กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานมีอะไรบ้าง

กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 50,000 บาท และถ้าในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลและค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 1,300 บาท
  • กรณีทุพพลภาพเนื่องจากการทำงาน ลูกจ้างจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60% ของค่าจ้างรายเดือน ในกรณีไม่สามารถทำงานได้เกิน 3 วัน และค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือน  กรณีทุพพลภาพเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี  และหากจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ  จะได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพด้วย
  • กรณีตายหรือสูญหายจากการทำงาน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุ สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับ คือ ค่าทำศพ จำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ค่าทดแทนของค่าจ้างรายเดือนในอัตรา 60% ของค่าจ้างรายเดือน มีกำหนด 8 ปี (จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด)
  •           ทั้งหมดนี้ถือเป็นกฎหมายแรงงาน น่ารู้ขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องใส่ใจจะละเลยไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทำตามกฎระเบียบตามที่กฎหมายกำหนด และส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นหลักประกันให้ลูกจ้างทำงานได้อย่างมีความสุขเพราะมีหลักประกันว่านายจ้างทำถูกกฎหมายเรียกได้ว่าสบายใจกันทั้งสองฝ่ายทั้งตัวนายจ้างเองและตัวลูกจ้างเองด้วย

    ⚡ ค้นหาคนที่ใช่ด้วยโซลูชันการสรรหาบุคลากรแบบครบวงจรกับ JobsDB ⚡

    ★ เข้าถึงโปรไฟล์ผู้สมัครงานคุณภาพมากกว่า 2.6 ล้านคนในประเทศไทย

    ★ ผู้สมัครงานพบงานที่ใช่มากขึ้น 6 เท่า ผู้ประกอบการได้ใบสมัครตรงใจมากขึ้น

    ★ ที่เว็บไซต์หางานอันดับ 1 ครองใจผู้สมัครงานคุณภาพ ลงทะเบียนเพื่อสรรหาผู้สมัครงาน ที่นี่ ★

    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานมีอะไรบ้าง

    Loading…

     

    เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

    ประกันสังคมน่ารู้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่

    ขั้นตอนการขอยกเลิกกิจการให้ชอบด้วยกฎหมาย

    กฎหมายแรงงาน  กฎหมายแรงงานของผู้ประกอบการ  กฎหมายแรงงานควรรู้  กฎหมายแรงงานน่ารู้  กฎหมายแรงงานสำหรับผู้ประกอบการ

    บทความยอดนิยม

    Term Paper Writing Services

    The need for an expert to do term essay...

    Can Be Term Paper Writing Services worth the Price?

    Students have many choices available to them when they’re...

    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานมีอะไรบ้าง

    10 เช็คลิสต์เคลียร์งานก่อนหยุดยาว

    ช่วงปลายปีถือเป็นถือช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ที่ถือเป็นเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤ...

    หลังจากมีราชกิจจานุเบกษาประกาศให้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2562 มีสิทธิประโยชน์หลายประการที่ถูกแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น เราจึงขอรวบรวมสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่มีอะไรบ้าง

    Contents

    • กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ
    • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่เพิ่มสิทธิอะไรบ้าง
        • นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน
        • เปลี่ยนนายจ้าง เปลี่ยนนิติบุคคล
        • การเลิกจ้างและอัตราค่าชดเชยใหม่
        • ลากิจ ลาคลอด
        • ให้สิทธิเท่าเทียมกัน
        • ย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น
    • สรุป

    กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ

    ประเด็นสำคัญ

    ・กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยดี ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสม

    ・กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

    กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร

    มีที่มาจากกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวดดังกล่าวนี้ มีทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์, พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ

    กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างการใช้แรงงาน การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพ อนามัยอันดีและมีความปลอดภัย ในชีวิต ร่างกาย และได้ค่าตอบแทนตามสมควร

    พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ นายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นให้ยุติลงโดยรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ

    พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

    พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน

    พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่เพิ่มสิทธิอะไรบ้าง

    ประเด็นสำคัญ

    ・กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนให้ลูกจ้าง นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี, เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้าง หากลูกจ้างทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน

    ・กรณีพนักงานลากิจสามารถลาได้อย่างน้อย 3 วันต่อปี, พนักงานหญิงสามารถลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน และให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงมากขึ้น

    ・กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น นายจ้างต้องมีการประกาศให้ชัดเจน ส่วนลูกจ้างหากไม่ต้องการย้ายตามก็สามารถแจ้งความประสงค์ได้ ภายในเวลา 30 วัน ก่อนการย้าย

    จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

    พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

    เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา

    อ่านฉบับเต็ม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่

    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานมีอะไรบ้าง

    โดยสาระสำคัญที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์ เพื่อให้เข้ากับสภาพการณ์ปัจจุบัน มีดังนี้

    นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน

    กรณีนายจ้างไม่คืนเงินหลักประกัน ไม่จ่ายเงินกรณีบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน-ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย หรือไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัด ร้อยละ 15 ต่อปี

    เปลี่ยนนายจ้าง เปลี่ยนนิติบุคคล

    ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด หากมีผลทำให้ลูกจ้าง ไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างคนนั้นด้วย และให้สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างเคยมีอยู่จากนายจ้างเดิมมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างคนนั้นทุกประการ

    การเลิกจ้างและอัตราค่าชดเชยใหม่

    ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับตั้งแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน จนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลโดยให้จ่าย
    ในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

    ส่วนในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน-ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง

    และในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

    เพิ่มอัตราชดเชยค่าเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอีก 1 อัตรา ทำให้เกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง เป็นดังต่อไปนี้

    – อัตราที่ 1 ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
    – อัตราที่ 2 ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
    – อัตราที่ 3 ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ค่าชดเชย 180 วัน
    – อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ได้ค่าชดเชย 240 วัน
    – อัตราที่ 5 ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
    – อัตราที่ 6 ทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน *ล่าสุดที่เพิ่มเข้ามา

    ลากิจ ลาคลอด

    ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตามปกติ

    ในกรณีลาคลอด ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน รวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ ก่อนคลอดบุตรด้วย และให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย โดยลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างระหว่างลาคลอดบุตรจากประกันสังคม 45 วัน และจากนายจ้างอีกไม่เกิน 45 วัน

    ให้สิทธิเท่าเทียมกัน

    ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน-ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกันในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง ดังนี้
    – กรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่น ที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
    – ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างนอกเหนือจากนี้ ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

    ย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น

    หากนายจ้างประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่น ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อไหร่

    ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

    หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับตั้งแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศ และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ

    อ้างอิงจาก:http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/043/T_0021.PDF?fbclid=IwAR0ZLyGzIYxCx0tSxjOVXs6t-H42JFPRD5gPICfw2kE9G457cHq2xpVo5Gc

    สรุป

    สำหรับ HR ของแต่ละบริษัท คงได้มีการเริ่มเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อบังคับการทำงานของบริษัทตัวเองให้สอดคล้องกับพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ที่ออกมามากขึ้น

    และในส่วนอื่นที่พ.ร.บ. ฉบับใหม่ไม่ได้กำหนดไว้นั้น ก็ให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงหรือข้อบังคับในการทำงานของแต่ละบริษัท

    ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจาก HR แล้ว นายจ้างและลูกจ้างก็ควรทำความเข้าใจพ.ร.บ. ฉบับใหม่ไว้ เพื่อประโยชน์ของทั้งตัวนายจ้างและลูกจ้างเองครับ