เวลาขายเหล้า 7-11 ล่าสุด 2565

จากกรณีที่ นายธนากร คุปตจิตต์ อดีตนายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย และผู้บริหารบริษัทจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดเผยว่า รัฐเตรียมปลดล็อกระยะเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วงเวลา 14.00-17.00 น. ตามที่ 16 องค์กรภาคบริการ อาทิ สมาคมเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมาคมค้าปลีก สมาคมผู้ประกอบการถนนข้าวสาร สมาคมร้านอาหาร เป็นต้น ร้องขอให้รัฐยกเลิกประกาศช่วงเวลาห้ามขายดังกล่าวที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2515 ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลเตรียมปรับปรุงและแก้กฎหมายที่ล้าสมัย ทางภาคเอกชนจึงเสนอเรื่องดังกล่าว ล่าสุด รับทราบว่ามีสัญญาณที่ดีที่จะยกเลิกประกาศห้ามขายดังกล่าว และคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของรัฐจะเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

Advertisment

ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องการงดขายเหล้า เวลา 11.00 -17.00 น. นั้น เคยเป็นที่ถกเถียงในโลกออนไลน์มาอย่างยาวนาน ให้เกิดความสงสัยถึงสาเหตุ ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ซึ่งมีการตั้งกระทู้ในเว็บ ไซต์พันทิป และมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก

อ่าน คอเหล้าเตรียมเฮ! รัฐจ่อปลดล็อกห้ามขายเหล้า-เบียร์ ช่วงเวลา 14.00-17.00 น.

Advertisement

โดยเว็บไซต์ surathai ได้เปิดเผยที่มาของการกำหนดเวลาขายเหล้าว่า

“ที่มาของกำหนดเวลาขายเหล้า สามารถย้อนไปได้ถึงยุคคณะปฏิวัติ โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มี “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 253” เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2515

นัยว่า ในสมัยนั้น ข้าราชการมักนิยมไปนั่งดื่มสุราสังสรรค์กันตั้งแต่มื้อกลางวัน แล้วก็ติดลมไปจนบ่ายคล้อย ไม่เป็นอันทำงานทำการ (สมัยนี้ก็ยังพบได้อยู่บ้างประปราย)

Advertisement

เพื่อป้องกันข้าราชการเถลไถล จึงออกประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยในข้อ 2 วรรคหนึ่ง ระบุว่า…

ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3 ถึงประเภทที่ 6 ตามความในกฎหมายว่าด้วยสุรา หรือบุคคลใดซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์ของผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราดังกล่าว จำหน่ายสุราทุกชนิดในเวลาอื่น นอกจากตั้งแต่เวลา 11.00 นาฬิกา ถึงเวลา 14.00 นาฬิกา และตั้งแต่เวลา 17.00 นาฬิกา ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจสำหรับนครหลวงกรุงเทพธนบุรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับจังหวัดอื่น

แม้จะมีเจตนาดัดนิสัยข้าราชการขี้เมา แต่กฎหมายฉบับนี้ก็ใช้บังคับและเป็นภาระกับประชาชนโดยทั่วไปมาเกือบ 50 ปีแล้ว โดยถือว่าเป็นกฎหมายที่มีที่มาอันไม่ชอบธรรม ดังบทความเรื่อง “เหล้า บุหรี่ กฎหมาย และความชอบธรรม” โดยณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ระบุว่า กฎหมายที่มาจากคณะปฏิวัตินั้น ไม่ได้มาจากเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชน โดยผ่านรัฐสภา

กำหนดเวลาขายเหล้าของคณะปฏิวัตินี้ ได้เป็นมรดกตกทอดมาจนปัจจุบัน มาอยู่ใน “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2558”

เทศกาลปีใหม่ 2566 ไม่ขยายระยะเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ "ขายเหล้า" ถึง 02.00 น. และไม่เห็นชอบการกำหนดพื้นที่พิเศษขายตั้งแต่ 11.00-04.00 น

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 โดยมี นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

ดร.สาธิต กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 กำหนดแนวคิดการรณรงค์ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ภายใต้คำขวัญรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ตามที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสนอ 

โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ช่วง คือ

1.ช่วงเตรียมความพร้อมก่อนเทศกาลปีใหม่ รณรงค์จัดกิจกรรมปีใหม่ปลอดเหล้า หรือสวดมนต์ข้ามปี สร้างกระแสให้ร้านค้าและประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ห้าม "ขายเหล้า" ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามส่งเสริมการขาย ลดแลกแจกแถม ขายในเวลาที่กำหนด 11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น.

2.ช่วงเทศกาลปีใหม่ ใช้มาตรการชุมชนเชิงบวก เพิ่มศักยภาพด่านชุมชนคัดกรองผู้ขับขี่ที่มีอาการมึนเมา กรณีเกิดเหตุมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้เป่าวัดปริมาณแอลกอฮอล์ทางลมหายใจทุกราย หากไม่สามารถเป่าได้ให้ส่งโรงพยาบาลเพื่อเจาะเลือดตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ และบังคับใช้กฎหมายเข้มงวดในผู้กระทำผิด

3.ช่วงหลังปีใหม่ เน้นคัดกรองส่งต่อผู้กระทำผิดฐานเมาแล้วขับที่ถูกศาลสั่งคุมประพฤติ ให้เข้ารับการบำบัดรักษา โดยจะแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการเตรียมพร้อมต่อไป

ดร.สาธิต กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570) โดยมอบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดตามความก้าวหน้าการจัดทำแผนดำเนินงานตามแผปฏิบัติการดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อควบคุมและลดการบริโภคแอลกอฮอล์ของประชาชน ป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ควบคุมจำนวนผู้บริโภค ลดความเสี่ยงจากการบริโภค และลดความรุนแรงของปัญหาจากการบริโภค

ส่วนข้อเสนอของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น ขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปจนถึง 02.00 น. ยกเลิกเวลาห้ามขาย 14.00-17.00 น. และการพิจารณากำหนดพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวยามค่ำคืน ให้ขายได้ตั้งแต่ 11.00-04.00 น.นั้น

คณะกรรมการเห็นตรงกันว่าประเทศไทยมีการกำหนดเวลาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน และการควบคุมการขายก็เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุ อาชญากรรม การบำบัดฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เข้าถึงโดยง่าย ซึ่งเป็นมาตรการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ

“การศึกษาจำนวนมากพบว่า การขยายระยะเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะนำไปสู่การบริโภคที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอันตรายที่เกี่ยวข้อง เช่น การเพิ่มของอาชญากรรมความรุนแรงในพื้นที่ จึงเห็นควรคงมาตรการดังกล่าวไว้ตามเดิม ซึ่งประกาศดังกล่าวยกเว้นการขายภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติอยู่แล้ว จึงไม่ต้องแก้ไขประกาศ ส่วนที่กล่าวอ้างว่ามาตรการห้ามขายบริเวณสถานศึกษาตามคำสั่ง คสช.ไม่มีประสิทธิภาพควบคุมการดื่ม ไม่เป็นจริงตามที่กล่าวอ้าง จึงไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกมาตรการนี้” ดร.สาธิตกล่าว

ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปีพบว่ามีอุบัติเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตบนท้องถนนจำนวนมาก ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถิติอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565 รวม 7 วัน เกิดอุบัติเหตุ 2,707 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 333 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,672 คน พบอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับขี่ยานพาหนะเป็นอันดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 29.51 ส่วนข้อมูลจากสำนักงานศาลยุติธรรม สรุปสถิติคดีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 (7 วันอันตราย) เป็นคดี “เมาแล้วขับ” สูงถึง 1.5 หมื่นคน

ทั้งนี้ ในการประชุม นางสาวเพชรรัตน์ เอกแสงกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ สังคมปลอดภัย ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อลดปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ สร้างค่านิยมที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคม คือ ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบกและควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จัดงานเลี้ยงปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขอความร่วมมืองดการขับขี่รถทุกครั้งหลังการดื่ม ตรวจสุขภาพประจำปีและคัดกรองพฤติกรรมการดื่มอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี กำหนดโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิดอันมีสาเหตุมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งเสริมให้มีการติดตั้ง Alcohol interlock บนรถขนส่งสินค้า เพื่อเป็นการประเมินผู้ขับขี่ก่อนการเดินทาง      

7

3.ห้ามผู้ใดขายเครื่องดมื่ แอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากตั้งแต่เวลา 11.00 นาฬิกา ถึงเวลา 14.00 นาฬิกา และตั้งแต่เวลา 17.00 นาฬิกา ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ยกเว้นการขายในกรณี ดังต่อไปนี้

7

เซเว่นจำกัดเวลาการจำหน่ายแอลกอฮอล์ 11:00 – 14:00 น. และ 17:00 – 24:00 น. เราจะรู้ได้ยังไงว่าเซเว่นแต่ละสาขาจะเปิดให้เราซื้อแอลกอฮอล์ช่วงไหนได้บ้าง ทางเซเว่นมีกฎให้สามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตั้งแต่เวลา 11:00 – 14:00 น. และเวลา 17:00 – 24:00 น. เท่านั้น (เกินไปแค่นาทีเดียวก็ไม่ได้)

บิ๊ ก ซี ขายเหล้า กี่ โมง 2565

การจำกัดเวลาในการจำหน่ายแอลกอฮอล์บังคับใช้ตามร้านค้าทั่วไป รวมไปถึงซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าที่เรารู้จักดีอย่างแม็คโคร บิ๊กซี โลตัส และท็อปส์ ซึ่งหากไปผิดเวลาจะมาสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ช่วงเวลาจำหน่าย ช่วงที่ 1 เวลา 11.00 น. – 14.00 น. ช่วงเวลาจำหน่าย ช่วงที่ 2 เวลา 17.00 น. – 24.00 น.

วันไหนห้ามขายเหล้า 2565

สำหรับ วันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา 2565 ตามที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 “ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้น การขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยาน ...