ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ กิ ล ฟ อ ร์ ด

นักจิตวิทยาหลายท่านที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ได้ให้คำจำกัดความของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้

บารอน และเมย์ (Baronand May,1960) ได้ให้คำจำกัดความว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถของมนุษย์ที่จำนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ เกิดผลผลิตใหม่ๆทางเทคโนโลยี รวมทั้งความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งสิ่งแปลกใหม่ ดังเช่น โทมัส เอดิสัน ค้นพบหลอดไฟฟ้า นำไปสู่เครื่องใช่ไฟฟ้านานาชนิด ซึ่งงานประดิษฐ์คิดค้นของเขาเป็นตัวอย่างที่ดีของงานที่มีลักษณะความคิดสร้างสรรค์ นั้นคือ แปลกใหม่ แตกต่างจากที่เคยปรากฏ และยังเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อชาวโลกอีกด้วย

อีริค ฟรอมม์ (Eric From,1963) อธิบายว่า ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงความสามารถของบุคคลที่จะสังเกตเห็น รับรู้ เข้าใจ และมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Creativity is the ability to see or to aware and to respond) ตัวอย่าง เช่น เมื่อมองเห็นสิ่งที่สวยงาม คนเราก็จะเกิดความรู้สึกซาบซึ้งในความงาม มีปฏิกิริยาโต้ตอบ เช่น การกล่าววาจาเป็นคม การเขียนเป็นภาพ การเขียนเป็นคำประพันธ์ เช่นเดียวกับนักประดิษฐ์ เจมส์วัต สังเกตเห็นไอน้ำเดือดทำให้ฝากาต้มน้ำเผยอทำให้เขาคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ นิวตัน มองเห็นผลแอ็ปเปิ้นหล่นลงสู่พื้น ทำให้สามารถคิดค้นทฤษฎีแรงดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลางของโลกได้ เป็นต้น

ทอร์รานซ์ (Torrance,1965) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการที่มนูษย์รู้สึกว่ามีช่องว่างหรือบางส่วนที่ขาดหายไป แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมุติฐานเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้นแล้วทำการทดสอบสมมุติฐานหาความสัมพันธ์ของผลที่จะเกิดขึ้น รวมถึงปรับปรุงและทดสอบสมมติฐานใหม่อีกครั้ง จนได้ผลเป้นที่พึงพอใจ

กิลฟอร์ด (Guilford, 1967) มีความเห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือความคิดหลายทิศทาง หลายแง่ หลายมุม คิดได้กวางไกล ลักษณะความคิดอเนกนัยนำไปสู่การประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมถึงการคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้สำเร็จ

ลักษณะของความคิดแบบอเนกนัย

ซึ่งเป็นลักษณะการคิดอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย

1. ความคิดริเริ่ม (Originality) เป็นลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากความคุ้นเคย โดยอาจแสดงออกในลักษณะทางกระบวนการคิด หรือลักษณะทางผลผลิต ซึ่งในบางครั้งความคิดริเริ่มอาจไม่ใช่สิ่งหใหม่ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน แต่เป็นการประยุกต์ดัดแปลงให้ดีขึ้น ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสางประดิษฐ์ส่วนใหญ่ล้วนอาศัยแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ความสามารถในการผลิตความคิดที่แตกต่างและหลายหลากภายใต้กรอจำกัดของเวลา อันนำไปสู่การคิดอย่างมีคุณภาพเพื่อการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สามารถบอกถึงประโยชน์ของกระดาษได้มากที่สุดภายในเวลา 3 นาที เป็นความคล่องในการคิด นอกจากนี้ยังช่วยให้มีทางเลือกที่หลากหลายในการแก่ปัญหาต่างๆ

3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นความสามารถในการคิดนอกกรอบของความคิดที่ไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือความคุ้นเคยเดิม ความยืดหยุ่นทำให้สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในแง่มุมใหม่ๆ เป็นความคิดพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือ สามารถหาคำตอบได้หลายหมวดหมู่ หลายประเภท รวมถึงมีทางเลือกได้หลายทางเลือก ดังนั้นความคิดยืดหยุ่นจึงเป็นส่วนช่วยเสริมคุณภาพความคิดให้ดียิ่งขึ้น

4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) เป็นการคิดตกแต่งในรายละเอียดเพื่อขยายความคิดหลักให้ครบถ้วน สมบูรณ์ ซึ่งความคิดละเอียดลออนี้จะสัมพันธ์กับความสามารถในการสังเกต ไม่ละเลยในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ

ดังนั้น ความคิดเอกนัย หรือความคิดแบบกระจาย (Divergent Thinking) จึงตรงข้ามกับความคิดเอกนัย หรือความคิดในทิศทางเดียว (Convergent Thinking) ซึ่งเป็นลักษณะความคิดที่มุ่งเน้นเพียงความคิดเดียวเท่านั้น ในขณะที่ความคิดอเนกนัยมุ่งส่งเสริมให้เกิดความคิดมากหลากหลาย ทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อเป็นแนวทางให้ค้นพบความคิดที่ดี ที่มีคุณภาพ

เอ็ดวารด์ เดอ โบโน (Edward De Bono,1972) กล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการมองหาทางเลือกหลายทิศทาง โดยการคิดอย่างรอบด้าน คลอบคลุมทั้งในแนวกว้างและแนวลึก ตลอดจนสามารถสร้างแนวคิดใหม่ ซึ่งอาจต่างไปจากแนวความคิดเดิมบ้างเล็กน้อย หรือแปลกไปจนไม่คงแนวความคิดเดิมไว้เลย

ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นความสามารถที่อยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน เป็นการคิดค้นเพื่อค้นพบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีประโยชน์มีคุณค่า รวมทั้งเป็นลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากความคิดเดิมให้เป็นความคิดแปลกใหม่ แตกต่างไปจากเดิม โดยบางครั้งอาจคงเคาโครงเดิมไว้ หรืออาจแปลกไปจนไม่คงแนวคิดเดิมไว้เลย

ความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ

1. เป็นความคิด ประดิษฐ์ หรือการทำที่แปลกใหม่ เป็นผลงานที่ริเริ่มเอง ไม่มีตัวอย่างไว้ให้มีประโยชน์มีคุณค่า

2. เป็นความคิดหรือการกระทำที่แก้ปัญหาได้ โดยสามารถมองหาทางเลือกหลายทิศหลายทางในการแก้ปัญหา

3. เป็นความคิดริเริ่มที่แสดงออกอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความคงทน และสามารถดัดแปลงพัฒนาไปจนถึงจุดที่สมบูรณ์ได้

        จะเห็นว่าองค์ประกอบส่วนหนึ่งในมิติที่ว่าด้วยการคิดแบบอเนกนัยมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความคิดสร้างสรรค์ และองค์ประกอบส่วนหนึ่งในมิติที่ว่าด้วยผลของคิดที่เรียกว่า การแปลงรูปเป็นส่วนที่แสดงถึงความคิด

องค์ประกอบการคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Guilford มีอะไรบ้าง

AYUTHATA RELATION Page 8 สรุปได้ว่า องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์มีหลายลักษณะ จากการค้นคว้าของ กิลฟอร์ด ส่วนใหญ่จะใช้เพียง 3 องค์ประกอบ คือ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว และความคิด ยืดหยุ่น ทั้งนี้เพราะความคิดละเอียดลออนั้นได้สอดแทรกอยู่กับองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน และมี

กิลฟอร์ดได้พัฒนาวิธีคิดขึ้นกี่ประเภท อะไรบ้าง

วิธีการคิด (Operation) หมายถึง ลักษณะกระบวนการทำงานของสมองแบบต่างๆ มี 5 แบบ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความจำ การคิดแบบเอกนัย (Convergent Thinking) การคิดแบบอเนกนัย และการประเมินผล

ความคิดละเอียดลออคืออะไร

ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) เป็นการคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลัก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การคิดแบบอเนกนัย หมายถึงอะไร

แบบอเนกนัย (divergent thinking) คือความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล ลักษณะความคิดเช่นนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมทั้งการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาให้