่น กลีบเลี้ยงของดอกบัวสาย พุทธรักษา กลีบเลี้ยงของพืชบางชนิดอาจมีสีอื่นนอกจากสีเขียว ทำหน้าที่ช่วยช่อแมลงในการผสมเกสรเช่นเดียวกับกลีบดอก

2. กลีบดอก เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามาข้างใน มีสีสันต่างๆ สวยงาม เช่น สีแดง เหลือง ชมพู ขาว มักมีขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง บางชนิดมีกลิ่นหอม บางชนิดตรงโคนกลีบดอกจะมีต่อมน้ำหวานเพื่อช่วยล่อแมลงมาช่วยผสมเกสร

3. เกสรเพศผู้ เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้ามาข้างใน ประกอบด้วยก้านชูอับเรณู       อับเรณู ซึ่งภายในบรรจุละอองเรณูมีลักษณะเป็นผงสีเหลือง อับเรณูทำหน้าที่สร้างละอองเรณู ภายในละอองเรณูมีเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้

4. เกสรเพศเมีย เป็นส่วนของดอกที่อยู่ชั้นในสุด ประกอบด้วยยอดเกสรเพศเมีย ก้านยอดเกสรเพศเมีย รังไข่ ออวุล และเซลล์ไข่

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

ชนิดของดอก มีดังนี้

ดอกของพืชโดยทั่วไปมีส่วนประกอบที่สำคัญครบ 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย แต่ดอกของพืชบางชนิดมีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ส่วน จึงจำแนกดอกเป็น 2 ประเภท โดยพิจารณาจากส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ ได้แก่

1. ดอกสมบูรณ์ คือ ดอกที่มีส่วนประกอบครบ 4 ส่วน ได้แก่ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย เช่น ดอกชบา ดอกกุหลาบ ดอกอัญชัน เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

2. ดอกไม่สมบูรณ์ คือ ดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว ดอกตำลึง ดอกฟักทอง ดอกมะละกอ เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ ป.4 เรื่อง พืชดอก

รูปแสดงลักษณะดอกไม่สมบูรณ์ของดอกฟักทอง

ถ้าพิจารณาเกสรของดอกที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์เป็นเกณฑ์ จะจำแนกดอกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ดอกสมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ดอกชบา      ดอกมะม่วง ดอกต้อยติ่ง ดอกอัญชัญ ดอกมะเขือ เป็นต้น

2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียอยู่ภายในดอกเพียงเพศเดียว ดอกที่มีเกสรเพศผู้อย่างเดียว เรียกว่า ดอกเพศผู้ และดอกที่มีเกสรเพศเมียอย่างเดียว เรียกว่า ดอกเพศเมีย เช่น ดอกฟักทอง ดอกบวบ ดอกตำลึง ดอกมะละกอ เป็นต้น  แต่ถ้าพิจารณาจำนวนดอกที่เกิดจากหนึ่งก้านดอกเป็นเกณฑ์ จะจำแนกดอกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ดอกเดี่ยว คือ ดอกที่เกิดขึ้นบนก้านดอก เป็นดอกเดียวโดดๆ เช่น ดอกจำปี ดอกชบา เป็นต้น

2. ดอกช่อ คือ ดอกที่เกิดเป็นกลุ่มบนก้านดอก ประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก แต่ละดอกย่อยมีก้านดอกย่อยอยู่บนก้านดอก เช่น ดอกหางนกยูง ดอกกล้วยไม้ ดอกทานตะวัน ดอกกระถินณรงค์ เป็นต้น

หน้าที่ของดอก มีดังนี้

1. ช่วยล่อแมลงให้มาผสมเกสร

2. ทำหน้าที่ผสมพันธุ์

ผล

ผล (fruit) คือรังไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว (mature ovary) รังไข่ดังกล่าวอาจเจริญเปลี่ยนแปลงมาภายหลังการปฏิสนธิ ซึ่งจะมีเมล็ดอยู่ภายในหรือเจริญมาโดยไม่ได้รับการปฏิสนธิหรือ พาร์ทีโนคาร์ปี           ( parthenocarpy) ผลประเภทหลังนี้โดยทั่วไปจะไม่มีเมล็ด เรียกว่า ผลพาร์ทีโนคาร์ปิก (parthenocarpic fruit) เมล็ด เป็นแหล่งสะสมสารพันธุกรรมของพืชชนิดนั้น ๆ และสามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ ผลของพืชบางชนิดอาจมีส่วนอื่น ๆ ของดอกเจริญควบคู่มากับรังไข่และกลายเป็นส่วนหนึ่งของผลด้วย เช่น มังคัด แอปเปิล ฝรั่ง ทับทิม มีกลีบเลี้ยงรวมอยู่ ชมพู่ แอปเปิ้ล และมะเดื่อมีส่วนของฐานดอกรวมอยู่ เป็นต้น

เมล็ด (Seed)

เมล็ดประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ เปลือกหุ้มเมล็ด ต้นอ่อน และอาหารสำหรับเลี้ยงต้นอ่อน  ส่วนที่คล้ายต้นและใบเล็ก ๆ อยู่ภายในเมล็ด   คือ ต้นอ่อนและ ส่วนที่มีสีขาวหนา แยกออกได้เป็น 2 ซีก  คือ อาหารสำหรับเลี้ยงต้นอ่อน

1. Seed coat (เปลือกหุ้มเมล็ด) เกิดมาจากเยื่อที่หุ้มไข่ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับเอมบริโอ ป้องกันการสูญเสียน้ำ เปลือกหุ้มเมล็ดมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกหนา เหนียว และแข็ง เรียกว่า เทสตา (testa) ส่วนเปลือกชั้นในมักเป็นเยื่อบาง ๆ เรียกว่า เทกเมน (tegmen

2. Endosperm (เอมโดสเปิร์ม) ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง ไขมัน โปรตีน และน้ำตาล ให้แก่ เอมบริโอ(ต้นอ่อน)

3. Embryo เจริญจากไซโกต มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ

- Cotyledon (ใบเลี้ยง) มีหน้าที่เก็บสะสมอาหารให้แก่เอมบริโอ และป้องกันการบุบสลายของเอมบริโอขณะที่มีการงอก

- Caulicle (ลำต้นอ่อน) ประกอบ 2 ส่วนคือ ลำต้นอ่อนเหนือใบเลี้ยง เรียกว่า เอปิคอติล(epicotyl) มีส่วนปลายสุดเรียกว่า ยอดอ่อน ซึ่งเจริญเป็นลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และดอก ส่วนลำต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง เรียกว่า ไฮโปคอตอล (hypocotyl) มีส่วนปลายสุดเรียกว่า รากอ่อน จะเจริญเป็นรากแก้ว

ลักษณะการงอกของเมล็ด แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. การงอกที่ชูใบเลี้ยงขึ้นมาเหนือดิน (Epigeal germination) รากอ่อนงอกโผล่พ้นเมล็ดออกทางรู  ไมโครโพล์(micropyle) เจริญสู่พื้นดินจากนั้น ไฮโปคอติล(hypocotyl) จะงอกและเจริญยึดยาวตามอย่างรวดเร็ว ดึงส่วนของใบเลี้ยง(cotyldon) กับ เอปิคอติล(epicotyl) ขึ้นมาเหนือดิน เช่น การงอกของพืชในเลี้ยงคู่ต่าง ๆ

2. การงอกที่ฝังใบเลี้ยงไว้ใต้ดิน (Hypogeal germination) พบใน พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชพวกนี้มีไฮโปคอติล(hypocotyl) สั้น เจริญช้า ส่วนเอปิคอติล(epicotyl) และยอดอ่อน (plumule) เจริญยืดยาวได้อย่างรวดเร็ว เช่น เมล็ดข้าว ข้าวโพด หญ้า ฯลฯ การพักตัวของเมล็ด (Dormancy) หมายถึง สภาพที่เอมบริโอในเมล็ดสามารถคงสภาพและมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกิดการงอก

สาเหตุของการพักตัวของเมล็ดเนื่องจาก

1. เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนาเกินไป

2. เมล็ดบางชนิดมีสารยับยั้งการงอก

3. เอมบริโอในเมล็ดยังเจริญไม่เต็มที่

4. เอมบริโอพักตัว

ที่มาข้อมูล

PowerPoint_ประกอบการสอน : http://www.aksorn.com/

http://www.aksorn.com/ACT_material2015/powerpoint.php

https://sites.google.com/site/fahsky09/khorngsrang-khxng-phuch

https://www.google.co.th/search?biw=1600&bih=745&tbm=isch&sa=1&ei=y14BWozyB8mLvQSPkoiwAw&q=%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B2&oq=%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B2&gs_l=psy-ab.3..0l10.467584.470370.0.471551.6.6.0.0.0.0.160.797.0j6.6.0....0...1.1.64.psy-ab..0.6.793...0i67k1.0.gWATBolf2Qw#imgrc=X9CAKtduKlgjzM: