นักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล

ในการจัดระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ต้องมีบุคลากรในวิชาชีพต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากมาย เพื่อให้สามารถออกแบบและดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ เพราะการดูแลระยะยาวไม่ใช่แค่เรื่องของการดูแลสุขภาพ หากรวมถึงการดูแลทางสังคมด้วย บุคลากรกลุ่มหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มการทำงานของวิชาชีพด้านสุขภาพได้เป็นอย่างดีคือนักสังคมสงเคราะห์

Show

แม้สถานบริการหลายแห่งจะตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ แต่สถานบริการหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลระดับชุมชน ไม่สามารถจ้างนักสังคมสงเคราะห์ได้ เพราะไม่มีกรอบอัตรากำลังเปิดให้ ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะโรงพยาบาลระดับ M1 หรือ รพ.ที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไปเท่านั้น ที่จะมีการเปิดกรอบอัตรากำลังนักสังคมสงเคราะห์ให้ได้ รพช. ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ F1-3 จึงไม่มีกรอบการจ้าง และไม่มีงบประมาณมากพอที่จะจ้างบุคลากรเอง

แต่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง นครศรีธรรมราช แม้จะไม่อยู่ในเกณฑ์ M1 แต่มีการจ้างนักสังคมสงเคราะห์เข้ามาประจำ ทำให้ รพช.เล็กๆ แห่งนี้มีข้อได้เปรียบในดำเนินงานการดูแลระยะยาว (long-term care : LTC)

เป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงพยาบาลเลยที่มองว่าการดูแลคนไข้ 1 คน ไม่ใช่แค่การรักษาให้เสร็จไปในโรคที่เขาเป็น แต่จะต้องดูแลครอบครัวทั้งหมดและสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ด้วย เศรษฐกิจ สังคม ต้องดูให้หมด และนักสังคมสงเคราะห์ก็จะเข้ามาดูในประเด็นนอกเหนือจากเรื่องสุขภาพ

วรรณวิมล ชมโฉม นักสังคมสงเคราะห์แห่ง รพร. ฉวางกล่าว

วรรณวิมลพูดถึงจุดแข็งของนักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งถุกปลูกฝังมาตั้งแต่มัยเรียนหนังสือว่า “นักสังคมสงเคราะห์ต้องเข้าใจเพื่อนมนุษย์ให้ได้เยอะกว่าวิชาชีพอื่นๆ”  ทีมเยี่ยมบ้านของ รพร.ฉวาง จึงมีวรรณวิมล ร่วมอยู่ด้วย โดยภาระรับผิดชอบหลักคือการทำให้คุณภาพชีวิตในทางสังคมของผู้ป่วยดีขึ้น อย่างน้อยต้องเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการทุกอย่างที่รัฐจัดหาให้ หรืออาจต้องช่วยหาค่าเดินทางให้ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเดินทางมารับบริการในสถานพยาบาล

“บางครั้งคนไข้ฉวางมีนัดต้องไปที่ รพ. มหาราช ญาติจะลำบากมาก เพราะการเดินทางจากเราไปถึงที่นั่นต้องเหมารถทีละ 500 ทีละ 1,000 บาท ถ้าคนไข้ไม่มีเราก็ต้องหาหน่วยงานมาเสริมช่วยให้คนไข้เข้ารับการรักษาให้ได้ อาจจะประสานให้ อบต. เอารถไปส่ง แล้วขอให้มหาราชเหมารถมาส่งคนไข้เราที่นี่ เพราะที่มหาราชเขาจะมีกองทุนสนับสนุนตรงนี้”

นอกเหนือจากการทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ รวมถึงสิทธิและสวัดิการอันพึงมีพึงได้แล้ว นักสังคมสงเคราะห์ยังมีส่วนรับผิดชอบในกรณีการส่งคนไข้กลุ่มเปราะบางกลับไปพักฟื้นที่บ้าน

นักสังคมสงเคราะห์ต้องลงไปเตรียมความพร้อมที่บ้านให้เหมาะสม ให้องค์ประกอบต่างๆ ครบในการรับคนไข้กลับบ้าน เราต้อง support ทั้งคนไข้และครอบครัว เช่น ภรรยา พ่อแม่ เพื่อให้ครอบครัวผ่านวิกฤติไปได้ และต้องทำต่อเนื่องจนกว่าครอบครัวจะผ่านวิกฤติ หรือบางครั้งอาจต้องดูแลกันตลอดชีวิต

นักสังคมสงเคราะห์แห่ง รพร. ฉวางกล่าว

นอกเหนือจากการอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยนอกสถานบริการแล้ว นักสังคมสงเคราะห์มีบทบาทในโรงพยาบาลด้วย กนกวรรณ เหลืองมงคลเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมและผู้สูงอายุ บ้านบางแค ซึ่งเป็นสถานบริบาลดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ทำงานทั้งเชิงรุกและเชิงป้องกัน และมีนักสังคมสงแคราะห์ปฏิบัติงาน กล่าวถึงบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ ว่าต้องเข้าไปมีบทบาทในมิติด้านสุขภาพด้วยในแง่ของการประเมินศักยภาพครอบครัว เพื่อให้เอื้อต่อการฟื้นฟูสมรรถนะของผู้สูงอายุ กรณีต้องการการดูแลระยะกลาง และอาจต้องเข้าไปมีบทบาทในการให้บริการการฟื้นฟูในช่วงระยะกลางซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ทั้งนี้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วย

 

หมายเหตุ เก็บความจากเวที บทบาทวิชาชีพใน LTC;  Parallel session ของ LTC Forum 2020 ก้าวไปด้วยกันสู่บริการสุขภาพระยะยาวที่ยั่งยืน วันที่ 17 พ.ย. 2563

1. บริการสังคมในภาวะฉุกเฉินและวิกฤติ ประกอบด้วย

- บริการพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง

- บริการในเหตุการณ์ฉุกเฉิน (อุบัติเหตุ/อุบัติภัย)

2. บริการเฝ้าระวังปัญหาทางสังคมในโรงพยาบาล (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

- กลุ่มเด็กแรกเกิด – 12 ปี

- หญิงตั้งครรภ์และกลุ่มมารดา

3. บริการสังคมแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

- กลุ่มเด็ก (แรกเกิด – 14 ปี)

- ผู้ติดเชื้อเอดส์ / ผู้ป่วยเอดส์

- หญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

- ผู้ประสบอันตรายอันเนื่องจากการทำงาน

นักสังคมสงเคราะห์ คืออะไร

ผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยบุคคลและครอบครัวแก้ปัญหาทางสังคมและปัญหาส่วนตัว อันเป็นกระบวนพัฒนาบุคลิกภาพของคน โดยการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยกัน และระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยวางแผนงานการให้บริการทางสังคมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลในชุมชนนั้น รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำและให้ความช่วยเหลือในเรื่อง ...

บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ มีอะไรบ้าง

ช่วยบรรเทาหรือป้องกันการขยายตัวของปัญหาทางสังคมและปัญหาส่วนบุคคล ที่เกิดขึ้นเฉพาะรายบุคคลและรายกลุ่ม ให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้กับผู้ที่ประสบปัญหา ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น หาอาชีพให้ ให้บริการทางด้านสวัสดิการอื่นๆ และให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและทางการแพทย์ : ใช้วิธีการสัมภาษณ์และวิธีการ ...

นักสังคมสงเคราะห์ เรียนอะไร

เป็นการศึกษาที่เน้นให้มีความรูทัศนคติ ทักษะของ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระบบสวิสดิการ และการพัฒนาสังคม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นได้อย่างเหมาะสม

กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ มีอะไรบ้าง

กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์.
การตรวจวินิจฉัยทางสังคมสงเคราะห์ (Social Assessment and Diagnosis) ... .
บริการด้านสังคมสงเคราะห์ ... .
โปรแกรมพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ... .
คลินิกครอบครัวบำบัดสำหรับผู้บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญาผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น และครอบครัว (Family Therapy).